กรุงเทพฯ--3 มี.ค.--คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์
แพท เกลซิงเกอร์ รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป กลุ่มดิจิตอลเอ็นเตอร์ไพรซ์ ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจล่าสุดที่อินเทล คอร์ปอเรชั่น จัดตั้งขึ้นใหม่ เปิดเผยว่า อนาคตของระบบเอนเตอร์ไพรซ์ จะประกอบด้วยแพลตฟอร์มด้านการประมวลผลและการสื่อสาร รวมทั้งเทคโนโลยีซิลิคอนและซอฟต์แวร์ แนวทางนี้ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อช่วยให้ธุรกิจต่างๆ ใช้แพลตฟอร์มการประมวลผลในรูปแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม พร้อมทั้งช่วยลดค่าใช้จ่าย ลดอัตราความเสี่ยง และช่วยทำให้ธุรกิจเติบโตขึ้น
เกลซิงเกอร์ กล่าวว่า "ในปัจจุบัน ธุรกิจต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ ที่ยากกว่าเดิมมากขึ้น อาทิ
การดูแลจัดการพนักงานทั่วโลกที่ทำงานแบบโมบายล์ การเจาะระบบซอฟต์แวร์ ข้อมูลซับซ้อนที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก และระบบเครือข่ายที่มีอุปกรณ์สื่อสารและประมวลผลเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ดังนั้น แพลตฟอร์มและเทคโนโลยีใหม่ๆ จะช่วยให้บริษัทต่างๆ ทำธุรกิจโต้ตอบกันได้ในทันที ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนหรือเวลาใดก็ตาม นอกจากนี้ ยังจะช่วยปรับปรุงวิธีการบริหารธุรกิจให้ดีขึ้น ปกป้องโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรได้ดีขึ้น ตลอดจนช่วยให้การตัดสินใจและการทำงานร่วมกันดีขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย
อินเทลยังคงทำงานร่วมกับบริษัทรายใหญ่ๆ ในอุตสาหกรรมนี้ต่อไป เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ใช้จะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มใหม่ๆ อย่างเต็มที่ จิม ออลชิน รองประธานอาวุโส กลุ่มแพลตฟอร์มของไมโครซอฟท์ ได้กล่าวบรรยายในงานไอดีเอฟ ร่วมกับเกลงซิงเกอร์ ออลชินได้พูดถึงความร่วมมือของทั้งสองบริษัทในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ออกสู่ตลาด โดยออลชินได้อธิบายว่า "ไมโครซอฟท์ได้ร่วมมือกับอินเทลเพื่อสร้างแนวทางการนำเอาระบบประมวลผลแบบ 64 บิตมาสู่ตลาดในวงกว้าง ระบบที่ใช้อินเทล ไอเทเนียม โปรเซสเซอร์ และติดตั้งด้วย Windows* Server 2003 และ SQL Server* 2000 จัดเป็นแพลตฟอร์มชั้นยอดที่ไมโครซอฟท์และอินเทลนำเสนอเพื่อใช้แทนระบบ RISC แบบเดิม ซึ่งมีลักษณะเฉพาะและมีราคาแพง โดยระบบใหม่ดังกล่าวเหมาะอย่างยิ่งสำหรับระบบดาต้าเบสและแอพพลิเคชั่นธุรกิจที่ต้องการพลังการประมวลผลสูงเป็นพิเศษ และเมื่อไมโครซอฟท์เปิดตัว Windows x64 Editions ในอีกไม่กี่เดือนนับจากนี้ ลูกค้าและพันธมิตรก็จะสามารถใช้ระบบที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิมบนแพลตฟอร์มแบบ 64 บิตร่วมกับระบบ 32 บิตที่มีอยู่ในปัจจุบันได้"
เกลซิงเกอร์ ยังได้กล่าวถึง กฎของมัวร์ ว่าจะยังคงเป็นตัวผลักดันให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ สำหรับเอนเตอร์ไพรซ์ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม และช่วยให้อินเทลนำนวัตกรรมต่างๆ มาผสานไว้ในตัวชิปเพื่อให้มีความสามารถเพิ่มขึ้น ตั้งแต่ด้านการจัดการ การประหยัดพลังงาน ประสิทธิภาพการทำงานและการักษาความปลอดภัยที่สูงขึ้น คุณสมบัติเหล่านี้ประกอบด้วยแพลตฟอร์มแบบมัลติคอร์
การเพิ่มคุณสมบัติใหม่ๆ ไว้ในชิปอินเทล เช่น เวอร์ชวลไลเซชั่น วิธีการทำให้ระบบเครือข่ายเซิร์ฟเวอร์ทำงานได้เร็วขึ้น การอ้างอิงแอดเดรสเมมโมรี่แบบ 64 บิตและเทคโนโลยีหน่วยความจำชนิดใหม่ที่จะมีการเปิดตัวในเร็วๆ นี้ เป็นต้น
