“A, B, C” กลยุทธ์ง่าย ๆ ในการจัดเก็บข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ

ข่าวเทคโนโลยี Thursday December 6, 2012 11:13 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--6 ธ.ค.--คอร์แอนด์พีค ความท้าทายที่บรรดาผู้บริหารระดับซีไอโอกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันนั้นไม่ได้จำกัดเพียงแค่งบประมาณด้านไอทีที่ลดน้อยลงเท่านั้น แต่พวกเขายังจะต้องรับมือกับการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีและแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นของลูกค้าและผู้ใช้อีกด้วย ผู้จัดการด้านไอทีจำนวนมากกำลังพยายามอย่างหนักเพื่อสร้างสมดุลระหว่างความต้องการดังกล่าว อีกทั้งยังจะต้องทำให้มั่นใจถึงประสิทธิภาพและคุณภาพการให้บริการ ทำให้พวกเขาเดินหน้าที่จะขยายระบบโครงสร้างพื้นฐานองค์กรของตน ด้วยการสร้างคลังข้อมูลขนาดใหญ่ซึ่งจะมีการใช้ระบบต่างกัน อย่างมากอันเนื่องมาจากการใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์จากหลากหลายผู้จำหน่าย ส่งผลให้การจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลเกิดความซับซ้อนยิ่งขึ้น กล่าวคือ เกิดภาระในด้านเวิร์กโหลดและความจุ รวมถึงค่าใช้จ่ายด้านระบบจัดเก็บข้อมูลที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ซึ่งไม่รวมถึงความต้องการด้านพื้นที่จัดวาง การใช้ไฟฟ้า และระบบปรับอากาศ ทั้งนี้ งานวิจัยชิ้นล่าสุดได้ตอกย้ำความชัดเจนในประเด็นนี้มากขึ้น โดยพบว่า 47%1 ของต้นทุนรวมด้านการจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลนั้น เป็นค่าใช้จ่ายด้านการจัดการไฟล์แต่เพียงอย่างเดียว นั่นจึงเป็นสาเหตุว่าการทำให้การจัดการไฟล์และเนื้อหาสามารถทำได้ง่ายดายขึ้นจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน และความสามารถในการปรับขยายที่องค์กรต้องการ เพื่อให้สามารถรองรับการพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลในอนาคต และนำไปสู่การลดต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของระยะยาว (TCO) ในท้ายที่สุด แน่นอนว่าการจัดการระบบที่มีความแตกต่างกันอย่างมาก อีกทั้งยังมีความซับซ้อน ไร้ระเบียบ และไม่มีประสิทธิภาพ ภายใต้ TCO ระดับต่ำอาจไม่ใช่งานที่ง่ายนัก เว้นแต่บริษัทเหล่านั้นจะมีแผนงานที่ได้รับการกำหนดไว้เป็นอย่างดี เชื่อถือได้ และสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างง่ายดายเหมือนกับ A, B, C ภายใต้เงื่อนไขของการจัดการข้อมูล บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ได้กำหนดให้ "A, B, C" เป็นแนวทางที่ง่ายดายในการอธิบายถึงความต้องการหลักๆ ของการบริหารจัดการระบบจัดเก็บที่ประสบผลสำเร็จ โดย A ย่อมาจาก Archive First ซึ่งหมายถึงการจัดเก็บข้อมูลก่อน B มาจาก Backup Less คือการสำรองข้อมูลให้น้อยลง และ C มาจาก Consolidate More ที่หมายถึงการผสานรวมให้มากขึ้น และด้วยการจัดการอย่างเหมาะสมและชาญฉลาด กลยุทธ์ "A, B, C" ดังกล่าวจึงไม่เพียงแต่ช่วยให้องค์กรสามารถปรับปรุงการดำเนินงาน ตลอดจนเพิ่มสมรรถนะและประสิทธิภาพเท่านั้น แต่ยังมั่นใจได้ถึงความปลอดภัยของข้อมูลในระดับสูง ด้วยค่าใช้จ่ายด้านการจัดเก็บข้อมูลที่ลดลงอย่างมาก คลังจัดเก็บข้อมูลอัจฉริยะ เป็นที่ทราบกันดีว่า ข้อมูลที่ใช้งานจริงบนเครือข่ายส่วนใหญ่นั้น มีสัดส่วนเพียง 20-30% เท่านั้น ขณะที่อีก 