กรุงเทพฯ--19 ธ.ค.--บีโอไอ
คณะอนุกรรมการฯ ฟื้นฟูการลงทุนจากวิกฤติอุทกภัย ไฟเขียวให้ส่งเสริมการลงทุน 32 โครงการ ที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมในปีที่ผ่านมา และให้ส่งเสริมการลงทุนแก่โครงการใหม่และโครงการ ที่จะขยายการลงทุนอีก 7 โครงการ ในนิคมอุตสาหกรรม ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี รวมให้ส่งเสริมทั้งสิ้น 39 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวมกว่า 31,466.35 ล้านบาท
นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังเป็นประธาน การประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อฟื้นฟูการลงทุน จากวิกฤตอุทกภัย ครั้งที่ 6 ว่า ที่ประชุมได้อนุมัติการขอรับส่งเสริมการลงทุนตามมาตรการเพื่อฟื้นฟู การลงทุนจากวิกฤตอุทกภัย ครั้งนี้ รวมทั้งสิ้น 39 โครงการ เงินลงทุนรวม 31,466.35 ล้านบาท แบ่งเป็น การอนุมัติภายใต้มาตรการเพื่อฟื้นฟูการลงทุนจากวิกฤตอุทกภัย รวม 32 โครงการ เงินลงทุนรวม 27,959.75 ล้านบาท และการอนุมัติภายใต้มาตรการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนใหม่หรือขยายการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดปทุมธานี รวมจำนวน 7 โครงการ เงินลงทุนรวม 3,506.6 ล้านบาท
โดยโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมภายใต้มาตรการเพื่อฟื้นฟูการลงทุนจากวิกฤตอุทกภัย จำนวน 32โครงการ เกือบทั้งหมด หรือ 31 โครงการ ตั้งกิจการในที่ตั้งเดิม มีเพียง 1 โครงการที่ย้ายที่ตั้งใหม่ ประกอบด้วย 1. บริษัท ที.เอ.ซี.คอนซูมเมอร์ จำกัด ได้รับส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิตอาหารจากเนื้อสัตว์ เงินลงทุน 6.85 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 2,250 ตัน ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิม คือ นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
2. บริษัท โออิชิ เทรดดิ้ง จำกัด ได้รับส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิตเครื่องดื่มจาก พืช ผัก ผลไม้ บรรจุภาชนะผนึก เงินลงทุน 775.8 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 250 ล้านลิตร ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิม คือ เขตอุตสาหกรรม นวนคร จังหวัดปทุมธานี
3. บริษัท เบนซ์มาร์ค อิเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุน ในกิจการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ เงินลงทุน 460.3 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 7 ล้านชิ้น ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิม คือ นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
4. บริษัท อิมาเซน แมนูแฟคเจอริ่ง (ไทยแลนด์) จำกัด ได้รับส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์สำหรับเบาะรถยนต์ เงินลงทุน 420.2 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 12,900,000 ชิ้น ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิม คือ นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
5. บริษัท ดีโอนีส ฮอฟแมน (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ได้แก่ วัสดุถ่วงล้อ เงินลงทุน 27.8 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 25 ล้านชิ้น ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิม คือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
6. บริษัท อาปิโก ไฮเทค ทูลลิ่ง จำกัด ได้รับส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิตแม่พิมพ์และชิ้นส่วน เงินลงทุน 209.3 ล้านบาท กำลังการผลิตรวมปีละประมาณ 550 ล้านตัน ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิม คือ นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
7. บริษัท ไทยซูมิล็อคซ์ จำกัด ได้รับส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิตชิ้นส่วนโลหะปั๊ม ขึ้นรูป เงินลงทุน138.8 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 23,000 ตัน ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิม คือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
8. บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับยานยนต์ เงินลงทุน 202.6 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 444,000 ชิ้น ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิม คือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
9. บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิตชิ้นส่วนเครื่องยนต์สำหรับยานยนต์ เงินลงทุน 2,487.7 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 440,000 ชุด ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิม คือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
10. บริษัท อาปิโก ไฮเทค พาร์ทส์ จำกัด ได้รับส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิตชิ้นส่วนปั๊มขึ้นรูปสำหรับยานยนต์และฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ เงินลงทุน 199.6 ล้านบาท กำลังการผลิตรวม 80 ล้านชิ้น ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิม คือ นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
