กรุงเทพฯ--19 ธ.ค.--เอ็ม พิคเจอร์ส
HYDE PARK on HUDSON
จัดจำหน่ายโด เอ็ม พิคเจอร์ส
ชื่อภาษาไทย แกร่งสุดมหาบุรุษรูสเวลท์
ภาพยนตร์แนว คอเมดี้-ดราม่า
จากประเทศ อังกฤษ
กำหนดฉาย 10 มกราคม 2553
ณ โรงภาพยนตร์ โรงภาพยนตร์เครือเอเพ็กซ์และพารากอน
ผู้กำกับ Roger Michell (โรเจอร์ มิเชลล์)
อำนวยการสร้าง DAVID AUKIN (เดวิด ออคิน)
Kevin Loader (เควิน เลาเดอร์)
นักแสดง Bill Murray (บิล เมอร์เรย์)
จาก Moonrise Kingdom, Charlie’s Angels , Losting Translation , City of Ember
Laura Linney (ลอร่า ลินนี่ย์)
จาก The Savages ,The Truman Show,The Exorcism of Emily Rose, Love Actually
Olivia Williams (โอลิเวีย วิลเลียมส์)
จาก Now is Good , The Sixth Sense , An Education , Rushmore , The Postman
Samuel West (ซามวล เวสต์)
จาก Van Helsing, Notting Hill , Howards End , Carrington
Olivia Colman (โอลิเวีย โคลแมน)
จากภาพยนตร์เรื่อง The Iron Lady , Tyranosaur , Hot Fuzz
Elizabeth Wilson (อลิซาเบธ วิลสัน)
จากภาพยนตร์ Rocky Road , The Graduate , The Addams Family , The Birds
จุดเด่น
Hyde Park on Hudson (ไฮปาร์ค ออน ฮัดสัน) เป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ที่ตีแผ่เบื้องลึกเบื้องหลังทุกแง่มุมของผู้นำคนสำคัญอย่างประธานาธิบดี Franklin Delano Roosevelt (แฟรงค์ลิน เดลาโน รูสเวลท์) ที่ถูกหบิยยกเอาเรื่องราวของการเป็นบุคคลสาธารณะและเรื่องราวของชีวิตส่วนตัว ชีวิตครอบครัวที่ยิ่ง ใหญ่เป็นการบอกเล่าเหตุการณ์สำคัญ รวมถึงกลเม็ดการชักจูงใจของประธานาธิบดี Franklin (แฟรงค์ลิน) ในการยื้อแย่งอำนาจในช่วงจุดเปลี่ยนของประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญมาถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์ โดยงานนี้ได้สองนักแสดงฝีมือระดับพระกาฬที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์อย่าง Bill Murray (บิล เมอร์เรย์) และ Laura Linney (ลอรา ลินนีย์) มาร่วมถ่ายทอดเรื่องราวที่ผสมผสานทั้งดราม่าและเฉียบคม กำกับการแสดงโดย ROGER MICHELL (โรเจอร์ มิเชล) และเขียนบทภาพยนตร์โดย Richard Nelson (ริชาร์ด เนลสัน)
เรื่องย่อ
ในเดือนมิถุนายน ปี 1939 ประธานาธิบดีแฟรงค์ลิน เดลาโน รูสเวลท์ (รับบทโดยเมอร์เรย์) ได้เตรียมพร้อมที่จะต้อนรับกษัตริย์และพระราชินีแห่งอังกฤษ (ซามวล เวสต์และโอลิเวีย โคลแมน) ในช่วงสุดสัปดาห์ที่บ้านรูสเวลท์ ณ ไฮด์ปาร์ค ออน ฮัดสัน ในย่านทางตอนเหนือของนิวยอร์ก ซึ่งนี่นับเป็นการเสด็จเยือนอเมริกาครั้งแรกของทั้งคู่ ขณะที่อังกฤษกำลังเผชิญหน้ากับเงาสงครามกับเยอรมนี ทั้งสองต้องการให้เอฟดีอาร์หยิบยื่นการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาให้
แต่เรื่องของกิจการระหว่างประเทศจะต้องถูกจัดการควบคู่ไปกับความซับซ้อนภายในที่พำนักของเอฟดีอาร์เอง เมื่ออีลีนอร์ (โอลิเวีย วิลเลียมส์) ภรรยาของเขา, ซารา แม่ของเขา (อลิซาเบธ วิลสัน) และมิสซี่ เลขาของเขา (อลิซาเบธ มาร์เวล) ต่างก็มีบทบาทในการทำให้สุดสัปดาห์นี้กลายเป็นความทรงจำที่ลืมไม่ลง
สุดสัปดาห์นี้ ที่ถูกมองผ่านสายตาของเดซี่ (ลินนีย์) เพื่อนบ้านและคนสนิทของแฟรงค์ลิน ไม่เพียงแต่จะก่อให้เกิดความสัมพันธ์พิเศษระหว่างสองประเทศยักษ์ใหญ่เท่านั้น แต่สำหรับเดซี่ และสำหรับพวกเราเอง ผ่านทางตัวเธอ มันจะก่อให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นในเรื่องปริศนาของความรักและมิตรภาพ
สารจากผู้กำกับ เกี่ยวกับเอฟดีอาร์
หลังจากเสร็จงานภาพยนตร์เรื่องนี้ ผมบังเอิญได้ไปอ่าน Berlin Diary ของวิลเลี่ยม แอล. เชียร์เรอร์ ฉบับเปื้อนน้ำ ช าของพ่อผมอีกครั้ง….
“…เชียร์เรอร์เป็นนักข่าวชาวอเมริกัน ที่ใช้เวลาส่วนใหญ่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ถ่ายทอดสัญญาณจากเบอร์ลินอย่างกล้าหาญ สำหรับบันทึกวันที่ 20 กรกฎาคม ปี 1940 เขาได้พูดถึงการที่เอฟดีอาร์ได้รับการเสนอชื่ออีกครั้งใน ชิคาโกเป็นวาระที่สาม ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่สื่อของนาซีพูดถึงว่าเกิดขึ้นได้ด้วยวิธี ที่ถูกประนามจากพยานทุกคน ฮิตเลอร์กลัวรูสเวลท์เขาเพิ่งเริ่มจะเข้าใจว่าการสนับสนุนอังกฤษของรูสเวลท์เป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญที่อังกฤษปฏิเสธที่จะยอมรับข้อเสนอสันติภาพของเขา…”
จากนั้น เชียร์เรอร์ก็อ้างข้อความต่อไปนี้จากแฟรงค์เฟิร์ต ไซตุ้งว่า :
“…รูสเวลท์เป็นบิดาของภาพมายาอังกฤษเกี่ยวกับสงครามนี้ อาจเป็นว่าลูกไม้ที่อ่อนหัดของรูสเวลท์เป็นอะไรที่เกินกว่าชาวอเมริกันจะรับได้ เขาอาจจะไม่ได้ถูกเลือกให้เป็นประธานนาธิบดีใหม่อีกครั้งหรืออาจจะได้รับเลือก รูสเวลท์ยึดติดอยู่กับนโยบายที่ไม่แทรกแซงด้วยการกระทำ แต่เขาเลือกที่จะแทรกแซงด้วยการกล่าวสุนทรพจน์ที่มีเล่ห์เหลี่ยม และโฆษณาชวนเชื่อที่ทรงพลัง ในการเลือกตั้งที่จะขัดแย้งกับผลประโยชน์นานับประการ เอฟดีอาร์ได้หยิบยื่นความหวังที่แท้จริงให้กับอังกฤษ ท่ามกลางสถานการณ์ที่ในขณะนั้นคงจะดูเหมือนสถานการณ์ที่สิ้นหวัง หลายคนอาจจะมองว่าการสงบศึกกับฮิตเลอร์เป็นหนทางที่สมเหตุสมผลเพียงหนึ่งเดียวที่จะหลีกเลี่ยงการถูกรุกรานได้...”
ช่วงเวลาสุดสัปดาห์ที่ไฮด์ปาร์ค ออน ฮัดสัน สิบสองสัปดาห์ก่อนหน้าสงครามจะอุบัติขึ้น และในความคิดของผม ประเด็นสำหรับภาพยนตร์ของเราก็กลายเป็นยิ่งกว่าจุดแกนกลางทางประวัติศาสตร์ มันเป็นช่วงเวลาที่การกระทำที่เล็กน้อยที่สุดส่งเสียงสะท้อนก้องกังวานมากที่สุด มันเหมือนทฤษฎีเด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว ที่เสนอว่าการกระพือปีกของผีเสื้ออาจก่อให้เกิดพายุร้ายได้โดยไร้ขีดจำกัด เช่นเดียวกับฮ็อตด็อกเต็มคำ (ไส้กรอกแฟรงค์เฟิร์ตซะด้วย) ที่ส่งผลกระทบถึงชายหาดโอมาฮาและวันเฉลิมฉลองการสิ้นสุดสงครามในยุโรป
บทภาพยนตร์ที่ยอดเยี่ยมของริชาร์ด เนลสันได้จับคู่ความแตกต่างระหว่างเรื่องสาธารณะกับเรื่องส่วนบุคคล ชีวิตครอบครัวและชีวิตที่ยิ่งใหญ่ มันเป็นการถ่ายทอดเหตุการณ์สำคัญรวมถึงพลังการชักจูงใจของบุคคลสำคัญในการยื้อแย่งอำนาจในช่วงจุดเปลี่ยนของประวัติศาสตร์
พ่อผมขับเครื่องแลนคาสเตอร์ผ่านเบอร์ลิน ถูกยิงร่วงลงไป และกลายเป็นนักโทษสงคราม เขาเสียชีวิตไปนานแล้วครับ ผมเก็บบันทึกเชียร์เรอร์ของเขากลับไปไว้บนชั้นเหมือนเดิม และรู้สึกว่าเสียงจากการปิคนิคที่คิงส์ ท็อป คอทเทจ ยังคงก้องกังวานอยู่รอบตัวผม…
โรเจอร์ มิเชล
ลอนดอน สหราชอาณาจักร
มิถุนายน ปี 2012
สารจากมือเขียนบท เกี่ยวกับเดซี่
ในช่วงปลายทศวรรษที่ 80s เพื่อนของผมได้เชิญผมไปเยือนสถานที่ที่เป็นที่พำนักส่วนตัวในเมืองไรน์เบค, นิวยอร์ก มันเพิ่งถูกบริจาคเพื่อใช้ประโยชน์ต่อสาธารณะโดยเจ้าของชรา ภายใต้ข้อแม้ว่าเธอจะสามารถใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นได้ตลอดชีวิตที่เหลืออยู่ของเธอ
บ้านหลังนั้นมองออกไปเห็นแม่น้ำฮัดสัน และดูเหมือนหลุดออกมาจากเทพนิยายที่มืดหม่น มันชำรุดทรุดโทรมสีซี๊ดจาง
ผมคิดว่า วิลเดอร์สไตน์ ซึ่งเป็นบ้านของครอบครัวซุคลีย์มาอย่างน้อยสองชั่วอายุคนอาจเรียกได้ว่าเป็นตัวอย่างสำหรับความยากจนของพวกผู้ดีในอเมริกา เพื่อนผมพาผมไปทัวร์ชั้นแรกแบบคร่าวๆ ระหว่างเดินผ่านห้องนั่งเล่น ที่มีวอลล์เปเปอร์หลุดลอก โซฟาหย่อนยาน ผมได้เห็นเดซี ซุคลีย์ นางเอกของเราครั้งนั้นเป็นครั้งแรกและครั้งเดียว ผมคิดว่าเธอนั่งอยู่ตามลำพัง อ่านหนังสือพิมพ์อยู่ โดยไม่สำเหนียกถึงคนแปลกหน้าที่เดินผ่านไป ไม่นานหลังจากนั้น เดซี่ก็เสียชีวิตด้วยวัยหนึ่งร้อยปี
วิลเดอร์สไตน์ ซึ่งนับตั้งแต่นั้นกลายเป็นสวนสาธารณะและกำลังอยู่ในขั้นตอนการบูรณะให้กลับไปงดงามเหมือนในช่วงปลายศตวรรษที่สิบเก้าอีกครั้ง เป็นเพียงหนึ่งในมรดกสองอย่างที่เดซี่ได้ทิ้งเอาไว้ให้กับเรา อีกอย่างหนึ่งคือกระเป๋าเดินทางใบเล็กใต้เตียง ที่ถูกพบหลังจากการเสียชีวิตของเธอ ในกระเป๋าใบนั้นได้เก็บจดหมายส่วนตัวถึงและจากแฟรงค์ลิน รูสเวลท์ ลูกพี่ลูกน้องลำดับที่ห้าของเธอ และบันทึกที่ลงรายละเอียดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างทั้งคู่เอาไว้ มันเป็นความสัมพันธ์ที่ถูกเก็บเป็นความลับจนกระทั่งเธอเสียชีวิต มีหน้ากระดาษบางหน้าหาย(หรือถูกเผา?) จากทั้งจดหมายและบันทึก แต่สิ่งที่หลงเหลืออยู่ก็สะท้อนถึงความรักที่น่าประทับใจและงดงามระหว่างผู้หญิงที่เรียกตัวเองว่าเป็น“นกกระจิบน้อย” และผู้มองตัวเองวว่าเป็น “ส่วนหนึ่งของเฟอร์นิเจอร์” และหนึ่งในบุรุษผู้ทรงเสน่ห์ ทรงอิทธิพลและยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งศตวรรษ การอ่านจดหมายและบันทึกเหล่านี้ได้เปิดประตูไปสู่โลกที่เราได้แต่จินตนาการเท่านั้น โลกเบื้องหลังโฉมหน้าของตำแหน่งประธานาธิบดีที่ทุกฝ่ายต่างสมคบคิดกันที่จะซ่อนความเปราะบางและความอ่อนแอของเขาเอาไว้ ตอนนี้ เหมือนจะชัดเจนแล้วว่า เดซีเป็นคนที่แฟรงค์ลินจะรู้สึกผ่อนคลายด้วยได้ เขาสามารถลืมโลกภายนอก ลืมงาน ลืมปัญหา และแสดงความเป็นตัวเองออกมาได้เมื่ออยู่กับเธอ มันไม่ใช่เรื่องบังเอิญเลยที่ภาพถ่ายของแฟรงค์ลิน รูสเวลท์ในรถเข็นที่เรามีอยู่ในปัจจุบันจะถูกถ่ายโดยเดซี ซุคลีย์
