กรุงเทพฯ--26 ต.ค.--ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
โอซีซี ย้ายไปซื้อขายในหมวดธุรกิจเวชภัณฑ์และเครื่องสำอาง ไว้ท์กรุ๊ป ย้ายไปหมวดธุรกิจ
เคมีภัณฑ์และพลาสติก และอัมรินทร์ พลาซ่า ย้ายไปหมวดธุรกิจโรงแรมและบริการท่องเที่ยว
เริ่ม 8 พ.ย.นี้
ตลาดหลักทรัพย์ฯ เตรียมย้าย บมจ.โอซีซี และ บมจ.ไว้ท์ กรุ๊ป ไปซื้อขายในหมวดธุรกิจ
เวชภัณฑ์และเครื่องสำอาง และหมวดธุรกิจเคมีภัณฑ์และพลาสติก ตามลำดับ เพื่อให้สอดคล้องกับธุรกิจ
หลักของบริษัท ส่วน บมจ. อัมรินทร์ พลาซ่า ย้ายจากหมวดธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไปหมวดธุรกิจ
โรงแรมและบริการท่องเที่ยว เนื่องจากรายได้และผลประกอบการในปัจจุบันและอนาคตของบริษัท โดย
ส่วนใหญ่มาจากธุรกิจประกอบการโรงแรม
นางสาวโสภาวดี เลิศมนัสชัย ประธานศูนย์ระดมทุนและตลาดหลักทรัพย์ใหม่ ตลาดหลัก
ทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้พิจารณาข้อมูลในแบบรายงาน 56-1 ประจำ
ปี 2546 ของ บริษัท โอซีซี จำกัด (มหาชน) (OCC) บริษัท ไว้ท์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (WG) และ
บริษัท อัมรินทร์ พลาซ่า จำกัด (มหาชน) (AMARIN) แล้วเห็นว่ารายได้หลักและแนวโน้มผลประ
กอบการของบริษัทเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับธุรกิจในหมวดธุรกิจใหม่มากกว่า จึงจะย้าย 3 บริษัท
ดังกล่าวไปซื้อขายในหมวดธุรกิจใหม่ ตั้งแต่วันที่ 8 พ.ย. 2547 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ บริษัท โอซีซี จำกัด (มหาชน) หรือ OCC จะย้ายจากหมวดธุรกิจพาณิชย์ กลุ่มอุต
สาหกรรมบริการ ไปซื้อขายในหมวดธุรกิจเวชภัณฑ์และเครื่องสำอาง กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริ
โภค เนื่องจากสัดส่วนรายได้ตามแบบ รายงาน 56-1 ประจำปี 2546 ของบริษัทแสดงรายได้
หลักมาจากการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 86.75 ของรายได้ทั้งหมด
ส่วน บริษัท ไว้ท์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ WG จะย้ายจากหมวดธุรกิจพาณิชย์ กลุ่ม
อุตสาหกรรมบริการ ไปซื้อขายในหมวดธุรกิจเคมีภัณฑ์และพลาสติก กลุ่มอุตสาหกรรมวัตถุดิบและสินค้า
อุตสาหกรรม เนื่องจากสัดส่วนรายได้ตามแบบรายงาน 56-1 ประจำปี 2546 ของบริษัทแสดงรายได้
หลักมาจากการนำเข้าและจัดจำหน่ายเคมีภัณฑ์อุตสาหกรรม คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 87.4 ของ
รายได้ทั้งหมด โดยสินค้าที่จำหน่ายจัดเป็นสินค้าขั้นกลางและวัตถุดิบ
สำหรับ บริษัท อัมรินทร์ พลาซ่า จำกัด (มหาชน) หรือ AMARIN จะย้ายจากหมวด
ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างไปซื้อขายในหมวดธุรกิจโรง
แรมและบริการท่องเที่ยว ภายใต้กลุ่ม อุตสาหกรรมบริการ เนื่องจากปัจจุบันบริษัทมีรายได้
หลักมาจากธุรกิจโรงแรม คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 69 ของรายได้ทั้งหมด และผลประกอบการหลัก
ของบริษัทยังมีแนวโน้มที่จะมาจากธุรกิจโรงแรมและบริการท่องเที่ยวต่อไปในอนาคต
“การจัดหมวดธุรกิจสำหรับบริษัทจดทะเบียนนั้น มีการพิจารณาข้อมูลจากแบบรายงาน 56-1
โดยดูจากประเภทธุรกิจที่สร้างรายได้ให้บริษัทเกินร้อยละ 50 เป็นสำคัญ และหากไม่มีธุรกิจใดที่สร้าง
รายได้ให้บริษัทเกินร้อยละ 50 จะพิจารณาจากเกณฑ์รองคือด้านกำไร โดยตลาดหลักทรัพย์จะมีการพิ
จารณาทบทวนเป็นประจำทุกปี”นางสาวโสภาวดีกล่าว
เอกสารประกอบข่าวตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ฉบับที่ 130/2547 วันที่ 26
ตุลาคม 2547
การจัดกลุ่มอุตสาหกรรมในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
กลุ่ม
สินค้าอุปโภคบริโภค กลุ่มอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ ทั้ง
ที่เป็นสินค้าที่จำเป็นและสินค้าฟุ่มเฟือย และทั้งที่เป็น
ของใช้ส่วนตัว และใช้ในครัวเรือน 1) ของใช้ในครัวเรือน (Household Goods)
(Consumer Products) 2) อัญมณีและเครื่องประดับ (Jewelry & Ornaments)
3) เวชภัณฑ์และเครื่องสำอาง (Pharmaceuticals Products & Cosmetics)
4) สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และรองเท้า (Textiles, Clothing & Footware)
วัตถุดิบและสินค้าอุตสาหกรรม (Industrials)
กลุ่มอุตสาหกรรมที่ผลิตและจำหน่ายวัตถุดิบทั่วไปที่
สามารถนำไปใช้ได้ในหลายอุตสาหกรรม สินค้าขั้น
ต้นหรือสินค้าขั้นกลาง เครื่องมือและเครื่องจักรต่างๆ
ที่นำไปใช้ต่อในอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ นอกจากนี้
ยังรวมถึงอุตสาหกรรมยานยนต์ 1) เคมีภัณฑ์และพลาสติก (Chemicals & Plastics)
2) เครื่องมือและเครื่องจักร (Machinery & Equipment)
3) บรรจุภัณฑ์ (Packaging)
4) เยื่อกระดาษและกระดาษ (Pulp & Paper)
5) ยานพาหนะและอุปกรณ์ (Vehicles & Parts)
บริการ (Services)
กลุ่มผู้ให้บริการในสาขาต่างๆ ที่ไม่ได้ระบุเฉพาะเจาะ
จงให้อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ 1) พาณิชย์ (Commerce)
2) บันเทิงและสันทนาการ (Entertainment & Recreation)
3) การแพทย์ (Healthcare Services)
4) โรงแรมและการท่องเที่ยว (Hotel & Travel Services)
5) การพิมพ์และสิ่งพิมพ์ (Printing & Publishing)
6) บริการเฉพาะกิจ (Professional Services)
7) ขนส่ง (Transportation)
8) คลังสินค้าและไซโล (Warehouse & Silo)--จบ--