70-80% เป็นข้อมูลที่ไม่ได้มีการใช้งานหรือมีการเข้าถึงน้อยครั้งมาก จริงๆ แล้ว ข้อมูลในระบบเปิดทั่วไป มีข้อมูลที่ไม่มีความจำเป็นในการใช้งานมากถึง 51% และ 22% เป็นข้อมูลที่มีความซ้ำซ้อน ในขณะที่ 68% เป็นข้อมูลที่ไม่มีการเข้าถึงเลยเป็นระยะเวลายาวนานถึง 90 วันหรือมากกว่านั้น 1 จากข้อมูลดังกล่าวทำให้ได้ทราบว่าข้อมูลที่ไม่ได้มีการใช้งานในระบบนั้น ใช้ทรัพยากรของระบบจัดเก็บข้อมูลเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งนั่นไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดต้นทุนด้านการจัดเก็บข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังนำไปสู่การไร้ประสิทธิภาพด้านการดำเนินงานของระบบอีกด้วย การปรับใช้แนวทางการจัดเก็บเนื้อหาอัจฉริยะ ช่วยให้การจัดการไฟล์และเนื้อหาต่างๆ สามารถดำเนินการได้สอดคล้องกับความต้องการทางธุรกิจของคุณอย่างลงตัวผ่านทางระบบจัดเก็บข้อมูลเชิงบริการ จะเห็นได้ว่า ในสภาพแวดล้อมแบบต่างระบบและมีความซับซ้อนอย่างมากนั้น มักจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลและแพลตฟอร์มที่มีระดับหลากหลาย ซึ่งบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ สามารถผลักดันให้เกิดการจัดการไฟล์อย่างชาญฉลาดในรูปของการแบ่งระดับชั้นที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการใช้งานระบบจัดเก็บข้อมูลได้อย่างสูงสุด และเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ในสินทรัพย์ระบบจัดเก็บข้อมูลได้อย่างมาก ตัวอย่างเช่น ระบบแบ่งระดับชั้นไฟล์อัจฉริยะสามารถย้ายข้อมูลที่ไม่ได้ใช้งานออกจากดิสก์หลัก (ซึ่งปกติจะอยู่ในระดับชั้นที่สูงของระบบจัดเก็บข้อมูลและมีราคาแพง) ไปยังระบบจัดเก็บข้อมูลชั้นล่างที่มีราคาไม่แพงและสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย เช่น ไดรฟ์ SATA ดังนั้น จึงไม่เป็นการสร้างภาระให้กับไดรฟ์ที่มีสมรรถนะสูง เช่น Fibre Channel และสามารถนำไปใช้รองรับข้อมูลทางธุรกิจที่สำคัญและมีการใช้งานอยู่ตลอดเวลาได้ นอกจากนี้ การจัดวางข้อมูลแบบอัตโนมัติดังกล่าวยังช่วยให้เกิดการใช้ระบบจัดเก็บข้อมูลที่คุ้มค่ากว่าเดิม อีกทั้งยังลดการลงทุนในด้านการเพิ่มความจุใหม่ได้อย่างมากอีกด้วย ทั้งนี้เป็นที่คาดกันว่าระบบจัดเก็บข้อมูลอัจฉริยะสามารถลดต้นทุนรวมของการจัดเก็บข้อมูลได้มากกว่า 25% และสามารถตอบสนองความต้องการด้านการรักษาความปลอดภัยและการปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมด้วยการนำเสนอระบบป้องกันข้อมูลระยะยาวที่มีต้นทุนต่ำสำหรับข้อมูลที่ไม่มีการใช้งานได้ทั้งหมด สำรองข้อมูลน้อยลง เมื่อมีการปรับใช้การแบ่งระดับชั้นไฟล์อัจฉริยะ ข้อมูลที่เหลืออยู่ในระบบจัดเก็บข้อมูลหลักจะน้อยลง ทำให้ลดปริมาณการสำรองข้อมูลลงได้อย่างมาก โดยข้อมูลที่ไม่ได้ใช้งานจะถูกบีบอัดและขจัดความซ้ำซ้อนออกไป จากนั้น จะถูกนำไปจัดเก็บไว้ในพื้นที่จัดเก็บที่มีการเก็บรักษาข้อมูลระยะยาว ส่วนในสภาพแวดล้อมการจัดเก็บข้อมูลที่มีการใช้งานปกติ จะมีการนำคุณสมบัติขั้นสูงมาใช้งาน เช่น การสร้างสำเนาข้อมูลเพื่อป้องกันความเสียหาย การตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูล และการทำซ้ำข้อมูล (Replication) ขั้นสูง ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะช่วยให้การเรียกใช้ข้อมูลสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและลดความจำเป็นในด้านการสำรองข้อมูลโดยสิ้นเชิง ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้สำเนากู้คืนระบบจากความเสียหาย จะมีการสร้างสำเนาสำรองชุดที่สองของข้อมูลที่ไม่ได้ใช้งานขึ้นมาอย่างรวดเร็ว โดยสามารถทำได้ทั้งภายในเครื่องและจากระยะไกล แนวทางนี้ช่วยให้ขั้นตอนการสำรองข้อมูลทั้งหมดมีประสิทธิภาพและมีความยืดหยุ่นในระดับสูงสุด สามารถลดระยะเวลาการสำรองข้อมูลและเวิร์กโหลดได้อย่างมาก นอกจากนี้ ปริมาณการสำรองข้อมูลที่ลดลงดังกล่าว ยังช่วยชะลอความต้องการอุปกรณ์ในการสำรองข้อมูลใหม่ ตลอดจนพื้นที่จัดวางที่ต้องใช้ รวมถึงค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าและระบบปรับอากาศอีกด้วย จากข้อมูลที่มีอยู่พบว่าต้นทุนรวมด้านการสำรองข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้างสามารถลดลงได้ประมาณ 60%2 และที่สำคัญกว่านั้นคือข้อมูลที่ต้องทำการสำรองเก็บไว้จะมีปริมาณน้อยลง โดยขณะนี้องค์กรสามารถปรับขั้นตอนการสำรองข้อมูลให้พอเหมาะกับระยะเวลาการสำรองข้อมูลได้โดยไม่ต้องใช้เทคโนโลยี การสำรองข้อมูลที่รวดเร็วและมีราคาแพง สำหรับองค์กรที่มีสำนักงานสาขาหลายแห่ง ขั้นตอนการสำรองข้อมูลในแบบดั้งเดิมอาจทำให้เกิดค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงและมีความซับซ้อน แต่เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลแบบ Edge-to-Core ได้นำเสนอทางออกที่ดีเพื่อช่วยในการปรับปรุงระบบสำรองข้อมูลของไซต์ระยะไกลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีนี้จะช่วยให้การจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลที่ซับซ้อนและการสำรองข้อมูลในรูปแบบปกติได้รับการดำเนินการในลักษณะรวมศูนย์และอัตโนมัติ นั่นหมายความว่าสำนักงานหลักและสาขาระยะไกลต่างๆ จะสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ของพวกเขาเพื่อช่วยในการขยายธุรกิจได้อย่างเต็มที่ ผสานรวมให้มากขึ้น เพื่อให้บรรลุผลด้านการจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นที่องค์กรจะต้อง "ผสานรวมให้มากขึ้น" นั่นคือการผสานรวมระบบจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากของตน (ที่มีข้อมูลทั้งแบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง) เข้าไว้ด้วยกันในคลัสเตอร์เดียว เมื่อมีไซโลข้อมูลน้อยลง การใช้พื้นที่จัดวางและบริหารจัดการก็จะน้อยลง ทำให้สามารถจัดการและควบคุมค่าใช้จ่ายด้านการจัดเก็บข้อมูลทั้ง CAPEX และ OPEX ค่าใช้จ่ายต่างๆ ด้านการดำเนินการทางธุรกิจ ได้แก่ ค่าไฟ ระบบปรับอากาศ และพื้นที่จัดวาง ลดลงได้อย่างมาก โครงสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลแบบเสมือนที่ผสานรวมข้อมูลในรูปแบบบล็อก ไฟล์ และเนื้อหานี้ ยังได้จัดเตรียมแพลตฟอร์มเดียวที่เอื้อต่อการจัดการชุดข้อมูลที่อยู่แยกส่วนกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างพูลระบบจัดเก็บข้อมูลขึ้นมาในสภาพแวดล้อมที่มีระบบแตกต่างกันนั้น ช่วยให้องค์กรสามารถลดความซับซ้อนด้านการจัดการ สามารถใช้ทรัพยากรได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งยืดอายุการใช้งานสินทรัพย์ที่มีอยู่ได้อีกด้วย Hitachi Data Systems File and Content Solutions (FCS) Hitachi Data Systems File and Content Solutions (FCS) ได้รวมเอากลยุทธ์ด้านการจัดเก็บข้อมูล “A-B-C” มาไว้ให้พร้อมแล้ว เมื่อมีการปรับใช้พูล ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบเสมือน เพื่อสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลแบบผสานรวมสำหรับจัดเก็บและจัดการข้อมูลในรูปแบบบล็อก ไฟล์ และเนื้อหา ขึ้นมาแล้ว Hitachi FCS ก็จะนำเสนอขีดความสามารถที่ครอบคลุมจะช่วยลดต้นทุนรวมในด้านการจัดเก็บข้อมูล ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้น และลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น โดยคุณสมบัติที่โดดเด่นของโซลูชั่นแบบผสานรวมชุดนี้ ประกอบด้วย Hitachi Content Platform (HCP) ที่เก็บออบเจ็กต์อัจฉริยะสำหรับระบบ จัดเก็บข้อมูลแบบคลาวด์และคลังข้อมูลที่ปลอดภัยและยืดหยุ่น HCP เป็นสถาปัตยกรรมแบบเปิดสำหรับระบบจัดเก็บข้อมูลออบเจ็กต์ที่มีหลายระดับชั้นในรูปแบบรวมศูนย์สำหรับการจัดเก็บและรักษาข้อมูลระยะยาวอีกทั้งยังลดข้อจำกัดและปัญหาในด้านระบบไฟล์และเทปบันทึกข้อมูลด้วยการนำเสนอ 'ที่เก็บข้อมูลแบบแอคทีฟ' (active archive) ซึ่งเป็นพื้นที่จัดเก็บเนื้อหาแบบ Web 2.0 ที่สามารถใช้เป็นระบบพื้นฐานให้กับบริการระบบจัดเก็บข้อมูลแบบคลาวด์ได้อย่างหลากหลาย การปรับใช้ที่เก็บข้อมูลแบบแอคทีฟกับระดับชั้นของระบบจัดเก็บข้อมูล ทำให้องค์กรสามารถถ่ายโอนข้อมูลที่ไม่ได้ใช้หรือมีการเข้าถึงไม่บ่อยครั้งจากระบบจัดเก็บข้อมูลระดับชั้นที่หนึ่ง ไปยัง HCP ซึ่งมีต้นทุนต่อเทราไบต์ที่น้อยมาก เมื่อพื้นที่ของระบบจัดเก็บข้อมูลในระดับชั้นที่หนึ่งเพิ่มมากขึ้น ก็สามารถให้บริการด้านการอ่านและการเขียนข้อมูลตามคำขอได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งช่วยขยายอายุการใช้งานและปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมของแอพพลิเคชั่นได้ดียิ่งขึ้น ขณะนี้ลูกค้าที่ใช้ HCP ในจำนวนเกือบครึ่งได้ย้ายเนื้อหาในระบบจัดเก็บข้อมูลหลักของตนไปยัง HCP แล้วกว่า 40% และได้รับความจุกลับคืนมาจากระบบจัดเก็บข้อมูลหลักของตนด้วย3 โดยเมื่อเทียบกับระบบจัดเก็บข้อมูลในแบบดั้งเดิม พบว่าลูกค้าที่ใช้ HCP ในจำนวนมากกว่า 40% สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 30% หรือมีความจุโดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างมาก 4 อีกทั้งยังได้รับผลตอบแทนจากสินทรัพย์ระบบจัดเก็บข้อมูลเร็วขึ้นด้วย เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดและกฎระเบียบที่เข้มงวดต่างๆ ในปัจจุบันได้ดียิ่งขึ้น HCP จะช่วยให้องค์กรมีความมั่นใจได้ว่าจะสามารถเก็บรักษาข้อมูลได้ในระยะยาวโดยใช้ระบบป้องกัน RAID ขั้นสูง, เทคโนโลยี WORM (Write-once; Read-many), การทำซ้ำข้อมูล, การเก็บรักษาข้อมูลตามนโยบาย และการเข้ารหัส นอกจากนี้ เมื่อผสานรวม HCP เข้ากับ Hitachi Data Ingestor (HDI) องค์กรจะสามารถปรับใช้ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบ Edge-to-Core เพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้กับขั้นตอนการสำรองข้อมูลทั้งหมดและช่วยลดระยะเวลาการสำรองข้อมูลลงได้ สิ่งนี้จะช่วยให้ต้นทุนด้านการสำรองข้อมูลต่ำลง และลดความซับซ้อน รวมทั้งเพิ่มความสามารถด้านการควบคุม การรักษาความปลอดภัย และการป้องกันข้อมูลได้มากขึ้นกว่าเดิมด้วย Hitachi NAS Platform เพื่อการรวมระบบที่สามารถปรับขยายได้และมีประสิทธิภาพสูง Hitachi NAS Platform เป็นแพลตฟอร์มสมรรถนะสูงที่สามารถผสานรวมระบบให้เป็นหนึ่งเดียวได้อย่างมีประสิทธิภาพ การรวมไฟล์เซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์ NAS ที่มีอยู่ไว้ในโหนดที่น้อยลง