การค้นพบจดหมายและบันทึกเหล่านี้เป็นตัวจุดประกายให้เกิด Hyde Park on Hudson บันทึกตอนหนึ่งของเดซี่เป็นตัวสร้างเรื่องราวให้กับภาพยนตร์เรื่องนี้ การที่เดซี่ได้เขียนด้วยความกระตือรือร้นและตื่นเต้นเกี่ยวกับการมาเยือนบ้านที่ไฮด์ปาร์คของรูสเวลท์ของกษัตริย์และพระราชินีแห่งอังกฤษในเดือนมิถุนายน ปี 1939 นี่เป็นการเยือนโลกตะวันตกครั้งแรกของราชวงศ์อังกฤษ เธอเขียนว่าตัวเองตื่นเต้นที่ได้เห็นเรื่องทั้งหมดนี้ต่อหน้าต่อตา ในฐานะแขกของสิ่งที่กลายเป็นที่รู้จักในชื่อของ “ปิคนิค ฮ็อตด็อก”
ในเดือนมิถุนายน ปี 1939 อังกฤษกำลังจะทำสงครามกับเยอรมนี และมันก็ต้องการการสนับสนุนของอเมริกาอย่างยิ่ง เพื่อการนี้ กษัตริย์และพระราชินีแห่งอังกฤษจึงถูกส่งตัวไปอเมริกาและรูสเวลท์ก็ได้เชิญทั้งสองไปยังไฮด์ปาร์ค เพื่อช่วยเหลือในเรื่องนี้ แต่ชาวอเมริกาส่วนใหญ่ต้องอาศัยการชักจูงใจ อารมณ์ของประเทศนี้คือการหลีกให้ห่างจากสงครามยุโรปอีกครั้ง เสริมด้วยการสงวนท่าทีแต่ดั้งเดิม (และเข้าใจได้) ที่ชาวอเมริกันรู้สึกต่อราชวงศ์อังกฤษและทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์ และมันก็ยิ่งหนักข้อมากขึ้นด้วยการสละบัลลังก์ของกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่แปด ที่ถูกบีบบังคับจากการที่พระองค์ปรารถนาจะอภิเษกกับหญิงแม่ม่าย (วัลลิส ซิมป์สัน) แถม “ซ้ำร้าย” ยังเป็น “ชาวอเมริกันอีกต่างหาก” ตามมุมมองของเรา กษัตริย์จอร์จที่หก หรือเบอร์ตี้ ที่ไร้ประสบการณ์และได้ขึ้นครองราชย์โดยบังเอิญ จำเป็นต้องแสดงให้ชาวอเมริกันเห็นว่าเขาชื่นชมประเทศของเราและพลเมืองของเรา และเคารพเราในฐานะผู้ที่เท่าเทียมกัน นั่นเป็นภารกิจของเขา และแฟรงค์ลิน รูสเวลท์ก็ได้มอบโอกาสนั้นแก่เขา ด้วยการเสิร์ฟฮ็อตด็อกให้เขา!
เรื่องราวทั้งสองเรื่อง ซึ่งก็คือความสัมพันธ์ระหว่างเขากับเดซีและช่วงเวลาสุดสัปดาห์กับกษัตริย์และราชินี เป็นศูนย์กลางภาพยนตร์ของเรา ขณะที่ผมเขียนบทภาพยนตร์เรื่องนี้ เรื่องราวทั้งสองก็ได้สอดประสานเข้าด้วยกัน และแต่ละเรื่องก็เติมเต็มกันและกัน หญิงสาวที่เจ็บปวดจากการเรียนรู้ความจริงเบื้องหลังภาพลักษณ์ของคนรักเธอ ที่โด่งดังระดับโลก และกษัตริย์ผู้ได้เรียนรู้ที่จะซ่อนความไม่มั่นใจและแสดงออกซึ่งความกล้าหาญ มันทำให้เราสำรวจความจำเป็นที่จะนำเสนอภาพลักษณ์ที่ดีเพื่อปกป้องประเทศของคุณ รวมถึงการตระหนักได้ว่าชายที่คุณรักอาจไม่ได้เป็นคนที่คุณคิดก็ได้
ท้ายที่สุด Hyde Park on Hudson ก็เป็นเรื่องราวส่วนตัวด้วยเช่นกัน ผมใช้ชีวิตอยู่ในไรน์เบ็ค บ้านเกิดของเดซี มากว่าสามสิบปี และผมก็มีครอบครัวที่นี่ แม้ว่านี่จะเป็นเรื่องราวที่มีการแตกกิ่งก้านสาขาไปทั่วโลก และเกี่ยวกับบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์มากมาย มันก็ยังเป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้หญิงคนหนึ่งจากหมู่บ้านผม ผู้หญิงที่ผมเคยเห็นนั่งอยู่บนโซฟา ผู้มีโอกาสได้เห็นโลก ทั้งสาธารณะและส่วนตัว ผ่านทางดวงตาที่ไร้เดียงสาของเธอด้วยครับ
ริชาร์ด เนลสัน
ไรน์เบค, นิวยอร์ก
มิถุนายน ปี 2012
สถานที่ต้นกำเนิดของเรื่องราว
ไฮด์ปาร์ค, นิวยอร์ก เริ่มมีผู้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในศตวรรษที่18ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของนิวยอร์ก ซิตี้ ห่างออกไป 90 ไมล์ ในเขตดัชเชส เคาน์ตี้ ริมแม่น้ำฮัดสัน มีโรงภาพยนตร์แห่งแรกคือไฮด์ ปาร์ค รูสเวลท์ ซีเนม่า และมีโรงเรียน
ระดับไฮสคูลที่มีชื่อว่าแฟรงค์ลิน เดลาโน รูสเวลท์ ไฮสคูล ซึ่งสถานที่ทั้งสองแห่งถูกตั้งชื่อตามบุคคลที่มีชื่อเสียงที่สุดที่กำเนิดจากเมืองนี้ นั่นก็คือ Franklin Delano Roosevelt (แฟรงค์ลิน เดลาโน รูสเวลท์) ที่เกิดในคฤหาสน์ของครอบครัวเขาในปี 1882
Eleanor Roosevelt (อีลีนอร์ รูสเวลท์) ภรรยาของเอฟดีอาร์ได้ปรับปรุงกระท่อมวัลคิลล์ ที่อยู่ในคฤหาสน์รูสเวลท์(หรือไฮด์ปาร์ค ออน ฮัดสัน)ให้กลายเป็นโรงงานที่ชื่อว่าวัลคิลล์ อินดัสทรีส์ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตงานฝีมือออกมาจำหน่าย และหลังจากที่โรงงานปิดตัวลง คุณนายรูสเวลท์ก็ได้ย้ายไปอยู่ในกระท่อมหลังดังกล่าว ซึ่งถูกประดับตกแต่งด้วยของที่ผลิตจากที่นั่น กระท่อมวัลคิลล์และสปริงวู้ด มีเส้นทางปีนเขาระยะทาง 3.6 ไมล์ เป็นเส้นทางที่เชื่อมวัลคิลล์และตัวบ้านเข้าด้วยกันที่เรียกว่ารูลท์ ฟาร์ม เลน เทรล
กระท่อมวัลคิลล์และสปริงวู้ดได้รับการจดทะเบียนเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์โดยเนชั่นแนล ปาร์ค เซอร์วิสได้จัดให้มีรูสเวลท์ ไรด์ ซึ่งเป็นรถชัตเติ้ล บัสฟรี เพื่อเอาไว้บริการขนส่งผู้โดยสารไปกลับจากบริเวณสถานีรถไฟ คันนี้จะจอดที่ห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์แฟรงค์ลิน ดี. รูสเวลท์, วัลคิลล์, สปริงวู้ดและท็อป คอทเทจ ซึ่งเป็นที่พักบนยอดเขาของเอฟดีอาร์
ก่อนหน้าการถ่ายทำฉากของ Hyde Park on Hudson ในปี 1939 ผู้กำกับ/ผู้อำนวยการสร้าง โรเจอร์ มิเชลได้ทุ่มเทให้กับการค้นคว้าข้อมูลที่ห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ ส่วนดาราของเรื่อง บิล เมอร์เรย์และลอรา ลินนีย์ รวมถึงมือเขียนบทริชาร์ด เนลสันก็ได้ใช้เวลาอยู่ที่นั่นเช่นเดียวกัน และพวกเขาก็ได้เดินสำรวจตัวอาคารและบริเวณโดยรอบทั้งหมด ซึ่งบริเวณระเบียงหน้าบ้านของกระท่อมวัลคิลล์ ได้ถูกจัดให้เป็นสถานที่ปิคนิคของกษัตริย์และพระราชินี ในเดือนมิถุนายน ปี 1939 และเมนูในวันนั้นประกอบไปด้วยสลัดผัก สตรอว์เบอร์รีช็อตเค้กและฮ็อตด็อก
ที่มาของภาพยนตร์
David Aukin (เดวิด ออคิน) ผู้อำนวยการสร้าง กล่าวว่า...
“…Hyde Park on Hudson เป็นนิยายที่สร้างขึ้นจากเหตุการณ์จริง โดยมีบทภาพยนตร์ที่ลึกซึ้งของริชาร์ด เนลสัน กระตุ้นความรู้สึกของยุคสมัยและผู้คนในตอนนั้นขึ้นมาได้อย่างชาญฉลาด เมื่อพระจันทร์สาดแสงมันมีอะไรบางอย่างในบรรยากาศของช่วงเวลาสุดสัปดาห์นั้น มันมีบรรยากาศเหมือนกับหนังเรื่อง Smiles of a Summer Night ของอิงค์มาร์ เบิร์กแมน และนั่นก็เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของบทภาพยนตร์เรื่องนี้ครับ
ตามประวัติศาสตร์แล้ว สุดสัปดาห์นั้นในปี 1939 คือตอนที่ “ความสัมพันธ์พิเศษ” ระหว่างอังกฤษและอเมริกาเริ่มต้นขึ้น หลังจากที่เขากลับไปกษัตริย์ได้ส่งโทรเลขไปถึงเอฟดีอาร์เพื่อขอบคุณเขาและกล่าวว่า ข้าพเจ้ารู้สึกว่าเราได้สานสายสัมพันธ์พิเศษและคำๆนั้นก็เกิดขึ้นตอนนี้นี่เอง ภาพที่กษัตริย์เสวยฮ็อตด็อกแสดงให้เห็นว่าในที่สุดอังกฤษก็ยอมรับชาวอเมริกันว่าเท่าเทียมกันเสียที ว่าเบอร์ตี้ไม่ได้ดูแคลนพวกเขา ในแง่ของการแสดงให้เห็นว่านักการเมืองทำงานอย่างไร นี่เป็นเรื่องราวที่ยังให้ความรู้สึกร่วมสมัย ผสมผสานระหว่างเรื่องการเมืองและเรื่องส่วนตัวเข้าด้วยกัน มันมีสายสัมพันธ์ทางการเมืองบางอย่างที่เกิดขึ้นระหว่างเบอร์ตี้และรูสเวลท์ แต่มันก็มีสายสัมพันธ์ทางจิตใจด้วยเช่นกัน เอฟดีอาร์อายุมากกว่าและเขาก็ปฏิบัติต่อกษัตริย์เหมือนลูกคนหนึ่ง ส่วนตัวกษัตริย์เองก็ตอบสนองความรู้สึกนั้นเพราะพ่อของเขาเองไม่ใส่ใจในตัวเขาน่ะครับ
ตอนที่ผมออกไปข้างนอกกับบิล มีคนทักทายเขาในทุกหนทุกแห่งที่เขาไป คนชื่นชอบเขามากเพราะเขาสร้างความยินดีให้กับคนมากมายด้วยผลงานหนังของเขา บิลเป็นนักแสดงที่วิเศษสุด สิ่งที่เขาแสดงออกมาได้ดีคือการที่ประธานาธิบดีบงการและใช้เสน่ห์ของเขาเพื่อให้ได้สิ่งที่เขาต้องการ แต่บิลสามารถถ่ายทอดจิตวิญญาณและแก่นแท้ของชายคนนั้นออกมาได้ บิลทำการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับเอฟดีอาร์มากมาย แม้ว่าเขาจะไม่เคยถูกบันทึกวิดีโอหรือถ่ายภาพไว้เนื่องจากอาการโปลิโอของเขาก็ตาม…”
เควิน โลดเดอร์ ผู้อำนวยการสร้าง กล่าวว่า...
