กรุงเทพฯ--25 ธ.ค.--กนกรัตน์ แอนด์ เฟรนด์
ปัจจุบันพบว่าจำนวนของเด็กที่มีพฤติกรรมและภาวะสมาธิสั้นมีปัญหาด้านการ เรียนและมีภาวะออทิสซึมมีเพิ่มขึ้นทุกปีตามแนวคิดศาสตร์ของแพทย์ทางเลือก “โฮมีโอพาธีย์” ที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง พบว่าการป่วยเกิดจากความเจ็บป่วยในเซลล์ของร่างกาย ส่งผลต่อความผิดปกติในเรื่องของพฤติกรรมและการเรียนรู้ของเด็ก โดยเด็กกลุ่มนี้มีโอกาสในการรักษาได้ ซึ่งทางการแพทย์ได้มีความพยายามที่จะค้นหาป้องกันและรักษาภาวะผิดปกติดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เมื่อย่างเข้าปีใหม่ หลายคนจึงใช้ช่วงเวลาพิเศษ เป็นจุดเริ่มต้นสร้างสิ่งดีๆ ในชีวิต สำหรับคุณพ่อคุณแม่แล้วการเลี้ยงลูกก็เหมือนกัน อาจมีบางเรื่องที่เราควรทบทวน และหันมาสร้างทัศนคติใหม่ๆ เพื่อสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกรัก
และเมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท เล็กซ์ซัส กรุงเทพ จำกัด ได้จัดกิจกรรมบรรยายพิเศษ เพื่อให้ความรู้ในเรื่องศาสตร์ของแพทย์ทางเลือกที่มีชื่อเสียง “โฮมีโอพาธีย์” (Homeopathy) ชวนคุณพ่อคุณแม่สร้างทัศนคติใหม่ในการเลี้ยงลูกอย่างเข้าใจสู่พัฒนาการที่สมวัย แก้ไขภาวะเด็กสมาธิสั้น เพื่อเรียนรู้ถึงภาวะพฤติกรรมและการเรียนรู้ของเด็กที่มีภาวะซนสมาธิสั้น เด็กที่มีปัญหาการเรียน ภาวะภูมิแพ้ อาการหอบหืด กลุ่มโรคแพ้ตัวเอง (Auto ImmuneDiseases) และเด็กที่มีภาวะออทิสซึม ในแนวคิดแบบ “โฮมีโอพาธีย์”โดยเชิญ ดร.คีธาน พาเทล (Dr Ketan Patel BHMS; BCJP; MD Consulting Homeopathic Physician Ahmedabad, Gujarat, India) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านการรักษาด้วยวิธีโฮมีโอพาธีย์ ที่มีชื่อเสียงในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก และพญ.สุวิมล ชีวมงคล กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการเด็กและผู้เชี่ยวชาญด้านการนำศิลปะแขนงต่างๆมาใช้ในการบำบัดผู้ป่วยรวมถึง Creative Learning มาบรรยายพิเศษให้กับลูกค้าเลกซัสคลับ ณ โชว์รูม เล็กซ์ซัส กรุงเทพ (พระรามเก้า)
ดร.คีธาน พาเทล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในด้าน “โฮมีโอพาธีย์” ซึ่งทำการรักษาผู้ป่วย มาเป็นเวลามากกว่า 20 ปี อีกทั้งยังเป็นวิทยากรบรรยายในเรื่องโฮมีโอพาธีย์มาแล้วทั่วโลก โดยเฉพาะตามโรงเรียนสำหรับเด็กพิเศษต่างๆ นอกจากนี้ยังได้มีการทำวิจัย และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของการรักษาและพัฒนาการของเด็กอย่างมีระบบพร้อมเก็บรวบรวมเป็นข้อมูล โดยผลงานชิ้นสำคัญของท่าน คือ การผลิตซอฟต์แวร์สำหรับใช้ในการรักษา ซึ่งได้รับการยอมรับและมีการใช้เพื่อการรักษาผู้ป่วยโดยแพทย์มากกว่าแสนคน ใน 86 ประเทศทั่วโลก แนะนำว่า “ตามแนวคิดของโฮมีโอพาธีย์ได้แบ่งกลุ่มคน ซึ่งมีธรรมชาติแบบต่างๆ เข้ารวมเป็นกลุ่มบุคลิกภาพเด่นๆ ออกเป็น4ประเภท แต่ละประเภทจะมีบุคลิกภาพและการเรียนรู้ที่แตกต่างกันโดยมีพื้นฐานสำคัญคือเรื่องความเจ็บป่วยและเหตุการณ์ในชีวิตซึ่งผลักดันให้บุคคลนั้นมีบุคลิกภาพและการเรียนรู้ที่หลุดออกไปจากสมดุลย์ของธรรมชาติของตนเอง อย่างไรก็ตามความเบี่ยงเบนดังกล่าวสามารถเปลี่ยนกลับมาอยู่ในสมดุลย์ได้ หากเลือกใช้ยาที่เหมาะสม ซึ่งบุคลิกภาพซ่อนเร้นทั้ง 4 แบบ ในแนวคิดของโฮมีโอพาธีย์นี้ เชื่อว่ามีการกำหนดมาแล้วจากภาวะการติดเชื้อในอดีตของบรรพบุรุษอันเป็นพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้เข้าใจการแสดงออกของพฤติกรรมและการเรียนรู้ของเด็ก ดังนั้นผู้ปกครองต้องทำความเข้าใจในพฤติกรรมของเด็ก เพื่อการดูแลลูกอย่างถูกวิธีภายใต้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กที่มีพฤติกรรมและภาวะสมาธิสั้นมีปัญหาด้านการเรียนและมีภาวะออทิสซึมได้อย่างถูกต้องเนื่องจากคนเราตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ อาหารการกินสิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดู อารมณ์ที่ปฏิบัติต่อกันในบ้านในสังคมล้วนมีผลต่อตัวตนของเด็ก และเป็นผลให้แต่ละคนสร้างบุคลิกภาพเฉพาะของตน บางคนเกิดมาเป็นคนอารมณ์ดีรักความสงบทำอะไรช้าๆ ขี้เกรงใจ บางคนใจน้อย บางคนคล่องแคล่วว่องไว เปิดเผยตรงไปตรงมา ชวนทะเลาะเอาแต่ใจตัว ฯลฯ บุคลิกแต่ละประเภทมีความพร้อมรับที่จะเกิดภาวะสมาธิสั้นได้มากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกัน นอกจากนี้จากหลักการของ “โฮมีโอพาธีย์” เด็กยังสามารถรับอิทธิพลจากพ่อแม่และย้อนขึ้นไปในบรรพบุรุษได้ด้วย ดังนั้นการแก้ไขภาวะเด็กสมาธิสั้นจึงไม่ได้หมายความว่าเด็กๆ ทุกคนจะถูกวินิจฉัย อย่างเดียวกันแล้วใช้วิธีการเหมือนกันหมดแต่จะพิจารณาแต่ละคนตามบุคลิกภาพที่ปรากฏแล้วจึงแก้ไขตาม บุคลิกภาพพูดง่ายๆ ว่าซ่อมบุคลิกที่แปรเปลี่ยนไปให้เข้าที่เข้าทางสู่พัฒนาการที่สมวัยนั้นเอง”
พญ.สุวิมล ชีวมงคล กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการเด็กและผู้เชี่ยวชาญด้านการนำศิลปะแขนงต่างๆมาใช้ในการบำบัดผู้ป่วย (Creative Learning) ผู้ที่สนใจในเรื่องการฟื้นฟูภาวะพฤติกรรมและพัฒนาการเด็กที่มีปัญหา โดยการฟื้นฟูระดับเซลล์ได้ศึกษาเพิ่มเติมและดูงานการรักษาเด็กที่มีภาวะออทิสซึม ด้วยหลักการ BioMedical Approach และHBOT (HyperbaricOxygenTherapy) ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและศึกษาด้าน Homeopathy ทั้งที่จัดโดยชมรมโฮมีโอพาธีย์ และกรมแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงดูงานด้านการรักษาเด็กที่มีความพิการทางสมองมีความบกพร่อง ด้านการเรียน และมีภาวะออทิสซึมที่ประเทศอินเดีย ตั้งแต่กลางปี 2553 จนถึงปัจจุบันกล่าวเสริมว่า “ผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของเด็กโดยเบื้องต้น อาทิ ดูจากภาวะขับถ่ายของเด็กที่ไม่ปกติ และกลิ่นอุจจาระหรือกลิ่นผายลมที่รุนแรงมาก สมาธิสั้น และซนมากกว่าเด็กทั่วไป ทั้งนี้ในปัจจุบันมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการและพบว่าเด็กป่วยที่มีอาการดังกล่าวข้างต้นเกิดขึ้นเนื่องจากมีการทำงานของเซลล์ในร่างกายที่มีความผิดปกติคล้ายคลึงกันกล่าวคือมีการทำงานของเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นในส่วนที่เกี่ยวกับการช่วยให้ ร่างกายทำปฏิกิริยาต่อสิ่งแปลกปลอมผนังเซลล์ทำงานผิดปกติ ส่งผลถึงการดูดซึมสารอาหารเข้าสู่เซลล์และการกรองสารที่เซลล์ไม่ต้องการเกิดการทำงานผิดพลาดกระบวนการสร้างออกซิเจนในร่างกายไม่อยู่ในภาวะสมดุลย์ พร้อมกับกลไกการแปลข้อมูลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และการสั่งการให้ร่างกายทำงานเกิดความผิดพลาด ภาวะทั้งหมดนี้ทำให้ขบวนการขับสารพิษออกจากร่างกายทำงานบกพร่องและเกิดการคั่งค้างของสารพิษและโลหะหนัก เช่น สารปรอท และสารตะกั่วในร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยมีข้อจำกัดของพัฒนาการการเรียนรู้ และยังทำให้เกิดการแปลความข้อมูลต่างๆ เช่น สีหน้าความรู้สึก ผิดพลาดได้เช่นกัน ดังนั้นการแก้ไขภาวะเด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้น จึงต้องรักษาให้การทำงานของเซลล์กลับสู่ภาวะปกติควบคู่ไปกับการกระตุ้นพัฒนาการและการบำบัดอื่นๆ”
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
บริษัท กนกรัตน์ แอนด์ เฟรนด์ จำกัด (ที่ปรึกษาด้านงานประชาสัมพันธ์)
โทร.02-2842662 แฟกซ์. 02-284-2287,2291 www.kanokratpr.com
คุณกนกรัตน์ วีรานุวัตติ์ E-mail: Kanokrat@kanokratpr.com