ไมโครซอฟท์เปิดตัวอุปกรณ์ช่วยตรวจสอบระบบ สำหรับการตรวจสอบแบบเอนด์ทูเอนด์ ในการติดตั้ง Exchange Server ในประเทศไทย

ข่าวทั่วไป Monday October 18, 2004 12:20 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 ต.ค.--ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน
Exchange Server Best Practices Analyzer ระบบปฏิบัติการใหม่ที่วิเคราะห์การคอนฟิกกูเรชั่นด้วยตัวเอง พร้อมการให้ความช่วยเหลือตามขั้นตอนเพื่อช่วยแก้ปัญหาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศเปิดตัว Microsoft Exchange Server Best Practices Analyzer Tool ซึ่งเป็นอุปกรณ์ใหม่ล่าสุดที่จะมาช่วยตรวจสอบระบบคอมพิวเตอร์โดยอัตโนมัติ ซอฟท์แวร์ตัวใหม่นี้จะช่วยย่นระยะเวลาที่จะต้องใช้ใน “การตรวจสภาพระบบ” แบบครบวงจรสำหรับการวิเคราะห์คอนฟิกกูเรชั่นของ Exchange เซิร์ฟเวอร์
ซอฟท์แวร์ตัวใหม่ล่าสุดนี้เป็นซอฟท์แวร์ที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีจากเว็บไซต์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งซอฟท์แวร์นี้จะมีแบบทดสอบสำหรับการแก้ไขปัญหาเพื่อที่จะระบุและวินิจฉัยลักษณะของปัญหาในการคอนฟิกกูเรชั่นที่เกิดขึ้นในเครือข่าย โดยการช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถจัดการ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของ Exchange ที่มีอยู่ในปัจจุบันให้ถึงขีดสุด โดยในการตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นจะกระทำโดยรวบรวมการตั้งค่ากว่า 1,200 แบบ และตรวจสอบตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ทั้งหมด 1,000 เกณฑ์ หลังจากเสร็จสิ้นการตรวจสอบระบบแล้วซอฟท์แวร์จะรายงานปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดโดยละเอียด และช่วยเชื่อมต่อไปยังบทความในเว็บไซท์ที่บรรจุเนื้อหาและรายละเอียดที่จะสามารถนำมาช่วยในการแก้ไขปัญหาได้
“Exchange Server Best Practices Analyzer Tool จะช่วยให้ลูกค้าตรวจสอบการติดตั้งระบบ Exchange Server มาใช้ได้อย่างรวดเร็วและเต็มประสิทธิภาพ” นายสิทธิชัย ตันติแสงอรุณ ผู้จัดการกลุ่มการตลาด บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว “ โดยปกติแล้วอุปกรณ์เหล่านี้จะแสดงถึงการเข้ารหัสความรู้พื้นฐานของไมโครซอฟท์ที่เกี่ยวกับ Microsoft Exchange Server ในรูปแบบอัตโนมัติ และต่อเนื่องทันเหตุการณ์ ทำให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบระบบพื้นฐานของเครือข่ายและเพิ่มประสิทธิภาพให้สมบูรณ์ที่สุด ผู้ใช้สามารถใช้งานอุปกรณ์ที่มีกับการติดตั้งทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเซิร์ฟเวอร์เฉพาะหรือชุดเซิร์ฟเวอร์ก็ได้ เราคิดว่าอุปกรณ์ดังกล่าวมีลักษณะเหมือนกับ “วิศวกรฉบับกระเป๋า”
Exchange Server Best Practices Analyzer ตรวจสอบเซิร์ฟเวอร์ที่ทำงานบน Exchange Server เวอร์ชั่น 2000 และ 2003 รวมถึง Exchange Server เวอร์ชั่น 5.5 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายแบบผสม Exchange Server Best Practices Analyzer ไม่สามารถตรวจสอบการติดตั้ง Exchange Server Best Practices Analyzer เวอร์ชั่น 5.5 อย่างเดียวได้