“…ผมกับโรเจอร์สร้างหนังมาหลายเรื่อง แต่เรื่องนี้เป็นการที่เรานำนักแสดงชาวอเมริกันมาทำงานกับชาวอังกฤษ ซึ่งมันตรงกันข้ามกับเรื่องราวของหนังเรื่องนี้เลยนะครับ เราใช้ตัวประกอบ 100 คนสำหรับซีเควนซ์นี้ ชิลเทิร์นส์เป็นสถานที่ ที่ค่อนข้างเหมาะสม ด้วยต้นบีชที่งดงาม มันมีการชุมนุมทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นก่อนหน้าที่มันจะเกิดขึ้นบนหน้าจอเสียอีกครับ
เราพบคฤหาสน์แห่งหนึ่งภายในรัศมี 10 ไมล์ของลอนดอนและไม่อยากจะเชื่อเลยว่าเราจะโชคดีขนาดนี้ มันหมายถึงว่าเราไม่ต้องย้ายกองไปในที่ที่ทุรกันดาร สิ่งที่เราหวังเอาไว้และต้องการอยู่ข้างในนั้นเป็นส่วนใหญ่อยู่แล้วครับ เรารู้ว่าเราไม่สามารถจำลองบ้านหลังนั้นขึ้นมาได้แบบเป๊ะๆ เราก็เลยให้น้ำหนักไปที่สเกลและบรรยากาศครับ แต่แค่เสียดายที่ไม่ มีแสงอาทิตย์มากกว่านี้ แต่ทีมงานของเราก็สนุกกัน พวกเขาได้พบปะสังสรรค์กันหลังจากเลิกงานและได้ไปดูละครด้วยครับ
ระหว่างที่เอฟดีอาร์ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เขาแบ่งเวลาระหว่างทำเนียบขาวกับบ้านของแม่เขา ที่ซึ่งเขาถูกห้อมล้อมด้วยผู้หญิงที่สำคัญต่อชีวิตเขาเอฟดีอาร์ใช้เวลาอยู่ตัวคนเดียวที่ท็อป คอทเทจจริงๆ มันเป็นที่ที่เขาชาร์จแบตใหม่ เขาสนับสนุนให้เพื่อนๆ ซื้อที่ดินทีอ่ยู่ติดกัน และปลูกกระท่อมของตัวเองใกล้ๆ ดังนั้น เขาก็เลยมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเติบโตของฮัดสัน วัลลีย์ครับในการเปลี่ยนโฉมให้เป็นไปตามลักษณะทางกายภาพของเอฟดีอาร์ บิลได้มาอังกฤษตั้งแต่เริ่มแรกและพบกับตัวแทนของสมาคมโปลิโอของอังกฤษ นักกายภาพบำบัดได้ทำอุปกรณ์สวมขาให้กับเขาและสอนวิธีการเดินให้กับเขา...”
เกี่ยวกับงานสร้าง...
ไซม่อน โบว์เลส ผู้ออกแบบงานสร้าง กล่าวว่า...
“…ตอนที่ผมถูกทาบทามให้มาทำงานในโปรเจ็กต์นี้ครั้งแรก ผมตระหนักได้ว่ามันสำคัญแค่ไหนที่จะได้ไปเยี่ยมชมสปริงวู้ด ซึ่งเป็นตัวบ้านหลัก และท็อปคอทเทจ รวมถึงเมืองและชนบทใกล้ๆ ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตมีประโยชน์ก็จริง แต่มันก็ไม่เหมือนกับการได้ไปที่นั่นและได้เห็นด้วยสองตาคุณจริงๆ มันมีรายละเอียดมากมาย แล้วมันก็เป็นโอกาสที่จะได้พบกับริชาร์ด เนลสันด้วย
ตั้งแต่ที่สปริงวู้ดถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นอนุสรณ์สถานแห่งชาติในยุค 40s ก็แทบไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปเลย เราไปในห้องครัว ห้องนอน ห้องทำงาน...รายละเอียดจากยุคนั้นยังคงอยู่ให้เราได้เห็น ของต่างๆ ในบ้านหลังนี้แสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ของครอบครัวและบ่งชี้ถึงนิสัยของซาราและอิทธิพลของเธอด้วย มันมีภาพถ่ายของบ้านหลังนี้ในปี 1939 ปีที่หนังเรื่องนี้เกิดขึ้น ซึ่งบันทึกการตกแต่งภายในเอาไว้ แต่มันก็เป็นภาพขาวดำ ซึ่งการไปที่นั่นก็ทำให้เราได้เห็นสีสันของมันแบบเต็มๆ ผมวัดขนาดและถ่ายรูปกลับไปอังกฤษ ที่ซึ่งจะมีการสร้างสปริงวู้ดขึ้นมาที่คฤหาสน์ส่วนตัว ผมได้ถ่ายรูปช่องระบายอากาศในปสริงวู้ด และเราก็ติดตั้งมันเข้าไป แล้วก็มีนกสตัฟฟ์ ที่เอฟดีอาร์ทำเอาไว้ในตอนเขาเป็นวัยรุ่น ที่เราใส่เข้าไปด้วยเหมือนกัน ในบ้านหลังนี้ มันก็เป็นการผสมผสานที่ยอดเยี่ยม มากกว่าที่คุณคิดไว้เสียอีก อย่าลืมนะครับว่านี่เป็นบ้านของแม่เอฟดีอาร์และแม้แต่ตัวเขาก็ยังเป็นแขกของที่นั่นเลย
สำหรับฉาก “การพูดคุยข้างเตาผิง” ที่เอฟดีอาร์พูดกับคนทั้งประเทศระหว่างนั่งอยู่ที่โต๊ะ เราได้นำไมค์มาจากอเมริกา ส่วนบนโต๊ะของเขา แผนกอุปกรณ์ประกอบฉากที่วิเศษสุดของผมได้ค้นคว้าข้อมูลเพื่อหาว่าคอลเล็กชันแสตมป์มีหน้าตาเป็นแบบไหน เพราะมันเป็นสิ่งสำคัญในตอนที่เดซี่มาเห็นเอฟดีอาร์เป็นครั้งแรก รวมถึงหนังสือที่สะสมแสตมป์นั้นมีลักษณะอย่างไรด้วย มันมีหลักฐานทางภาพถ่ายบางอย่าง แต่คอลเล็กชันของเอฟดีอาร์ถูกขายในงานประมูลเมื่อหลายปีก่อน และแสตมป์ก็มีค่าไม่เท่าไหร่ เพราะเขาไม่ได้สะสมแสตมป์พิเศษ แต่มันเป็นงานอดิเรกมากกว่าน่ะครับ
เราต้องมีภาพสีน้ำมันของเอฟดีอาร์ ที่แขวนอยู่ในห้องทำงานของเขา ดังนั้น ช่างภาพนิโคลา โดฟ ก็เลย จัดท่าบิลให้เหมือนกับในภาพวาดมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เขามักจะพูดและแสดงท่าทางเหมือนเป็นตัวละครตัวนี้ ระหว่างที่ถูกถ่ายภาพ ซึ่งมันต้องอาศัยความอดทนอย่างสูง แต่เขาก็ยินดี เขาเป็นคนเสนอความคิดเห็นเพื่อช่วยให้ได้ภาพที่เหมือนจริงออกมา จากนั้นเราก็ถ่ายภาพภาพวาดที่เสร็จสมบูรณ์ เพื่อทำให้มันลงผืนผ้าใบ มันดูเหมือนของจริงเลยครับ
ในการจำลองท็อป คอทเทจ ซึ่งเป็นที่พักของประธานาธิบดีในตอนที่เขาอยากจะเขียนนิยายนักสืบ ขึ้นมา เราได้สร้างบ้านทั้งหลังขึ้นมาใหม่ ในลานโล่งในป่าแถบชิลเทรนส์ (หุบเขาทางตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ) เรามีภาพสเก็ตช์และแบบโมเดล รวมถึงหุ่นพลาสติกรูปคนตัวเล็กๆ สำหรับกระบวนการนี้ มันเป็นฉากที่น่าประทับใจมาก ตัวโรเจอร์เองจะนั่งอยู่ที่ระเบียงและอ่านหนังสือพิมพ์ด้วยครับ ที่โลเกชันนั้น เราต้องรู้ว่าทุกอย่างจะต้องอยู่ตรงไหนสำหรับการปิคนิค มันมีบันทึกตารางเวลา เพื่อที่จะได้ไม่มีเรื่องประหลาดใจเกิดขึ้น “เครื่องดื่มจะถูกตระเตรียมที่นี่ จานจะอยู่ตรงนี้...” เราจะต้องรู้ว่าตัวละครจะนั่งที่ไหนด้วย เหมือนอย่างวันนั้นในปี 1939 น่ะครับ ผมติดภาพถ่ายจากปิคนิคครั้งนั้นบนผนัง ทุกคนจะดูภาพพวกนั้นเพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิง บางคนได้ถ่ายภาพลูกๆ ของเขาที่แสดงถึงความตื่นเต้น “ในแบ็คกราวน์” ด้วยเหมือนกัน และคุณก็จะได้เห็นช่วงเวลาระหว่างกษัตริย์และราชินีครับ
นอกจากนี้เราอยากจะจำลองรถเข็นที่เอฟดีอาร์ใช้ขึ้นมา แต่เราก็พบว่าเขาใช้รถเข็นหลายแบบ เราตัดสินใจใช้รถเข็นที่ถูกอนุรักษ์เอาไว้ที่สปริงวู้ด ใกล้ๆ กับโต๊ะของเขาในห้องสมุด คุณคิดว่าการสร้างรถเข็นขึ้นมาซักคันเป็นเรื่องง่าย แต่เปล่าเลย ล้อรถเข็นจะต้องมาจากฮอลแลนด์ และเราก็ต้องตัดเก้าอี้ห้องครัวที่สั่งทำเป็นพิเศษ เพื่อออกแบบเก้าอี้ที่จะมีด้านข้างคู่ขนานกันเพื่อที่ล้อจะผ่านไปได้ โครงสร้างเหล็กด้านใต้ก็จะต้องถูกสร้างขึ้นเหมือนกัน เราต้องตัดสินใจว่าเราจะใช้โอ๊คชนิดไหนและจะใช้สีอะไร รวมถึงต้องตรวจดูพวกน็อตหรือตะปูด้วย...”
ฝ่ายคอสตูม
Dinah Collin (ไดน่าห์ คอลลิน) คอสตูม ดีไซน์ กล่าวว่า...
“...ฉันมีแหล่งข้อมูลมากมายในการทำงาน แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการที่เราจะสร้างหนังเรื่องนี้ขึ้นในอังกฤษ ฉันก็เลยรู้ตั้งแต่ต้นว่า สต็อคเครื่องแต่งกายทั้งหมดของเราจะต้องมาจากอเมริกา ฉันเดินทางไปลอสแองเจลิสสองสัปดาห์และพบชุด เดรสน่ารักๆ หมวก และชุดสูทในร้านขายเสื้อผ้าที่นั่น และเราก็ส่งเสื้อผ้าทั้งหมด 54 กล่องมาที่นี่ค่ะ เดซีไม่ค่อยมีภาพมากนัก ฉันก็เลยต้องอาศัยภาพถ่ายของผู้หญิงอเมริกันในช่วงปลายยุค 30s แทนเสื้อผ้าเก่าๆ บางตัวเป็นการสานต่อการเดินทางที่น่ามหัศจรรย์ค่ะ เครื่องแต่งกายพวกนี้จะทำให้นักแสดงกลายเป็นตัวละครตัวนั้น เพื่อที่ผู้ชมจะได้เชื่อในตัวพวกเขา มันอาจจะเป็นยุคสมัยก่อนก็จริง แต่คุณก็ต้องจินตนาการถึงใครซักคนในชุดเหล่านี้ ไม่ใช่แค่ว่าใครเป็นคนสวมพวกมันในตอนแรก แต่รวมถึงตัวละครในเรื่อง หรือแม้กระทั่งตัวคุณเองด้วยค่ะ
ฉันได้พบกับบิล เมอร์เรย์ครั้งแรกในบอสตัน ใกล้ๆ กับที่ที่เขากำลังถ่ายทำ Moonrise Kingdom ตอนลองชุด เราคุยกันว่าประธานาธิบดีรูสเวลท์มีร่างกายส่วนบนที่ล่ำหนา เพราะเขาได้ออกกำลังกายส่วนนั้น ส่วนชุดของลอรา ลินนีย์ ฉันนำชุดเดรสชุดหนึ่งยุคเก่าที่ฉันนำมาด้วยมาดัดแปลงควบคู่ไปกับเนื้อผ้าที่มีการผลิตขึ้นมาใหม่ ใส่คู่กับรองเท้าสีขาวที่มีการร้อยเชือกสูง และตัวแป๊บขนาดเล็ก ซึ่งมันเข้ากับลอราได้พอดีเลยล่ะค่ะ...”
ฝ่ายเมคอัพและแฮร์ สไตล์ลิส
Morag Ross (โมแร็ค รอส) ผู้ออกแบบแต่งหน้า กล่าวว่า...
