มารู้จักข้อแตกต่างระหว่าง AHA และ BHA

ข่าวทั่วไป Monday December 17, 2012 10:37 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--17 ธ.ค.--ลิตา เพื่อศาสตร์ชะลอวัย มารู้จักข้อแตกต่างระหว่าง AHA และ BHA by ลิตา เพื่อศาสตร์ชะลอวัย (LITA FOR ANTI-AGING) ตอนนี้ที่ฮิตติดปาก และพูดถึงกันมากว่าสามารถช่วยทำให้ใบหน้าสดใส เรียบเนียน ดูอ่อนกว่าวัย ไร้ร่องรอย ก็คือ กรด AHA และ BHA ที่มักจะเป็นส่วน-ประกอบอยู่ในเครื่องสำอางเกือบทุกยี่ห้อ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ กรดทั้ง ๒ ชนิดนี้คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร และมีข้อดี ข้อเสีย หรือสรรพคุณตามที่ผู้ผลิตสินค้าโฆษณาเอาไว้จริงหรือไม่ ผู้ที่ใช้เครื่องสำอางทุกคนควรจะทราบข้อมูลที่ถูกต้องเอาไว้จะได้ไม่เสียเงินซื้ออะไรง่ายๆ โดยไม่มีประโยชน์ AHA คืออะไร AHA (เอเอชเอ) ย่อมาจากคำว่า alpha hydroxy acid หมายถึงสารประกอบที่มีฤทธิ์เป็น กรด เป็นสารที่สกัดจากผลไม้ธรรมชาติ เช่น กรด ซิตริกจากมะนาว ส้ม และส้มโอ กรดมัลลิกจาก แอปเปิ้ล กรดไกลโคลิกจากอ้อย กรดแล็กติกจาก นมเปรี้ยว กรดทาร์ทาลิกจากมะขาม และไวน์ ที่จริงเรื่องของกรดผลไม้ไม่ใช่สิ่งที่ค้นพบใหม่ แต่มีมานานเป็นพันปีแล้ว อย่างในประวัติศาสตร์สมัยพระนางคลีโอพัตรา ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้หญิงที่สวยที่สุด ก็จะอาบน้ำนม (ซึ่งมีกรดแล็กติก) โดยช่วยให้ผิวพรรณผุดผ่อง หรืออีกตัวอย่างที่เราเคยได้ยินได้ฟังมาคือ พระนางมารีอังตัวเนส พระราชินีในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ที่ชอบเอาไวน์แดงมาอาบเพื่อให้ผิวสวย ปัจจุบันเอเอชเอหรือกรดผลไม้ นิยมใช้กันมากในวงการแพทย์ผิวหนัง เพื่อใช้รักษาสิว ฝ้า รอยด่างดำ ริ้วรอยเหี่ยวย่น และติ่งเนื้อเล็กๆ บริเวณใบหน้าและลำคอ และวงการเครื่องสำอางที่ชูประเด็นการโฆษณาว่าช่วยชะลอริ้วรอยไม่ให้แก่ก่อนวัย ผลข้างเคียงของกรดเอเอชเอ กรดเอเอชเอในปริมาณความเข้มข้นสูง แม้จะมีคุณสมบัติที่ดีในการขจัดเซลล์ผิวแก่ๆ ให้หลุดลอกเร็วขึ้น ทำให้เซลล์ผิวใหม่ขึ้นมาแทนที่ เป็นผลให้ผิวหนังดูเรียบเนียน สดใสขึ้น แต่ขณะเดียวกัน กรดเอเอชเอในปริมาณความเข้มข้นสูงทำให้ผิวเกิดความระคายเคือง เกิดผื่นคัน และไวต่อแสงแดด(แพ้แสงแดด)ได้มากเช่นกัน บางครั้งจะทำให้เกิดรอยดำ โดยเฉพาะในผิวคนไทย ซึ่งทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังมากขึ้นด้วย การที่ไปทำลายเซลล์ผิวชั้นนอกสุด ซึ่งมีหน้าที่ปกป้องเซลล์ผิวชั้นล่างๆ รักษาความชุ่มชื้น ป้องกันการติดเชื้อ ต่อต้านมลภาวะ โดยเฉพาะแสงยูวี อันเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งและริ้วรอยเหี่ยวย่นก่อนวัย ทำให้มีข้อสงสัยว่า การใช้เป็นระยะเวลานานจะมีผลต่อผิวหนังอย่างไร และการใช้เป็นระยะเวลานานก็ยังไม่มี ข้อมูลที่ยืนยันแน่นอนว่าจะไม่เป็นอันตรายอะไรเลย แม้แต่การใช้โดยแพทย์เองก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เกิดอาการแพ้ แต่แพทย์จะทราบว่าเมื่อมีผลข้างเคียงเกิดขึ้น จะต้องแก้ไขอย่างไรสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ลิตา เพื่อศาสตร์ชะลอวัย (LITA FOR ANTI-AGING) โทร 086-187-187-0 คำแนะนำจาก ลิตา เพื่อศาสตร์ชะลอวัย (LITA FOR ANTI-AGING)ในการใช้กรดเอเอชเอ ๑. เลือกใช้เอเอชเอที่รู้ความเข้มข้นของสูตร ใช้ในระดับที่ไม่สูงจนเกิดความระคายเคือง ๒. ใช้ครีมกันแดดร่วมด้วยเป็นประจำทุกวัน ๓. หากใช้แล้วเกิดระคายเคืองหรือเกิดผื่น ควรหยุดใช้ทันที แล้วรีบปรึกษาแพทย์ผิวหนัง ๔. การใช้เอเอชเอต้องใช้อย่างต่อเนื่อง หากหยุดใช้ ผิวก็จะเหมือนเดิม ๕. สำหรับวัยสาวที่ผิวพรรณดูดีอยู่แล้วตามธรรมชาติ ไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้เลย BHA คืออะไร BHA (บีเอชเอ) ย่อมาจากคำว่า beta hydroxy acid เป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้นมา มีคุณสมบัติทนต่อ ความร้อน ไม่เสื่อมง่ายเหมือนเอเอชเอ ที่สกัดมาจากธรรมชาติ สารในตระกูลบีเอชเอตัวหนึ่งที่เรารู้จัก กันดี ก็คือ กรดซาลิกไซลิก (salicylic acid) จากพริก ที่มีฤทธิ์ปวดแสบปวดร้อน ที่นิยมนำมาทำยาหม่อง ความจริงบีเอชเอไม่ใช่ของใหม่ แต่เป็นสารที่ใช้ในวงการแพทย์ผิวหนังมานานกว่า ๔๐ ปีแล้ว โดยเป็นสารที่ใช้ผสมในยารักษาหูด ส้นเท้าแตก โรคผิวหนังชนิดอักเสบเรื้อรัง คนที่มีฝ่ามือฝ่าเท้าหนา มาก ซึ่งบีเอชเอจะมีฤทธิ์ทำให้ผิวหนังชั้นขี้ไคลผลัดตัวเร็วขึ้นดีกว่าเอเอชเอ แต่ก็จะทำให้ผิวหน้าระคาย-เคือง ลอกเป็นขุย แดง แสบและคันได้ง่าย จึงต้องใช้ในความเข้มข้นที่ค่อนข้างต่ำ เช่น ๐.๕-๑ เปอร์เซ็นต์ หากใช้ในความเข้มข้นที่มากกว่านี้ ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ สำหรับในเครื่องสำอางให้มีความเข้มข้นได้ไม่เกิน ๓ เปอร์เซ็นต์ ผลข้างเคียงของบีเอชเอ บีเอชเอในปริมาณความเข้มข้นสูงๆก็มีผลเสียต่อผิวหนัง ไม่ต่างจากการใช้เอเอชเอ นั่นคือ การระคายเคือง ลอก แดง ทำให้ผิวบางลงและไวต่อ แสงแดด ซึ่งอาจทำให้ภูมิต้านทานโรคของเซลล์ผิวหนังต่ำลงด้วย อาจจะติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ข้อมูลจาก ลิตา เพื่อศาสตร์ชะลอวัย (LITA FOR ANTI-AGING) โทร 086-187-187-0

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