กรุงเทพฯ--18 ธ.ค.--คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์
ปี 2555 เป็นปีที่น่าตื่นเต้นสำหรับเอเชียแปซิฟิก เพราะเป็นปีที่มีนวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามาเปิดประสบการณ์ในการใช้งานคอมพิวเตอร์ด้วยอุปกรณ์ใหม่ๆ ได้อย่างน่าตื่นเต้น อินเทลมีความภูมิใจอย่างยิ่งที่เป็นหนึ่งในองค์กรที่ได้เข้ามาร่วมสรรค์สร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ เพราะวิสัยทัศน์ของ อินเทลคือ การพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมโยงและอำนวยความสะดวกให้กับชีวิตประจำวันของผู้ใช้งานอย่างแท้จริง
ในปีนี้ อินเทลได้ก้าวไปอีกขั้นกับการนำเสนอระบบประมวลผลยุคใหม่ ซึ่งเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้กับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ผ่านป้ายและรถยนต์อัจจริยะ ไปจนถึงสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต อัลตร้าบุ๊ก? และเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่ นอกจากนี้ อินเทลยังมุ่งมั่นที่จะร่วมพัฒนาภูมิภาคเอเชียให้เป็นศูนย์กลางทางด้านต่างๆ ผ่านการสนับสนุนด้านการศึกษา การส่งเสริมและพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ตลอดจนการสนับสนุนการลงทุนของผู้ประกอบการต่างๆ ทั่วภูมิภาคอีกด้วย
1. การนำเสนอประสบการณ์การใช้งานคอมพิวเตอร์รูปแบบใหม่
ในปี 2555 อินเทลได้ผสานการปฏิวัติทางเทคโนโลยี ซึ่งก่อให้เกิดประสบการณ์การใช้งานคอมพิวเตอร์ที่ชาญฉลาดขึ้น รวดเร็วขึ้น และปลอดภัยยิ่งขึ้น โดยชิป อินเทล? คอร์? โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 3 เป็นชิปรุ่นแรกของโลกที่นำเทคโนโลยีทรานซิสเตอร์ 3 มิติ แบบTri-Gate ซึ่งใช้กระบวนการผลิตแบบ 22 นาโนเมตร มาใช้ ทำให้ทั้งอัลตร้าบุ๊กและพีซีมีประสิทธิภาพการใช้งานที่สูงขึ้น ถ่ายโอนข้อมูล ตอบสนองการใช้งานและเชื่อมต่อรวดเร็วขึ้น และปลอดภัยมากขึ้นอีกด้วย
ปัจจุบัน มีอัลตร้าบุ๊กอีกกว่า 140 ดีไซน์ที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา และอีกกว่า 70 รุ่นที่ใช้อินเทล? คอร์? โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 3 ซึ่งวางจำหน่ายแล้วในปัจจุบัน ทั้งนี้อินเทลยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาอัลตร้าบุ๊กเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ต้องการประสิทธิภาพและการตอบสนองที่รวดเร็ว พร้อมกับอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ที่ยาวนานขึ้น ภายใต้รูปลักษณ์ที่เบาและบาง ภายในสิ้นปีนี้ จะมี อัลตร้าบุ๊กอีกกว่า 40 ดีไซน์ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีระบบสัมผัสและรองรับระบบปฏิบัติการวินโดวส์* 8 โดยในจำนวนดังกล่าวนั้นจะมีรุ่นที่เป็นคอนเวอร์ทิเบิลดีไซน์ ซึ่งเป็นการผนวกรวมของแท็บเล็ตและ อัลตร้าบุ๊กถึง 10 รุ่นด้วยกัน โดยแบรนด์ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ยักษ์ใหญ่ในภูมิภาคเอเชียอย่าง เอเซอร์* เอซุส* เลอโนโว* และโตชิบา*จะยังคงเป็นเข้ามามีบทบาทที่โดดเด่นในการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ อีกทั้งยังเป็นกลุ่มแรกที่เปิดตัวอัลตร้าบุ๊ก และแท็บเล็ตซึ่งรองรับระบบปฏิบัติการวินโดวส์* 8 อีกด้วย