“…หนังเรื่องนี้เกี่ยวกับคนกลุ่มหนึ่งเป็นพิเศษก็จริง แต่การมีข้อมูลอ้างอิงเกี่ยวกับชีวิตโดยปกติของชาวอเมริกาในขณะนั้นก็ช่วยได้มากเหมือนกัน สำหรับเมคอัพ เราใช้ผลิตภัณฑ์สมัยใหม่ ซึ่งดีกับผิวมากกว่า เพื่อสร้างลุคแบบย้อนยุคขึ้นมาค่ะ อย่างเช่น โอลิเวีย เธอดูแตกต่างและอายุน้อยกว่าอีลีนอร์ มันก็เลยเป็นความท้าทายค่ะ ฉันกับโรเจอร์เห็นพ้องกันว่าเราจะต้องอาศัยความละเอียดอ่อน ฉันก็เลยทำให้ผิวสวยๆ ของเธอดูมีอายุมากขึ้นและเปลี่ยนฟันของเธอให้เหมือนกับอีลีนอร์ โรเจอร์พบภาพหนึ่งของอีลีนอร์ตอนปิคนิค ที่เธอปล่อยผมสยาย เป็นอิสระ และบอกว่าเขาอยากจะถ่ายทอดความรู้สึกเป็นอิสระนั้นและไม่ต้องทำผมทรงอะไรทั้งนั้นน่ะค่ะ...”
นอร์มา เว็บบ์ ผู้ออกแบบทรงผม กล่าวว่า...
“…ในภาพยนตร์เรื่องนี้ ฉันจะไม่เน้นให้นักแสดงใช้วิก แต่จะใช้การดัดแปลงและให้สีผมจริงๆ ของนักแสดงแทนการสวมวิก เพราะโรเจอร์อยากให้ผมของพวกเขาดูเป็นธรรมชาติที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ กษัตริย์และราชินีจะดูเรียบร้อยและเนี้ยบกว่าชาวอเมริกัน ฉันชอบการได้เห็นแซม เวสต์และโอลิเวีย โคลแมนในลุคพีเรียดสำคัญแบบนี้และคิดในใจว่า“มันเวิร์คด้วย!”แต่โรเจอร์ก็ไม่อยากให้ทุกอย่างเหมือนเปี๊ยบมันเป็นเรื่องของความพยายามถ่ายทอดแก่นแท้ของคนที่มีเลือดเนื้อจริงๆ เหล่านี้ออกมา ใบหน้าของเอฟดีอาร์เป็นที่รู้จักดี ฉันก็เลยทำโมลด์เล็กๆ สำหรับบิล เมอร์เรย์ในส่วนเนื้องอกตรงคิ้วด้านซ้าย และไฝตรงแก้มขวา บิลขอให้เขาดูเหมือนคนที่ออกแดดบ่อยๆ เพราะเอฟดีอาร์ชอบอาบแดดบ่อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้น่ะค่ะ มันน่าพึงพอใจมากๆ ที่ได้เดินเข้าไปในฉากสมบูรณ์ในวันนั้น มันให้ความรู้สึกของความสำเร็จยิ่งใหญ่ และคุณก็จะได้เห็นผลของความอุตสาหะของทุกคน ของทีมงานมากมายน่ะค่ะ ส่วนลุคของลอราในหนังเรื่องนี้จะดูมีอิสระมากกว่าเดซีตัวจริง เดซีของเราจะเป็นธรรมชาติมากกว่าในขณะที่เดซีตัวจริงจะเป็นคนเนี้ยบที่ไม่เคยปล่อยให้ผมซักเส้นหลุดจากที่น่ะค่ะ…”
นักแสดงนำเปิดใจถึงบทบาทที่ได้รับ...
Bill Murray (บิล เมอร์เรย์) รับบท Frankin Delano Roosevelt (แฟรงค์ลิน เดลาโน รูสเวลท์) กล่าวว่า..
“…รูสเวลท์เป็นหนึ่งในตัวละครที่น่าเกรงขามที่สุดเท่าที่ผมเคยถูกทาบทามให้เล่น และเรื่องราวนี้ที่ผมไม่รู้มาก่อนก็แสดงให้เห็นแง่มุมส่วนตัวของเขา บทของริชาร์ดมีความเป็นมนุษย์ครับ หลังจากที่ผมได้อ่านบท ผมก็โทรหาโรเจอร์ มิเชล (ผู้กำกับ/ผู้อำนวยการสร้าง) และเราก็ไปที่ชายหาด และคุยกันถึงสิ่งที่เราจะทำกับเรื่องราวนี้ได้
แฟรงค์ลิน รูสเวลท์ จะเป็นคนตัดสินใจและมันก็จะเปลี่ยนแปลงชีวิตของคนหลายล้าน ในบทบาทผู้นำของเขา เขาต้องเดินอยู่บนเส้นบางๆ ของการเข้าไปเกี่ยวข้องและการปล่อยวางกับสิ่งที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ รวมทั้งพยายามฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจของอเมริกาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ เขาต้องรักษาสมดุลระหว่างความรับผิดชอบทางด้านการคลังและการทหาร เขารู้ว่าเวลาไหนควรจะประนีประนอม และเวลาไหนควรจะแข็งกร้าว มีอยู่คืนหนึ่งหลังการถ่ายทำ ผมขับรถไปที่จัตุรัสกรอสเวเนอร์ในลอนดอน และขับไปใกล้ๆ กับสถานทูตอเมริกัน ที่มีรูปปั้นรูสเวลท์ ซึ่งถูกสร้างขึ้นหนึ่งปีหลังการเสียชีวิตของเขา เขายืนอยู่ในชุดคลุมสีกรมท่า และผมก็ได้ฟังเสียงสุนทรพจน์ของเขาบ่อยๆ ในแง่ของภูมิหลังของเขาแล้ว เขาโตมาในนิวยอร์ก ซิตี้ ในไฮด์ปาร์ค และในแคมป์โปเบลโล นอกอเมริกาและแคนาดา เขาเคยเดินทางไปอังกฤษ เข้าโรงเรียนในโกรตอน, คอนเน็กติคัท เสียงของเขาก็เลยได้รับอิทธิพลจากหลายสำเนียง แต่เสียงของเขาก็เป็นอะไรที่มีเอกลักษณ์มากๆ ครับ คุณจะต้องมีประกายในดวงตาเพื่อให้คนทำตามที่คุณต้องการ เขารู้ว่าคุณจะเต็มใจที่จะเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ เขาทำให้คนเชื่อในตัวเขาครับ
แม้ว่าเอฟดีอาร์ต้องฝ่าฟันกับอาการป่วยจากผลข้างเคียงโรคโปลิโอ แต่คุณไม่เคยเห็นความรู้สึกสงสารตัวเองจากเขาเลย เขาประกาศกร้าวว่าจะต้องไม่มีภาพของเขาขณะใช้ไม้ค้ำหรือนั่งบนรถเข็น เขาได้ฟื้นฟูกำลังให้กับร่างกายส่วนบนของเขา รวมถึงกล้ามเนื้อส่วนหน้าท้อง ซึ่งเคยหายไป และทำให้เขาสามารถขยับขาอ่อนส่วนบนและส่วนบนของท่อนขาได้น่ะครับ
หลังจากไปเยี่ยมชมท็อป คอทเทจของจริง ผมก็ได้ไปสถานที่จำลองภายในระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์ ทิวทัศน์จากมุมสูงเหมือนกันมากเลยครับพอคุณได้อ่านจดหมายและบันทึกของเดซี คุณจะได้เห็นว่าเธอเป็นคนที่รูสเวลท์ไว้ใจได้เลยว่าจะคอยสนับสนุนเขา มันมีบางช่วงเวลาที่งานของเขาเป็นงานที่โดดเดี่ยวที่สุดในโลกน่ะครับ ท็อป คอทเทจถูกสร้างขึ้นโดยการคำนึงถึงชีวิตหลังการเมืองของเขา แต่มันก็ไม่เกิดขึ้น เขาได้รับตำแหน่งประธานาธิบดีต่อเป็นครั้งที่สอง ครั้งที่สามและครั้งที่สี่ เขาเสียชีวิตบนเวทีโลก โดยที่อเมริกาเป็นประเทศที่แตกต่างออกไปในปี 1945 เมื่อเทียบกับปี 1933 ผมอิจฉาความกล้าหาญในแบบของเขาครับ ในฐานะประธานาธิบดีคนแรกที่ใช้วิทยุเป็นฐาน รูสเวลท์มักจะพูดออกอากาศจากบ้าน ที่โต๊ะอาหารค่ำ โดยมีการขยับไมค์เข้ามาหลังจากที่รับประทานอาหารเสร็จแล้ว เขาคุยกับชาวอเมริกาเหมือนกับว่าเขาเป็นพ่อที่กำลังพูดอยู่ที่หัวโต๊ะเลยครับ
การได้ร่วมงานกับ อลิซาเบธ วิลสัน เธอเป็นผู้หญิงที่มีเรื่องราวเป็นล้านเลย และอลิซาเบธก็อายุมากพอที่จะเป็นแม่ผม ดังนั้น ในตอนที่โอลิเวีย วิลเลียมส์เข้าฉากกับเธอในฐานะอีลีนอร์ มันก็มีความนัยบางอย่างที่ทุกคนต้องยอมตามครับ
ส่วนการได้ร่วมงานกับโอลิเวีย วิลเลียมส์ ผมนึกถึงการที่เธอสร้างความประทับใจให้กับนายพลฮัลซีย์ ผู้บัญชาการทหารในภูมิภาคแปซิฟิค ด้วยสิ่งที่เธอทำในสงครามโลกครั้งที่สอง ที่เธอออกไปเยี่ยมทหารและเป็นตัวแทนสำหรับสภากาชาด ผมรู้สึกว่าหัวใจของความสัมพันธ์ระหว่างเอฟดีอาร์และอีลีนอร์คือการศึกษาที่หล่อหลอมพวกเขา เขาถูกสอนให้ไม่กลัวอะไร ส่วนอีลีนอร์ก็มีคำพูดที่โด่งดังที่ว่า “ทำสิ่งที่ทำให้คุณกลัวในทุกวัน” ระหว่างอาหารค่ำ ช่วงที่พวกเขาเติบโตขึ้นมา พวกเขาถูกบอกว่าพวกเขาจะต้องทำอะไรบางอย่างให้สำเร็จ พวกเขาไม่ใช่สามีภรรยาแบบทั่วๆไป พวกเขาต่างก็รู้ว่าพวกเขาเป็นบางสิ่งบางอย่าง พวกเขาสามารถทำในสิ่งที่พวกเขาต้องทำให้สำเร็จลงได้ด้วยการอยู่ด้วยกันและทำงานร่วมกันครับ ด้วยทรงผม ชุดและสร้อยไข่มุก โอลิเวอร์เหมือนกับอีลีนอร์มาก และไม่เหมือนตัวเธอเองเลย เธอทุ่มสุดตัวครับ...”
Olivia Williams (โอลิเวีย วิลเลี่ยมส์) รับบท Eleanor Roosevelt ( อีลีนอร์) กล่าวว่า...