จะช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินการงานเดิมหรืองานที่มากขึ้นโดยใช้อุปกรณ์ที่น้อยลงและมีค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินงานต่ำลง ตามที่อธิบายไว้ ก่อนหน้านี้การรวมระบบในรูปแบบนี้ไม่เพียงแต่ลดค่าใช้จ่าย CAPEX ที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร การจัดการ และการจัดซื้อความจุของระบบจัดเก็บข้อมูลเท่านั้น แต่ยังช่วยลดต้นทุนของพื้นที่จัดวางและมีเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้มากขึ้น โดยที่มีค่าใช้จ่าย OPEX ที่เกี่ยวข้องกับค่าไฟฟ้าและระบบปรับอากาศต่ำลง Hitachi NAS Platform เป็นองค์ประกอบระดับพรีเมียมของกลุ่มผลิตภัณฑ์ Hitachi FCS ด้วยการนำเสนอ การบริการไฟล์แบบหลายโปรโตคอล การปรับเปลี่ยนโครงสร้างดิสก์อย่างอิสระ ระบบเสมือนจริง และสามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างระบบคลาวด์ขององค์กรนอกเหนือจากการแบ่งระดับชั้นไฟล์อัจฉริยะ ซึ่งนั่นช่วยให้สามารถจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลในลักษณะลำดับชั้นสอดคล้องตามนโยบายที่กำหนด โดยรวมแล้ว ความสามารถที่โดดเด่นเหล่านี้ ช่วยให้การโยกย้ายข้อมูลภายใน Hitachi NAS Platform และ Hitachi Content Platform สามารถดำเนินการได้อย่างคล่องตัวและเป็นไปอย่างอัตโนมัติ ส่งผลให้เกิดการจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ Hitachi NAS Platform ยังช่วยลดความซับซ้อนของการจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลและลด TCO ให้น้อยลงด้วยประสิทธิภาพที่เหนือกว่า การใช้ประโยชน์ ที่มากขึ้น ความสามารถในการปรับขยาย และความพร้อมใช้งานของข้อมูลที่ระดับ 99.999% โดยจากข้อมูลที่มีอยู่ พบว่า 40% ขององค์กรที่ซื้อ Hitachi NAS Platform มาใช้งานมีวัตถุประสงค์หลักก็เพื่อลดค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะ การผสานรวมผลิตภัณฑ์ต่างๆ จาก Hitachi Data Systems File and Content Solutions ซึ่งได้แก่ Hitachi NAS Platform, Hitachi Content Platform และ Hitachi Data Ingestor ช่วยให้องค์กรสามารถลดค่าใช้จ่ายและความซับซ้อนด้านการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ได้โดยง่ายเหมือนกับ "A, B, C" และจากการออกแบบให้สามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี ทำให้กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลซึ่งครอบคลุมในทุกองค์ประกอบของโซลูชั่นเหล่านี้ สามารถรวมและจัดระเบียบได้จากอินเตอร์เฟสส่วนกลาง ด้วยเหตุนี้ องค์กรจึงสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านการจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลได้ถึง 25% ตลอดจนประหยัดต้นทุนด้านการสำรองข้อมูลได้ถึง 60% และลดความซับซ้อนด้านการจัดการค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าและระบบปรับอากาศด้วยการผสานรวมระบบทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน2 1. ที่มา: Strategic Research Corporation and SNIA 2. ที่มา : TechValidate and Hitachi Storage Economics team 3. ที่มา: TechValidate. http://www.techvalidate.com/tvid/9BC-386-B1B 4. ที่มา: TechValidate. http://www.techvalidate.com/tvid/705-DA4-125 5. ที่มา: Survey of Hitachi NAS Platform users by TechValidate. TVID: 848-E57-36F

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