กรุงเทพฯ--18 ม.ค.--กระทรวงมหาดไทย
องค์กรภาคีเด็กเคลื่อนย้ายจัดเวทีเสวนาค้านกฏกระกระทรวงมหาดไทย ตีตราเด็กไร้สัญชาติเป็นอาชญากรตั้งแต่เกิด สภาทนายความชี้ มีเด็กร่วมล้านคนจะได้รับผลกระทบ ระบุเป็นกฏหมายที่ขัดต่อหลักปฏิญญาสากล และพรบ.คุ้มครองเด็ก เสนอยกเลิกร่างกม.ดังกล่าวอย่างเร่งด่วนและตั้งคณะทำงานที่หลากหลายเข้าร่วมยกร่างใหม่ ด้าน Save the Children เตือนหากยังดื้อประกาศใช้จะกระทบภาพลักษณ์ไทยที่เป็นประธานคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก
สืบเนื่องจากกรณีที่กระทรวงมหาดไทยกำลังผลักดันร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดฐานะและเงื่อนไขการอยู่ในราชอาณาจักรของผู้ซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรีเพื่อบังคับใช้ โดยร่างกฎกระทรวงดังกล่าวระบุว่าเด็กที่เกิดในประเทศไทยแต่ไม่ได้รับการจดทะเบียนหรือถือสัญชาติไทยจะถือว่าเป็นผู้ที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย และมีผลให้เด็กหลากหลายกลุ่มที่เกิดในประเทศไทยต้องได้รับผลกระทบและถูกผลักดันออกนอกประเทศ ด้วยเหตุนี้ วันที่ 17 ม.ค. 2556 ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย องค์กรภาคีเด็กเคลื่อนย้าย จึงได้ร่วมกันจัดงานเสวนา เรื่อง “ผลกระทบต่อเด็กต่างด้าวและเด็กไร้สัญชาติ ในประเทศไทยกรณีการออกกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดฐานะและเงื่อนไขการอยู่ในราชอาณาจักรของผู้ซึ่งไม่มีสัญชาติไทย” และการออกแถลงการณ์เรียกร้องต่อรัฐบาลเพื่อคุ้มครองเด็กทุกคนที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย
นายสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ และผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ กล่าวว่า กฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดฐานะและเงื่อนไขการอยู่ในราชอาณาจักรของผู้ซึ่งไม่มีสัญชาติไทยฉบับใหม่ที่ยกร่างกันเสน็จแล้วนี้มีเนื้อหาที่มีผลกระทบต่อเด็กนับล้านคนที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งเป็นเด็กกลุ่มใหญ่มาก ที่รัฐไทยไม่ได้ให้สัญชาติไทย สำหรับพระราชบัญญัติสัญชาติฉบับเดิมนั้น ได้ระบุไว้ว่าคนที่เกิดในประเทศไทยทุกคน ถือว่าเป็นคนไทย แต่ต่อมาได้มีการแก้ไขกฏหมายพรบ.สัญชาติขึ้นมาใหม่โดยนำเรื่องของความมั่นคงเข้ามาเป็นประเด็นหลักในการแก้ไขกฏหมาย และได้มีการแก้ไข พรบ.สัญชาติโดยจำกัดบุคคล 3 กลุ่มที่จะไม่มีสิทธิในการได้รับสัญชาติไทยตามหลักดินแดน ได้แก่ 1. กลุ่มที่ถูกผ่อนผันให้อยู่ในประเทศไทยชั่วคราว อาทิกลุ่มชาติพันธ์ที่รัฐได้จัดทำบัตรชนกลุ่มน้อยให้ กลุ่มแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติที่รัฐให้มาขึ้นทะเบียน 2.กลุ่มที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ชั่วคราวในประเทศไทย อาทิ กลุ่มที่ถือวีซ่าพาสปอร์ตเข้ามาให้ประเทศไทย และ 3.กลุ่มคนที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย โดยเด็กที่เกิดจากบิดามารดา 3 กลุ่มดังกล่าวข้างต้นนี้จะกลายเป็นกลุ่มคนที่เข้าเมืองผิดกฎหมายตาม พรบ.สัญชาติของไทย
ประธานคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ และผู้พลัดถิ่น สภาทนายความกล่าวต่อว่า ต่อมาในปี 2551 ได้มีการแก้ไข พรบ.สัญชาติฉบับที่ 4 โดยกำหนดว่าเด็กๆ เหล่านี้จะมีสถานะอย่างไร ให้เป็นไปตามกฎกระทรวง ซึ่งการยกร่างกฎหมายฉบับใหม่มีเจตนารมณ์ในการยกร่างที่จะไม่ให้เด็กเหล่านี้เป็นเด็กผิดกฎหมายอีกต่อไป แต่เมื่อกระทรวงมหาดไทยได้ยกร่างกฎกระทรวงเสร็จแล้วในเดือนนี้ ก็ยังระบุให้เด็กเหล่านี้เป็นคนเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายอยู่ ซึ่งความมุ่งหวังและเจตนารมณ์ของการยกร่างกฎกระทรวงฉบับนี้คือต้องทำให้เด็กทุกคนสามารถอยู่ในประเทศไทยได้ตามหลักของสิทธิมนุษยชนและถูกกฎหมาย แต่เมื่อร่างกฎกระทรวงฉบับนี้เสร็จสิ้นกลับมีการระบุให้เด็กทุกคนกลายเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย โดยระบุในกฏกระทรวงชัดเจนว่า ผู้ที่เกิดในราชอาณาจักรไทยแต่ไม่ได้สัญชาติไทยตามมาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ ให้ถือว่าผู้นั้นเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาติตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง แต่ก็มีข้อยกเว้นในบางกลุ่มซึ่งจะทำให้เด็กทุกคนที่ไม่ได้อยู่ในข้อยกเว้นกลายเป็นอาชญากรทันที
นายสุรพงษ์กล่าวว่า การออกกฎหมายเช่นนี้ ถือเป็นการละเมิดและขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน อนุสัญญาสิทธิเด็ก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พรบ.คุ้มครองเด็ก และขัดต่อเจตนารมณ์ของพรบ.สัญชาติ เอง และการแก้ไขนี้ต้องเป็นไปเพื่อป้องกันให้เด็กไม่ผิดกฎหมาย ตามหลักของกฎกระทรวงด้วย แต่เมื่อกฎหมายออกมาแล้วเด็กก็ยังผิดกฎหมายอยู่ดี ทั้งๆ ที่ไม่เข้าข่ายการกระทำความผิดตามกฎหมาย และตามหลักกฎหมายสากลและหลักกฎหมายทั่วไปถือว่า 1.เด็กเป็นผู้บริสุทธิ์ 2 เด็กไม่ได้กระทำความผิดอาญา 3.เด็กไม่ได้เข้าเมือง เพราะเด็กอยู่ในประเทศไทย ไม่ใช่คนเข้าเมือง เด็กจึงผิดกฎหมายไม่ได้ ผลสุดท้ายก็คือเด็กกลายเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายอาญา และกฎหมายคนเข้าเมืองมีโทษจำคุก ทำให้เด็กเป็นอาชญากรตั้งแต่เกิด ต้องได้รับโทษตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่ต้องจับกุมและผลักดันออกนอกประเทศ ดังนั้นจึงจำเป็นที่เราต้องออกมาพูดถึงผลกระทบเหล่านี้ เพราะท้ายที่สุดเด็กกลุ่มนี้อาจเป็นเด็กที่เป็นลูกหลานคนไทย เด็กเร่ร่อน เด็กในสถานสงเคราะห์ที่ไม่มีเอกสารหลักฐาน
ประธานคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ และผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ กล่าวถึงข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาดังกล่าว 6 ข้อ คือ 1. เด็กที่เกิดในราชอาณาจักรไทยต้องไม่มีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง 2. ต้องช่วยเหลือคุ้มครองเด็กซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์ที่เกิดในประเทศไทยตามกฎหมาย ทั้งกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายภาพในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามพรบ.คุ้มครองเด็ก 3.ต้องดำเนินการตามหลักการ ไม่เลือกปฏิบัติและเพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็ก โดยให้เด็กได้รับการพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และมีศักยภาพสูงสุด4. เด็กทุกคนต้องเป็นบุคคลตามกฎหมาย ได้รับการจดทะเบียนการเกิด และได้รับสัญชาติ ไม่ว่าจะสัญชาติไทยหรือสัญชาติที่อื่นใดตามความเป็นจริง 5. เด็กต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย แม้ว่าจะเกิดในประเทศไทยโดยบิดาหรือมารดาเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และ 6. รัฐบาลต้องทบทวนร่างกฏกระทรวงฉบับนี้ และต้องตั้งคณะทำงานพิจารณายกร่างใหม่ โดยมีนักกฎหมายและผู้ปฏิบัติงานด้านเด็ก นักสิทธิเด็ก นักสิทธิมนุษยชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมเป็นคณะทำงาน เพื่อให้เด็กได้รับการคุ้มครองและอยู่ในประเทศไทยตามกฎหมาย
