ข่าวจากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยจากงานการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วทท.)ครั้งที่ 30

ข่าวเทคโนโลยี Thursday October 21, 2004 12:34 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--21 ต.ค.--สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
การบรรยายพิเศษของนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล “อุบัติเหตุยานอากาศโคลัมเบีย”
สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้จัดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วทท.)ครั้งที่ 30 ระหว่างวันที่ 19-21 ตุลาคม 2547 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี กรุงเทพฯ
การประชุมครั้งนี้ มีการบรรยายของนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล ปี 2529 สาขาฟิสิกส์ ศาสตราจารย์ ดักกลาส ดี โอเชอรอฟฟ์ แห่งมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา เรื่อง อุบัติเหตุยานอวกาศโคลัมเบีย” ซึ่งการบรรยายพอสรุปได้ว่า สาเหตุของการตกของยานสำรวจอวกาศโคลัมเบีย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2546 เนื่องมาจากตัววัสดุที่ใช้ในการทำยานอวกาศ คือตัววัสดุที่ใช้เป็นโลหะถูกโคสด้วยนิเกิลอลูมินั่ม หรือที่เรียกว่า “อีเกอร์ลอยอินคาเนล” ซึ่งตัวโคสตัวนี้สามารถจะป้องกันอุณหภูมิสูงได้ ในขณะที่ยานอวกาศที่เร่งขึ้นไปด้วยความเร็วสูง ตัวอีเกอร์ลอยอินคาเนล จะสามารถ ป้องกันความร้อนสูงได้ แต่เมื่อตัวยานอวกาศเกิดความร้อนเกินขีดจำกัดของมัน มันก็อาจจะไปทำลายโลหะบางส่วนของยานอวกาศ ทำให้เกิดรอยแตกหักและเกิดการสูญเสียแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เนื่องจากอุณหภูมิที่แตกต่างกัน
ประการต่อมา ตัวทีโคลนอลเป็นตัวอินคาแนล ยังเป็นอินคาแนล ยังเป็นตัวโฟมฉนวนป้องกันความร้อนของโลหะ ตัวนี้มีจุดหนึ่งเมื่อถึงอุณหภูมิสูงแล้ว เพราะการที่ยานที่ยานอวกาศ วิ่งเร็ว โฟมที่เราคิดว่าจะเป็นฉนวนป้องกันมันกลับเป็นตัวที่ทำให้เกิดสาเหตุให้ยานอวกาศเกิดรอยแตกร้อยร้าว เพราะโฟมตัวนี้เมื่อมันรวมตัวกันถึงจุดหนึ่งได้ไปชนผนังของยานอวกาศทำให้เกิดรูขึ้น
นักวิชาการผู้หนึ่งกล่าวว่า สำหรับส่วนที่ผู้บรรยายว่าจะนำสาเหตุเหล่านี้ มาช่วยอะไรได้บ้างนั้น ก็คือตัวนี้อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของนักวิทยาศาสตร์หรือนักวิศวะ ซึ่งไม่เคยคิดว่าตัวฉนวนจะเกิดปัญหาทำให้เกิดรอยแตกร้าวของวัสดุบนยานอวกาศได้ ซึ่งในเรื่องนี้เขาลงทุนไม่มากนัก ก็ทำให้เขาสามารถเห็นสาเหตุของการเกิดปัญหาได้ ปัญหาของการเกิดแตกหักของวัสดุที่จะนำมาใช้ในประเทศของเรา ตัวอย่างเช่นในเรื่องของเรือ เพราะประเทศเรายังไม่มียานอวกาศ อย่างตัวนี้จะใช้โลหะแล้วโคสด้วยตัวโฟมที่มีอีกตัวหนึ่งเป็นเซรามิค ซึ่งเป็นอลูมินั่มออกไซด์ผสมกับอลูมินั่ม โดยนำมาโคสเพื่อให้มีน้ำหนักมากขึ้น พอน้ำหนักมากขึ้น จะทำให้สูญเสียพลังงานในการขับดัน ตัวนี้เราจะนำไปใช้ได้ในเรื่องของรถยนต์ ซึ่งใน ความเป็นจริงแล้วการคิดคำนวณในเรื่องวัสดุที่ออกแบบมาในเรื่องความเบาหรือความคงทน ความหนาแน่นของวัสดุจะมีผลอย่างไรในการใช้พลังงาน อันจะมีผลต่ออุตสาหกรรมในประเทศของเราที่กำลังจะส่งเสริมภายในประเทศ เราจะคิดค้นหรือประดิษฐ์อย่างไรให้สามารถใช้ได้อย่างยาวนาน
การบรรยายของนักวิทยาศาสตร์เกาหลี “การโคลนนิ่งมนุษย์
วานนี้ (19 ต.ค.47)ในงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วทท 30.) ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี กรุงเทพฯ ได้มีการบรรยายของนักวิทยาศาสตร์แห่งประเทศเกาหลี ในหัวข้อเรื่อง “การโคลนนิ่งมนุษย์”ซึ่ง บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ฮวาง วู-ซุค และศาสตราจารย์ มุน ซิน-ยอง จากมหาวิทยาลัยเซอูล พอสรุปได้ว่า เขาได้ทดลองทำสเตมเซลล์ ซึ่งเป็นเซลล์ต้นกำเนิดโดยวิธีการโคลนนิ่งสเตมเซลล์เป็นของมนุษย์ ซึ่งเป็นเซลล์ต้นตอ และเป็นเซลล์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้ ยกตัวอย่างเช่น เราสามารถที่จะเติมโปรตีนหรือสารบางอย่างลงไปในสเตมเซลล์ แล้วแปลงเป็นเซลล์ประสาทได้ หรือเป็นเซลล์เม็ดเลือดก็ได้ สำหรับประโยชน์ก็คือสามารถจะนำเอาเซลล์ต้นตอไปใช้ได้ในแง่ของการโคลนนิ่งเพื่อใช้ในการรักษา ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีความผิดปกติทางเซลล์ประสาท เราก็อาจทำโคลนนิ่งสเตมเซลล์ของตัวเราเอง แล้วกระตุ้นสเตมเซลล์ให้กลายเป็นเซลล์ประสาท นำไปใช้ในร่างกายของเราเองเพื่อผลในการรักษา ตัวอย่างโรคที่ทำการรักษา อาทิ โรคพากินสัน เบาหวาน และข้ออักเสบ เป็นต้น
นักวิชาการไทยกล่าวว่า ประเทศเกาหลีประสบความสำเร็จในการโคลนนิ่งสเตมเซลล์ โดยใช้เทคนิคต่าง ไปจากนักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ ซึ่งเดิมใช้วิธีการเอาเข็มดูดนิวเคลียสออกมาเป็นเซลล์ไข่ แต่นักวิทยาศาสตร์ทั้งสองคนนี้ได้ใช้วิธีบีบเซลล์เอานิวเคลียสออกมา ซึ่งแตกต่างออกไปจากเดิม สำหรับอาหารที่ใช้เลี้ยงสเตมเซลล์ ก็แตกต่างจากนักวิทยาศาสตร์คนอื่น ซึ่งศาสตราจารย์ ฮวาง วู-ซุคกล่าวว่า สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ยังผลให้เขาประสบความสำเร็จในการทำการโคลนนิ่งสเตมเซลล์ขึ้นมาได้ และหลักใหญ่ ๆ ที่โคลนนิ่งสเตมเซลล์ ทำให้สามารถเปลี่ยนอวัยวะในร่างกายของคนเรา เพื่อร่างกายจะได้ไม่ต่อต้านอวัยวะนั้น เนื่องจากมาจากเซลล์ของคนไข้เอง
สารสกัดจากมังคุด มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อวัณโรค ถึง 4 เท่า
การประชุมวิชาการวิทบยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วทท.) ครั้งที่ 30 ณ อิมแพค เมืองทองธานี
อ.สุนิตย์ สุขสำราญ นักวิจัยจากภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิจัยพบสารแซนโทน ที่สกัดจากผลมังคุด พบว่า โครงสร้างของสารมีความสัมพันธ์กับขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จากการแปรสภาพจากผลอ่อน ๆ ไปจนถึงผลสุก อีกทั้งยังพบว่าพืชมังคุด มีกลไกในการป้องกันตัวเอง โดยสร้างสารที่มีโครงสร้างแตกต่างกันไป
จากผลการศึกษาผู้ป่วยวัณโรคในประเทศไทย พบว่า มีผู้ป่วยเป็นวัณโรคจำนวนมากที่เสียชีวิตจากเชื้อวัณโรค H 37 RA 1และ ด้วยการสนับสนุนจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ในการทดสอบฤทธิ์การต้านเชื้อ TB ซึ่งก่อให้เกิดวัณโรคในผู้ป่วย พบว่าโครงสร้างของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพสามารถยับยั้งการออกฤทธิ์ของเชื้อวัณโรคในระดับปานกลางถึงสูง มีฤทธิ์ยับยั้งวัณโรคถึง 4 เท่า และจากการทดสอบหากลดปริมาณแซนโทนลง การออกฤทธิ์ต้านวัณโรคก็จะหายไป
สารแซนโทนที่สกัดได้จากผลมังคุดสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์อาหารสินค้าโอทอปในประเทศไทย เช่น ไวน์ที่ผลิตจากผลมังคุดในสหรัฐอเมริกา มีการนำผลมังคุดทั้งผลมาผลิตไวน์มีราคาแพง ถึง 75 เหรียญ
นอกจากนี้แล้ว ยังสามารถนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น สบู่จากเปลือกมังคุด สบู่เหลวและครีมบำรุงผิวจากมังคุด มีราคาตั้งแต่ 40- 100 กว่าบาท สารสกัดจากมังคุดมีสารที่ทรงคุณค่า และในอนาคตน่าจะมีการศึกษากันอย่างกว้างขวางถึงสารอีกหลายชนิดที่มีในผลมังคุด ว่ามีผลออกฤทธิ์อะไรบ้าง แต่ การศึกษาสารจากมังคุดต้องมีการกำหนดมาตรฐาน โดยใช้สารมาตรฐานเป็นตัวเปรียบเทียบ ซึ่งมีราคาแพงถึง 120,000 บาท และยังไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย ซึ่ง ถ้าเราสามารถทำสารในมังคุดให้เป็นสารมาตรฐานในเชิงพาณิชย์ ก็สามารถจะช่วยลดการนำเข้าได้
สารสกัดจากมังคุด มีคุณค่า ผลิตผลจากสารที่สกัดจากมังคุด จะมีมูลค่าเพิ่ม ขึ้นอยู่กับการค้นพบว่ามีสรรพคุณเพิ่มขึ้นอย่างไรบ้าง
ประโยชน์ของสารสกัดจากเปลือกส้มที่ใช้ในการผลิตยา
งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วทท.)ครั้งที่ 30 ณ อิมแพค เมืองทองธานี
ดร.พรศักดิ์ ศรีอมรศักดิ์ นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ปี 2547 นักวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่า สารสกัดที่ได้จากเลือกส้ม ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้คือ เพคติน เป็นพอลิเมอร์จากธรรมชาติที่ผลิตได้จากกากผลไม้ เช่น เปลือกส้ม ซึ่งเป็นของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเกษตร มีการนำแพคตินมาใช้ในการอุตสาหกรรม อาหารและเครื่องดื่มยาวนาน ปัจจุบันมีการนำมาใช้ในการอุตสาหกรรมทางเทคโนโลยีชีวภาพ ในเชิงเภสัชกรรม และมีการผลิตยาเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เพคตินมีคุณสมบัติเฉพาะที่ทำให้สามารถนำมาใช้เก็บกักหรือนำส่งยาที่มีการวิจัยในประเทศไทย เช่น การออกแบบยาเม็ด โดยใช้เพคตินเป็นสารก่อเจล เพื่อชะลอการปลดปล่อยตัวยาที่ให้โดยการรับประทาน การพัฒนาระบบยาเม็ดเคลือบฟิล์ม การสังเคราะห์เพคตินกับพอลิเมอร์ที่ไม่ละลายน้ำ เพื่อใช้ในการควบคุมการปลดปล่อยยาจากระบบนำส่งยาแบบนำวิถีไปยังอวัยวะเป้าหมายที่ลำไส้ใหญ่ การพัฒนาเทคโนโลยีการเคลือบฟิล์มยาเม็ด โดยอาศัยหลักการเกิด ปฏิกริยาทางเคมีที่ผิวของเม็ดยากับเพคติน เกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อน เพื่อใช้ในการเคลือบคลุมการปลดปล่อยตัวยาออกจากเม็ดยา การออบแบบระบบโครงสร้าง เพื่อเก็บกักยาหรือยาโปรตีนสำหรับใช้ในการส่งยาที่ให้โดยการรับประทาน การพัฒนาเทคโนโลยีการควบคุมการปลดปล่อยยา เพื่อให้ระบบคงอยู่ในกระเพาะอาหารนานขึ้น ใช้สำหรับยาที่ต้องการให้ออกฤทธิ์เฉพาะที่ในกระเพาะอาหาร เนื่องจากงานวิจัยและพัฒนาทางด้านเภสัชกรรมและระบบนำส่งยาที่ใช้เพคตินยังคงมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จึงคาดได้ว่า จะมีนวัตกรรมและการประยุกต์ใช้ที่น่าสนใจในอนาคต
สารสกัดจากมังคุดมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อวัณโรคถึง 4 เท่า
อาจารย์สุนิตย์ สุขสำราญ นักวิจัยจากภาควิชา เคมี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิจัยพบสารแซนโทน ที่สกัดจากผลมังคุด พบว่าโครงสร้างของสารมีความสัมพันธ์กับขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงที่เกดขึ้นจากการแปรจากผลอ่อนไปจนถึงผลสุก อีกทั้งยังพบว่าพืชมีกลไกในการป้องกันตัวเอง โดยสร้างสารที่มีโครงสร้างแตกต่างกันไป
จากผลการศึกษาผู้ป่วยวัณโรคในประเทศไทย มีผู้ป่วยวัณโรคจำนวนมากที่เสียชีวิตจากกเชื้อวัณโรค H37 RA ด้วยการสนับสนุ่นจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ในการทดสอบฤทธิ์การต้านเชื้อ TB เป็นเชื้อโรควัณโรค โครงสร้างของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพสามารถยับยั้งการออกฤทธิ์ของเชื้อวัณโรคในระดับปานกลางถึงสูง มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อวัณโรคถึง 4 เท่า และจากการทดสอบพบว่าหากลดปริมาณสารแซนโทนลง การออกฤทธิ์ต้านวัณโรคก็หายไปด้วย
สารแซนโทน ที่สกัดได้จากผลมังคุดสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์อาหารสินค้าโอทอปในประเทศไทย เช่น ไวน์ ที่สกัดจากผลมังคุด ในประเทศสหรัฐอเมริกามีการนำผลมังคุดทั้งผลมาผลิตไวน์โดยมีส่วนประกอบอื่น ๆ ด้วย มีราคาแพงถึง 75 เหรียญ
