กรุงเทพฯ--18 ม.ค.--วีม คอมมูนิเคชั่่่่่่่่่น
องค์การตลาด กระทรวงมหาดไทย เป็นรัฐวิสาหกิจประเภทพาณิชย์และบริการ ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 มีพันธกิจในการบริหารตลาดสาขาขององค์การ และเป็นผู้จัดหาสินค้าอุปโภคบริโภค และจัดส่งสินค้าโภคภัณฑ์ ตามมติคณะรัฐมนตรีให้กับหน่วยงานของรัฐ อาทิ เช่น กรมราชทัณฑ์ โรงเรียน และโรงพยาบาล เป็นต้น ซึ่งการดำเนินงานตามพันธกิจดังกล่าวเป็นการดำเนินงานที่สร้างรายได้ให้แก่องค์กรมาอย่างต่อเนื่องยาวนานเป็นระยะเวลากว่า 59 ปี โดยทางองค์การตลาด กระทรวงมหาดไทย ได้ดำ?เนิน?โครง?การตลาดเครือข่าย “ร้านโอทอปชุมชนยิ้ม” เพื่อเป็นช่องทางจำหน่ายสินค้าให้แก่คนในชุมชน และเชื่อมโยงสินค้าระหว่างชุมชน ทั้งสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นและผลิตภัณฑ์โอทอป ตลอดจนเป็นกลไกในการสร้างสมดุลด้านราคาของสินค้าประเภทต่าง ๆ ในท้องตลาด และส่ง?เสริม?การ?ใช้ปัจจัย?การผลิตที่มีคุณภาพ ?
นอกจากนี้การดำเนินโครงการตลาดเครือข่าย “ร้านโอทอปชุมชนยิ้ม” ยังส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มของคนในชุมชนในลักษณะผู้ประกอบการในชุมชน (Community SMEs) เพื่อให้คนในชุมชนได้ร่วมเป็นเจ้าของธุรกิจดังกล่าว อันเป็นการสอดคล้องกับทิศทางและนโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุน ส่งเสริม อาชีพของคนในชุมชนเพื่อสร้างรายได้และความมั่นคงให้แก่คนในชุมชนอีกทางหนึ่งด้วย
เป้าหมาย (Goal)
1. “ร้านโอทอปชุมชนยิ้ม” จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล ที่จะฟื้นฟูและสร้างให้เกิดเศรษฐกิจชุมชนมีความเข้มแข็ง และเป็นการกระจายรายได้สู่คนในขุมชน สร้างรายได้ สร้างแรงงานและสร้างความอยู่ดีกินดีในชุมชน
2. “ร้านโอทอปชุมชนยิ้ม” จะเป็นธุรกิจที่สร้างช่องทางตลาดใหม่ให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการในชุมชน วิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเกษตรกร กลุ่มผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน กลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP ที่จะผลิตสินค้าเพื่อป้อนเข้าสู่ร้านค้า เพื่อจำหน่ายผ่านร้านค้าเครือข่ายที่มีสาขาอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ
3. “ร้านโอทอปชุมชนยิ้ม” จะเริ่มดำเนินการและขยายสาขาได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ คือ ปี 2556 จำนวน 10 สาขา ปี 2557 จำนวน 50 สาขา ปี 2558 จำนวน 80 สาขา ปี 2559 จำนวน 100 สาขา ปี 2560 จำนวน 120 สาขา และในปี 2561 จำนวน 140 สาขา รวมทั้งสิ้น 500 สาขา
รูปแบบการลงทุนของชุมชนที่สนใจลงทุน
องค์การตลาด กำหนดให้ชุมชนที่ลงทุนในธุรกิจโครงการตลาดเครือข่าย “ร้านโอทอปชุมชนยิ้ม” โดยขอรับสิทธิ์จากองค์การตลาด และขอรับการสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) นั้น ต้องดำเนินการตามขั้นตอนและกระบวนการดำเนินงานขององค์การตลาด คือ จะต้องมีการจัดตั้งกลุ่มผู้ประกอบการในชุมชน (Community SMEs) หรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ขึ้นมาเพื่อดำเนินโครงการฯ และมีการจัดทำระเบียบข้อบังคับของกลุ่มฯ มีการเลือกตั้งคณะกรรมการกลุ่มฯ ขึ้นมาทำหน้าที่บริหารงาน ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่องค์การตลาด กำหนดขึ้น
การดำเนินโครงการตลาดเครือข่าย “ร้านโอทอปชุมชนยิ้ม” ยังเป็นการดำเนินงานตามวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์การ ที่สอดคล้องกับนโยบาย ทิศทาง และบทบาทใหม่ขององค์การตลาดในอนาคต ที่มุ่งสู่ “การเป็นองค์กรแห่งปัญญา ด้านการค้าในชุมชน” มีส่วนช่วยเพิ่มช่องทางการกระจายสินค้า เป็นเครือข่ายด้านสินค้าเกษตรกรรม สินค้าท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลิตภัณฑ์โอทอป ตลอดจนมีส่วนในการเป็นกลไลรักษาสมดุลของราคาสินค้าอีกทางหนึ่งด้วย