ด้าน รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตราสายสุนทร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ นอกจากจะขัดต่อหลักกฎหมายสากลระหว่างประเทศหลากหลายฉบับแล้ว ยังขัดตอรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตามมาตรา 3 วรรค 2 ที่ระบุว่า การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม โดยเนื้อหาในกฎกระทรวงฉบับนี้ที่ระบุให้เด็กทุกคนที่อยู่ในประเทศไทยไม่มีสัญชาติไทย กลายเป็นคนผิดกฎหมาย เป็นการจำกัดสิทธิเด็ก ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งเด็กที่ได้รับผลกระทบจะไม่ใช่แค่เด็กที่เป็นลูกหลานแรงงานข้ามชาติเท่านั้น แต่จะหมายถึงลูกหลานของชาวเขา ชนกลุ่มต่างๆ ที่ยังพิสูจน์สถานะบุคคลไม่ได้ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องออกมาร่วมกันยุติกฎกระทรวงดังกล่าวโดยไวที่สุด
ขณะที่ น.ส.วรางคณา มุทุมล เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการเด็กย้ายถิ่น ประจำประเทศไทย (Save the Children) กล่าวว่า ในฐานะที่ประเทศไทยร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก หากมีกฎหมายที่มีความเสี่ยงกับเด็ก เราจะต้องเร่งดำเนินการระงับ และต้องไม่ยอมให้เกิดกฎหมายฉบับนั้นเกิดขึ้นมา ซึ่งตามหลักแนวทางปฏิบัติของคณะกรรมการสิทธิเด็กว่าด้วยสหประชาชาติจะต้องไม่เลือกปฎิบัติต่อเด็กไม่ว่าเด็กจะมีสัญชาติใด ศาสนาไหน จะต้องได้รับการดูแลคุ้มครองให้ปลอดจากความรุนแรงทุกรูปแบบ มีสิทธิที่จะได้รับชีวิตรอดและมีโอกาสได้รับการพัฒนาอย่างเท่าเทียม ดังนั้นข้อกังวลของเราคือหากกฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ จะมีเด็กที่ต้องถูกจับกุมและพลัดพรากจากครอบครัวเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นความเสี่ยงอันตรายต่อเด็กเอง และขัดต่อหลักประโยชน์สูงสุดเกี่ยวกับเด็ก
เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการเด็กย้ายถิ่น ประจำประเทศไทย (Save the Children) กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม พรบ.คุ้มครองเด็กในไทยไม่ได้คุ้มครองเฉพาะเด็กไทย แต่หมายรวมถึงเด็กทุกคนที่เกิดในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไทยได้เข้าร่วมในประชาคมอาเซียน และมีตัวแทนเข้าไปนั่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก โดยภาระหน้าที่ของคณะกรรมการฯ ชุดนี้ คือช่วยส่งเสริมคุ้มครองเด็กทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ส่งเสริมให้มีการพัฒนาเครือข่ายการพัฒนาสังคมให้มีคุณภาพ จึงเป็นภาระหน้าที่ที่เราต้องทำให้เพื่อนสมาชิกเห็นว่าประเทศไทยมีมาตรฐานในการคุ้มครองและดูแลเด็กที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลในรูปแบบไหน อย่างไรบ้าง และถึงแม้ที่ผ่านมาเราก็มีความก้าวหน้าในหลายรูปแบบในการคุ้มครองสิทธิเด็กโดยพยายามแก้ไขจุดบกพร่องและจัดการศึกษา พร้อมทั้งส่งเสริมสิทธิการศึกษาให้เด็กทุกคนในประเทศ และมียุทธศาสตร์เพื่อจัดการสถานะบุคคล โดยการถอนข้อสงวนในคณะอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก มาตรา 7 แต่เมื่อกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดฐานะและเงื่อนไขการอยู่ในราชอาณาจักรของผู้ซึ่งไม่มีสัญชาติไทยฉบับนี้ออกมาจะยิ่งทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศไทยต่อประชาคมอาเซียนตกต่ำลง ดังนั้นหากความมุ่งหวังในอนาคตที่ต้องการเป็นผู้นำอาเซียน เราจะต้องคำนึงถึงประเด็นนี้เป็นหลักด้วย
ทั้งนี้ภายหลังการเสวนาได้มีการขึ้นกล่าวแถลงการณ์โดยตัวแทนเยาวชนจากชายแดนแม่สอด ที่จะได้รับผลกระทบจากกฎกระทรวงฉบับนี้ โดย ด.ญ.พลอย ตัวแทนจากเด็กต่างชาติจากมูลนิธิเพื่อเยาวชนชนบท(Foundation
for Rural Youth) กล่าวว่า หนูเกิดและเติบโตในประเทศไทย เรียนภาษาไทย รู้สึกว่าเป็นคนไทยมาโดยตลอด แม้มีคนบอกว่าเราไม่ใช่คนไทยก็ตาม เราไม่เคยคิดว่าการที่พ่อแม่ของเราเป็นชาวพม่า จะทำให้เราต้องเป็นคนที่ทำผิดกฎหมาย เราเลือกเกิดไม่ได้ แต่พวกหนูรู้ว่าเราสามารถทำสิ่งดีดีให้กับแผ่นดินที่เราอาศัยได้ ดังนั้นเราอยากให้ผู้ใหญ่ให้โอกาส มองเราว่าเป็นเด็กที่ควรได้รับสิทธิ และควรได้รับการคุ้มครองเหมือนเด็กไทยคนอื่นๆ และเด็กต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทย ควรจะได้สูติบัตร มีโอกาสเรียนหนังสือและพัฒนาตามความสามารถที่ตามโอกาสที่ทำได้ วันนี้จึงขอเรียกร้องให้ผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องเห็นคุณค่าของเราว่าจะเติบโตเป็นคนดี และทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศไทย กรุณาระงับการออกกฎหมายที่จะทำให้พวกเราตกอยู่ในความเสี่ยงและอันตราย
องค์กรภาคีเด็กเคลื่อนย้ายจัดเวทีเสวนาค้านกฏกระกระทรวงมหาดไทย ตีตราเด็กไร้สัญชาติเป็นอาชญากรตั้งแต่เกิด สภาทนายความชี้ มีเด็กร่วมล้านคนจะได้รับผลกระทบ ระบุเป็นกฏหมายที่ขัดต่อหลักปฏิญญาสากล และพรบ.คุ้มครองเด็ก เสนอยกเลิกร่างกม.ดังกล่าวอย่างเร่งด่วนและตั้งคณะทำงานที่หลากหลายเข้าร่วมยกร่างใหม่ ด้าน Save the Children เตือนหากยังดื้อประกาศใช้จะกระทบภาพลักษณ์ไทยที่เป็นประธานคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก
สืบเนื่องจากกรณีที่กระทรวงมหาดไทยกำลังผลักดันร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดฐานะและเงื่อนไขการอยู่ในราชอาณาจักรของผู้ซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรีเพื่อบังคับใช้ โดยร่างกฎกระทรวงดังกล่าวระบุว่าเด็กที่เกิดในประเทศไทยแต่ไม่ได้รับการจดทะเบียนหรือถือสัญชาติไทยจะถือว่าเป็นผู้ที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย และมีผลให้เด็กหลากหลายกลุ่มที่เกิดในประเทศไทยต้องได้รับผลกระทบและถูกผลักดันออกนอกประเทศ ด้วยเหตุนี้ วันที่ 17 ม.ค. 2556 ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย องค์กรภาคีเด็กเคลื่อนย้าย จึงได้ร่วมกันจัดงานเสวนา เรื่อง “ผลกระทบต่อเด็กต่างด้าวและเด็กไร้สัญชาติ ในประเทศไทยกรณีการออกกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดฐานะและเงื่อนไขการอยู่ในราชอาณาจักรของผู้ซึ่งไม่มีสัญชาติไทย” และการออกแถลงการณ์เรียกร้องต่อรัฐบาลเพื่อคุ้มครองเด็กทุกคนที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย
นายสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ และผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ กล่าวว่า กฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดฐานะและเงื่อนไขการอยู่ในราชอาณาจักรของผู้ซึ่งไม่มีสัญชาติไทยฉบับใหม่ที่ยกร่างกันเสน็จแล้วนี้มีเนื้อหาที่มีผลกระทบต่อเด็กนับล้านคนที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งเป็นเด็กกลุ่มใหญ่มาก ที่รัฐไทยไม่ได้ให้สัญชาติไทย สำหรับพระราชบัญญัติสัญชาติฉบับเดิมนั้น ได้ระบุไว้ว่าคนที่เกิดในประเทศไทยทุกคน ถือว่าเป็นคนไทย แต่ต่อมาได้มีการแก้ไขกฏหมายพรบ.สัญชาติขึ้นมาใหม่โดยนำเรื่องของความมั่นคงเข้ามาเป็นประเด็นหลักในการแก้ไขกฏหมาย และได้มีการแก้ไข พรบ.สัญชาติโดยจำกัดบุคคล 3 กลุ่มที่จะไม่มีสิทธิในการได้รับสัญชาติไทยตามหลักดินแดน ได้แก่ 1. กลุ่มที่ถูกผ่อนผันให้อยู่ในประเทศไทยชั่วคราว อาทิกลุ่มชาติพันธ์ที่รัฐได้จัดทำบัตรชนกลุ่มน้อยให้ กลุ่มแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติที่รัฐให้มาขึ้นทะเบียน 2.กลุ่มที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ชั่วคราวในประเทศไทย อาทิ กลุ่มที่ถือวีซ่าพาสปอร์ตเข้ามาให้ประเทศไทย และ 3.กลุ่มคนที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย โดยเด็กที่เกิดจากบิดามารดา 3 กลุ่มดังกล่าวข้างต้นนี้จะกลายเป็นกลุ่มคนที่เข้าเมืองผิดกฎหมายตาม พรบ.สัญชาติของไทย
ประธานคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ และผู้พลัดถิ่น สภาทนายความกล่าวต่อว่า ต่อมาในปี 2551 ได้มีการแก้ไข พรบ.สัญชาติฉบับที่ 4 โดยกำหนดว่าเด็กๆ เหล่านี้จะมีสถานะอย่างไร ให้เป็นไปตามกฎกระทรวง ซึ่งการยกร่างกฎหมายฉบับใหม่มีเจตนารมณ์ในการยกร่างที่จะไม่ให้เด็กเหล่านี้เป็นเด็กผิดกฎหมายอีกต่อไป แต่เมื่อกระทรวงมหาดไทยได้ยกร่างกฎกระทรวงเสร็จแล้วในเดือนนี้ ก็ยังระบุให้เด็กเหล่านี้เป็นคนเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายอยู่ ซึ่งความมุ่งหวังและเจตนารมณ์ของการยกร่างกฎกระทรวงฉบับนี้คือต้องทำให้เด็กทุกคนสามารถอยู่ในประเทศไทยได้ตามหลักของสิทธิมนุษยชนและถูกกฎหมาย แต่เมื่อร่างกฎกระทรวงฉบับนี้เสร็จสิ้นกลับมีการระบุให้เด็กทุกคนกลายเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย โดยระบุในกฏกระทรวงชัดเจนว่า ผู้ที่เกิดในราชอาณาจักรไทยแต่ไม่ได้สัญชาติไทยตามมาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ ให้ถือว่าผู้นั้นเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาติตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง แต่ก็มีข้อยกเว้นในบางกลุ่มซึ่งจะทำให้เด็กทุกคนที่ไม่ได้อยู่ในข้อยกเว้นกลายเป็นอาชญากรทันที
นายสุรพงษ์กล่าวว่า การออกกฎหมายเช่นนี้ ถือเป็นการละเมิดและขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน อนุสัญญาสิทธิเด็ก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พรบ.คุ้มครองเด็ก และขัดต่อเจตนารมณ์ของพรบ.สัญชาติ เอง และการแก้ไขนี้ต้องเป็นไปเพื่อป้องกันให้เด็กไม่ผิดกฎหมาย ตามหลักของกฎกระทรวงด้วย แต่เมื่อกฎหมายออกมาแล้วเด็กก็ยังผิดกฎหมายอยู่ดี ทั้งๆ ที่ไม่เข้าข่ายการกระทำความผิดตามกฎหมาย และตามหลักกฎหมายสากลและหลักกฎหมายทั่วไปถือว่า 1.เด็กเป็นผู้บริสุทธิ์ 2 เด็กไม่ได้กระทำความผิดอาญา 3.