จากผลการสำรวจของอินเทลพบว่าความสามารถในการดูคอนเท้นท์ผ่านระบบสัมผัสจะช่วยให้ผู้ใช้งานรู้สึกมั่นใจและเกิดความคล่องตัวในการทำงานมายิ่งขึ้น โดยอินเทลมีทีมวิศวกรที่ทำงานทำงานร่วมกับแบรนด์ต่างเพื่อสร้างประสบการณ์การในรูปแบบโมบายล์ที่ดีขึ้น ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวนำไปสู่การเปิดตัวแท็บเล็ต 20 ดีไซน์ใหม่ที่ใช้ด้วย อินเทล?อะตอม? Z2760 โปรเซสเซอร์ รวมถึงแท็บเล็ต และคอนเวอร์ทิเบิล ดีไซน์แบบระบบสัมผัส ที่มาพร้อมกับคุณสมบัติพิเศษในการเชื่อมต่อได้ทุกที่ทุกเวลา และมีอายุการใช้งานของแบตเตอรี่นานตลอดทั้งวัน
นอกจากนี้ อินเทลยังเข้าตลาดสมาร์ทโฟน ด้วยการเปิดตัวโทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่ใช้ชิปอินเทล ในตลาดที่มีการเติบโตสูง เช่น อินเดีย จีน ยุโรป และละตินอเมริกา โดยอินเทล อินเดียได้เปิดตัว Lava* XOLO X900 ซึ่งใช้ชิปอินเทล?อะตอม? Z2460 โปรเซสเซอร์ เมื่อเดือนเมษายน 2555 เป็นที่แรก ส่วนลูกค้ารายอื่นๆ ที่มีการเปิดตัวสมาร์ทโฟนที่ใช้ชิปอินเทล ในปี 2555 ประกอบด้วย Lenovo*, Orange*, Megafone*, Motorola*, และ ZTE*
อินเทลยังคงจะมุ่งมั่นพัฒนาต่อไปเพื่อนำเสนอประสบการณ์การใช้งานคอมพิวเตอร์รูปแบบใหม่ที่ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น และรวดเร็วขึ้น โดยมีแผนที่จะเปิดโปรเซสเซอร์ ตระกูล อินเทล คอร์ โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 4 ในปี 2556
2. ร่วมสนับสนุนธุรกิจในภูมิภาคเอเชีย
ปัจจุบันภาพรวมธุรกิจของภูมิภาคเอเชียทวีความแข็งแกร่งและมีบทบาทมากยิ่งขึ้น โดยอินเทลยังคงร่วมผลักดันให้ธุรกิจเหล่านี้มีความเข็งแกร่งต่อไป
ปี 2555 เป็นปีแห่งการเติบโตของ “ข้อมูลขนาดใหญ่” ที่องค์กรทั้งหลายให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น โดยในเดือนมีนาคม 2555 อินเทลได้เปิดตัว อินเทลTM ซีออนTM โปรเซสเซอร์ ตระกูล E5 ที่สามารถรองรับได้ 8 คอร์เป็นครั้งแรก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูล โดยโปรเซสเซอร์รุ่นนี้ให้ประสิทธิภาพในการประมวลผลมากขึ้นถึงร้อยละ 67 และยังมี Integrated I/O แพลตฟอร์มซึ่งช่วย ผู้ให้บริการสามารถนำเสนอบริการใหม่ที่รองรับการส่งผ่านข้อมูลจำนวนมาก จึงเหมาะสำหรับบริษัทที่ให้บริการการจัดเก็บและรักษาข้อมูลที่สำคัญของลูกค้าอย่างยิ่ง นอกจากนี้เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กร อินเทลยังได้เปิดตัว อินเทลTM ซีออนTM โปรเซสเซอร์ ตระกูล E7 สำหรับการใช้งานระบบประมวลผลของแอพลิเคชั่นที่สำคัญในระดับ mission critical ที่มีความโดดเด่นทางด้านประสิทธิภาพ ความน่าเชื่อถือ และความปลอดภัยในการจัดการข้อมูลลูกค้าทั่วภูมิภาคเอเชีย โดยคุณสมบัติทั้งหมดนี้ได้ถูกนำไปผนวกอยู่ในชิปซิลิกอน และระบบเพื่อปกป้องข้อมูล และสร้างความยืดหยุ่นให้แก่ระบบเพื่อรองรับสภาพแวดล้อมในระดับ Mission Critical
อินเทลมีการคาดการณ์ว่าทั่วโลกจะมีอุปกรณ์ต่างๆ เชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ตจำนวนมากถึง 1.5 หมื่นล้านชิ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดการขยายตัวของปริมาณข้อมูลอย่างรวดเร็ว และทำให้เกิดความท้าทายด้านไอที โดยอินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ จะสามารถนำเสนอระบบประมวลที่มีประสิทธิภาพ ให้แก่องค์กรและคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้ในงานอินเทล ดิเวลล็อปเปอร์ ฟอรัม ที่ผ่านมา อินเทลยังได้ประกาศความร่วมมือกับ Amazon Web Services ในการพัฒนา อินเทลTM ซีออนTM E5 ให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้นในการจัดการกับข้อมูลขนาดใหญ่ผ่านระบบคลาวด์อีกด้วย
