การค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนพฤศจิกายน 2555

ข่าวทั่วไป Wednesday December 26, 2012 12:35 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--26 ธ.ค.--ก.พาณิชย์ การค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนพฤศจิกายน 2555 และระยะ 11 เดือนของปี 2555 (ม.ค.- พ.ย.) สรุปได้ดังนี้ 1. การส่งออก - เดือนพฤศจิกายน 2555 มีมูลค่า 19,555.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.86 ในรูปเงินบาท มีมูลค่า 595,784.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.34 - ระยะ 11 เดือนของปี 2555 (ม.ค.- พ.ย.) มีมูลค่า 211,417.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.32 ในรูปเงินบาท มีมูลค่า 6,539,750.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.20 - ปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งออก สภาวะเศรษฐกิจยุโรปและการลุกลามของปัญหา สภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นและจีน รวมทั้ง อุตสาหกรรมส่งออกไทย ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ที่ยังต้องฟื้นฟูกิจการภายหลังน้ำลดต่อมาอีกระยะหนึ่ง - การส่งออกสินค้าในเดือนพฤศจิกายน 2555 เพิ่มขึ้นในหมวดสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ และหมวดสินค้าอื่นๆ โดย หมวดสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตร ภาพรวมลดลง 5.9 % โดย สินค้าส่งออกลดลง ได้แก่ ข้าว (-3.8%) ยางพารา (-29.7%) กุ้งแช่แข็งและแปรรูป (-15.4%) น้ำตาล (-32.0%) สินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (+24.2%) อาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป (ไม่รวมกุ้ง) (+15.2%) ผักและผลไม้ (+3.8%) ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป (+17.7%) หมวดสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ ภาพรวมเพิ่มขึ้น 47.2% โดย สินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (+80.7%) เครื่องใช้ไฟฟ้า (+36.3%) ยานยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ (+172.8%) เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก (+5.0%) สิ่งทอ (+7.5%) วัสดุก่อสร้าง (+111.3%) ผลิตภัณฑ์ยาง (+5.5%) เครื่องเดินทาง เครื่องหนังและรองเท้า (+7.2%) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน (+17.0%) สินค้าส่งออกที่ลดลง ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ (-13.2%) สิ่งพิมพ์กระดาษและบรรจุภัณฑ์ (-2.5%) หมวดสินค้าอื่นๆ ภาพรวมเพิ่มขึ้น 8.1% - การส่งออกระยะ 11 เดือนของปี 2555 (ม.ค.- พ.ย.) เพิ่มขึ้นในหมวดสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ และหมวดสินค้าอื่นๆโดย หมวดสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตร ภาพรวมลดลง 10.9% โดย สินค้าส่งออกที่ลดลง ได้แก่ ข้าว (-29.0%) ยางพารา (-32.0%) กุ้งแช่แข็งและแปรรูป (-16.8%) สินค้าที่ส่งออกที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (+9.6%) อาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป (ไม่รวมกุ้ง) (+12.4%) ผักและผลไม้ (+0.2%) ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป (+10.8%) น้ำตาล (+11.6%) หมวดสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ ภาพรวมเพิ่มขึ้น 5.4% โดย สินค้าที่ส่งออกที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า (+1.3%) ยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (+25.5%) วัสดุก่อสร้าง (+22.4%) อัญมณีและเครื่องประดับ (+8.0%) ผลิตภัณฑ์ยาง (+1.1%) สิ่งพิมพ์ กระดาษและบรรจุภัณฑ์ (+7.1%) เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์ (+7.9%) อาหารสัตว์เลี้ยง (+17.4%) สินค้าส่งออกที่ลดลง ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (-0.3%) เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก (-1.9%) สิ่งทอ (-12.9%) เครื่องเดินทาง เครื่องหนังและรองเท้า (-7.9%) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน (-1.9%) หมวดสินค้าอื่นๆ เพิ่มขึ้น 5.7% - การส่งออกเป็นรายตลาด เดือนพฤศจิกายน 2555ภาพรวมส่งออกเพิ่มขึ้นใน ตลาดหลัก ตลาดศักยภาพสูง และตลาดศักยภาพระดับรองโดย - ตลาดหลัก ภาพรวมเพิ่มขึ้น 21.2% โดย ญี่ปุ่น (+13.5%) สหรัฐอเมริกา (+22.0%) สหภาพยุโรปสมาชิกเดิม 15 ประเทศ (+30.9%) - ตลาดศักยภาพสูง ภาพรวมเพิ่มขึ้น 28.1 % โดย ตลาดที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ อาเซียน(9) (+18.6%) จีน (+32.1%) เอเชียใต้ (8) (+32.6%) อินเดีย (+45.2%) ฮ่องกง (+85.2%) เกาหลีใต้ (+33.4%) ตลาดที่ลดลงได้แก่ ไต้หวัน (-5.2%) - ตลาดศักยภาพระดับรอง ภาพรวมเพิ่มขึ้น 40.1% โดย ทวีปออสเตรเลีย (+73.0%) ตะวันออกกลาง (+57.6%) ทวีปแอฟริกา (+42.6%) ลาตินอเมริกา (+3.8%) สหภาพยุโรปสมาชิกใหม่ 12 ประเทศ (+24.9%) รัสเซียและCIS (+30.1%) แคนาดา (+4.5%) - ตลาดอื่น ๆ ภาพรวมลดลง 5.8 % โดยสวิตเซอร์แลนด์ (-48.6%) ? ระยะ 11 เดือนของปี 2555 (ม.ค.- พ.ย.) ส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดศักยภาพสูง ตลาดศักยภาพระดับรอง และตลาดอื่นๆ โดย - ตลาดหลัก ภาพรวมลดลง 2.5% โดย ญี่ปุ่น (-2.0%) สหภาพยุโรปสมาชิกเดิม 15 ประเทศ (-10.1%) ในขณะที่สหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้น (+4.6%) - ตลาดศักยภาพสูง ภาพรวมเพิ่มขึ้น 2.9 % โดย ตลาดที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ อาเซียน(9) (+4.3%) อินโดจีนและพม่า (+12.0%) จีน (+1.8%) อินเดีย (+7.5%) ฮ่องกง (+7.3%) เกาหลีใต้ (+3.7%) ตลาดที่ลดลง ได้แก่ ไต้หวัน (-13.3%) - ตลาดศักยภาพระดับรอง ภาพรวมเพิ่มขึ้น 7.8% โดย ตลาดที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ทวีปออสเตรเลีย (+18.7%) ตะวันออกกลาง (+5.8%) ทวีปแอฟริกา (+5.9%) ลาตินอเมริกา (+13.5%) ตลาดที่ลดลง ได้แก่ สหภาพยุโรปสมาชิกใหม่ 12 ประเทศ (-15.3%) รัสเซียและ CIS (-3.5%) แคนาดา (-8.2%) - ตลาดอื่น ๆ ภาพรวมเพิ่มขึ้น 8.5% โดยสวิตเซอร์แลนด์ (+8.2%) 2. การนำเข้า - เดือนพฤศจิกายน 2555 มีมูลค่า 21,010.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.53 ในรูปเงินบาท มีมูลค่า 648,126.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.04 - ระยะ 11 เดือนของปี 2555 (ม.ค.- พ.ย.) มีมูลค่า 227,123.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.55 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมา ในรูปเงินบาท มีมูลค่า 7,107,151.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.53 - การนำเข้าในเดือนพฤศจิกายน 2555 หมวดสินค้าที่เพิ่มขึ้นได้แก่ หมวดสินค้าทุน (+62.5%) (เครื่องจักรกล (+51.6%) เครื่องจักรไฟฟ้า ( 76.6%) เครื่องคอมพิวเตอร์(+71.8%)) หมวดวัตถุดิบ/กึ่งสำเร็จรูป (+8.8%) (อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (+62.5%) เคมีภัณฑ์ (+6.0%) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (+21.6%) ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ (+222.1%) หมวดอุปโภค/บริโภค (+35.8%) (เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน (+92.0%) เวชกรรมและเภสัชกรรม ( +3.3%)) หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง (+74.7%) (ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ (+94.1%) รถยนต์นั่ง (+51.7%) รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก (+5.9%)) - หมวดสินค้าที่ลดลงได้แก่ หมวดเชื้อเพลิง (-7.3%) (ประเภทน้ำมันดิบ (-13.6%)) ปัจจัยที่มีผลต่อการนำเข้า มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นในสินค้าเครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป และยานยนต์และอุปกรณ์ที่ไม่สามารถผลิตได้ หรือ ผลิตได้ไม่เพียงพอสำหรับการใช้ในประเทศ รวมทั้งนำเข้าสินค้าสำหรับช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ และสินค้ารถยนต์สำหรับแสดงในงานมอเตอร์เอ็กซ์โป ครั้งที่ 29 3. ดุลการค้า เดือนพฤศจิกายน 2555 ขาดดุลการค้า 1,454.