เด็กไม่ได้เข้าเมือง เพราะเด็กอยู่ในประเทศไทย ไม่ใช่คนเข้าเมือง เด็กจึงผิดกฎหมายไม่ได้ ผลสุดท้ายก็คือเด็กกลายเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายอาญา และกฎหมายคนเข้าเมืองมีโทษจำคุก ทำให้เด็กเป็นอาชญากรตั้งแต่เกิด ต้องได้รับโทษตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่ต้องจับกุมและผลักดันออกนอกประเทศ ดังนั้นจึงจำเป็นที่เราต้องออกมาพูดถึงผลกระทบเหล่านี้ เพราะท้ายที่สุดเด็กกลุ่มนี้อาจเป็นเด็กที่เป็นลูกหลานคนไทย เด็กเร่ร่อน เด็กในสถานสงเคราะห์ที่ไม่มีเอกสารหลักฐาน
ประธานคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ และผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ กล่าวถึงข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาดังกล่าว 6 ข้อ คือ 1. เด็กที่เกิดในราชอาณาจักรไทยต้องไม่มีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง 2. ต้องช่วยเหลือคุ้มครองเด็กซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์ที่เกิดในประเทศไทยตามกฎหมาย ทั้งกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายภาพในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามพรบ.คุ้มครองเด็ก 3.ต้องดำเนินการตามหลักการ ไม่เลือกปฏิบัติและเพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็ก โดยให้เด็กได้รับการพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และมีศักยภาพสูงสุด4. เด็กทุกคนต้องเป็นบุคคลตามกฎหมาย ได้รับการจดทะเบียนการเกิด และได้รับสัญชาติ ไม่ว่าจะสัญชาติไทยหรือสัญชาติที่อื่นใดตามความเป็นจริง 5. เด็กต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย แม้ว่าจะเกิดในประเทศไทยโดยบิดาหรือมารดาเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และ 6. รัฐบาลต้องทบทวนร่างกฏกระทรวงฉบับนี้ และต้องตั้งคณะทำงานพิจารณายกร่างใหม่ โดยมีนักกฎหมายและผู้ปฏิบัติงานด้านเด็ก นักสิทธิเด็ก นักสิทธิมนุษยชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมเป็นคณะทำงาน เพื่อให้เด็กได้รับการคุ้มครองและอยู่ในประเทศไทยตามกฎหมาย
ด้าน รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตราสายสุนทร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ นอกจากจะขัดต่อหลักกฎหมายสากลระหว่างประเทศหลากหลายฉบับแล้ว ยังขัดตอรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตามมาตรา 3 วรรค 2 ที่ระบุว่า การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม โดยเนื้อหาในกฎกระทรวงฉบับนี้ที่ระบุให้เด็กทุกคนที่อยู่ในประเทศไทยไม่มีสัญชาติไทย กลายเป็นคนผิดกฎหมาย เป็นการจำกัดสิทธิเด็ก ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งเด็กที่ได้รับผลกระทบจะไม่ใช่แค่เด็กที่เป็นลูกหลานแรงงานข้ามชาติเท่านั้น แต่จะหมายถึงลูกหลานของชาวเขา ชนกลุ่มต่างๆ ที่ยังพิสูจน์สถานะบุคคลไม่ได้ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องออกมาร่วมกันยุติกฎกระทรวงดังกล่าวโดยไวที่สุด