“…ฉันรับบทเป็นผู้หญิง ที่ถูกแม่สามีเข้ามามีบทบาทเหนือกว่าในสิ่งที่เป็นพื้นที่ครอบครัวที่ไม่ธรรมดาน่ะค่ะ ฉันเชื่อในการค้นคว้าข้อมูลให้มากเข้าไว้ แต่โรเจอร์ไม่อยากให้ฉันเลียนแบบใคร ฉันจะดูการกล่าวสุนทรพจน์ของเธอ แต่ทั้งหมดนั่นเป็นเสียงที่เธอใช้พูดต่อหน้าสาธารณชนค่ะ ฉันได้อ้อนวอนขอร้องอย่างไม่อาย ที่จะได้เป็นส่วนหนึ่งของหนังเรื่องนี้ แต่มันเหนื่อยมากที่ต้องรับบทเป็นคนที่โดดเด่นอย่างอีลีนอร์ เธอทำงานมากมายในเรื่องของสิทธิพลเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อชาติ และเธอก็ใช้สถานะสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของเธอช่วยเหลือผู้อื่น ฉันอยากจะแสดงให้คู่ควรกับเธอ และฉันก็ได้สำรวจบุคคลระดับโลกนี้ในสถานการณ์ครอบครัว ที่ที่เธอมีอำนาจน้อยกว่า ห้องนอนของเธอเป็นห้องแต่งตัวแม่สามีเธอค่ะ อีลีนอร์ไม่ได้ยกย่องใครเป็นพิเศษ เธอไม่ถอนสายบัวให้กับกษัตริย์และราชินีเพราะเธอรู้สึกไม่ควรจะมีการถอนสายบัวให้ใครทั้งนั้น นั่นเป็นหลักการของเธอ และฉันก็ตั้งใจจะถ่ายทอดเรื่องนั้นออกมาด้วยความทะนง โดยไม่ดูคิดเล็กคิดน้อย ในระหว่างอ่านบท ฉันสวมฟันปลอม และสำเนียงฉันก็จะไปคนละทิศละทางเลย โชคดีที่เรามีเวลาซ้อมพอสมควร ฉันอยากให้มันยุ่งเหยิง เพราะฉันรู้สึกว่ามันจะแสดงให้เห็นถึงความไม่เป็นทางการของเธอ แม้แต่ตอนที่อีลีนอร์พยายามจัดผมของเธอให้เข้าทรง มันยังดูยุ่งอยู่เลยค่ะ
เมื่อหลายปีก่อน ฉันได้แสดงเรื่อง Rushmore กับบิล เราก็เลยมีมิตรภาพระหว่างกันมาก่อนแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องดีต่อ Hyde Park on Hudson เพราะถึงตอนนี้ในชีวิตคู่ของครอบครัวรูสเวลท์ มันมีความเข้าใจกันและกันมาเนิ่นนานแล้ว และมันก็มีการยอมรับ ทางการเมือง เธอจะเป็นตัวแทนของเขา ที่เดินทางไปยังที่ต่างๆ ที่เขาไม่สามารถไปได้ เขาจะฟังความคิดของเธอ และนำเอาความคิดบางอย่างของเธอไปเสนอรัฐบาล
ฉันอยากร่วมงานกับโรเจอร์เพราะฉันอยากถูกกำกับ ฉันอยากให้ใครซักคนบอกฉันว่าฉันทำอะไรไม่ถูก ซึ่งเขาก็ทำแบบนั้น ด้วยความมีเสน่ห์สุดๆ เลยด้วย! สำหรับฉัน Hyde Park on Hudson มีคุณสมบัติแบบเดียวกับ Persuasion ตรงที่โรเจอร์ได้ถ่ายทอดได้อย่างยอดเยี่ยมว่าความรู้สึกรุนแรงและความสำคัญสามารถซ่อนเร้นอยู่ใต้โฉมหน้าทางสังคมที่สวยงามมากแค่ไหนน่ะค่ะ ภาพยนตร์เรื่องนี้จะเป็นเรื่องราวไขความกระจ่างที่ถูกบอกเล่าอย่างน่ารัก มันไม่ได้เป็นการเปิดโปงหรือลดค่าของใครในสายตาของคนทั่วโลก ตลอดหลายปีมานี้ ความจริงบางอย่างเกี่ยวกับชีวิตครอบครัวของผู้นำเหล่านี้ได้ถูกเปิดเผยออกมา ซึ่งฉันคิดว่าคนจะสนใจสนุกและประหลาดใจกับมันริชาร์ดได้นำเหตุการณ์สำคัญระดับโลกใส่อยู่ในบริบทของสุดสัปดาห์ในบ้านพักในชนบท ซึ่งมีเรื่องความอึดอัดทางสังคมเข้ามาเกี่ยวข้อง เขาทำให้ไอคอนแห่งศตวรรษที่ 20 กลายเป็นคนที่มีเลือดเนื้อจริงๆ และสำรวจถึงอิทธิพลทางการเมืองของพวกเขาค่ะ...”
Elizabeth Marvel (อลิซาเบธ มาร์เวล) รับบท Missy (มิสซี่) กล่าวว่า...
“…ตัวละครของฉันชื่อมิสซี่ ชื่อจริงของเธอคือมาร์กาเร็ต เลอแฮนด์ เธอเป็นเลขาให้กับเอฟดีอาร์ก่อนที่เขาจะเป็นประธานาธิบดีเสียอีก พวกเขาได้รู้จักกันตอนที่เธอเริ่มทำงานให้กับพรรคเดโมแครทในดี.ซี. คนอาจบอกว่าเธอเป็นเหมือนภรรยาของเขา เพราะใกล้ชิดสนิทสนมกันขนาดนั้น ในตอนที่เขาเป็นโปลิโอและเดินทางไปฟลอริดา เธอใช้ชีวิตกับเขาบนเรือบ้าน เธอช่วยให้เขาฟื้นฟูตัวเองอีกครั้ง แล้วเธอก็ช่วยเขาบริหารทำเนียบขาว เธอเป็นนักจัดการคนเก่ง เป็นผู้หญิงทำงานค่ะ นอกจากนี้ เธอก็มีความรู้สึกหดหู่ และทุกข์ทรมานจากงานที่ทำด้วย เธอตัดสินใจด้วยความตระหนักว่าเธอจะอยู่ในห้องสำหรับการตัดสินใจครั้งสำคัญแห่งประวัติศาสตร์ ในช่วงเวลาที่เหลือเชื่อเหล่านี้ค่ะ
เราทุกคนต่างก็ค้นคว้าข้อมูลมา แต่ลอรามาถึงแบบพร้อมมากๆ [หัวเราะ] แล้วสิ่งที่เราต้องทำคือปล่อยวางเรื่องพวกนั้น และถ่ายทอดความจริงทางด้านอารมณ์ออกมาน่ะค่ะ เราไม่ได้สร้างเรื่องราวที่ถ่ายทอดประวัติศาสตร์เป๊ะๆ แต่มันเป็นเรื่องของการทำให้เรื่องการเมืองมีความเป็นมนุษย์ค่ะ …”
Samuel West (ซามวล เวสต์) รับบท Bertie (เบอร์ตี้) กล่าวว่า...
“...ผมได้อ่านชีวประวัติของเบอร์ตี้และอลิซาเบธ และอ่านชีวประวัติของรูสเวลท์บ้าง อีลีนอร์ รูสเวลท์กล่าวว่า อลิซาเบธจะยิ้มหรือโบกมือทักทายฝูงชน และทุกคนก็จะคิดว่ารอยยิ้มหรือการโบกมือนั้นเป็นไปเพื่อพวกเขาเท่านั้น ผมว่า Hyde Park on Husdon เป็นการสำรวจว่าบุคคลสาธารณะเหล่านี้เป็นอย่างไรเมื่ออยู่ในที่ส่วนตัว ประธานาธิบดีและกษัตริย์จะไม่ทำผิดพลาดหรือมีชัยชนะเล็กๆ ในงานเลี้ยงดินเนอร์หรือในห้องนอนของพวกเขา เหมือนกับเราเชียวหรือครับ พวกเขามีปัญหากันมาตั้งแต่เมื่อสองร้อยปีที่แล้ว และก็ไม่มีใครกลับไปอีก...แต่สงครามโลกครั้งที่สองที่ไม่มีใครคาดคิดกำลังจะเกิดขึ้นและอังกฤษก็ต้องการรู้ว่าอเมริกาเป็นพันธมิตรของพวกเขารึเปล่าน่ะครับ
เราเชื่อว่าอเมริกาเป็นสถานที่ที่คุณสามารถเปลี่ยนตัวเองใหม่ได้ เบอร์ตี้และอลิซาเบธกลับอังกฤษพร้อมกับชัยชนะ ผมคิดว่าเบอร์ตี้ได้ก้าวพ้นจากเงาของพ่อเขาและอลิซาเบธก็พบว่าเธอชำนาญในเรื่องการพบปะอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวอเมริกันรัก ทั้งคู่เข้ากันได้ดีกับรูสเวลท์ครับ
เบอร์ตี้เคารพอลิซาเบธและเธอก็สร้างความมั่นใจให้กับเขา แม้ว่าคนอื่นๆ อยากจะแต่งงานกับอลิซาเบธ แต่เธอตอบตกลงกับเบอร์ตี้ ผมรู้สึกว่า เมื่อดูจากลูกๆ ที่พวกเขาได้เลี้ยงดูขึ้นมา ครอบครัวของพวกเขาเป็นจุดเริ่มต้นของการมองราชวงศ์ว่าเป็นครอบครัว แทนที่จะเป็นตัวแทนหรือสัญลักษณ์ทางสถานะน่ะครับ ถึงตอนนี้ เบอร์ตี้สามารถแก้ไขอาการพูดตะกุกตะกักของตัวเองได้เป็นส่วนใหญ่แล้ว แต่มันก็ทำให้เขาไม่ค่อยกล้าพูดต่อหน้าสาธารณชนซักเท่าไหร่ และมันก็จะกลายเป็นสิ่งที่สังเกตได้ชัดเจนมากๆ ตอนที่เขาอยู่กับคนที่เขาชื่นชอบและไว้วางใจ อาการติดอ่างก็จะเกิดขึ้นน้อยลงน่ะครับ
การได้แสดง กับบิล เมอร์เรย์เป็นอะไรที่เยี่ยมไปเลยล่ะครับ มันเป็นฉากที่ไปคุยอวดลูกอวดหลานได้เลย บิลทั้งวิเศษสุดและใจดีมากๆ เราซักซ้อมกันทั้งฉากเลยครับ โรเจอร์จะให้บิลเล่นกับคำตอบและคำพูดหน่อยๆ เพื่อที่ผมจะได้รู้สึกแปลกใจเล็กๆ และสามารถตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้าผมได้ ซึ่งมันก็ทำให้เทคมีความรู้สึกสดใหม่กว่าเดิม นี่เป็นครั้งที่สี่แล้วที่ผมได้ทำงานกับโรเจอร์ เขาคอยเอาใจใส่และทำให้ทุกอย่างเป็นเรื่องไม่น่ากลัว ใน Persuasion หนังเรื่องแรกของเรา ตอนที่เราถ่ายทำฉากหนึ่งกันอยู่ เขาก็บอกว่า “อย่าทำแบบนั้น มันมากเกินไป เราต้องการความคลุมเครือ ไม่ใช่ความสับสน” นั่นอาจเป็นข้อสังเกตที่ผมชื่นชอบมากที่สุดจากผู้กำกับก็ได้ครับ และด้วยความที่ริชาร์ดเป็นนักเขียนบทละครมาก่อน เขาก็เลยไว้ใจนักแสดง เขาไม่ได้ใส่คำในวงเล็บที่จะบอกว่าคุณต้องแสดงบทนี้ยังไง เช่น “อย่างเป็นกังวล” หรือ “ด้วยความโกรธ” มันทำให้คุณมีอิสระมหาศาลและทำให้คุณรู้สึกเหมือนว่า คุณได้รับความไว้วางใจให้ตีความบทนั้นอย่างเหมาะสมด้วยตัวเองน่ะครับ งานเขียนของเขามีชีวิตชีวาและให้ความรู้สึกปัจจุบันทันด่วน เขาสนใจในสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่ค่อยๆ สะสมกัน จนก่อเกิดเป็นพลังมวลรวมมหาศาลที่คุณไม่ทันคาดคิด ผมคิดว่านั่นเป็นความสามารถของจริงเลยล่ะครับ...”
Elizabeth Wilson (อลิซาเบธ วิลสัน) รับบท Mrs.Roosevelt (คุณนายรูสเวลล์) กล่าวว่า...
“…ฉันตื่นเต้นที่ได้รับการทาบทามจากโรเจอร์ให้รับบทนี้เพราะฉันโตขึ้นมาในมิชิแกนในยุค 30s และเป็นแฟนของ แฟรงค์ลิน รูสเวลท์ค่ะ ฉันถูกเลี้ยงดูมาให้เป็นรีพับลิกัน แต่เมื่อรูสเวลท์ได้เป็นประธานาธิบดี ฉันก็ปลื้มเขาเหมือนกับเพื่อนส่วนใหญ่ของฉันและครอบครัวฉันด้วยค่ะ เรากลายเป็นเดโมแครทไปเลยมันมีความหมายสำหรับฉันมากที่ฉันได้ย้อนกลับไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับคนที่ฉันเทิดทูนน่ะค่ะ
ในตอนที่ฉันได้อ่านบท ฉันก็คิดว่า “พวกเขาไม่ได้ซ่อนอะไรเลย” ฉันชื่นชอบงานเขียนของริชาร์ดและเรื่องราวนี้ก็ทั้งนำเค้าโครงมาจากประวัติศาสตร์ ซื่อสัตย์และน่าขบขัน ฉันคิดว่าหนังเรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเอาตัวรอดค่ะ ฉันภูมิใจมากๆ ที่ได้รับบทซารา เดลาโน รูสเวลท์ [แม่ของเอฟดีอาร์] ครอบครัวของเธอเจออะไรมาเยอะทั้งทางร่างกายและจิตใจ และพวกเขาก็คงจะมีปัญหาการเงินมากพอดู แต่เธอก็มีเงินมากเหมือนกัน ถ้าไม่ใช่เพราะความเต็มใจของเธอที่จะสนับสนุนพวกเขา สิ่งต่างๆ อาจไม่เป็นแบบนี้สำหรับแฟรงค์ลินก็ได้ ฉันรู้สึกว่าซาร่ารู้ว่าเกิดอะไรขึ้น และเธอก็สามารถรับมือกับมันได้ แฟรงค์ลินเป็นลูกคนเดียวของเธอและเธอก็รักเขามาก แต่ละวันเราจะนั่งอ่านบทในส่วนที่แตกต่างกันออกไปและทำความรู้จักกันระหว่างการดื่มกาแฟ ชาและขนมนิดๆ หน่อยๆ มันผ่อนคลายมากๆ เราได้อ่านบททั้งหมดก่อนหน้าที่เราจะเริ่มถ่ายทำกันค่ะ...”
Laura Linney (ลอร่า ลินนีย์) รับบท Daisy (เดซี่)
“…ฉันหลงใหลในครอบครัวรูสเวลท์มาตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งอีลีนอร์ และยุคสมัยของพวกเขา ฉันได้ไป ไฮด์ปาร์คหลายครั้ง แต่ฉันไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับเดซี่ ซุคลีย์ ตอนที่บทภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกส่งมา ฉันก็ยินดีที่หนังเรื่องนี้ถูกสร้างขึ้นมา ในปี 1939 ครอบครัวของเดซี่สูญเงินไปมหาศาล พ่อของเธอเสียชีวิต และเธอก็มีพี่น้องหลายคน เดซี่ก็เลยต้องรับผิดชอบครอบครัวของเธอ เดซี่ไปทำงานให้กับป้าของเธอ (คุณนายวู้ดเบรี แลงดอน) เป็นเลขาและเพื่อนผู้ดูแล เงินจำนวนเล็กน้อยที่เธอหาได้ถูกส่งกลับไปยังครอบครัวของเธอเพื่อรักษาบ้านของพวกเขา ซึ่งเป็นคฤหาสน์หลังใหญ่ให้คงอยู่ ฉันใช้เวลาอยู่ที่นั่น ที่มีประวัติครอบครัวของเดซี่อยู่ และได้เรียนรู้เกี่ยวกับเธอและสถานะของเธอ ฉันได้ไปชมห้องนอนของเธอ ได้เห็นหนังสือในชั้นหนังสือของเธอ และได้เข้าถึงสิ่งที่เธอสนใจค่ะ นี่เป็นครั้งแรกที่ราชวงศ์อังกฤษได้ก้าวเท้าลงบนอเมริกา เมื่อดูจากประวัติศาสตร์ของทั้งสองประเทศแล้ว นี่เป็นเรื่องใหญ่เลยล่ะค่ะ ในตอนที่ทั้งสองพระองค์เสด็จเยือนอเมริกา ทั้งคู่อยู่ในภาวะเปราะบางค่ะ ในอเมริกามีความรู้สึกแอนตี้ชาวอังกฤษอยู่
ฉากที่ฉันชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้คือฉากระหว่างบิล เมอร์เรย์และแซม เวสต์ในบทเอฟดีอาร์และกษัตริย์ค่ะ มันเป็นฉากระหว่างชายทรงอำนาจสองคน ที่ต่างก็มีจุดอ่อนชัดเจน พวกเขาเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน ในแบบที่มีแต่คนที่อยู่ในสถานการณ์คล้ายๆ กันเท่านั้นจะเข้าใจได้น่ะค่ะ
ตอนที่ฉันได้ยินว่าเราจะถ่ายทำกันในอังกฤษ ฉันก็คิดว่า “ก็น่าจะเป็นไปได้นะ” เราจะต้องจำลองอีกยุคสมัยและช่วงเวลาขึ้นมา และสถานที่แห่งนั้นก็ดูเหมือนไฮด์ปาร์คค่ะ มันมีต้นไม้แปลกๆ อยู่บ้าง หลังจากเราถ่ายทำเสร็จ มันทำให้ฉันคิดถึงอังกฤษเลยล่ะค่ะ ทุกคนเยี่ยมกันมาก
ฉันได้รับคำแนะนำดีๆ มากมายจากโรเจอร์ตอนที่ฉันทำงานอยู่ เขาเก่งมากในเรื่องการสังเกตแต่ละเทค เขาจะจดบันทึกทุกอย่างและมาคุยกับคุณ ผู้กำกับส่วนใหญ่ไม่ทำแบบนั้น เขาจะเห็นว่าคุณกำลังทำอะไรหรือพยายามทำอะไร แล้วช่วยให้คุณทำมันได้ดีขึ้นค่ะ ส่วนริชาร์ดรู้ว่าจะเขียนสำหรับนักแสดงยังไง เรื่องราวนี้สำรวจวิธีการที่คนรับมือกับชื่อเสียงและอำนาจ จิตวิทยาในเรื่องชื่อเสียงเป็นยังไงล่ะ มันส่งผลอย่างไรต่อชีวิตประจำวัน การตัดสินใจและวิธีการที่เขาปฏิบัติต่อคนอื่น ในหนังเรื่องนี้ เดซีมักทำตัวเงียบขรึม ในหลายๆ แง่มุม เธอเป็นเหมือนอลิซในดินแดนมหัศจรรย์ค่ะ เธอถูกนำตัวมาสู่โลกที่เต็มไปด้วยคนใหญ่คนโตและทำหน้าที่สังเกตการณ์ค่ะ…”
Olivia Colman (โอลิเวีย โคลแมน) รับบท Elizabeth (อลิซาเบธ) กล่าวว่า...
“…ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง กษัตริย์และราชินีอยู่ในพระราชวังตลอดการทิ้งระเบิด แล้วก็จะออกไปยังอีสต์เอนด์เพื่อทักทายประชาชน พวกเขาเข้ากับประชาชนได้ดี และนั่นคือความคล้ายคลึงระหว่างพวกเขากับเอฟดีอาร์ ซึ่งเป็นผู้นำที่ได้รับความนิยมอีกคนหนึ่งน่ะค่ะ
ฉันเจอกับบทวิพากษ์วิจารณ์ที่โหดร้าย ที่เปรียบเทียบฉันกับวอลลิส ซิมป์สัน (ผู้ที่กษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่แปดสละบัลลังก์เพื่อเธอ) ฉันพยายามตั้งใจลดน้ำหนักเพื่อการเดินทางครั้งนี้ เพราะทุกสายตาจับจ้องมาที่ฉันมันไม่ใช่แค่คนในประเทศของ ฉันเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประชาชนชาวอเมริกันด้วยค่ะฉันกับแซมจะคุยกันว่ากษัตริย์และพระราชินีก็เป็นแค่คู่สามีภรรยาที่ได้รับความกดดันมากมาย ที่จะต้องไปเอาชนะใจชาวอเมริกันให้ได้น่ะค่ะ ฉันไม่ใช่คนที่ชื่นชอบการทำการบ้านซักเท่าไหร่ แต่แซม เวสต์จะเตรียมทั้งหนังสือและภาพถ่ายเอาไว้อยู่แล้วค่ะ
การได้แสดงกับบิล เมอร์เรย์เป็นฝันที่เป็นจริงค่ะ ในกองถ่าย เขาจะมีนิสัยทำอะไรตามใจหน่อยๆ ระหว่างพักกอง เขาจะเปิดดนตรีแบบแรนดอมจากสเตอริโอเครื่องใหญ่ ทั้งบีเทิลส์, ซินาตร้า, ดนตรีโบสถ์จากรัสเซียผู้คนชื่นชอบไหวพริบ ความใจดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของเอฟดีอาร์ และมันก็ดูเหมาะกับบิลมากค่ะ...”
ประวัตินักแสดง
Bill Murray (บิล เมอร์เรย์)
การแสดงบทเฮอร์แมน บลูมของเขาในภาพยนตร์โดยเวส แอนเดอร์สันเรื่อง Rushmore ทำให้เขาได้รับรางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมจากสมาคมนักวิจารณ์ภาพยนตร์นิวยอร์ก, สมาคมนักวิจารณ์ภาพยนตร์แห่งชาติ, สมาพันธ์นักวิจารณ์ภาพยนตร์ลอสแองเจลิสและอินดีเพนเดนท์ สปิริต อวอร์ด เขาได้แสดงในภาพยนตร์ทุกเรื่องของแอนเดอร์สันหลังจากนั้น ซึ่งรวมถึง The Royal Tenenbaums, The Life Aquatic with Steve Zissou, The Darjeeling Limited, Fantastic Mr. Fox (พากย์เสียง) และ Moonrise Kingdom
เขาเริ่มต้นการแสดงที่กับคณะอิมโพรไวส์ เซคคันด์ ซิตี้ เขาได้ร่วมแสดงกับทีมนักแสดงจาก Saturday Night Live ทางเอ็นบีซีในซีซันที่สอง และได้รับรางวัลเอ็มมี อวอร์ดในฐานะหนึ่งในมือเขียนบทของซีรีส์ หลังจากนั้น เขาได้เขียนหนังสือเรื่อง Cinderella Story: My Life in Golf
หลังจากเปิดตัวในภาพยนตร์โดยอีวาน ไรท์แมนเรื่อง Meatballs แล้ว เมอร์เรย์ก็ได้กลับมาร่วมงานกับผู้กำกับไรท์แมนอีกครั้งในภาพยนตร์เรื่อง Stripes และ Ghostbusters , Caddyshack และ Groundhog Day,Where the Buffalo Roam, Tootsie, The Razor’s Edge (1984), Scrooged, What About Bob?, Mad Dog and Glory และ Wild Things, Ed Wood, Kingpin, The Man Who Knew Too Little, Cradle Will Rock, Hamlet (2000), City of Ember, Get Low ซึ่งทำให้เขาได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลสปิริตและแซทเทิลไลท์ อวอร์ด, Passion Play และ A Glimpse Inside the Mind of Charles Swan III
การแสดงของเขาในบทบ็อบ แฮร์ริสในภาพยนตร์โดยโซเฟีย คอปโปลาเรื่อง Lost in Translation ทำให้เขาได้รับรางวัลลูกโลกทองคำ, บาฟต้า, อินดีเพนเดนท์ สปริตและสมาคมนักวิจารณ์นิวยอร์ก, ลอสแองเจลิสและชิคาโก้ สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม นอกจากนี้ เขายังได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลสมาพันธ์นักแสดงและอคาเดมี อวอร์ดอีกด้วย
เขาได้แสดงให้กับจิม จาร์มัสช์ในเซ็กเมนต์ "Delirium” ของภาพยนตร์เรื่อง Coffee and Cigarettes, ใน Broken Flowers ที่จัดจำหน่ายโดยโฟกัส ซึ่งทำให้เขาได้รับการเสนอชื่อชิงแซทเทิลไลท์ อวอร์ดสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยมและ The Limits of Control ที่จัดจำหน่ายโดยโฟกัสด้วยเช่นกัน
OLIVIA WILLIAMS(โอลิเวีย วิลเลียมส์)
โอลิเวีย วิลเลียมส์ได้รับบทที่โดดเด่นในภาพยนตร์ที่น่าจดจำหลายเรื่อง อาทิ ภาพยนตร์เรื่อง The Ghost Writer ที่เธอแสดงประกบยวน แม็คเกรเกอร์และเพียร์ซ บรอสแนน ทำให้เธอได้รับรางวัลสมาคมนักวิจารณ์ภาพยนตร์แห่งชาติและรางวัลสมาคมนักวิจารณ์ลอนดอนสาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม และภาพยนตร์เรื่อง An Education ที่แสดงประกบ แครีย์ มัลลิแกน ทำให้เธอได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลสมาคมนักวิจารณ์ลอนดอนและได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลสมาพันธ์นักแสดงร่วมกับเพื่อนนักแสดงของเธอในสาขาทีมนักแสดงยอดเยี่ยม
หลังจากสำเร็จการศึกษ เธอทำงานกับบริสทอล โอลด์ วิค เธียเตอร์ก่อนที่จะเข้าทำงานกับคณะรอยัล เชคสเปียร์ คัมปะนีนานสามปี ในปี1997 วิลเลียมส์ได้รับเลือกจากผู้กำกับเควิน คอสท์เนอร์ให้แสดงในเรื่อง The Postman หลังจากนั้น เธอก็ได้แสดงประกบบิลล์ เมอร์เรย์และเจสัน ชวอร์ทซ์แมนในภาพยนตร์เรื่อง Rushmore และรับบทภรรยาของบรูซ วิลลิสในภาพยนตร์เรื่อง The Sixth Sense
นับตั้งแต่นั้น เธอก็ได้แสดงภาพยนตร์อินดี้ของอังกฤษเรื่อง The Heart of Me ซึ่งทำให้เธอได้รับรางวัลบริติช อินดี้เพนเดนท์ ฟิล์ม อวอร์ด (บีฟา) สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม, ภาพยนตร์เรื่อง Lucky Break ทำให้เธอได้รับเลือกให้เข้าชิงรางวัลเอ็มไพร์ อวอร์ด และภาพยนตร์เรื่อง Sex & Drugs & Rock & Roll ผลงานภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ของเธอได้แก่ภาพยนตร์เรื่อง The Man from Elysian Fields, เรื่อง Peter Pan, เรื่อง Collaborator , Hanna และ Anna Karenina ที่นอกจากนี้ยังมี เรื่อง Now is Good, ภาพยนตร์ The Last Days on Mars ที่ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลอคาเดมี อวอร์ดเรื่อง และภาพยนตร์ The Seventh Son
Laura Linney (ลอรา ลินนีย์)
ลอรา ลินนีย์ ได้รับการเสนอชื่อชิงอคาเดมี่ อวอร์ดสามครั้ง ครั้งแรกในภาพยนตร์เรื่อง You Can Count on Me เธอได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลแซ็ก อวอร์ด ลูกโลกทองคำและอินดีเพนเดนท์สปิริตอวอร์ดและรางวัลนักแสดงหญิงยอดเยี่ยมจากสมาคมนักวิจารณ์ภาพยนตร์นิวยอร์กและสมาคมนักวิจารณ์ภาพยนตร์แห่งชาติ
ครั้งที่สองในภาพยนตร์เรื่องKinseyเธอได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลลูกโลกทองคำและแซ็กอวอร์ดรวมทั้งรางวัลสมาพันธ์นักวิจารณ์แห่งชาติสาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม และในครั้งที่สามในภาพยนตร์เรื่อง The Savages เธอได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลสมาคมนักวิจารณ์ลอนดอนสาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมด้วย