ปัจจุบันการดำเนินโครงการตลาดเครือข่าย” ร้านโอทอปชุมชนยิ้ม” ได้รับการสนับสนุนจาก สสว. เพื่อดำเนินโครงการร้านโอทอปชุมชนยิ้ม ภายใต้โครงการยกระดับผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แบบบรูณาการ(OTOP PLUS) ซึ่งได้มุ่งเน้น 3 ด้านหลักได้แก่ 1) การพัฒนาผู้ประกอบการและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ 2) การเพิ่มโอกาสทางการตลาด 3) การประสิทธิภาพกลไกและปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงานส่งเสริม OTOP ตาม แผนการส่งเสริมฯ ฉบับที่ 3 การส่งเสริมผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ระยะ 5 ปี (พ.ศ 2555-2559) มีทิศทางส่งเสริมเพื่อให้การพัฒนาที่ยั่งยืนจึงมุ่งเน้นผลักดันใน 5 ด้าน ได้แก่ 1) เพิ่มประสิทธิภาพกลไกและปัจจัยเกื้อหนุนการดำเนินงานส่งเสริม OTOP 2) เพิ่มคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์และการบริหารจัดการ 3) เพิ่มคุณค่าและสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์ 4) เพิ่มโอกาสทางการตลาดและขยายธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ 5) เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
โดยการจัดทำโครงการตลาดเครือข่าย ร้านโอทอปชุมชนยิ้มนั้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เพื่อเพิ่มช่องทางการกระจายและจำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้ประกอบการสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นและชุมชน
2. เพื่อสร้างความเข้มแข็งและสร้างรายได้ให้กับกลุ่มผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการอื่นๆ ในแต่ละชุมชน โดยส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มของคนในชุมชนเพื่อร่วมกันบริหารธุรกิจในชุมชนในลักษณะผู้ประกอบการในชุมชน (Community SMEs) และเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน
3. เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางการแข่งขันของผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการในชุมชน (Community SMEs) ให้มีความพร้อมต่อการเปิดการค้าเสรีเขตเศรษฐกิจประชาคมอาเซียน (AEC) ที่จะมีขึ้นในปี พ.ศ. 2558
ซึ่งองค์การตลาดได้ดำเนินโครงการฯ ซึ่งจะจัดตั้ง ร้านโอทอปชุมชนยิ้ม ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนมีนาคม 2556 จำนวนทั้งสิ้น 10 สาขา ดังนี้
สาขาที่ รายละเอียดสถานที่
1 ตำบลเกาะเกิด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
2 ตำบลโคกกลาง อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา
3 ตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
4 ตำบลบุ่งน้ำเต้า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
5 ตำบลกลางแดด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
6 ตำบลท่าเรือพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
7 ตำบลต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
8 ตำบลป่างิ้ว อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
9 ตำบลวังดิน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
10 ตำบลในคลองปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ
เดือนมกราคม พ.ศ.2556 นี้ (18 มค. 2556) “ร้านโอทอปชุมชนยิ้ม” สาขาเกาะเกิด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะเปิดให้บริการเป็นสาขาแรกและเป็นสาขาต้นแบบ ตลอดจนเป็นที่ศึกษาดูงานและสถานที่ฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานภายในร้านโอทอปชุมชนยิ้ม ของสาขาอื่น ๆ ด้วย