เทคโนโลยีระดับสูงของอินเทลจะช่วยให้ผู้ใช้ที่เป็นนักธุรกิจและผู้จัดการแผนกไอทีได้รับประโยชน์ในด้านอื่นๆ จากระบบเอนเตอร์ไพรซ์มากขึ้นนอกเหนือจากความเร็วของโปรเซสเซอร์ เกลซิงเกอร์ ได้กล่าวถึงเทคโนโลยี Intel? I/O Acceleration Technology ที่ช่วยเพิ่มความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลระหว่าง
แอพพลิเคชั่นในเซิร์ฟเวอร์และระบบเครือข่าย และยังได้พูดถึงรายละเอียดของเทคโนโลยี Intel? Active Management Technology ซึ่งจะช่วยให้ผู้จัดการแผนกไอทีสามารถใช้แอพพลิเคชั่นด้านการจัดการและการรักษาความปลอดภัยตรวจค้นปัญหาและแก้ไขปัญหาต่างๆ จากอีกที่หนึ่งแบบรีโมตได้
เกลซิงเกอร์ ยังได้กล่าวอีกว่า หลายบริษัท เช่น Hitachi, Novell, Red Hat, VMWare และ XenSource ต่างให้การสนับสนุนเทคโนโลยี Intel? Virtualization Technology (ชื่อรหัสเดิมว่า Vanderpool) อย่างกว้างขวาง โดยเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถใช้ระบบปฏิบัติการและแอพพลิเคชั่นหลายชนิดพร้อมกันได้ โดยแบ่งการทำงานออกเป็นพาร์ทิชั่นแยกอิสระจากกัน หรือที่เรียกว่ามี
"คอนเทนเนอร์" เฉพาะเป็นของตัวเอง ในปี 2548 นี้ เทคโนโลยีดังกล่าวจะมีอยู่ในเดสก์ท้อปที่ใช้
โปรเซสเซอร์อินเทล และเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้อินเทล ไอเทเนียม โปรเซสเซอร์ ที่มีชื่อรหัสว่า Montecito ซึ่งเป็นโปรเซสเซอร์สมรรถนะสูงที่ประกอบด้วยคอร์สองคอร์ในโปรเซสเซอร์เพียงตัวเดียวและมีคุณสมบัติการทำงานหลายๆ งานได้พร้อมกัน (มัลติเธรดดิ้ง) จึงทำให้สามารถประมวลผลคำสั่งได้สูงสุด 4 ชุดพร้อมกัน ทั้งนี้ อินเทลเตรียมที่จะนำเทคโนโลยี Intel Virtualization Technology มาใส่ไว้ในอินเทล?
ซีออน? โปรเซสเซอร์ อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ เอ็มพี และแพลตฟอร์มที่ใช้โมบายล์โปรเซสเซอร์ของอินเทล ภายในปี 2549
โครงการเกี่ยวกับโปรเซสเซอร์มัลติคอร์สำหรับเอนเตอร์ไพรซ์ที่อินเทลดำเนินการอยู่
พีซีและเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้สถาปัตยกรรมอินเทลที่จะมีออกมาในอนาคต จะใช้โปรเซสเซอร์แบบดูอัลคอร์และมัลติคอร์ และจะสนับสนุนเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งรวมถึง I/O ที่เร็วขึ้น เทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชั่น ระบบรักษาความปลอดภัย และเทคโนโลยีหน่วยความจำที่ก้าวหน้ากว่าเดิม แพลตฟอร์มซึ่งขณะนี้ใช้ชื่อรหัสว่า Richford จะประกอบด้วยอินเทล ไอเทเนียม โปรเซสเซอร์ ที่ใช้ชื่อรหัสว่า Tukwila จำนวน 2 ตัว และมีกำหนดเปิดตัวในปี 2550 ตามด้วยอินเทล ไอเทเนียม รุ่นถัดไปที่ใช้ชื่อรหัสว่า Poulson
อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ เอ็มพี แบบดูอัลคอร์ ตัวแรกซึ่งใช้ชื่อรหัสว่า Paxville มีกำหนดเปิดตัวภายในไตรมาสแรกของปี 2549 โดยอินเทลจะเริ่มโครงการจัดส่งผลิตภัณฑ์ให้แก่ธุรกิจและนักพัฒนาซอฟต์แวร์ต่างๆ ได้ทดลองใช้ในราวปลายปีนี้ แพลตฟอร์มที่มีชื่อรหัสว่า Reidland สามารถรองรับ
อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ เอ็มพี ตั้งแต่สองคอร์ขึ้นไป โดยโปรเซสเซอร์รุ่นนี้ใช้ชื่อรหัสว่า Whitefield และมีกำหนดเปิดตัวในปี 2550 สำหรับอินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ เอ็มพี เป็นโปรเซสเซอร์สำหรับเซิร์ฟเวอร์ที่สามารถใส่ได้ตั้งแต่สี่ตัวขึ้นไป
ส่วนแพลตฟอร์มที่ใช้ชื่อรหัสว่า Bensley ที่ออกแบบมาสำหรับเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้โปรเซสเซอร์คู่และรองรับการทำงานในปริมาณมากๆ จะเปิดตัวภายในไตรมาสแรกของปี 2549 โดยแพลตฟอร์มนี้จะใช้อินเทล
ซีออน โปรเซสเซอร์ แบบดูอัลคอร์ ซึ่งมีชื่อรหัสว่า Dempsey นอกจากนั้น อินเทลยังจะใช้ Dempsey