ลินนีย์ได้รับรางวัลลูกโลกทองคำและได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลเอ็มมีอวอร์ดจากการแสดงนำในซีรีส์โทรทัศน์ The Big C ซึ่งเธอรับหน้าที่ผู้ควบคุมงานสร้างและเพิ่งแพร่ภาพซีซันที่สาม , เธอได้แสดงในบทท่านผู้หญิงหมายเลขหนึ่ง อาบิเกล อดัมส์ในมินิซีรีส์ชื่อดัง John Adams ซึ่งทำให้เธอได้รับรางวัลแซ็ก อวอร์ด ลูกโลกทองคำและเอ็มมี อวอร์ด นอกจากนี้ เธอยังได้รับรางวัลเอ็มมี อวอร์ดจากการแสดงในซีซันสุดท้ายของซีรีส์ Frasier และการแสดงในภาพยนตร์ที่แพร่ภาพทางโทรทัศน์เรื่อง Wild Iris
ผลงานภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ของลินนีย์ได้แก่ เรื่อง The Squid and the Whale ทำให้เธอได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลลูกโลกทองคำและอินดีเพนเดนท์ สปิริต อวอร์ด, ภาพยนตร์เรื่อง Mystic River เธอได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลบาฟต้า อวอร์ดและ Absolute Power, เรื่อง The Truman Show, เรื่อง Primal Fear และเรื่อง The Mothman Prophecies, เรื่อง Love Actually, เรื่อง Lorenzo’s Oil, เรื่อง Dave, เรื่อง Searching for Bobby Fischer, เรื่อง A Simple Twist of Fate, เรื่อง Congo, เรื่อง The House of Mirth, เรื่อง Blind Spot และภาพยนตร์ที่แพร่ภาพทางโทรทัศน์เรื่อง Love Letters
เธอได้แสดงอย่างน่าจดจำในบทแมรี่ แอน ซิงเกิลตั้นในมินิซีรีส์สามเรื่องของ Tales of the City ที่สร้างขึ้นจากนิยายโดยอาร์มิสเตด เมาพิน และกำกับโดยอลาสแตร์ รี้ดและปิแอร์ แก๊ง
เมื่อเร็วๆ นี้ เธอได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลดราม่า เดสก์และโทนี อวอร์ดจาก Time Stands Still ก่อนหน้านี้ เธอได้แสดงในละครบรอดเวย์เรื่อง Les Liaisons Dangereuses, ละครเรื่อง The Crucible ทำให้เธอได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลโทนี อวอร์ด, ละครเรื่อง Hedda Gabler ทำให้เธอได้รับรางวัล 1994 คัลโลเวย์ อวอร์ด , ละครเรื่อง Sight Unseen ทำให้เธอได้รับการเสนอชื่อชิงโทนี อวอร์ดครั้งแรก นอกจากนี้ เธอยังได้แสดงละครออฟบรอดเวย์ในละครเรื่องหลังนี้เมื่อกว่าสิบปีก่อน ซึ่งทำให้เธอได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลดราม่า เดสก์ อวอร์ดเป็นครั้งแรก รวมถึงได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลดราม่า ลีก และสมาคมนักวิจารณ์เอาเตอร์ และได้รับรางวัลเธียเตอร์ เวิลด์
Samuel West (ซามวล เวสต์)
ซามวล เวสต์ เคยทำงานให้กับผู้กำกับโรเจอร์ มิเชล ในภาพยนตร์เรื่อง Notting Hill และ Persuasion และในละครเรื่อง Betrayal รวมถึงการแสดงใน Richard II และ Hamlet ซึ่งเขาได้รับรางวัลสมาคมนักวิจารณ์และเธียเตอร์โกเออร์ส ชอยส์ อวอร์ดสำหรับ Hamlet, ละครเรื่อง Enron เขาได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลโอลิเวียร์และอีฟนิง สแตนดาร์ด อวอร์ดสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ผลงานละครเรื่องอื่นๆ ได้แก่ A Number , Arcadia, The Sea และ Antony and Cleopatra
เขาได้รับเสียงวิจารณ์ชื่นชมและได้รับความสนใจจากผู้ชมในภาพยนตร์เรื่อง Howards End ที่ได้รับรางวัลอคาเดมี อวอร์ดโดยเมอร์แชนท์ ไอวอรี และได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลบาฟต้า อวอร์ด ผลงานภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ของเขาได้แก่ภาพยนตร์เรื่อง Jane Eyre, ภาพยนตร์เรื่อง Carrington, ภาพยนตร์เรื่อง Van Helsing, ภาพยนตร์เรื่อง Pandaemonium, ภาพยนตร์เรื่อง Rupert’s Land ซึ่งทำให้เขาได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลจินนี อวอร์ดและภาพยนตร์เรื่อง Iris
Olivia Colman (โอลิเวีย โคลแมน)
การแสดงของเธอประกบปีเตอร์ มุลแลนและเอ็ดดี้ มาร์ซันในภาพยนตร์โดยแพ็ดดี้ คอนซิไดน์เรื่อง Tyrannosau ทำให้โอลิเวีย โคลแมนได้รับรางวัลเวิลด์ ซีเนมา สเปเชียล จูรี่ ไพรซ์จากงานเทศกาลภาพยนตร์ซันแดนซ์และรางวัลบริติช อินดี้เพนเดนท์ ฟิล์ม อวอร์ด (บีฟา) รางวัลเอ็มไพร์ อวอร์ดและรางวัลอีฟนิ่ง สแตนดาร์ด บริติช ฟิล์ม อวอร์ดสาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม นอกจากนี้เธอยังได้รับรางวัลสมาคมนักวิจารณ์ลอนดอนสาขานักแสดงหญิงอังกฤษยอดเยี่ยมจากผลงานของเธอใน Tyrannosaur และภาพยนตร์โดยฟิลลิดา ลอยด์เรื่อง The Iron Lady ประกบเมอริล สตรีพ
หลังจากนี้ เธอจะได้แสดงประกบนิค ฟรอสต์, คริส โอ’ ดาวด์และราชิดา โจนส์ในภาพยนตร์โดยเจมส์ กริฟฟิธส์เรื่อง Cuban Fury และภาพยนตร์โดยแดน เมเซอร์เรื่อง I Give It a Year ประกบโรส ไบรน์, เรฟ สปอล, ไซมอน เบเกอร์และ แอนนา ฟาริส ภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ของเธอได้แก่ภาพยนตร์โดยเอ็ดการ์ ไรท์เรื่อง Hot Fuzz สำหรับโฟกัส ฟีเจอร์สด้วย, ภาพยนตร์โดยเอมี เฮคเคอร์ลิงเรื่อง I Could Never Be Your Woman ประกบมิเชล ไฟเฟอร์, ภาพยนตร์เรื่อง Le Donk and Scor-Zay-Zee และ ภาพยนตร์เรื่อง Grow Your Own
นอกจากนี้ เธอยังได้ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง Accused และ Run และซีรีส์ดราม่าอาชญากรรมเรื่อง Broadchurch โคลแมนได้ฝึกฝนด้านการแสดงที่บริสทอล โอลด์ วิค เธียเตอร์ สคูล ผลงานละครเวทีของเธอได้แก่ Hay Fever, England People Very Nice, Long Day’s Journey Into Night และ The Threesome
Elizabeth Marvel (อลิซาเบธ มาร์เวล)
อลิซาเบธ มาร์เวล มีผลงานละครออฟบรอดเวย์เรื่อง What the Butler Saw, As You Like It, Henry V, Macbeth, Alice in Bed, Lydie Breeze, Terrorism, Almost an Evening, Misalliance, Hedda Gabler, A Streetcar Named Desire และ Therese Raquin ซึ่งทุกเรื่องทำให้เธอได้รับรางวัลโอบี อวอร์ด ,The Seagull, St. Joan, An American Daughter, Taking Sides, Seascape, Top Girls และล่าสุด Other Desert Cities ที่ทำให้เธอได้กลับมารับบทเดิมที่เธอเคยแสดงบนเวทีออฟบรอดเวย์มาก่อน
และยังมีซีรีส์เรื่อง Law & Order, 30 Rock, Homicide: Life on the Street, The Good Wife, The District และ Lights Out ซึ่งเธอมีบทประจำและ Nurse Jackie และ Person of Interest ผลงานภาพยนตร์เรื่องอื่นๆได้แก่ภาพยนตร์เรื่อง Lincoln, ภาพยนตร์เรื่อง The Bourne Legacy, ภาพยนตร์เรื่อง The Dying Gaul, ภาพยนตร์เรื่อง A Dog Year, ภาพยนตร์เรื่อง Pretty Bird, ภาพยนตร์เรื่อง The Guitar, ภาพยนตร์เรื่อง Synecdoche, New York, ภาพยนตร์เรื่อง The Other Woman, ภาพยนตร์เรื่อง Holy Rollers และภาพยนตร์เรื่อง Louisa May Alcott: The Woman Behind ‘Little Women’ ภาพยนตร์เรื่อง Burn After Reading
Elizabeth Wilson (อลิซาเบธ วิลสัน) รับบท Mrs.Roosevelt (คุณนายรูสเวลท์)
ผู้ชมได้เห็นอลิซาเบธ วิลสันในภาพยนตร์เรื่อง The Graduate, Catch-22, Day of the Dolphin และ Regarding Henry, ภาพยนตร์เรื่อง Quiz Show , ภาพยนตร์เรื่อง The Addams Family, ภาพยนตร์เรื่อง Nobody’s Fool, ภาพยนตร์เรื่อง Grace Quigley, ภาพยนตร์เรื่อง The Believers, ภาพยนตร์เรื่อง Nine to Five , ภาพยนตร์เรื่อง The Prisoner of Second Avenue, ภาพยนตร์เรื่อง Little Murders, ภาพยนตร์เรื่อง A Child is Waiting , ภาพยนตร์เรื่อง The Goddess, ภาพยนตร์เรื่อง Patterns ทำให้เธอได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลบาฟต้า และภาพยนตร์เรื่อง The Birds
วิลสันได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลเอ็มมี่ อวอร์ดจากการแสดงในบทแม่ของฟรานซิส ชรอยเดอร์ (ลี เรมิค) ในมินิซีรี่ส์เรื่อง Nutcracker ที่กำกับโดยพอล โบการ์ท ผลงานมินิซีรีส์และภาพยนตร์ที่แพร่ภาพทางโทรทัศน์เรื่องอื่นๆ ของเธอได้แก่ Queen and Scarlett ที่กำกับโดยจอห์น เออร์แมน, In the Best of Families ที่กำกับโดยเจฟฟ์ เบลคเนอร์และละครโดยโจเซฟ ซาร์เจนท์เรื่อง Skylark ประกบเกลนน์ โคลสและคริสโตเฟอร์ วอลเคน ผลงานจอแก้วของเธอยังรวมถึงการแสดงนำในซีรีส์ East Side/West Side ประกบจอร์จ ซี. สก็อตและ Doc ประกบบาร์นาร์ด ฮิวจ์และรับบทดารารับเชิญในซีรีส์ Law & Order: Criminal Intent, All in the Family และ Murder, She Wrote
ประวัติทีมผู้สร้าง
ROGER MICHELL (โรเจอร์ มิเชล) - ผู้กำกับ
โรเจอร์ มิเชล ลูกชายนักการทูตชาวอังกฤษ เขาเริ่มกำกับละครเวทีในโรงเรียนก่อนที่จะไปศึกษาต่อที่เคมบริดจ์ ในปี 1977 เขาได้รับรางวัลรอยัล เชคสเปียร์ คัมปะนี บัซ กู๊ดบอดี้ อวอร์ดในงานเนชันแนล สติวเดนท์ ดรามา เฟสติวัลและฟรินจ์ เฟิร์สท์ อวอร์ดจากงานเทศกาลเอดินเบิร์กห์
หลังจากนั้น เขาก็ได้กำกับละครเวทีที่เนชันแนล เธียเตอร์, โอลด์ วิค, ไลริค แฮมเมอร์สมิธ, ดอนมาร์ แวร์เฮาส์, แฮมป์สเตด, รอยัล คอร์ท, อัลเมดา, บนเวทีเวสต์เอนด์ เวทีบรอดเวย์ และที่อื่นๆ ตลอดระยะเวลาหกปี เขาได้ทำหน้าที่ ผู้กำกับประจำรอยัล เชคสเปียร์ คัมปะนีในสแตรทฟอร์ดและลอนดอน
ในช่วงต้นยุค 90s เขาเริ่มกำกับในสื่อประเภทอื่นๆ ผลงานจอแก้วของเขาได้แก่มินิซีรีส์รางวัลเรื่อง The Buddha of Suburbia ที่นำแสดงโดยนาวีน แอนดรูว์ส, เบรนดา เบลธินและโรชาน เซธ และนี่ยังเป็นครั้งแรกที่เขาได้ร่วมงานกับนักเขียนฮานิฟ คุเรชิอีกด้วย, สารคดีหลายเรื่องสำหรับบีบีซีและโฆษณาอีกหลายชิ้น