11. บริษัท โทโฮกุ ไพโอเนียร์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์ เงินลงทุน 60 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 6,100 ชิ้น ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิม คือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
12. บริษัท ซัมมิท โอโต บอดี้ อินดัสตรี จำกัด ได้รับส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิตขอบประตูและหน้าต่างสำหรับยานยนต์ เงินลงทุน 27.6 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 600,000 ชุด ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิมคือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
13. บริษัท นิเด็ค ชิบาอุระ อีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิตมอเตอร์สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า เงินลงทุน 534.2 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 3,600,000 ชิ้น ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิม คือ สวนอุตสาหกรรมบางกะดี จังหวัดปทุมธานี
14. บริษัท ฮานา เซมิคอนดักเตอร์ (อยุธยา) จำกัด ได้รับส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เงินลงทุน 496.8 ล้านบาท กำลังการผลิตรวมประมาณ 1,090,000,000 ชิ้น ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิม คือ นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเพิ่มที่ตั้งชั่วคราวที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร จนถึงสิ้นปี 2556
15. บริษัท เอ็นโอเค พรีซิชั่น คอมโพเนนท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เงินลงทุน 11.5 ล้านบาท กำลังการผลิต ปีละประมาณ 29 ล้านชิ้น ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิม คือ นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
16. บริษัท โตชิบา แคเรียร์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิตเครื่องปรับอากาศ เงินลงทุน 703 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 930,000 เครื่อง ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิม คือ สวนอุตสาหกรรมบางกะดี จังหวัดปทุมธานี
17. บริษัท โตเกียว ริช อินดัสทรี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์ เงินลงทุน 10 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 200 ชุด ตั้งโครงการใน ที่ตั้งเดิม คือ จังหวัดปทุมธานี ( 17 โครงการแรก เงินลงทุน 6,638.5 ล้านบาท)
18. บริษัท ซัมมิท โอโต บอดี้ อินดัสตรี จำกัด ได้รับส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ได้แก่ หม้อพักไอเสีย และท่อไอเสีย เงินลงทุน 37 ล้านบาท กำลังการผลิตรวมปีละประมาณ 540,000 ชุด ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิมคือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
19. บริษัท ซัมมิท โอโต บอดี้ อินดัสตรี จำกัด ได้รับส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และขอบประตูรถยนต์ เงินลงทุน 60 ล้านบาท กำลังการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ปีละประมาณ 2,200,000 ชิ้น กำลังการผลิตขอบประตูรถยนต์ 320,000 ชุด ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิมคือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
20. บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล หรือ อีโคคาร์ เงินลงทุน 4,439.3 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 120,000 คัน ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิมคือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
21. บริษัท เอเชี่ยน พาร์ทส์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ได้รับส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิตชิ้นส่วนโลหะสำหรับยานยนต์ เงินลงทุน 433 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 476,000 ชิ้น ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิมคือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
22. บริษัท ซัมมิท โอโต บอดี้ อินดัสตรี จำกัด ได้รับส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิต ท่อไอเสียสำหรับรถยนต์ เงินลงทุน 33 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 240,000 ชุด ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิมคือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
23. บริษัท ซูมิเคอิ เทคโน (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิตชิ้นส่วนอลูมีเนียมสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เงินลงทุน 281.7 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 32,400 ตัน ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิมคือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
24. บริษัท จักรยานสยามอุตสาหกรรม จำกัด ได้รับส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการ การเคลือบผิว เงินลงทุน 57.7 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 1,750 ตัน ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิม คือ เขตอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดปทุมธานี
25. บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนโลหะสำหรับรถยนต์ เงินลงทุน 658.6 ล้านบาท กำลังการผลิตรถยนต์ปีละประมาณ 210,000 คัน กำลังการผลิตชิ้นส่วนปีละประมาณ 1,300,000 ชิ้น ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิมคือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
26. บริษัท เคฮิน เทอร์มอล เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิตชิ้นส่วนระบบปรับอากาศสำหรับยานยนต์ เงินลงทุน 184 ล้านบาท กำลังการผลิตรวมปีละประมาณ 3,800,000 ชิ้น ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิมคือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
27. บริษัท อิชิซากิ (ไทยแลนด์) จำกัด ได้รับส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการ การเคลือบผิว เงินลงทุน 82.5 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 2,400 ตัน ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิมคือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
28. บริษัท เอ็งเท็ค (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิตชิ้นส่วนโลหะสำหรับฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ เงินลงทุน 121.2 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 23 ล้านชิ้น ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิม คือ นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
29. บริษัท อัลตัม พรีซิชั่น จำกัด ได้รับส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิตชิ้นส่วนโลหะสำหรับฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ เงินลงทุน 234 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 24 ล้านชิ้น ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิม คือ นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
30. บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิต ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ และชิ้นส่วน เงินลงทุน 10,740.2 ล้านบาท กำลังการผลิตรวมปีละประมาณ 2,000 ล้านชิ้น ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิม ประกอบด้วย เขตอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดปทุมธานี นิคมอุตสาหกรรม บางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี
31. บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิต ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์และชิ้นส่วน เงินลงทุน 3,621.3 ล้านบาท กำลังการผลิตรวมปีละประมาณ 300 ล้านชิ้น ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิม คือ นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี
32. บริษัท ไอเอ็ม อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เงินลงทุน 204.2 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 150 ล้านชิ้น ตั้งโครงการในที่ตั้งใหม่ ที่จังหวัดสมุทรปราการ (โครงการที่ 18 — 32 เงินลงทุน 21,187.7 ล้านบาท)
สำหรับโครงการที่ได้รับอนุมัติภายใต้มาตรการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนใหม่หรือขยายการลงทุน ในนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดปทุมธานี รวมจำนวน 7 โครงการ รวมมูลค่าเงินลงทุน 3,506.6 ล้านบาท ประกอบด้วย
1. MR. AMOGH KUMAR SHARMA ได้รับส่งเสริมในกิจการผลิตเชือกลวดเหล็กกล้า เงินลงทุน 600 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 12,000 ตัน ตั้งโครงการในเขตอุตสาหกรรม นวนคร จังหวัดปทุมธานี
2. บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมในกิจการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับยานยนต์ เงินลงทุน 259.3 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 444,000 ชิ้น ตั้งโครงการที่สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
3. บริษัท ไดโด อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมในกิจการผลิตชิ้นส่วนแม่เหล็กสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า เงินลงทุน 770 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 25 ล้านชิ้น ตั้งโครงการที่สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
4. บริษัท ฮิตาชิ เมทัลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมในกิจการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เงินลงทุน 181 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 156 ล้านชิ้น ตั้งโครงการที่สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
5. บริษัท อาร์ค คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมในกิจการผลิตชิ้นส่วนพลาสติก เงินลงทุน 46 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 360 ตัน ตั้งโครงการที่ สวนอุตสาหกรรมบางกะดี จังหวัดปทุมธานี
6. บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมในกิจการผลิตเสื้อสูบเครื่องยนต์ และฝาสูบเครื่องยนต์ เงินลงทุน 1,612.5 ล้านบาท กำลังการผลิตรวมปีละประมาณ 500,000 ชิ้น ตั้งโครงการที่สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
7. บริษัท เฟยตี้ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมในกิจการผลิตชิ้นส่วนโลหะและชิ้นส่วนพลาสติกขึ้นรูป เงินลงทุน 37.8 ล้านบาท กำลังการผลิตรวมปีละประมาณ 45 ล้านชิ้น ตั้งโครงการที่สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา