กรุงเทพฯ--9 ม.ค.--ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน
ฟรอสต์ฯ แนะ ธุรกิจไทย สร้างภูมิคุ้มกันทางธุรกิจ รองรับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ อาทิ การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท การเปิด AEC ปัญหาขาดแคลนแรงงานปัญหายืดเยื้อยุโรปที่กระทบส่งออก
ดร. มนธ์สินี กีรติไกรนนท์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก เผยถึง 6 แนวทางหลัก เพื่อใช้ในการเตรียมความพร้อมสำหรับธุรกิจไทย ในยุค 3G ดังนี้
1. Technology Adoptionการนำเทคโนโลยีมาใช้โดยลงทุนหรือเช่าซื้อระบบการทำงานและควบคุมให้เป็นไปแบบอัตโนมัติและปราศจาก human error
ปัจจุบันมีการใช้งานด้านไอทีในธุรกิจ SMEไทยอยู่ไม่ถึง 10% ในขณะที่ธุรกิจรายย่อยในมาเลเซียมีการใช้ไอทีกว่า 30% และในสิงคโปร์กว่า 50% ฉะนั้นผู้ประกอบการไทยควรเปิดใจเรื่องเทคโนโลยี เพราะเทคโนโลยีไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว ปัจจุบัน มีคู่ค้ามากมายที่พร้อมจะอบรมและให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการและมีโมเดลทางธุรกิจหลากหลายให้เลือกเช่น Turnkey, Leasing, ManagedServiceขึ้นอยู่กับงบประมาณและการจัดสรรเงินลงทุน
2. Effective Logisticsปัจจุบันต้นทุนเฉลี่ยด้านโลจิสติกส์ของธุรกิจไทยอยู่ประมาณ 15-18% ของต้นทุนทั้งหมดขณะที่มาเลเซียอยู่ที่ไม่เกิน 12% และสิงคโปร์อยู่ที่ไม่เกิน 8%
กระบวนการด้านโลจิสติกส์ไม่ได้มีแค่การขนส่งแต่รวมถึงต้นทุนการจัดการ supply chain เริ่มตั้งแต่การบริหารวัตถุดิบให้เป็นไปตามความต้องการ (demand-based production planning) เพื่อทำให้การเก็บของในคลังเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงการจัดการสินค้าคงคลังโดยประเมินค่าใช้จ่ายต่อพื้นที่ตรม. ว่าเยอะกว่าทั่วไปหรือไม่ลองศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบการจัดการคลังสินค้าและการกระจายสินค้า และประเมินแนวทางการ outsource ให้ logistic service providers (LSPs) ซึ่งมีอยู่มากมายซึ่งอาจบริหารได้ดีกว่าการทำเอง อีกทั้งยังสามารถบริหารจัดการต้นทุนได้สะดวกและดีกว่า
3. Core Business Focusการดำเนินธุรกิจอาจมีหลายส่วนที่ไม่ใช่โฟกัสในธุรกิจเราแต่เราต้องทำเช่นงานบริหารบุคคลบัญชีการเงินไอทีฯลฯลองประเมินดูว่างานเหล่านี้มันกินทรัพยากรของคุณไปขนาดไหนทั้งด้านต้นทุนเวลาและจำนวนคนถ้าเป็นไปได้พยายามทำให้ธุรกิจ “Lean” ให้มากที่สุดแปลว่าบางเบาคล่องตัวฉับไวอยู่เสมอและใช้ทรัพยากรที่มีให้โฟกัสในเรื่องการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการหรือสร้าง Core Competency ให้เหนือคู่แข่งและ outsource ส่วนที่ไม่ใช่ core ออกไปให้ผู้เชี่ยวชาญดูแล
4. Cost Allocationการจัดการบุคคลากรต้องมีประสิทธิภาพโดยการแบ่งสรรต้นทุนพนักงานเข้าไปยังแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานนั้นๆต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าทุกรายหัวที่ถูกจัดสรรไปสามารถเพิ่มประสิทธิผลของหน่วยงานนั้นๆโดยออกมาเป็นรูปแบบเนื้องานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นหรือรายได้ที่เพิ่มขึ้นถ้าไม่ทำเช่นนั้นการวัดผลจะไม่ชัดเจนทำให้ไม่รู้ว่าจำนวนคนที่มีอยู่ในบริษัทมีจำนวนมากไปหรือน้อยไปหรือไม่การทำ cost และ resource allocation ต้องมีเรื่องการทำเป้าผลงานและ KPI พ่วงไปด้วยจึงจะเกิดผลสูงสุด
5. Market Expansionการหาตลาดใหม่ซึ่งการขยายฐานลูกค้ามี 3 ทางคือ
(1) ลูกค้าเดิมและมัดใจโดยวิธีการบริการและหาสินค้าไลน์ใหม่ๆมาขายให้ลูกค้า
(2) ลูกค้าของคู่แข่งโดยการเจาะตลาดคู่แข่งทำได้โดยการเข้าหาลูกค้าคู่แข่งแล้วดูว่าเขาพอใจกับเจ้าปัจจุบันหรือไม่ยังมีอะไรที่เราสามารถแทรกเข้าไปได้ค่อยๆเข้าไปแล้วทำให้เขาประทับใจกับจุดแข็งของเรา
(3) ฐานลูกค้าใหม่ๆลองหาโอกาสของ application ใหม่ๆที่สินค้าเราสามารถทดแทนสินค้าประเภทอื่นเช่นวัสดุ PE ทดแทนเหล็กเป็นต้นหรืออาจเป็นการเข้าตลาดใหม่เช่นอาเซียนแต่ก่อนอื่นต้องเข้าใจ value chain ของตลาดนั้นๆแล้วมาวิเคราะห์ว่าเราจะอยู่ตรงไหนและต้องติดต่อกับใครการเข้าใจ value chain ทำให้เราเห็นภาพโดยรวมและสามารถกำหนดแผนงานในอนาคตได้
6. Relocationการย้ายฐานเพื่อเข้าถึงแหล่งแรงงานราคาถูกเป็นคำตอบสุดท้ายหากทั้งหมดที่แนะนำไปไม่สามารถตอบโจทย์ได้ที่ไว้เป็นอันดับท้ายสุดเพราะแนวทางนี้มีความเสี่ยงจริงอยู่ประเทศเพื่อนบ้านค่าแรงอาจจะถูกกว่าไทยแต่ความเสี่ยงเรื่องอื่นเช่นนโยบายและกฏหมายบางตัวอาจเป็นผลเสียต่อธุรกิจได้ยกตัวอย่างธุรกิจไทยรายหนึ่งเข้าไปเปิดโรงงานในเวียดนามแต่กลับถูกฟ้องกว่าหลายร้อยล้านบาทจากทางหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมของที่นั่นหรือการเปิดโรงงานในพม่าซึ่งมีความซับซ้อนเรื่องกฏหมายการครองที่ดินแถมที่ดินยังมีราคาแพงยิ่งร้ายกว่านั้นโรงงานที่ต้องมีการดำเนินเครื่องจักรอยู่ตลอดเวลาอาจประสบปัญหาการผลิตหยุดชะงักเพราะไฟตกฉะนั้นต้องใคร่ครวญโดยการทำ ROI (Return on Investment) และ ERA (Enterprise Risk Assessment) หรือประเมินความเสี่ยงให้ถี่ถ้วนก่อนที่จะย้ายณ.ตอนนี้ธุรกิจไทยบางส่วนได้มีการย้ายที่ตั้งไปเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะธุรกิจสิ่งทอและเซรามิคโดยฐานที่ใหม่ยอดฮิตคือประเทศลาวและกัมพูชารองลงมาคือพม่าและเวียดนาม