กรุงเทพฯ--21 ม.ค.--พีอาร์ วัน เน็ทเวิร์ค
บทบาทที่เปลี่ยนไปของซีไอโอ แนวคิด Software-Defined Datacenter (ดาต้าเซ็นเตอร์ที่กำหนดด้วยซอฟต์แวร์) และโมบายล์คอมพิวติ้ง จะพลิกโฉมหน้าวงการไอทีและธุรกิจ
วีเอ็มแวร์ อิงค์ (NYSE: VMW) ผู้นำระดับโลกในด้านเทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่นและโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ คาดการณ์ว่าปี 2556 จะเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สำหรับองค์กรธุรกิจในประเทศไทย
“บริษัทต่างๆ ตระหนักถึงบทบาทที่สำคัญของระบบประมวลผลคลาวด์คอมพิวติ้งในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน รักษาขีดความสามารถด้านการแข่งขัน และขยายโอกาสในการเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น” ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทยและอินโดจีนของวีเอ็มแวร์ กล่าว “บริษัทคาดว่าการปรับเปลี่ยนบทบาทของผู้บริหารซีไอโอ, การทำเวอร์ช่วลไลซ์สำหรับแอพพลิเคชั่นสำคัญๆ ทางด้านธุรกิจ, การริเริ่มใช้งานดาต้าเซ็นเตอร์ที่กำหนดด้วยซอฟต์แวร์ (Software-Defined Datacenter), โมบิลิตี้ และการปรับใช้เทคโนโลยีในธุรกิจเอสเอ็มอี ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่จะช่วยผลักดันการเติบโตของเทคโนโลยีคลาวด์ และส่งผลให้ปี 2556 เป็นช่วงเวลาแห่งการปฏิรูปไอทีและธุรกิจ”
การใช้เทคโนโลยีคลาวด์ในไทยมีแนวโน้มเติบโตอย่างแข็งแกร่ง
ในประเทศไทย องค์กรต่างๆ มองว่าการลงทุนในคลาวด์คอมพิวติ้งเป็นหนทางที่จะเพิ่มขีดความสามารถและเสริมสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันในสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่มีความท้าทายเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ตอบแบบสอบถามในไทยเห็นพ้องต้องกันว่าคลาวด์คอมพิวติ้งจะช่วยให้องค์กรสามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น (83%) และหากบริษัทของตนไม่ได้ดำเนินโครงการคลาวด์ ก็จะไม่สามารถก้าวตามคู่แข่งได้ทัน (68%)
ดัชนีคลาวด์ของวีเอ็มแวร์ประจำปี 2555 ระบุอย่างชัดเจนถึงความก้าวหน้าและการริเริ่มของการปฏิรูปไอทีในประเทศไทย เพราะคาดว่าเกือบครึ่งหนึ่งของตลาดในเมืองไทยมีแผนที่จะปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์ภายใน 18 เดือนข้างหน้า โดยผู้ตอบแบบสอบถามในเมืองไทยระบุเหตุผลสำคัญสำหรับการปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง ได้แก่ การเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงทรัพยากรไอที (80%), ความสามารถในการปรับปรุงการจัดการไอทีและระบบงานอัตโนมัติ (78%) และความต้องการที่จะเสียค่าใช้จ่ายไอทีตามปริมาณการใช้งานจริงในส่วนงานธุรกิจ (76%) ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดบทสรุปผลการศึกษาได้จาก www.vmware.com/ap/cloudindex
ภารกิจที่เปลี่ยนไปของซีไอโอทำให้ฝ่ายไอทีต้องดำเนินงานในรูปแบบขององค์กรธุรกิจ