ขณะที่ น.ส.วรางคณา มุทุมล เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการเด็กย้ายถิ่น ประจำประเทศไทย (Save the Children) กล่าวว่า ในฐานะที่ประเทศไทยร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก หากมีกฎหมายที่มีความเสี่ยงกับเด็ก เราจะต้องเร่งดำเนินการระงับ และต้องไม่ยอมให้เกิดกฎหมายฉบับนั้นเกิดขึ้นมา ซึ่งตามหลักแนวทางปฏิบัติของคณะกรรมการสิทธิเด็กว่าด้วยสหประชาชาติจะต้องไม่เลือกปฎิบัติต่อเด็กไม่ว่าเด็กจะมีสัญชาติใด ศาสนาไหน จะต้องได้รับการดูแลคุ้มครองให้ปลอดจากความรุนแรงทุกรูปแบบ มีสิทธิที่จะได้รับชีวิตรอดและมีโอกาสได้รับการพัฒนาอย่างเท่าเทียม ดังนั้นข้อกังวลของเราคือหากกฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ จะมีเด็กที่ต้องถูกจับกุมและพลัดพรากจากครอบครัวเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นความเสี่ยงอันตรายต่อเด็กเอง และขัดต่อหลักประโยชน์สูงสุดเกี่ยวกับเด็ก
เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการเด็กย้ายถิ่น ประจำประเทศไทย (Save the Children) กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม พรบ.คุ้มครองเด็กในไทยไม่ได้คุ้มครองเฉพาะเด็กไทย แต่หมายรวมถึงเด็กทุกคนที่เกิดในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไทยได้เข้าร่วมในประชาคมอาเซียน และมีตัวแทนเข้าไปนั่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก โดยภาระหน้าที่ของคณะกรรมการฯ ชุดนี้ คือช่วยส่งเสริมคุ้มครองเด็กทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ส่งเสริมให้มีการพัฒนาเครือข่ายการพัฒนาสังคมให้มีคุณภาพ จึงเป็นภาระหน้าที่ที่เราต้องทำให้เพื่อนสมาชิกเห็นว่าประเทศไทยมีมาตรฐานในการคุ้มครองและดูแลเด็กที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลในรูปแบบไหน อย่างไรบ้าง และถึงแม้ที่ผ่านมาเราก็มีความก้าวหน้าในหลายรูปแบบในการคุ้มครองสิทธิเด็กโดยพยายามแก้ไขจุดบกพร่องและจัดการศึกษา พร้อมทั้งส่งเสริมสิทธิการศึกษาให้เด็กทุกคนในประเทศ และมียุทธศาสตร์เพื่อจัดการสถานะบุคคล โดยการถอนข้อสงวนในคณะอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก มาตรา 7 แต่เมื่อกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดฐานะและเงื่อนไขการอยู่ในราชอาณาจักรของผู้ซึ่งไม่มีสัญชาติไทยฉบับนี้ออกมาจะยิ่งทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศไทยต่อประชาคมอาเซียนตกต่ำลง ดังนั้นหากความมุ่งหวังในอนาคตที่ต้องการเป็นผู้นำอาเซียน เราจะต้องคำนึงถึงประเด็นนี้เป็นหลักด้วย
ทั้งนี้ภายหลังการเสวนาได้มีการขึ้นกล่าวแถลงการณ์โดยตัวแทนเยาวชนจากชายแดนแม่สอด ที่จะได้รับผลกระทบจากกฎกระทรวงฉบับนี้ โดย ด.ญ.พลอย ตัวแทนจากเด็กต่างชาติจากมูลนิธิเพื่อเยาวชนชนบท(Foundationfor Rural Youth) กล่าวว่า หนูเกิดและเติบโตในประเทศไทย เรียนภาษาไทย รู้สึกว่าเป็นคนไทยมาโดยตลอด แม้มีคนบอกว่าเราไม่ใช่คนไทยก็ตาม เราไม่เคยคิดว่าการที่พ่อแม่ของเราเป็นชาวพม่า จะทำให้เราต้องเป็นคนที่ทำผิดกฎหมาย เราเลือกเกิดไม่ได้ แต่พวกหนูรู้ว่าเราสามารถทำสิ่งดีดีให้กับแผ่นดินที่เราอาศัยได้ ดังนั้นเราอยากให้ผู้ใหญ่ให้โอกาส มองเราว่าเป็นเด็กที่ควรได้รับสิทธิ และควรได้รับการคุ้มครองเหมือนเด็กไทยคนอื่นๆ และเด็กต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทย ควรจะได้สูติบัตร มีโอกาสเรียนหนังสือและพัฒนาตามความสามารถที่ตามโอกาสที่ทำได้ วันนี้จึงขอเรียกร้องให้ผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องเห็นคุณค่าของเราว่าจะเติบโตเป็นคนดี และทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศไทย กรุณาระงับการออกกฎหมายที่จะทำให้พวกเราตกอยู่ในความเสี่ยงและอันตราย