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 52,342.4 ล้านบาท ระยะ 11 เดือนของปี 2555 (ม.ค.- พ.ย.) ขาดดุลการค้ามูลค่า 15,706.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในรูปเงินบาท ขาดดุลการค้ามูลค่า 567,400.4 ล้านบาท 4. การค้า/การใช้สิทธิพิเศษจากความตกลง FTA (8 ประเทศ/กลุ่มประเทศ คือ อาฟต้า ญี่ปุ่น อินเดีย จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ และเปรู) พ.ย. 55 ส่งออก มีมูลค่า 11,088.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจาก พ.ย. 54 25.6% เป็นการใช้สิทธิภายใต้ FTA มูลค่า 3,891.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 25.14% คิดเป็นสัดส่วนการใช้สิทธิ 35.1% ของการส่งออกรวมภายใต้ FTA นำเข้า มีมูลค่า 13,467.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากพ.ย.54 46.3% เป็นการใช้สิทธิภายใต้ FTA มูลค่า 2,625.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้น 45.7 % คิดเป็นสัดส่วนการใช้สิทธิ 19.5% ของการนำเข้ารวมภายใต้ FTA ดุลการค้า ไทยขาดดุล FTA มูลค่า 2,379.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ระยะ 11 เดือนของปี 2555 (ม.ค.-พ.ย.) ส่งออก มีมูลค่า 118,173.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 3.98% เป็นการส่งออกโดยใช้สิทธิภายใต้ FTA มูลค่า 38,164.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 3.27% และเป็นสัดส่วนการใช้สิทธิ 32.3% ของการส่งออกรวมภายใต้ FTA นำเข้า มีมูลค่า 134,097.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 46.3% เป็นการนำเข้าโดยใช้สิทธิพิเศษภายใต้ FTA มูลค่า 26,406.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 31.04% และเป็นสัดส่วนการใช้สิทธิ 19.69% ของการนำเข้ารวมภายใต้ FTA ดุลการค้าไทยขาดดุล FTA มูลค่า 15,923.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยขาดดุลกับญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ เปรู และได้ดุลกับอาฟต้า อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ 5. การค้าชายแดน (มาเลเซีย เมียนมาร์ สปป. ลาว กัมพูชา) ระยะ 11 เดือนของปี 2555 ไทยยังคงได้ดุลการค้า และได้ดุลการค้ากับมาเลเซียมากเป็นอันดับหนึ่ง โดยมีรายละเอียดดังนี้ เดือนพฤศจิกายน 2555 การค้ารวม มีมูลค่า 77,323.6 ล้านบาท (+17.9%) เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยค้ากับมาเลเซียสูงสุด เป็นมูลค่า 41,326.7 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 53.4 ของการค้ารวม 4 ประเทศ) การส่งออก มีมูลค่า 45,449.2 ล้านบาท (+0.5%) การนำเข้า มีมูลค่า 31,874.3 ล้านบาท (+56.5%) ดุลการค้า ไทยได้ดุลการค้าชายแดน คิดเป็นมูลค่า 13,574.9 ล้านบาท โดยได้ดุลการค้ากับ สปป.ลาวสูงสุด รองลงมาคือกัมพูชาและมาเลเซีย และขาดดุลกับเมียนมาร์ ระยะ 11 เดือนของปี 2555 (ม.ค. — พ.ย.) การค้ารวม มีมูลค่า 836,463.8 ล้านบาท (+3.0%) เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี ที่ผ่านมา โดยมีทำการค้ากับมาเลเซียสูงสุดมีมูลค่า 477,997.1 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 57.1 ของการค้ารวม 4 ประเทศ) การส่งออก มีมูลค่า 512,726.4 ล้านบาท (-3.7%) การนำเข้า มีมูลค่า 323,737.5 ล้านบาท (+15.9%) ดุลการค้า ไทยได้ดุลการค้าชายแดน คิดเป็นมูลค่า 188,988.9 ล้านบาท โดยได้ดุลการค้ากับมาเลเซียสูงสุด และขาดดุลการค้ากับเมียนมาร์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