บทบาทของผู้บริหารซีไอโอกำลังเปลี่ยนไป ขณะที่บริษัทต่างๆ ต้องการให้ผู้บริหารฝ่ายไอทีผลักดันการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมทั่วทั้งองค์กร หมายความว่าฝ่ายไอทีไม่สามารถดำเนินงานในลักษณะของศูนย์รวมต้นทุนได้อีกต่อไป ปัจจุบันผู้บริหารฝ่ายไอทีจะต้องใช้แนวคิดของระบบไอทีในรูปแบบบริการ เพื่อเพิ่มผลกำไรของบริษัท โดยอาศัยรูปแบบของบริการที่ใช้ร่วมกัน (shared services) การผนวกรวมระบบแบ็คออฟฟิศเข้าด้วยกันโดยใช้โซลูชั่นคลาวด์ช่วยให้องค์กรมีความคล่องตัวมากขึ้นและสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างเหมาะสมอีกทั้งบุคลากรก็ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถใช้ทรัพยากรต่างๆ ได้อย่างเต็มศักยภาพ
“หนึ่งในเป้าหมายหลักของคลาวด์คอมพิวติ้งก็คือ การจัดหาการบริการตนเอง (self-service) สำหรับผู้ใช้ในองค์กร รวมถึงไอทีในรูปแบบของบริการ (IT-as-a-service) นั่นหมายความว่าฝ่ายไอทีไม่ได้เป็นศูนย์รวมต้นทุนสำหรับบริษัทอีกต่อไป แต่จะต้องหารายได้เข้าสู่หน่วยงานด้วยการ ‘ขาย’ บริการให้แก่ผู้ใช้ในองค์กร ด้วยเหตุนี้ ฝ่ายไอทีจึงต้องดำเนินงานในรูปแบบขององค์กรธุรกิจ โดยจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับต้นทุนและการคิดค่าใช้จ่ายกับหน่วยงานอื่นๆ ในสายงานธุรกิจอย่างเหมาะสม ควบคู่ไปกับการให้บริการตามระดับที่กำหนด และรักษาคุณภาพการบริการในด้านอื่นๆ อย่างที่ลูกค้าในสายงานธุรกิจซึ่งเป็นผู้ ‘จ่ายเงิน’ คาดหวังไว้” ดร.ชวพล กล่าว
การทำเวอร์ช่วลไลซ์เพิ่มมากขึ้นสำหรับแอพพลิเคชั่นสำคัญๆ ทางด้านธุรกิจ
เวอร์ช่วลไลเซชั่นช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพทางด้านไอที รวมไปถึงความยืดหยุ่น และความพร้อมใช้งาน โดยจะปฏิรูปการให้บริการ ควบคู่ไปกับการลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย การรวมแอพพลิเคชั่นสำคัญๆ ทางด้านธุรกิจ เช่น Microsoft Exchange, SQL Server, SAP และ Oracle จะช่วยให้องค์กรธุรกิจได้รับประโยชน์สูงสุด อย่างไรก็ตาม หลายๆ บริษัทยังลังเลที่จะรวมแอพพลิเคชั่นเหล่านี้ไว้ในแผนพัฒนาระบบเวอร์ช่วลไลเซชั่น เพราะยังขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญภายในองค์กรที่จะดูแลการทำเวอร์ช่วลไลซ์ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานสำหรับแอพพลิเคชั่นสำคัญๆ หรือการรับรู้ถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการเหล่านี้
“บริษัทฯ คาดการณ์ว่าลูกค้าในเมืองไทยจะหันมาใช้แพลตฟอร์มโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ปลอดภัย และเปี่ยมด้วยเสถียรภาพของวีเอ็มแวร์ เพื่อปรับใช้และควบคุมดูแลแอพพลิเคชั่นสำคัญๆ ทางด้านธุรกิจที่ผ่านการทำเวอร์ช่วลไลซ์ได้อย่างมั่นใจ ที่จริงแล้ว 71% ของผู้ตอบแบบสอบถามดัชนีคลาวด์ประจำปี 2555 ระบุว่าองค์กรของตนจะพิจารณาการทำเวอร์ช่วลไลซ์สำหรับแอพพลิเคชั่นทางด้านธุรกิจที่มีความสำคัญมากที่สุด 10 อันดับภายในองค์กร” ดร. ชวพล กล่าวเพิ่มเติม
บริษัทต่างๆ สามารถพัฒนาอย่างก้าวกระโดดด้วยดาต้าเซ็นเตอร์ที่กำหนดด้วยซอฟต์แวร์ (Software-Defined Datacenter)
