กรุงเทพฯ--19 ธ.ค.--กระทรวงวัฒนธรรม
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2555 ที่หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย นายสนธยา คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวในฐานะประธานในพิธีประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประจำปีพุทธศักราช 2555 ว่า กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่างๆ เพื่อคัดเลือกพิจารณากลั่นกรองและรับรองผลการคัดเลือก โดยได้ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ประจำปี 2555 ใน 7 สาขา จำนวน 70 รายการ ดังนี้ 1.สาขาศิลปะการแสดง 13 รายการ ได้แก่ ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู ซอสามสาย เพลงหน้าพาทย์ กันตรึม เจรียง กาหลอ ก้านนกกิงกะหร่า ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา รำฝรั่งคู่ ละครดึกดำบรรพ์โนราโรงครู มะโย่ง และรองเง็ง 2. สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม 11รายการ ได้แก่ ผ้าทอไทยครั่ง ผ้าทอไทลื้อ ผ้าทอกะเหรี่ยง ผ้าทอไทยวน ผ้าทอผู้ไทย เรื่องมุกไทย เครื่องรัก ขันลิงหินบ้านบุ บาตรบ้านบาตร สัตตภัณฑ์ล้านนา และโคมล้านนา
นายสนธยา กล่าวต่อว่า 3. สาขาวรรณกรรมพื้นบ้าน 14 รายการ ได้แก่ นิทานพระร่วง นิทานตาม่องล่าย พระสุธนมโนห์ราภาคใต้ วันครู ตำนานเจ้าหลวงคำแดง ตำนานพระธาตุดอยตุง ตำนานเจ้าแม่สองนาง ตำนานอุรังคธาตุ ตำนวนหลวงปู่ทวด ตำนานนางโภควดี ตำนานสร้างโลกของภาคใต้ วรวงศ์ ปักขะทึนล้านนา และตำราศาสตรา 4. สาขากีฬาภูมิปัญญาไทย 8 รายการ ได้แก่ ไม้หึ่ม หมากเก็บ เสือกินวัว หมากรุกไทย ตะกร้อลอดห่วง วิ่งวัว และวิ่งควาย 5. สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม 7รายการ ได้แก่ การผูกเกลอ การผูกเสี่ยว เทศน์มหาชาติ พิธีทำบุญต่ออายุ การแต่งกายบาบ๋า เพอนารากัน สารทเดือนสิบ และประเพณีรับบัว 6.สาขาความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล 11 รายการ ได้แก่ สำรับอาหารไทย แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน ส้มตำ น้ำพริก ปลาร้า ลูกประคบ ขาหมา หมอพื้นบ้านรักษากระดูกหัก คชศาสตร์ชาวกูย ดอนปู่ตา และ7.สาขาภาษา จำนวน 6 รายการ ได้แก่ อักษรธรรมล้านนา อักษรไทยน้ อย อักษรอีสาน ภาษาชอง ภาษาญัฮกุร และภาษาก๋อง
“การประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เป็นหนทางหนึ่งในการปกป้องคุ้มครอง และเป็นหลักฐานสำคัญของประเทศในการประกาศความเป็นเจ้าของมรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรมต่างๆ ในขณะนี้ที่ยังไม่มีมาตรการทางกฎหมายที่จะคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ของชาติ รวมทั้งในอนาคต ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องเร่งรัดการดำเนินการเพื่อเข้าเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญา ว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ เพื่อเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติภูมิของประเทศชาติให้ปรากฏในสังคมโลก” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าว