ในแพลตฟอร์มที่มีชื่อรหัสว่า Glidewell สำหรับเวิร์กสเตชั่นระดับไฮเอนด์อีกด้วย
สำหรับทางด้านดิจิตอลออฟฟิศนั้น อินเทลได้เตรียมนำแพลตฟอร์มที่มีชื่อรหัสว่า Lyndon มาเปิดตัวในราวปลายปี 2548 นี้ โดยจะเป็นแพลตฟอร์มที่ประกอบด้วยชิปเซ็ตในตระกูล Intel 945/955 และ อินเทล เพนเทียม โฟร์ โปรเซสเซอร์ กลุ่ม 5xx 6xx รวมทั้งอินเทล เพนเทียม ดี โปรเซสเซอร์
(Intel Pentium D Processor) แบบดูอัลคอร์ ที่ใช้ชื่อรหัสว่า Smithfield อีกด้วย แพลตฟอร์ม Lyndon
จะสนับสนุนทั้งเทคโนโลยี Intel Active Management และ Intel Virtualization Technology ด้วย
ระบบสื่อสารมีบทบาทสำคัญอย่าง
เกลซิงเกอร์ ยังได้กล่าวว่า "นวัตกรรมในส่วนของไคล์เอนด์และเซิร์ฟเวอร์ เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เราพูดถึงเท่านั้น เมื่ออุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคมเลิกใช้ระบบที่มีลักษณะเฉพาะตัวและมีราคาแพง ระบบเครือข่ายจะมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบที่มีราคาถูกลง ใช้โครงสร้างระบบที่เป็นมาตรฐาน โปรโตคอล และเฟรมเวิร์กแอพพลิเคชั่น"
ในปี 2547 ที่ผ่านมา มีบริษัทจำนวนมากให้การสนับสนุนการเปลี่ยนไปใช้แพลตฟอร์มโมดูลแบบ
มาตรฐานกันมากขึ้น ผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายและผู้ให้บริการชั้นนำซึ่งสนับสนุนมาตรฐาน AdvancedTCA* ได้แก่ Alcatel, Alcatel Shanghai Bell, Fujitsu, Fujitsu Siemens Corporations, Korea Telecom, HP, Huawei Technologies, NEC, Nortel, Siemens และ UT Starcom เป็นต้น
เทคโนโลยีระดับสูงหลายชนิดของอินเทล และโปรเซสเซอร์แบบมัลติคอร์รุ่นต่างๆ เหมาะสำหรับนำมาใช้เป็นโครงสร้างพื้นฐานของอุปกรณ์ด้านการสื่อสารต่างๆ โดยที่แพลตฟอร์มแบบโมดูล มักจะมีอัตราการใช้พลังงานที่ตายตัวต่อเบลดแต่ละชุด ส่วนโปรเซสเซอร์แบบมัลติคอร์จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้นอย่างมาก โดยไม่มีการเพิ่มอัตราการใช้พลังงานแต่อย่างใด
รายละเอียดเกี่ยวกับงานไอดีเอฟ
อินเทล ดิเวลล็อปเปอร์ ฟอรัม (ไอดีเอฟ) เป็นงานแสดงด้านเทคโนโลยีประจำปีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดงานหนึ่งในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ซึ่งจัดขึ้นสำหรับนักพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์โดยเฉพาะ งานไอดีเอฟ เป็นเวทีที่บริษัทชั้นนำในวงการมารวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ล่าสุดที่เกี่ยวข้องกับพีซี เซิร์ฟเวอร์ อุปกรณ์ติดต่อสื่อสาร และอุปกรณ์พกพาต่างๆ ผู้สนใจสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานไอดีเอฟ และเทคโนโลยีต่างๆ ของอินเทลได้ที่ http://developer.intel.com
อินเทลเป็นผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้นำในการผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ระบบ เครือข่าย และอุปกรณ์สื่อสาร ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทอินเทล ได้ที่เว็บไซต์ http://www.intel.com/pressroom
* Intel และ Pentium เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของอินเทล คอร์ปอเรชั่น หรือสำนักงานสาขาทั้งในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ขอสงวนสิทธิ์ ชื่อและยี่ห้ออื่นอาจถูกอ้างอิงถึงโดยถือเป็นทรัพย์สินของชื่อยี่ห้อนั้นๆ
ติดต่อ:
คุณเพชราภรณ์ เจริญนิพนธ์วานิช คุณกรรภิรมย์ อึ้งภากรณ์
บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์
โทรศัพท์: (66 2) 654-0654 โทรศัพท์: (66 2) 627-3501
e-Mail: petch.charoennibhonvanich@intel.com
e-Mail: kanpirom.ungpakorn@carlbyoir.com.hk--จบ--