ปัจจุบัน องค์กรจำเป็นที่จะต้องปรับใช้แนวทางแบบรอบด้านในการวางแผน สร้าง และบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานไอที โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่กำลังก้าวเข้าสู่ศักราชใหม่ของคลาวด์คอมพิวติ้ง เทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่นช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านไอที ควบคู่ไปกับการปรับปรุงประสิทธิภาพ ปัจจุบัน หน่วยงานธุรกิจจำเป็นที่จะต้องเข้าถึงทรัพยากรไอทีอย่างรวดเร็ว เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการดำเนินโครงการและการนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด ในทางกลับกัน ฝ่ายไอทีก็จำเป็นที่จะต้องรองรับการดำเนินการดังกล่าว ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการดาต้าเซ็นเตอร์อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
วีเอ็มแวร์เชื่อว่า แนวทางการกำหนดด้วยซอฟต์แวร์ (Software-Defined Datacenter) สำหรับระบบประมวลผลดาต้าเซ็นเตอร์จะช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถก้าวข้ามข้อจำกัดเหล่านี้ และเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดหาบริการดาต้าเซ็นเตอร์ทั้งหมด
ดร. ชวพล กล่าวว่า “ในดาต้าเซ็นเตอร์ที่กำหนดด้วยซอฟต์แวร์ (Software-Defined Datacenter) โครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดถูกทำเวอร์ช่วลไลซ์และนำเสนอในรูปแบบบริการ โดยซอฟต์แวร์จะทำหน้าที่ควบคุมดาต้าเซ็นเตอร์ดังกล่าวโดยอัตโนมัติ วิสัยทัศน์ของวีเอ็มแวร์ในเรื่องดาต้าเซ็นเตอร์ที่กำหนดด้วยซอฟต์แวร์ นำเสนอผ่านทาง VMware vCloud Suite ช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการผนวกรวมระบบ การจัดการแบบผสมผสาน และการรักษาความปลอดภัย ทั้งยังช่วยให้ผู้บริหารองค์กรธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวเตอร์เพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจอย่างลงตัว”
เดสก์ท็อปเวอร์ช่วลไลเซชั่นขับเคลื่อนโมบิลิตี้ การขยายสำนักงานสาขา และกลยุทธ์การโยกย้ายระบบ Windows
วีเอ็มแวร์คาดการณ์เพิ่มเติมว่า ในปี 2556 องค์กรส่วนใหญ่จะตระหนักว่าการประมวลผลไม่ได้ถูกดำเนินการโดยระบบไคลเอ็นต์หนึ่งเครื่องเหมือนกับพีซีอีกต่อไป แต่งานประมวลผลสำคัญๆ จะถูกดำเนินการในระบบคลาวด์แทน เนื่องจากการสนับสนุน Windows XP กำลังจะสิ้นสุดลงในปี 2556 ดังนั้นบริษัทต่างๆ จะมองหาหนทางที่ง่ายดายกว่าในการอัพเกรดระบบปฏิบัติการ โดยแทบไม่ก่อให้เกิดการหยุดชะงักต่อธุรกิจ
องค์กรต่างๆ จะสามารถลดความซับซ้อนของระบบไอที ด้วยการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรของผู้ใช้ เช่น ระบบเดสก์ท็อป, แอพพลิเคชั่น และข้อมูล จากระบบประมวลผลที่แยกออกจากกัน ไปสู่บริการไอทีที่ได้รับการจัดการในลักษณะรวมศูนย์ ตัวอย่างเช่น VMware View 5.1 พัฒนาต่อยอดจากการเข้าซื้อกิจการ Wanova และการเปิดตัว VMware Mirage การผสานรวม VMware View และ Mirage นับเป็นการจับคู่เทคโนโลยีครั้งแรกในวงการที่จะปฏิวัติตลาดเดสก์ท็อปเวอร์ช่วลไลเซชั่น (VDI) กล่าวคือ ตลาดไม่ได้จำกัดอยู่ที่เวอร์ช่วลเดสก์ท็อปอีกต่อไป โดยประโยชน์จากการจัดการอิมเมจส่วนกลางจะสามารถขยายไปสู่ระบบไคลเอ็นต์ชนิดอื่นๆ ได้มากขึ้น เช่น เดสก์ท็อปแบบฟิสิคอล, เวอร์ช่วล และแบบเชื่อมโยง รวมถึงแลปท็อปที่เชื่อมต่อข้ามเครือข่าย (Mac และพีซี)