นอกจากนี้แล้ว ยังสามารถนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น สบู่จากเปลือกมังคุด สบู่เหลวมังคุด และครีมบำรุงผิวจากมังคุด มีราคาขายตั้งแต่ 40-100 กว่าบาท สารสกัดจากมังคุด เป็นสารที่ทรงคุณค่าและในอนาคตน่าจะมีการศึกษากันอย่างกว้างขวางถึงสารอีกหลายชนิดที่มีในมังคุดว่ามีผลออกฤทธิ์อะไรบ้าง การศึกษาสารสกัดจากมังคุดต้องมีการกำหนดมาตรฐาน โดยใช้สารมาตรฐานเป็นตัวเปรียบเทียบเป็นสารหลักที่ใช้เป็นสารมาตรฐาน ซึ่งมีราคาแพงถึง 20,000 บาท และยังไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย ถ้าเราสามารถทำสารในมังคุดให้เป็นสารมาตรฐานในเชิงพาณิชย์ได้ ก็จะช่วยลดการนำเข้าได้ สารสกัดจากมังคุดมีคุณค่าผลิตผลจากสารในมังคุดจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นนั้น ขึ้นอยู่กับการค้นพบว่ามีสรรพคุณเพิ่มขึ้นอย่างไร
สารเรืองแสงสีน้ำเงินใช้ประโยชน์ในการผลิตมอนิเตอร์จอแบน
รองศาสตราจารย์วินิจ พรหมมารักษ์ นักวิจัยจาก ภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวว่า โมเลกุลสารอินทรีย์ที่เรืองแสงสีน้ำเงิน มีสมบัติเป็นสารที่ทนความร้อนได้ดีใช้ในไดโอดเรืองแสง ทำให้มีคนสนใจมากในการวิจัยเชิงพาณิชย์และเชิงวิชาการ นำเทคโนโลยีนี้มาประยุกต์ใช้แสดงภาพในจอแบน ซึ่งขึ้นอยู่กับโครงสร้างโมเลกุล นักเคมีจะสร้างโครงสร้างโมเลกุล โดยมีชั้นที่ส่งผ่านอิเล็กตรอนและประจุบวกเมื่อถึงสภาวะที่สมดุลกันจะเกิดประสิทธิภาพเรืองแสงเร็วขึ้น
จอมอนิเตอร์ปัจจุบันที่ใช้อยู่คือ จอ LCD จอมอนิเตอร์ที่ผลิตขึ้นโดยใช้ไดโอดเรืองแสงเป็นส่วนประกอบจะมีคุณสมบัติให้แสงสว่างได้ดีกว่า ใช้พลังงานไฟฟ้าแรงงานต่ำสามารถมองในมุมกว้างและมีความเร็วในการแสดงภาพสูง ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตจอโทรทัศน์ หน้าจอโทรศัพท์มือถือ จอแสดงภาพบนกล้องดิจิตอล หรือจอแสดงภาพชนิดที่มองเห็นได้ 2 ทาง จะมีอิเล็กตรอนที่ทำให้มองเห็นสองข้าง
จอแสดงภาพที่ใช้สารเรืองแสงสีน้ำเงิน จะมีโมเลกุลที่ทำให้ทนความร้อนได้ดี จะมีโมเลกุลที่เป็นแกนกลางทำหน้าที่เรืองแสง โดยการใส่สารคาโบโซล ซึ่งจะช่วยเพิ่มสมบัติทางความร้อนเมื่อใช้ไดโอดจะมีความเสถียร ทำให้การขึ้นรูปเป็นไดโอดแค่เพียงชั้นเดียวก็จะสามารถเรืองแสงได้
นอกจากนี้แล้ว ยังมีคุณสมบัติในการดูดกลืนแสงด้วย โดยโมเลกุลที่เป็นเป้าหมายจะมีความสามารถดูดกลืนแสงที่แกนกลาง มีสารไบฟลูออรีน ซึ่งมีคุณสมบัติที่เพิ่มความสามารถในการดูดกลืนแสงได้มากกว่าชนิดอื่น ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ระหว่างอิเล็กตรอนที่อยู่ระหว่างแกนกลางไปมา คุณสมบัติในการเรืองแสงจะอยู่ในช่วงอิเล็กตรอนระหว่าง 400-430
วัสดุเปล่งแสงเพื่องานตรวจวัดมลพิษ