นอกจากนี้แล้วนายสิทธิชัย ยังกล่าวว่า “ผู้บริหารเครือข่ายได้รับการขอร้องให้ทำให้เครือข่ายสามารทำงานและทันต่อเหตุการณ์โดยอาศัยแหล่งข้อมูลที่มีอยู่เพียงน้อยนิด ผู้บริหารเครือข่ายบางราย ไม่ค่อยมีเวลาที่จะศึกษาเอกสารทั้งหมด และแนวทางปฏิบัติเพื่อประโยชน์สูงสุดที่ไมโครซอฟท์จัดหาไว้ให้ ซึ่ง Exchange Server Best Practices Analyzer สามารถเข้ามาช่วยแก้ปัญหาในจุดนี้ได้”
คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งของอุปกรณ์ดังกล่าวก็คือ ความสามารถในการคาดการณ์ว่าปัญหาอาจเกิดขึ้นจากการคอนฟิกกูเรชั่นที่ไม่ถูกต้อง โดยแสดงผลเป็นสัญลักษณ์สีแดง เหลือง เขียวและผู้ดูแลระบบสามารถที่จะเจาะลึกเข้าไปดูว่าปัญหาคืออะไร และควรจะเปลี่ยนแปลง แก้ไขอย่างไร
ซอฟท์แวร์ดังกล่าวจะอัพเดตตัวเองทุกครั้งที่ทำงานเพื่อให้ทันสมัยอยู่เสมอ ซอฟท์แวร์จะตั้งคำถามกับเว็บไซต์ของไมโครซอฟท์โดยอัตโนมัติทุกครั้งที่ผู้ใช้ใช้งานเพื่อตรวจสอบว่าไฟล์ XML Help มีเวอร์ชั่นใหม่ให้อัพเดตได้หรือยัง ถ้าหากมีแล้วผู้ใช้ก็สามารถใช้งานไฟล์ใหม่นี้กับการติดตั้งเพื่อให้แน่ใจว่ามีการนำข้อมูลข่าวสารและการอัพเดตมาใช้แล้ว
นายสิทธิชัยยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “Exchange Server Best Practices Analyzer ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษในการอัพเดตอัตโนมัติช่วยให้ผู้ใช้งานไม่ต้องคอยติดตามอัพเดตโปรแกรมหรือคำแนะนำต่างๆ ด้วยตัวเองเนื่องจากซอฟท์แวร์ตัวนี้จะรับหน้าที่ทำให้ ผู้ใช้งานไม่ต้องปวดหัวกับปัญหาและยังสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานและแพล็ตฟอร์ม Exchange ทั้งหมดได้อีกด้วย”
ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลด Exchange Server Best Practices Analyzer ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายจาก http://www.microsoft.com/exchange/downloads ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อมูลเกี่ยวกับไมโครซอฟท์
บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี 2536 บริษัทฯ เสนอซอฟต์แวร์ชั้นนำระดับโลกที่ใช้งานง่ายและเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้คนไทย ตลอดจนแพลตฟอร์มที่ช่วยให้องค์กรธุรกิจพัฒนาโซลูชั่นที่ตรงตามความต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถรองรับได้ตั้งแต่คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คไปจนถึงเครื่องขนาดใหญ่ระดับเมนเฟรม เพื่อให้สอดคล้องกับการขยายตัวของจำนวนผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในประเทศไทย
ไมโครซอฟท์เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ ไมโครซอฟท์ คอร์ป ประเทศสหรัฐอเมริกา และ/หรือ ประเทศอื่นๆ ชื่อบริษัทและผลิตภัณฑ์ที่มีการกล่าวถึงในเอกสารชุดนี้อาจจะเป็นเครื่องหมายการค้าของเจ้าของนั้นๆ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
คุณนฤมล วีระเดชะ คุณรจิตร เข็มศักดิ์สิทธิ์
บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน ประเทศไทย
โทรศัพท์: 0-2257 4999 โทรศัพท์: 0-2627-3501 ต่อ 204
โทรสาร: 0-2257 0099 โทรสาร: 0-2627-3510
Email: naruemow@microsoft.com Email: rkhemsaksith@th.hillandknowlton.com--จบ--
--อินโฟเควสท์ (นท)--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