องค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก
องค์กรทุกขนาดมีความต้องการหลักๆ ที่ตรงกันสำหรับระบบไอทีที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการรองรับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง การปรับสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานทางด้านไอที และความสามารถในการตอบสนองความต้องการทางธุรกิจอย่างฉับไว
เวอร์ช่วลไลเซชั่นจะได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้นในองค์กรธุรกิจเอสเอ็มอีของไทย โดยบริษัทต่างๆ มุ่งเน้นการขยายคุณประโยชน์ของเวอร์ช่วลไลเซชั่น เพื่อเพิ่มความพร้อมใช้งานของระบบไอที รวมถึงการแบ็คอัพและกู้คืนข้อมูล แม้ว่าเวอร์ช่วลไลเซชั่นจะเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญอย่างยิ่ง แต่ก็ไม่ได้เป็นจุดหมายสุดท้าย ที่จริงแล้ว เวอร์ช่วลไลเซชั่นเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้นในการวางรากฐานใหม่ เพื่อรองรับแนวคิดและโอกาสใหม่ๆ สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี ด้วยการใช้ประโยชน์จากบริการคลาวด์คอมพิวติ้ง เอสเอ็มอีจะไม่ต้องวุ่นวายกับการติดตั้งและบำรุงรักษาระบบไอที เพื่อให้พนักงานเข้าถึงข้อมูลและแอพพลิเคชั่นของบริษัทได้อย่างปลอดภัย
“โซลูชั่นสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอีของวีเอ็มแวร์ช่วยรองรับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องและการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับองค์กรขนาดใหญ่ โดยช่วยลดความยุ่งยากซับซ้อนในการติดตั้ง ใช้งาน และคุ้มครองระบบ เหมาะสำหรับองค์กรที่มีทีมบุคลากรฝ่ายไอทีเพียงไม่กี่คน” ดร. ชวพล กล่าว
เกี่ยวกับวีเอ็มแวร์
วีเอ็มแวร์คือผู้นำในด้านโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานเวอร์ชวลไลเซชั่นและคลาวด์ ซึ่งช่วยให้องค์กรธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนในยุคสมัยของเทคโนโลยีคลาวด์ ลูกค้าไว้วางใจในเทคโนโลยีของวีเอ็มแวร์สำหรับการปรับปรุงรูปแบบการสร้าง นำเสนอ และใช้งานทรัพยากรเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการที่เฉพาะเจาะจงได้อย่างลงตัว วีเอ็มแวร์มีรายได้ 3.77 พันล้านดอลลาร์ในปี 2554 มีลูกค้ากว่า 400,000 ราย และพันธมิตรทางธุรกิจกว่า 55,000 ราย บริษัทฯ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ซิลิคอนวัลเลย์ และมีสำนักงานสาขาอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.vmware.com
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
รีเบคคา วอง
ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารสัมพันธ์ วีเอ็มแวร์ ภูมิภาคอาเซียน
อีเมล์: wongj@vmware.com
โทรศัพท์ +65 6501 2135
ภัทธิรา บุรี / คุณอุทัยวรรณ ชูชื่น
บริษัท พีอาร์ วัน เน็ทเวิร์ค จำกัด
อีเมล์: patthira@pr-one.com, utaiwan@pr-one.com
โทรศัพท์ 0-2937-4518-9