กรุงเทพฯ--7 ม.ค.--ทริปเปิล เอท ไอเดียส์
จากรายงานผลการสำรวจความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั่วโลกล่าสุด ของบริษัทคอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชันแนล นักลงทุนชาวเอเชียยังคงมีทัศนคติที่เป็นบวกเกี่ยวกับความกังวลในตลาดอสังหาริมทรัพย์ในอีกสิบสองเดือนข้างหน้า ผลสำรวจส่วนใหญ่ (79%) ยังคงแสดงความพึงพอใจอย่างสูงที่จะลงทุนในเอเชีย ซึ่งเป็นตลาดบ้านเกิดของพวกเขา
นักลงทุนชาวเอเชียส่วนใหญ่ยังให้ความสนใจอยู่กับโอกาสในเป้าหมายการลงทุนแบบดั้งเดิม ตามเมืองหลักๆ ของประเทศจีน โดยที่มีประเทศสิงคโปร์เป็นเป้าหมายสำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ตาม เมื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกลายเป็นเรื่องจริงขึ้นมา นักลงทุนในภูมิภาคคาดการณ์ว่าจะมีนักลงทุนข้ามชาติเพิ่มมากขึ้น “ในปี พ.ศ. 2558 ประชาคมอาเซียนจะถูกรวมเข้าเป็นตลาดเดียวกันด้วยจำนวนประชากรทั้งหมดมากกว่าหกร้อยล้านคน นอกจากนั้น บางประเทศในภูมิภาคนี้ได้เปิดประตูให้กับนักลงทุนต่างชาติ จึงทำให้มีโอกาสในการลงทุนมากมาย” นายสุรเชษฐ์ กองชีพ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายวิจัย บริษัทคอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชันแนล ประเทศไทย จำกัด กล่าว
ยิ่งไปกว่านั้น นักลงทุนชาวเอเชียส่วนใหญ่ (70%) มีความเป็นไปได้ที่จะขยายฐานการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และเพิ่มระดับในการลงทุนของพวกเขา เมื่อเปรียบเทียบกับตัวเลข 65% ในปี 2554 แล้วนั้น จะเห็นได้ว่านักลงทุนชาวเอเชียมีทัศนคติโดยรวมที่เป็นบวกมากขึ้น
“คนจำนวนมากอาจคาดการณ์ได้ในทันทีว่า ทัศนคติที่เป็นบวกนั้นสะท้อนให้เห็นถึงเศรษฐกิจที่กำลังดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีคำอธิบายที่สามารถคาดคะเนข้อเท็จจริงได้มากมาย” มร. เพียร์ส บรุนเนอร์ ประธานกรรมการบริหาร คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชันแนล เอเชีย กล่าว “แรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นท่ามกลางมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบที่ 3 (QE3) นักลงทุนต่างก็ตระหนักดีถึงค่าเงินของพวกเขาที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง การเพิ่มขึ้นตามที่ได้คาดการณ์ไว้ของสภาพคล่องของตลาดยังคงหมายถึงการได้รับเครดิตในปี 2556 ก็จะง่ายขึ้นด้วย ประกอบกับแนวทางที่ชัดเจนขึ้นของนโยบายของรัฐบาล และการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการส่วนใหญ่ในหลายประเทศจะเรียบร้อยภายในปีนี้ ทำให้นักลงทุนมีแรงสนับสนุนเพื่อที่จะดำเนินการตามแผนการลงทุนของพวกเขาต่อไป”
เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจในปี 2554 ความไม่มั่นใจต่อสถานการณ์เศรษฐกิจเป็นเรื่องสำคัญสูงสุดที่ป้องกันไม่ให้นักลงทุนชาวเอเชียขยายฐานการลงทุนของพวกเขา ในปีนี้ จากการสำรวจมีปัจจัยเพิ่มขึ้นมาอีกสองประการคือ ความสามารถในการเพิ่มมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ใหม่ ตามมาด้วยอุปทานของอสังหาริมทรัพย์ที่ “เสนอขาย”