นอกจากนี้ อินเทลยังได้ร่วมมือกับแม็คอาฟี (McAfee) เพื่อพัฒนาศักยภาพในการรักษาความปลอดภัยของการปฏิบัติงานผ่านระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง โดยเน้นการผนวกรวมความปลอดภัยของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เข้าด้วยกัน การร่วมมือในครั้งนี้จึงนำมาซึ่งมาตรฐานในการรักษาความปลอดภัยซึ่งเหมาะสำหรับองค์กรและหน่วยงานต่างๆ
3. ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างอนาคต
ในงานประชุม เวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ อินเทลได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานดังกล่าว พร้อมได้กล่าวเสนอแนะให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกันอย่างจริงจัง เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่กลุ่มประเทศอาเซียนตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา อินเทลได้พยายามทำงานเพื่อลดช่องว่างในการเข้าถึงเทคโนโลยีของพื้นที่ในเขตชนบทต่างๆ โดยอินเทลได้มุ่งพัฒนาบุคคลากรที่มีความสามารถ ลงทุนในความคิดสร้างสรรค์ และร่วมมือกับหน่วยภาครัฐและเอกชน ช่วยสร้างงาน ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี และปฏิรูปการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น
การสร้างอนาคตให้แก่เยาวชนในภูมิภาคเอเชีย
อินเทลได้จัดงานประกวดผลงานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ หรือ อินเทล ไอเซฟ (Intel International Science and Engineering Fair, Intel ISEF) มีนักเรียนจากทั่วโลกให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้มากถึง 1,500 คน โดยมีทีมผู้เข้าแข่งขันจากภูมิภาคเอเชียทั้งสิ้น 36 ทีม เพื่อร่วมชิงรางวัลและทุนการศึกษามูลค่ากว่า 3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ในปีนี้นักเรียนตัวแทนจากประเทศไทย ซึ่งได้แก่ ณัฐพงศ์ ชิณรา, จตุพร ฉวีภักดิ์, นันทกานต์ ล่องโลด จากโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชนะอันดับสองจากรางวัล แกรนด์ อวอร์ด โดยได้รับทุนการศึกษาจำนวน 1,500 เหรียญสหรัฐฯ จากสาขาสัตววิทยา ในผลงานหัวข้อ “การศึกษาบทบาทของ “หอยทากในสวนยางพารา” และ กิตติธเนศน์ ธนรุ่งโรจน์ทวี จากโรงเรียนกันทรารมณ์ จังหวัดศรีสะเกษ ชนะอันดับสองจากรางวัล แกรนด์ อวอร์ด ได้รับทุนการศึกษาจำนวน 1,500 เหรียญสหรัฐฯ เช่นเดียวกัน จากผลงานเรื่อง “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการย่อยสลายอาหารของมดแดงกับคุณค่าทางโภชนาการในไข่มดแดง”
การสนับสนุนภาครัฐ
อินเทลเชื่อมั่นว่าความรู้คือจะช่วยพัฒนาชุมชนให้มีความแข็งแกร่ง ดังนั้นอินเทลจึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐทั่วภูมิภาคเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการศึกษา โดยสนับสนุนด้านนโยบายการปรับโครงสร้างหลักสูตร และการลงทุน ในด้านต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ระยะยาวต่อไปในอนาคต
อินเทล ประเทศไทย ยังได้จัดโครงการ “”อะเมซิ่ง พีซี” ในปีนี้ เพื่อนำโปรแกรม “อินเทลTM อีซี่ สเต็ปส์” (Intel? Easy Steps) ไปสอนทักษะคอมพิวเตอร์ให้แก่ชุมชนในต่างจังหวัดอีกด้วย โดยโครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) รวมถึงสถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่ออุตสาหกรรม ภายใต้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งช่วยต่อยอดให้อินเทลได้ทำการสำรวจและสามารถเข้าถึงกลุ่มคนที่ยังไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างเป็นที่น่าพอใจ