ผลงานวิจัยของอาจารย์ ดร.คัทลียา เพชรสิงห์ นักวิจัยจากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นการศึกษาถึงปรากฎการณ์สั่นสะเทือนของวัสดุ หรือที่เรียกว่า “ไซโคลตรอน เรโซแนนซ์” วัสดุนี้เป็นสารกึ่งโลหะที่มีชื่อเรียกในทางเทคโนโลยีวัสดุว่า “อินเดียมอาซะไนด์ แกลเลียมแอนทิโมไนด์” เป็นวัสดุที่มีศักยภาพและแนวโน้มที่จะพัฒนาไปเป็นอุปกรณ์เปล่งแสงและอุปกรณ์หัววัดคลื่น แสงอินฟราเรด ซึ่งมีการใช้งานได้ในระบบตรวจวัดมลภาวะของอากาศ , ระบบตรวจวัดความร้อนและระบบตรวจอาวุธยุทโธปกรณ์ เป็นต้น
ปรากฏการณ์ไซโคลตรอน เรโซแนนซ์ จะเกิดขึ้นเมื่อให้สนามแม่เหล็กกับวัสดุ ทำให้พาหะตัวนำในวัสดุเคลื่อนที่ด้วยความถี่เชิงมุมหนึ่ง ๆ จากนั้นเมื่อฉายแสงไปบนวัสดุพาหะตัวนำในวัดุนั้นจะดูดซับเอาแสงความถี่นั้นไว้ ทำให้เราสามารถวัดและวิเคราะห์แสงที่ทะลุผ่านวัสดุได้ เพื่อหาข้อมูลของพาหะตัวนำนั้นได้
การศึกษาพาหะตัวนำในวัสดุนั้น จะทำให้เราสามารถทราบกลไกการนำไฟฟ้าและศักยภาพทางแสงของวัสดุตลอดจนปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจจะมีผลต่อการนำวัสดุมาประยุกต์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานได้ต่อไป
สารกึ่งโลหะ“อินเดียมอาซะไนด์ แกลเลียมแอนทิโมไนด์” เป็นผลให้เกิดการผสมกันของชั้นพลังงานทำให้เกิดช่องว่างพลังงานใหม่เกิดขึ้น ซึ่งนำไปสู่การจำกัดของการดูดซับทางแสงที่ใกล้กับช่องว่างพลังงาน เมื่อเพิ่มอุณหภูมิให้กับระบบจาก 2 เคลวิน (-271 องศาเซลเซียส)ไปจนถึง 40 เคลวิน (-231 องศาเซลเซียส)
พบว่าการจำกัดของการดูดซับทางแสงนั้นหายไป เนื่องจากมีการส่งถ่ายพลังงานของอิเล็กตรอนข้ามช่องว่างพลังงาน และมีการชนกันของพาหะที่อยู่ในวัสดุ การค้นพบหลักฐานการมีอยู่จริงของช่องว่างพลังงาน เป็นผลสำคัญที่ทำให้นักฟิสิกส์ ต้องหันมาให้ความสนใจและพิจารณาการออกแบบประยุกต์เพื่อใช้ประโยชน์จากสารกึ่งโลหะดังกล่าว เพื่อใช้ประโยชน์จากวัสดุสำหรับการวิจัยและพัฒนาทางแสงต่อไป
แผนการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลที่ขั้วโลกใต้ (ทวีปแอนตาร์คติกา)
ดร.วรณพ วิยกาญจน์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิจัยไทยที่ได้รับเลือกในการร่วมคณะวิจัยไปขั้วโลกใต้ เปิดเผยว่า การที่ได้รับเลือกเป็นคนไทยคนแรกและคนเดียวที่ได้ร่วมทีมคณะวิจัยไปขั้วโลกใต้ ของสถานีวิจัยโชหวะ ประเทศญี่ปุ่น ได้เสนอผลงานวิจัย “จากทะเลไทยสานฝันสู่แอนตาร์คติกา โดยศึกษาพื้นที่ที่มีชายฝั่งติดทะเลของไทยครอบคลุมพื้นที่ 23 จังหวัด ศึกษาท้องทะเลซึ่งเป็นแหล่งอาหาร แหล่งแร่ธาตุ การคมนาคม และด้านการทหารด้วย โดยทำวิจัยร่วมกับกองทัพเรือของไทย และกองทัพเรือของญี่ปุ่นด้วย ปัญหาที่พบคือการตายของสัตว์น้ำที่มีสาเหตุจากสิ่งแวดล้อมเป็นมลภาวะการใช้พื้นที่ในการขุดเจาะแก๊สธรรมชาติในอ่าวไทย แหล่งท่องเที่ยวทางทะเล เรือกระจก สิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อทะเล นอกจากนี้ ยังมีปัญหาความขัดแย้งมากขึ้นในการแย่งใช้ทรัพยากร