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
โครงการตลาดเครือข่าย “ร้านโอทอปชุมชนยิ้ม” ดำเนินธุรกิจ เพื่อเป็นช่องทางการตลาดและขยายโอกาสทางการจำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้ประกอบการผู้ผลิตสินค้าโอทอป ทางหนึ่งแล้ว “ร้านโอทอปชุมชนยิ้ม” ยังเป็นร้านค้าที่คนในชุมชนร่วมกันเป็นเจ้าของ และได้รับการปันผลกำไรจากการดำเนินงานของร้าน อีกทางหนึ่งด้วย พร้อมทั้งเป็นสถานที่ที่ส่งเสริมให้คนในชุมชนเข้าถึงบริการของหน่วยงานรัฐได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
ซึ่ง องค์การตลาด กระทรวงมหาดไทย ยังได้ทำความตกลงความร่วมมือกับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ที่จะเข้ามาร่วมขับเคลื่อน สร้างสรรค์และพัฒนา “ร้านโอทอปชุมชนยิ้ม” ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน ยกระดับมาตรฐานและคุณภาพของ “ร้านโอทอปชุมชนยิ้ม” ให้มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จัก
ปัจจัยที่ส่งเสริมให้ “ร้านโอทอปชุมชนยิ้ม” ประสบความความสำเร็จ
1. “ร้านโอทอปชุมชนยิ้ม” เป็นร้านค้าที่ได้มาตรฐาน ตกแต่งสวยงาม มีมาตรฐาน มีระบบการจัดการในร้านค้า การให้บริการมีระบบการจัดการมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ
2. เป็นร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์และสินค้าที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน และจำหน่ายในราคายุติธรรม สินค้ามีความหลากหลายและตรงตามความต้องการของคนในชุมชน
3. เป็นร้านที่ให้การสนับสนุนผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลิตภัณฑ์พื้นบ้านหรือของดีประจำจังหวัด ผลิตภัณฑ์โอทอป และสินค้าที่ดึงดูดลูกค้ามาวางจำหน่ายภายใต้การสนับสนุนของสสว. องค์การตลาด และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
4. การดำเนินงานมีการรวมกลุ่มคนในชุมชนเป็นผู้ถือหุ้น และเป็นสมาชิก จึงสามารถสร้างยอดขายได้จากการขายสินค้าให้แก่ผู้ถือหุ้นและสมาชิกโดยตรง
5. “ร้านโอทอปชุมชนยิ้ม” กำหนดให้มีสินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการของคนในชุมชน และมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดยอดขายสินค้า เช่น บริการจัดส่งสินค้าถึงบ้าน บริการจัดสินค้าโอทอปลงในกระเช้า เพื่อเป็นของขวัญและของฝาก เป็นต้น
6. “ร้านโอทอปชุมชนยิ้ม” เป็นร้านค้าที่มีรูปแบบสวยงามและมีความทันสมัย อีกทั้งคนในชุมชนมีส่วนร่วมของความเป็นเจ้าของ จึงเป็นจุดสร้างความสนใจและดึงดูดให้คนในชุมชนเข้ามาทำกิจกรรมหรือใช้บริการได้อย่างดียิ่ง ซึ่งการเป็นจุดศูนย์กลางในการทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของคนในชุมชนนั้น สามารถดึงดูดคนในชุมชนเข้ามาใช้บริการเพื่อสร้างยอดขายให้กับร้านได้เป็นอย่างดี
7. “ร้านโอทอปชุมชนยิ้ม” เป็นร้านที่ได้รับความเชื่อถือ และสามารถดำเนินกิจการเพื่อตอบสนองนโยบายของภาครัฐ ในการสนับสนุนโครงการต่างๆ อาทิเช่น บัตรเครดิตเกษตรกร ที่สามารถเข้ามาใช้บริการซื้อสินค้าอุปโภค บริโภค และปัจจัยการผลิตทางการเกษตรได้ที่ “ร้านโอทอปชุมชนยิ้ม” ซึ่งทำให้เกิดยอดขายที่มั่นคงให้แก่ร้าน
8. การดำเนินงานภายใต้การสนับสนุนขององค์การตลาด และ สสว. มีการกำหนดแผนการประชาสัมพันธ์และจัดกิจกรรมของ “ร้านโอทอปชุมชนยิ้ม” อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการรับรู้ทั้งในและนอกชุมชน เป็นการช่วยเพิ่มลูกค้าที่จะเข้าซื้อสินค้าในร้านให้อีกทางหนึ่ง