อินเทล ประเทศไทยยังส่งเสริมภาครัฐในการนำเทคโนโลยี มาใช้เพื่อการเรียนการสอน โดยนำดีไซน์ต้นแบบของ Intel? Learning Series Tablet มาใช้ในโครงการนำร่องที่โรงเรียนอนุบาลสามเสน โรงเรียนฤทธิยวรรณาลัย และโรงเรียนประชานิเวศน์ เพื่อแสดงให้เห็นภาพความเป็นจริงสำหรับการทำโครงการดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ อินเทลยังมีกรณีศึกษาที่อินเทลได้ริเริ่มในประเทศทั่วโลกมานำเสนอ เพื่อให้ความรู้และเป็นโมเดลตัวอย่างในการปรับให้เข้ากับการศึกษาของประเทศไทย ทั้งนี้ โครงการนำร่องดังกล่าวยังช่วยกระตุ้นให้นักเรียนต้องการมีส่วนร่วมมากขึ้นในขั้นตอนการเรียนรู้ ผ่านการโต้ตอบและปฏิสัมพันธ์กันทั้งจากเครื่องคอมพิวเตอร์ กับครูผู้สอน และกับเพื่อนนักเรียนร่วมห้องด้วยกันเองมากขึ้น
ลงทุนเพื่อกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจ
อินเทล แคปิตอล เริ่มเข้ามาลงทุนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา โดยได้ลงทุนเม็ดเงินไปกว่า 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจในด้าน โมบายล์ คอมพิวติ้ง อินเทอร์เน็ตสำหรับคอนซูเมอร์ คลาวด์ คอมพิวติ้ง อัลตร้าบุ๊ก ธุรกิจด้านซอฟต์แวร์ และบริการ สมาร์ทโฟน รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและดีไซน์อุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ เป็นต้น
นอกจากนี้ อินเทลยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาชุมชน โดยอินเทลตระหนักถึงความสำคัญในการมีส่วนร่วมกับชุมชนทั้งในระยะยาวแบบต่อเนื่อง โดยในประเทศไทย อินเทลได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ ร่วมกับ องค์การ แพลน อินเตอร์เนชั่นแนล สำนักงานประเทศไทย เพื่อนำโครงการ Intel? Easy Steps ซึ่งเป็นโครงการเพื่อการเผยแพร่ความรู้และทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์ มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนให้กับกลุ่มเด็กและเยาวชนหญิงในถิ่นธุรกันดาร เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับมาใช้ในชีวิตประจำวันและในอาชีพของตนต่อไปได้ในอนาคตอย่างสัมฤทธิ์ผล
4. การตลาดที่เน้นการเข้าถึงความรู้สึกของผู้บริโภค
ในปีนี้ อินเทล ประเทศไทย ได้นำการตลาดในรูปแบบใหม่มาใช้กับผลิตภัณฑ์ของอินเทล โดยเป็นลักษณะการตลาดที่เน้นการเข้าถึงความรู้สึกของผู้บริโภค ผ่านกิจกรรมต่างๆ หลากหลายช่องทางเพื่อนำเสนอ ผลิตภัณฑ์ อัลตร้าบุ๊ก ให้เข้าถึงชีวิตจริงของผู้คนมากยิ่งขึ้น เช่น ความร่วมมือกับสถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์ (CIDI) ในโครงการ “Fashion that Works” เพื่อคัดเลือกตัวแทนนักศึกษา มาร่วมออกแบบคอลเล็คชั่นชุดพิเศษ โดยดึงจุดเด่นจากรูปลักษณ์ของความบางเบาและประสิทธิภาพของอัลตร้าบุ๊ก มาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบเสื้อผ้าและเครื่องประดับต่างๆ ได้อย่างสวยงามและสร้างสรรค์ รวมถึงแคมเปญออนไลน์ Ultrabook? Persona ซึ่งเชิญชวนสามบุคคลที่มีความโดดเด่นในแวดวงอาชีพของตน ประกอบด้วย นักเดินทาง นักเล่าเรื่องผ่านศิลปะ และศิลปินนักร้อง มาร่วมสัมผัสความพิเศษของอัลตร้าบุ๊กพร้อมแบ่งปันประสบการณ์พิเศษผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย