กรุงเทพฯ--14 ต.ค.--ไทยทิคเก็ตมาสเตอร์
ยืนยง โอภากุล ซึม - เศร้า - เหงา - แฮ้งก์ บทเพลงโดย ทิวา สาระจูฑะ
จากระยะเวลามากกว่าสองทศวรรษในการคุ้นเคยรู้จักนับถือกัน ในความเป็น “ เพื่อน”จากคำพูดสั้นๆ ในวันหนึ่ง ที่กลายมา เป็น การทำงานอย่างจริงจัง ที่เริ่มต้นโดย “ เพื่อน” สองคนจาก “เพื่อน” สองคนที่มาร่วมกันทำงาน กลายเป็นการเดินทางมา พร้อม กับน้ำใจไมตรีของเพื่อนอีกหลายๆ คน
ยืนยง โอภากุล หรือ “ แอ๊ด คาราบาว” ผู้ชายที่เป็นกระบอก เสียงบอกเล่าสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ให้ผู้คนได้รับรู้ เจ้า ของเสียงร้องที่ทรงพลัง และเจ้าของงานเพลงที่มี เนื้อหาคมคาย เข้าถึงใจของผู้ฟังทุกคน
ทิวา สาระจูฑะ บรรณาธิการนิตยสาร “ สีสัน” นิตยสารที่บันทึก ความเป็นไปต่างๆ ของวงการเพลงไทย ให้ผู้คนได้รับรู้เจ้าของ งานเขียนที่ลุ่มลึก มีเสน่ห์เฉพาะตัว และประสบการณ์ชีวิตที่หลาก หลาย ที่หลายต่อหลายครั้งถูกกลั่นกรองออกมาเป็นงานเพลงที่ แหลมคม
ดูเหมือนทั้งคู่จะยืนอยู่บนถนนเส้นทางเดียวกัน ต่างกันแค่ฝั่ง ถนน แล้ววันหนึ่งทั้งสองคนก็ร่วมเดินไปด้วยกัน เมื่อ ยืนยง โอภากุล ตัดสินใจนำเอางานเพลงของ ทิวา สาระจูฑะ รวมทั้ง หมด 13 เพลง มาขับขานในอัลบั้มที่ “ เพื่อน” ร้องเพลงเพลง ของ “ เพื่อน” ที่มี “ เพื่อนๆ” ร่วมแรง ร่วมใจกันทำ
“เป็นไอเดียของแอ๊ด ที่เกิดขึ้นตอนประมาณปลายๆ เดือน ตุลาคม ตอนนั้นเรานั่งคุยกันถึงสถานการณ์ทางภาคใต้ที่มัน แรง เราก็อยากทำเพลงปลุกเร้าให้คนสามัคคีกัน แล้วยกให้ เป็นสมบัติของชาติเลย ซึ่งก็กลายเป็นเพลง ขวานไทยใจ หนึ่งเดียว” ทิวา สาระจูฑะ เกริ่นย้อนถึงความเป็นมาของ ‘ซึม เศร้า เหงา แฮ้งก์’
“จากนั้นก็มีการคุยกันถึงเพลง เวลาที่เหลือ ในหนังซุ้มมือปืน เราอยากได้นักร้องเสียง แหบๆ ซึ่งก็หาใครมาร้องไม่ได้ แอ๊ดก็ บอกงั้นเราร้องให้เอง ร้องเสร็จแอ๊ดก็บอกว่า เราร้องเพลงวา สักชุดดีกว่า ร้องทั้งชุดเลยนะ ชื่ออัลบั้มอันนี้เลยนะ ‘ ซึม เศร้า เหงา แฮ้งก์ ’ เราก็หัวเราะขำๆ ไม่ได้คิดอะไร ”