รัฐบาลไทย โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ร่วมมือกับรัฐบาลญี่ปุ่น โดยสถาบันวิจัยขั้วโลกแห่งชาติ(NIPR) ให้โควต้า 1 ที่ ในการคัดเลือกคนไทยเข้าร่วมโครงการฯ ผมได้เสนอโครงการวิจัยเรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างแพลงตอนพืชกับมวลชีวภาพ”
ทวีปแอนตาร์คติกาใหญ่เป็นอันดับ 5 ของทวีปทั้งหมด ผมได้เดินทางไปร่วมกับคณะวิจัยของ ดร.วาตานาเบะ ในช่วงฤดูร้อนเป็นเวลา 7 สัปดาห์ ที่สถานีโชหวะ ภารกิจที่ต้องสำคัญคือ การสำรวจสมุทรศาสตร์ การขนส่งสัมภาระ วัตถุที่ใช้ในการทำวิจัยไปที่สถานีวิจัยโชหวะ ฯลฯ และการศึกษาระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตแถบขั้วโลกใต้เป็นงานวิจัยในเชิงนิเวศวิทยาอีกด้วย
ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ และ ดร.อิทธิโชต จักรไพวงศ์และคณะผู้วิจัย จากสมาคมหุ่นยนต์ไทยและมหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวแนะนำหุ่นยนต์เรือดำน้ำที่ได้ออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อเป็นผู้ช่วยนักวิจัยไทยคนแรก สำหรับใช้เป็นอุปกรณ์ในการสำรวจสมุทรศาสตร์ โดยได้พัฒนาหุ่นยนต์สำรวจใต้น้ำในระดับความลึก 50 เมตร สามารถทำการในรัศมี 25 เมตร สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นและกระแสน้ำและสามารถเก็บภาพรายละเอียดการเคลื่อนไหวใต้น้ำโดยที่ไม่ต้องดำน้ำลงไปจริง ๆ มีสมรรถนะสูงทำงานได้ในสภาพอากาศที่มีความหนาวเย็นอย่างขั้วโลกใต้ โดยมีหน่วยงานพัฒนาด้านโซลาร์เซลที่ใช้เป็นแหล่งสะสมพลังงานสำหรับหุ่นยนต์ และศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ได้พัฒนาชิปส์ ให้เป็นสมองกลอัจฉริยะที่ใช้ควบคุมหุ่นยนต์ซึ่งพัฒนาโดยฝีมือคนไทยทั้งหมด โดยมีส่วนประกอบชิ้นส่วนย่อยบางชิ้นมีการนำเข้าจากต่างประเทศ หุ่นยนต์ตัวนี้มีชื่อเรียกว่า หุ่นยนต์ไทยเอ็กซโปร์ (Thai Expo) มีประโยชน์อย่างยิ่งในการเก็บภาพและข้อมูลจากใต้น้ำมาใช้ในการวางแผนสำรวจก่อนการสำรวจจริง โดยเน้นความทนทานต่อความหนาวเย็น น้ำหนักเบาง่ายต่อการรักษา ติดตั้งกล้องถ่ายภาพใต้น้ำ แล้วส่งสัญญาณขึ้นสู่ฝั่งได้ ปัจจุบันได้พัฒนาการออกแบบโดยใช้ทุ่นลอยตัวแบบกระเป๋าโปร่งติดตั้งที่ตัวหุ่นยนต์และได้ผ่านการสาธิตเพื่อทดสอบประสิทธิภาพเรียบร้อยแล้ว และขณะนี้หุ่นยนต์ Thai Expo ได้ถูกส่งไปที่สถานีโชหวะที่ขั้วโลกใต้แล้ว ผู้ที่สนใจโปรดติดตามผลการสำรวจใต้น้ำที่ขั้วโลกใต้ได้ต่อไป--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