นายไซมอน โล ผู้อำนวยการบริหาร ฝ่ายวิจัย ของคอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชันแนล รู้สึกว่า นักลงทุนคาดหวังการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในปีหน้า ซึ่งกำลังจะก้าวผ่านปัญหาทางเศรษฐกิจที่รุนแรงของปี 2555 นักลงทุนเหล่านี้เป็นกังวลว่าพวกเขาจะสามารถเพิ่มเงินทุน และหาช่องทางการลงทุนที่มีคุณภาพท่ามกลางการแข่งขันรุนแรงในช่วงภาวะเงินเฟ้อได้หรือไม่
จากผลการสำรวจ นักลงทุนชาวเอเชียได้ตั้งเป้าหมายผลตอบแทนเอาไว้ค่อนข้างสูง นักลงทุนชาวเอเชียร้อยละ 41 คาดว่าจะได้อัตราผลตอบแทนจากโครงการเกินร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับผลตอบแทนร้อยละ 10-15 ของนักลงทุนในแปซิฟิก ตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ และน้อยกว่าร้อยละ 10 ของนักลงทุนในประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา และยุโรปตะวันตก
ตัวเลือกเป้าหมายระดับสูงสุดสำหรับการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ในทวีปเอเชียนั้น เมืองเซี่ยงไฮ้เป็นเมืองที่ได้รับชัยชนะอย่างชัดเจน “ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในเมืองเซี่ยงไฮ้ยังคงเป็นที่ชื่นชอบอันดับแรกของผู้บริโภค เป็นการพัฒนาตามธรรมชาติเมื่อพูดถึงการเลือกของนักลงทุนชาวเอเชีย” นายหลี่นา หว่อง กรรมการผู้จัดการคอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชันแนล ประเทศจีนภาคตะวันออก และตะวันตกเฉียงใต้ กล่าว
ฮ่องกง สิงคโปร์ โตเกียว และปักกิ่งนั้น เป็นเป้าหมายที่ชื่นชอบของนักลงทุนชาวเอเชียสำหรับการลงทุนในอนาคต เป็นอันดับรองลงมาจากเซี่ยงไฮ้
ฮ่องกงนั้นเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นประตูสู่ประเทศจีน และได้รับความช่วยเหลือจากประเทศจีนในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา เมื่อการแข่งขันรุกคืบเข้ามา ฮ่องกงก็ได้พยายามนำเสนอตัวเองในรูปแบบใหม่ เพื่อที่จะให้อยู่ในแถวหน้าของการแข่งขัน นายแอนโตนิโอ วู กรรมการบริหารของแผนกลงทุน ทวีปเอเชีย ได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่า “ฮ่องกงพร้อมจะรับอุปสงค์ใหม่จากประเทศจีน ซึ่งกำลังขยายบทบาทในฐานะเป็นศูนย์กลางการค้าเงินหยวน (RMB) นอกประเทศที่มีความสำคัญ ทำให้เป็นตลาดที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ถ้าจะให้ชัดเจนไปกว่านั้น อาจจะพูดได้ว่า การเปลี่ยนแปลงราคาอย่างน่าตื่นตาตื่นใจนั้น ทำให้ฮ่องกงกลายเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ เมื่อพูดถึงเป้าหมายการลงทุนในภูมิภาคนี้”
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดนนิส โยว กรรมการผู้จัดการของประเทศสิงคโปร์ กล่าวว่า ลักษณะวงรอบของประเทศเปรียบเสมือนแม่เหล็กดึงดูดสำหรับนักลงทุนที่กำลังมองหาการแข่งขันที่เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพ ในปัจจุบันนี้มีช่องว่างราคาระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย และดีกว่าในปี 2555 จุดเปลี่ยนสำหรับการทำธุรกรรมที่มากขึ้นนั้นน่าจะเกิดขึ้นหลังจากปี 2556 และ 2557 เมื่อเศรษฐกิจชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง อุปสงค์น้อยลง และอุปทานได้ปล่อยออกสู่ตลาดจนหมดแล้วในปี 2554 และ 2555
ในโตเกียว ผลผลิตที่กระจายอยู่ในตลาดในปริมาณสูง ยังคงเป็นสิ่งดึงดูดใจที่สำคัญสำหรับนักลงทุนชาวเอเชีย ขณะที่ความน่าสนใจของตลาดในกรุงปักกิ่งนั้นยังคงมีอุปสงค์แข็งแกร่ง เช่นเดียวกับอัตราการครอบครองที่สูง