นั่นคือเรื่องราวในเดือน พฤศจิกายน 2547 เดือนที่ ‘ ซึม เศร้า เหงา แฮ้งก์ ’ เริ่มจุดประกายของตัวเองขึ้นมา แต่ทุกอย่างก็ยัง สงบนิ่ง “ พอเกิดสึนามิ เราก็มานั่งคิดแต่งเพลงเกี่ยวกับสึนามิ ขึ้นมา พอสึนามิจบ จู่ๆ วันหนึ่ง แอ๊ดก็ถามขึ้นมา เตรียมเพลง เสร็จหรือยัง เราก็ถาม เพลงอะไรเหรอ แอ๊ดก็ตอบว่า ก็เพลงชุด ของวาไง”
นับจากวันนั้น ‘ ซึม เศร้า เหงา แฮ้งก์ ’ ก็เริ่มต้นเดินทาง โดยเป็น การผสมผสานกัน ระหว่าง งานเพลงเก่าของทิวา สาระจูฑะ ที่แต่งเอาไว้ ในวาระต่างๆ 8 เพลง คือ ตำนานดวง ดาว เพลงที่ แต่งให้กับชมรม วิจารณ์บันเทิง, เจ็บเพื่อเข้าใจ เพลงจากภาพยนตร์เรื่อง พันธุ์หมาบ้า, ความฝัน-ความจริง เพลงจากภาพยนตร์เรื่อง ขังแปด, อยากให้อยู่ ด้วย เพลงที่ ฤทธิพร อินสว่างเคยนำ ไปบันทึกเสียงมาแล้ว, รัก/ยิ้ม เพลงที่ เป็นการผสมผสานระหว่างเพลงสองเพลงคือ รัก ที่โฮปเคยร้อง เอาไว้ กับ ยิ้ม ที่เคยให้นักร้องหญิงคนหนึ่งไปบันทึกเสียง แต่ อัลบั้ม ไม่ได้วางจำหน่าย, เมืองไทย 2651 ที่ ชัช วัฒนะไกร เคยร้องเอาไว้ ใน อัลบั้ม ชัดถ้อยชัดคำ, ความหมาย และ อย่า กลัว เพลงที่แต่งไว้นานและไม่เคยถูกนำไปบันทึกเสียงมาก่อน
กับงานเพลงใหม่ที่แสดงให้เห็นถึงมุมมอง ความคิด ของทิวา ที่มีต่อโลกในยุคปัจจุบันอีก 5 เพลง ได้แก่ เวลาที่เหลืออยู่ เพลงจากภาพยนตร์เรื่อง ซุ้มมือปืน, คนโลภ, ตามเสียงหัวใจ, ที่สุดของคน และ อีกไม่นาน จากสองคน น้ำใจจากเพื่อนๆ มากมาย ก็หลั่งไหลมาเป็น สาม - สี่ - ห้า - หก...
“แอ๊ดบอกให้เราเป็นโปรดิวเซอร์ด้วย เพราะเขาจะร้องอย่าง เดียว ซึ่งชุดนี้แอ๊ดจะร้องไม่ใช่คาราบาวเลย จะร้องแบบที่เรา ร้อง อยากตีความเอง จะซ้อม เราเองก็ไปตามเอ๊ดดี้ (สุเทพ ปาน อำพัน) มาทำหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์ พอตอนทำเดโม เราก็ให้ หรั่ง (อิสระ สุวรรณณัฐวิภา) เป็นคนเรียบเรียง“ พอตอนทำงาน เราก็โทรเชิญ ทุกคนก็มา ด้วยน้ำใจ ไม่มีใครถามเรื่องเงินเลย แล้วไม่ใช่มาถึงห้องอัดแล้วใส่เลย ทุกคนขอเพลงไปทำการบ้าน หมด”
TICKET INFORMATION
สถานที่แสดง Thammasat University Auditorium
ที่ตั้งสถานที่ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันแสดง วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม 2548
ประตูเปิด 19.00 น.
เริ่มการแสดง 20.00 น.
