ปลัดกระทรวงยุติธรรมประกาศแผนเดินหน้า จัดทำระบบฐานข้อมูลการจัดทำฐานข้อมูลสารพันธุกรรมแห่งชาติ

ข่าวทั่วไป Monday December 3, 2012 14:53 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--3 ธ.ค.--Jigsaw Communications ปลัดกระทรวงยุติธรรมประกาศแผนเดินหน้าจัดทำระบบฐานข้อมูลการจัดทำฐานข้อมูลสารพันธุกรรมแห่งชาติพิธีลงนามครั้งประวัติศาสตร์ระหว่างกระทรวงยุติธรรมไทยและสำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (FBI) เพื่อสร้างปรากฏการณ์ระบบฐานข้อมูลใหม่ ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ประกาศเดินหน้าแผนปฏิบัติการการจัดทำฐานข้อมูลสารพันธุกรรมแห่งชาติ ซึ่งในขั้นแรกได้เริ่มผลักดันโครงการความร่วมมือระหว่างสถาบันนิติวิทยาศาสตร์และกรมราชทัณฑ์ เพื่อจัดทำการเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรม(ดีเอ็นเอ) จากนักโทษสมัครใจ และใน ๒-๓ ปีข้างหน้านี้ จะมีตัวอย่างสารพันธุกรรม จากนักโทษถึง ๑๐๐,๐๐๐คน ถูกจัดเก็บในฐานข้อมูลความปลอดภัยสูงภายใต้การบริหารของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ สารพันธุกรรมจากฐานข้อมูลนี้จะนำมาใช้ในการเปรียบเทียบกับสารพันธุกรรมที่พบในที่เกิดเหตุอาชญากรรมและรูปแบบสารพันธุกรรมที่พบนี้จะถูกจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลลักษณะเดียวกันโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ “ระบบฐานข้อมูลสารพันธุกรรมจะช่วยในการระบุตัวและจับอาชญากรผู้กระทำผิดร้ายแรงของประเทศมาลงโทษ รวมทั้งช่วยคุ้มครองให้พลเมืองของประเทศพ้นจากภัยอาชญากรรม” ปลัดกระทรวงยุติธรรมกล่าว ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยมีความจำเป็นต้องจัดทำระบบฐานข้อมูลต่อไปในอนาคต ซึ่งจะต้องมีกฎหมายที่จะอนุญาตให้ทำการจัดเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรม(ดีเอ็นเอ)ได้จากบุคคลบางกลุ่ม “การที่จะสามารถใช้ประโยชน์จากสารพันธุกรรม(ดีเอ็นเอ)ได้อย่างเต็มที่นั้นจำเป็นต้องออกกฎหมายรองรับและจัดทำงบประมาณในการจัดทำระบบฐานข้อมูลสารพันธุกรรมดังกล่าว ซึ่งจะจะต้องผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติของรัฐบาล” ทั้งนี้กว่า ๔๔ ประเทศ ได้ผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้และได้จัดทำระบบฐานข้อมูลสารพันธุกรรมแห่งชาติ ซึ่งรวมถึงประเทศเพื่อนบ้านของไทยอย่าง จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น “ในประเทศที่นำระบบฐานข้อมูลสารพันธุกรรมมาใช้ พบว่าได้ช่วยคลี่คลายคดีและป้องกันอาชญากรรมได้มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด” ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าว อย่างไรก็ตาม ส่วนประกอบหลักสำคัญที่จะนำระบบฐานข้อมูลมาใช้อย่างได้ผลนั้น คือ การนำระบบซอฟต์แวร์ CODIS DNA ที่ได้รับการพัฒนาจากสำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกาหรือ FBI มาใช้ CODIS ได้กลายเป็นมาตรฐานสากลสำหรับซอฟต์แวร์ระบบฐานข้อมูลดีเอ็นเอที่ใช้กันใน ๓๙ ประเทศ โดยระบบซอฟต์แวร์จะจับคู่ระหว่างข้อมูลจากฐานข้อมูลสารพันธุกรรมกับสารพันธุกรรมของผู้ต้องหาและสารพันธุกรรมที่พบในสถานที่เกิดเหตุอาชญากรรมได้อย่างแม่นยำ ด้วยเหตุนี้จึงนำมาสู่การที่กระทรวงยุติธรรมประกาศลงนามในบันทึกข้อตกลงระหว่างสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และFBI ซึ่งจะทำให้ประเทศทั้งสองกลายเป็นพันธมิตรและทำให้ไทยมีสิทธิใช้ระบบซอฟแวร์ CODIS คริสต์ แฮสเซิล ผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์อาชญากรรม FBI ซึ่งเดินทางจากวอชิงตัน ดีซี มายังกรุงเทพฯ เพื่อเข้าพบ ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม และ แพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ในการลงนามครั้งประวัติศาสตร์ ระหว่างสถาบันนิติวิทยาศาสตร์และ FBI ซึ่งหลังจากการลงนาม ผู้เข้าร่วมงานได้กล่าวถึงถึงวิทยาการอันล้ำหน้าของการใช้สารพันธุกรรมในการช่วยไขปริศนาคดีอาชญากรรมภายในประเทศและทั่วโลก พร้อมกันนี้ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ แพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ได้กล่าวเสริมว่า “ระบบซอฟต์แวร์นี้ไม่เพียงแต่ช่วยคลี่คลายคดีและป้องกันการเกิดอาชญากรรมรุนแรงเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้ติดตามพวกลักลอบค้ามนุษย์และการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลสูญหาย โดย CODIS มีคุณลักษณะพิเศษที่ช่วยให้เราสามารถใช้สารพันธุกรรมในการระบุผู้สูญหายและซากชิ้นส่วนจากร่างกายได้อย่างรวดเร็ว เราจะใช้เครื่องมือนี้ในการต่อสู้กับพวกค้ามนุษย์ได้อย่างเด็ดขาด” ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กล่าว ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวทิ้งท้ายถึงวันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากลของสหประชาชาติซึ่งตรงกับวันที่ ๒๕ พฤศจิกายนที่ผ่านมาว่า ตนอยากเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของระบบฐานข้อมูลสารพันธุกรรมแห่งชาติ ที่จะช่วยปกป้องผู้หญิงทุกคนของประเทศและเป็นที่น่ายินดีว่าในปีนี้กระทรวงยุติธรรมของไทยได้เป็นเจ้าภาพงานประชุมและสัมมนาเครือข่ายนิติวิทยาศาสตร์เอเชียครั้งที่๔ที่กรุงเทพมหานคร โดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญทางนิติวิทยาศาสตร์นับร้อยจากทั่วภูมิภาคเอเชียเข้าร่วมสัมมนาเพื่อความก้าวหน้าทางด้านนิติวิทยาศาสตร์อีกด้วย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