ผลงานภาพยนตร์ของเขาในฐานะผู้กำกับได้แก่ Persuasion ซึ่งทำให้เขาได้รับรางวัลบาฟต้า อวอร์ดร่วมกับทีมงาน, My Night with Reg, Titanic Town ซึ่งทำให้จูลี วอลเตอร์สได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลไอเอฟทีเอ อวอร์ด, ภาพยนตร์ฮิต Notting Hill ที่นำแสดงโดยจูเลีย โรเบิร์ตส์และฮิวจ์ แกรนท์ และได้รับรางวัลอีฟนิ่ง สแตนดาร์ด บริติช ฟิล์ม อวอร์ด ปีเตอร์ เซลเลอร์ส อวอร์ดสาขาคอเมดี้ โดยภาพยนตร์เรื่องนี้ยังทำให้มิเชลได้รับรางวัลเอ็มไพร์ อวอร์ดอีกด้วย, Changing Lanes ที่ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลปริซึม อวอร์ด, The Mother ที่ทำให้แอนน์ รี้ดได้รับรางวัลสมาคมนักวิจารณ์ภาพยนตร์ลอนดอน, Enduring Love ที่ทำให้มิเชลได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลสมาพันธ์ผู้กำกับแห่งอังกฤษ รางวัลภาพยนตร์ยุโรปและรางวัล บริติช อินดีเพนเดนท์ ฟิล์ม อวอร์ด (บีฟา) สาขาผู้กำกับยอดเยี่ยม, Venus ซึ่งทำให้เลสลีย์ ฟิลลิปส์ได้รับรางวัลบีฟาสาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมจากการประกบปีเตอร์ โอ’ ทูลและ Morning Glory ที่นำแสดงโดยราเชล แม็คอดัมส์, แฮร์ริสัน ฟอร์ดและไดแอน คีย์ตัน มิเชลได้กำกับละครหลายเรื่องของริชาร์ด เนลสัน ผู้เขียน Hyde Park on Hudson ซึ่งรวมถึงละครรอบปฐมทัศน์โลกในฤดูใบไม้ผลิปี 2012 เรื่อง Farewell to the Theatre ที่นำแสดงโดยเบน แชปลิน, เจมมา เร้ดเกรฟและ วิลเลียม เฟรนช์
RICHARD NELSON (ริชาร์ด เนลสัน) - มือเขียนบท
บทละครของริชาร์ด เนลสันถูกนำไปสร้างเป็นละครบรอดเวย์, ออฟบรอดเวย์, ละครเวสต์เอนด์ ละครในโรงละครแห่งชาติทั่วยุโรปและตามโรงละครใหญ่ๆ ในญี่ปุ่น อิสราเอลและรัสเซีย ละครสิบเรื่องของเขาถูกนำไปจัดแสดงโดยรอยัล เชคสเปียร์ คัมปะนี ที่ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งศิลปินผู้ช่วยกิตติมศักดิ์ เขาได้กำกับละครหลายเรื่องของเขาเองในอเมริกาและอังกฤษ
เขาได้เขียนบทละครหลายเรื่องให้กับพับลิค เธียเตอร์ ซึ่งรวมถึง Sorry, Sweet and Sad และ That Hopey Changey Thing ละครเรื่องอื่นๆ ของเขารวมถึง Farewell to the Theatre (จัดแสดงรอบปฐมทัศน์โลกในเดือนมีนาคม ปี 2012 โดยโรเจอร์ มิเชล ผู้กำกับจาก Hyde Park on Hudson), Nikolai and the Others, Conversations in Tusculum, How Shakespeare Won the West, Frank’s Home, Rodney’s Wife, Franny’s Way, Madame Melville, Goodnight Children Everywhere, The General From America, New England, Misha’s Party (กับอเล็กซานเดอร์ เกลแมน), Columbus or the Discovery of Japan, Two Shakespearean Actors, Some Americans Abroad, Left, Life Sentences และ Principia Scriptoriae
เนลสันเขียนได้บทละครเรื่อง Unfinished Piece for a Player Piano (กับปีเตอร์ โกลับ), James Joyce’s The Dead (กับชอน เดวีย์) และ My Life with Albertine (กับริคกี้ เอียน กอร์ดอน) เขาได้เขียนละครที่แปลมารวมทั้งได้ร่วมแปลบทละครคลาสสิกของรัสเซียกับนักแปลผู้โด่งดังอย่างริชาร์ด พีเวียร์และลาริสซา โวล็อคฮอนสกี้ เขาได้ดัดแปลงนิยายโดยอีดิธ วอร์ตันเรื่อง Ethan Frome ให้เป็นบทภาพยนตร์ ซึ่งกำกับโดยจอห์น แมดเดนและนำแสดงโดยเลียม นีสันและแพทริเซีย อาร์เควทท์
รางวัลที่เขาได้รับรวมถึงรางวัลโทนี อวอร์ด (สาขาบทมิวสิคัลยอดเยี่ยมจาก James Joyce’s The Dead) และ โอลิเวียร์ อวอร์ด (สาขาบทละครยอดเยี่ยมจาก Goodnight Children Everywhere), ได้รับการเสนอชื่อชิงอีกสองรางวัลโทนี อวอร์ด (สาขาบทละครยอดเยี่ยมจาก Two Shakespearean Actors และสาขาดนตรีประกอบยอดเยี่ยม ในฐานะผู้ร่วมแต่งเนื้อเพลงให้กับ James Joyce’s The Dead) และได้รับการเสนอชื่อชิงอีกหนึ่งรางวัลโอลิเวียร์ อวอร์ด (สาขาคอเมดียอดเยี่ยมจาก Some Americans Abroad), สองรางวัลโอบี อวอร์ด, รางวัลลูซิลล์ ลอร์เทล อวอร์ด, รางวัลสมาคมนักวิจารณ์ละครนิวยอร์ก, กุกเกนเฮม เฟลโลว์ชิพ, ลิลา วอลเลซ-รีดเดอร์ส ไดเจสต์ ไรเตอร์ส อวอร์ด, รางวัลอเมริกัน อคาเดมี ออฟ อาร์ตส์ แอนด์ เล็ตเตอร์ส และเพน/ลอรา เพลส์ มาสเตอร์ เพลย์ไรท์ อวอร์ด
KEVIN LOADER (เควิน โลดเดอร์) - ผู้อำนวยการสร้าง
เควิน โลดเดอร์ หนึ่งในผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ที่โด่งดังที่สุดของอังกฤษ เขาได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลบาฟต้าสองรางวัลในปี 2010 เมื่อภาพยนตร์สองเรื่องของเขาได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลภาพยนตร์อังกฤษยอดเยี่ยม ภาพยนตร์สองเรื่องนั้นได้แก่คอเมดีการเมืองโดยอาร์มันโด เอียนนุชชี In the Loop และเขาก็ได้ร่วมอำนวยการสร้างภาพยนตร์โดยแซม เทย์เลอร์-วู้ดเรื่อง Nowhere Boy รางวัลอื่นๆ ที่ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องได้รับยังรวมถึงการที่ In the Loop ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลอคาเดมีอวอร์ดสาขาบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยมและดัฟฟ์ก็ได้รับรางวัลบีฟาสาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยมด้วย
โลดเดอร์ได้ร่วมก่อตั้งบริษัทโปรดักชัน ฟรี เรนจ์ ฟิล์มส์ กับโรเจอร์ มิเชล ผู้กำกับจาก Hyde Park on Hudson ก่อนหน้านี้ มิเชลได้กำกับ Venus จากบทภาพยนตร์โดยฮานิฟ คุเรชิ ซึ่งทำให้ปีเตอร์ โอ’ ทูลได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลลูกโลกทองคำและอคาเดมี อวอร์ดและทำให้โจดี้ วิทเทคเกอร์ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลสมาคมนักวิจารณ์ภาพยนตร์ลอนดอนและรางวัลบีฟา, Enduring Love ภาพยนตร์เรื่องนี้ที่ได้รับการเสนอชื่อชิงสี่รางวัลบีฟาอวอร์ดและ The Mother ที่เขียนบทโดยคุเรชิและนำแสดงโดยเคร็กประกบแอนน์ รี้ด ผู้ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลบีฟาและบาฟตา The Mother ได้รับรางวัลยูโรป้า จากงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ปี 2004 โปรเจ็กต์อื่นๆ ของฟรี เรนจ์ได้แก่เวอร์ชันภาพยนตร์ของนิยายเบสต์เซลเลอร์เรื่อง Sister และ Le Weekend ที่โรเจอร์ มิเชลกำกับจากบทภาพยนตร์เรื่องใหม่ของฮานิฟ คุเรชิ
นอกจากนี้ โลดเดอร์ยังได้อำนวยการสร้างเรื่อง The Alan Partridge Movie ผลงานภาพยนตร์ก่อนหน้านี้ของเขาในฐานะผู้อำนวยการสร้างได้แก่ภาพยนตร์เรื่อง Wuthering Heights, ภาพยนตร์เรื่อง The Oxford Murders, ภาพยนตร์เรื่อง Brideshead Revisited, ภาพยนตร์เรื่อง The History Boys ที่, ภาพยนตร์เรื่อง Captain Corelli’s Mandolin และภาพยนตร์เรื่อง To Kill a King เขาเริ่มต้นทำงานในปี 1982 ที่บีบีซี ในหน้าที่อำนวยการสร้างและกำกับสารคดี รายการศิลปะและละครโทรทัศน์ ผลงานที่บีบีซีของเขาได้แก่มินิซีรีส์รางวัลสามเรื่องได้แก่ Clarissa ที่กำกับโดยโรเบิร์ต เบียร์แมน, The Buddha of Suburbia ที่กำกับโดยโรเจอร์ มิชลและดัดแปลงโดยฮานิฟ คุเรชิจากนิยายและ Holding On ที่กำกับโดย เอเดรียน เชอร์โกลด์และเขียนบทโดยโทนี เมอร์แชนท์ นอกจากนี้ เขายังได้ทำงานให้กับโซนี พิคเจอร์ส เอนเตอร์เทนเมนต์และเลอ สตูดิโอ คาแนล พลัส ในตำแหน่งผู้จัดการของเดอะ บริดจ์ ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนสร้างที่ลอนดอนของพวกเขา
DAVID AUKIN (เดวิด ออคิน) - ผู้อำนวยการสร้าง
เดวิด ออคิน ดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายภาพยนตร์ของฟิล์มโฟร์ระหว่างปี 1990-1998 ระหว่างนั้น เขาได้ทำการดูแลภาพยนตร์กว่า 100 เรื่อง ซึ่งหลายเรื่องได้รับรางวัลจากทั่วโลก ส่วนหนึ่งของภาพยนตร์ที่พัฒนาและได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจากฟิล์มโฟร์ได้แก่ภาพยนตร์โดยนิโคลัส ไฮท์เนอร์เรื่อง The Madness of King George ซึ่งได้รับรางวัลอคาเดมี อวอร์ดสาขากำกับศิลป์/ตกแต่งฉากยอดเยี่ยม (เคน อดัม, แครอลิน สก็อต) และได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลอีกสามสาขา, ภาพยนตร์โดยไมค์ นีเวลเรื่อง Four Weddings and a Funeral ซึ่งได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลอคาเดมี อวอร์ดสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมและบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม (ริชาร์ด เคอร์ติส), ภาพยนตร์โดยนีล จอร์แดนเรื่อง The Crying Game ซึ่งได้รับรางวัลอคาเดมี อวอร์ดจากบทภาพยนตร์ดั้งเดิมของเขาเอง, ภาพยนตร์โดยแดนนี บอยล์เรื่อง Trainspotting ซึ่งได้รับสี่รางวัลเอ็มไพร์ อวอร์ดและภาพยนตร์โดยไมค์ ลีห์เรื่อง Secrets & Lies ได้รับการเสนอชื่อชิงห้ารางวัลอคาเดมี อวอร์ด ซึ่งรวมถึงสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมและผู้กำกับยอดเยี่ยม
หลังจากนั้น เขาก็ได้ดำรงตำแหน่งผู้ควบคุมงานสร้างภาพยนตร์โดยแพทริเซีย โรเซมาเรื่อง Mansfield Park ที่นำแสดงโดยฟรานซิส โอ’ คอนเนอร์และภาพยนตร์โดยสตีเฟน เฟรียส์เรื่อง Mrs. Henderson Presents ที่นำแสดงโดยจูดี้ เดนช์และบ็อบ ฮอสกินส์
เขาได้บริหารงาน เดย์เบรค พิคเจอร์ส บริษัทโปรดักชั่นของเขา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมนทอร์น กรุ๊ป ร่วมกับฮัล โวเกล เดย์เบรคได้สร้างดราม่าและมินิซีรีส์หลายเรื่องให้กับจอแก้วอังกฤษ และออคินก็ได้ควบคุมงานสร้าง A Very Social Secretary โดยจอน โจนส์ ซึ่งทำให้ดาราของเรื่อง เบอร์นาร์ด ฮิล ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลอินเตอร์เนชันแนล เอ็มมี่และบาฟต้า อวอร์ด Sirens ซีรีส์ล่าสุดของพวกเขา ได้ถูกซื้อสิทธิไปดัดแปลงเป็นเวอร์ชั่นอเมริกา
ผลงานภาพยนตร์ของเดย์เบรคได้แก่ภาพยนตร์โดยพีท ทราวิสเรื่อง Endgame ที่นำแสดงโดยวิลเลียม เฮิร์ทและ ชิเวเทล เอจิโอโฟร์ ปัจจุบัน บริษัทอยู่ระหว่างการพัฒนาภาพยนตร์ที่วางตัวเฟอร์นันโด เมอเรลเลสและจัสติน เคอร์เซลเป็น ผู้กำกับ และกำลังร่วมงานกับมือเขียนบทจอห์น ฮ็อดจ์และโจ เพนฮอล