จำหน่ายบัตร
- ทางเว็บไซต์ www.thaiticketmaster.com ตั้งแต่ วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม ถึง วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม 2548
- ทางจุดจำหน่าย Thaiticketmaster.com ตั้งแต่ วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม ถึง วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม 2548
- ทาง TTM Call Center 0 2262 3456 ตั้งแต่ วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม ถึง วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม 2548
- ทาง wap.thaiticketmaster.com ตั้งแต่ วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม ถึง วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม 2548
บัตรราคา 1,000 บาท 800 บาท 500 บาท
หมายเหตุ : -
THAITICKETMASTER.COM CONTACT
TTM Alert บริการแจ้งเตือนบนมือถือ Click
Call Center 0 2262 3456
Fax 0 2262 3898
Email contact_us@thaiticketmaster.com
* หมายเหตุ : สมาชิก Thaiticketmaster.com
ด้วยความเป็นเพื่อนและมิตรภาพ ‘ซึม- เศร้า - เหงา - แฮ้งก์’ จึงกลายเป็นหนึ่งในอัลบั้มที่มีศิลปิน นักดนตรีระดับหัวแถวของ เมืองไทยมากมายมาร่วมงาน ไม่ว่าจะเป็น
สุเทพ ปานอำพัน (เอ๊ดดี้ ซูซู) โปรดิวเซอร์/เบส
อิสระ สุวรรณณัฐวิภา เรียบเรียงเสียงประสาน/ ร่วมดูแล การผลิต/ เปียโน/ คีย์บอร์ด
นล สิงหลกะ (อ๋อ อินคา) กลอง
กิรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร
(เขียว คาราบาว) กีตาร์/ร้องประสาน
อุเทน พรหมินทร์ ร้องประสาน/ ทรัมเป็ต/ ร่วมเรียบ เรียงเสียงร้องประสาน
พยัต ภูวิชัย (ผู้แต่งเพลง ยังยิ้มได้) กีตาร์/ ฮาร์โมนิก้า
จักรินทร์ ดวงมณีรัตนชัย (ป๊อป หินเหล็กไฟ) กีตาร์
โอฬาร พรหมใจ กีตาร์
ตราชัย ไชยวัณณ์ (อู๊ด แผ่นดิน) กีตาร์
สมบัติ พรหมมา แซ็กโซโฟน
สุวรรณ มโนษร ไวโอลิน/ฟลุ้ท
พิเชษฐ์ เครือวัลย์ (จาก ฟาเรนไฮต์) กีตาร์
ขจรศักดิ์ หุตะวัฒนะ (หมี คาราบาว) กีตาร์
แฟรงค์ โรเซลส์ส กีตาร์
การุณย์ รามาตย์ โดโบร กีตาร์
กฤช สุขุมาลย์พันธ์ กีตาร์
พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ ร้องประสาน
คณาคำ อภิรดี ร้องประสาน
ธิติ พฤกษ์ชะอุ่ม(จาก วงเลบง) ร้องประสาน
สิริพร พงส์พิสิฏฐ์ (แอ๋ว แครี่ ออน) ร้องประสาน
และกับเหตุผลที่อยู่ในใจของ ยืนยง โอภากุลสำหรับการทำอัลบั้ม ชุดหนึ่ง ที่ไม่มีบทเพลงจาก ปลายปากกาของตัวเองเลยแม้แต่ เพลงเดียว หากเต็มไปด้วยบทเพลงของเพื่อนที่คบหากันมานาน กว่า 20 ปี “ จากที่คุยกัน แอ๊ดบอกกับเราว่า อยากให้เรามีตังค์ มีดอก มีผลให้ลูกหลานเก็บ นั่นก็อันหนึ่ง ส่วนอีกอันหนึ่งอยาก ให้ ความคิดเราถูกเผยแพร่“ แต่ไม่ใช่เพียงแค่ความคิดที่ แหลม คม และมุมมองที่ลุ่มลึกของผู้ชายที่ผ่านร้อน ผ่านหนาว ผ่านประสบการณ์มากมายเท่านั้น ที่สัมผัสได้จากงานชุดนี้เพราะ ‘ซึม - เศร้า - เหงา - แฮ้งก์’ ยังอบอวลไปด้วยความ รู้สึกดีๆ ที่ผู้คนมีให้กัน เป็นความอบอุ่นในการทำงาน ที่เชื่อมสานกัน ด้วยความเป็นเพื่อน ที่สามารถสัมผัสได้ ตั้งแต่โน้ตแรกของ เพลงแรกดังขึ้น ไปจนถึงเสียงสุดท้ายที่ได้ยิน จากอัลบั้มนี่ล่ะ ที่เรียกกันว่า “ มิตรภาพ”
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net--จบ--