กรุงเทพฯ--23 ม.ค.--โรงพยาบาลรามคำแหง
สาเหตุการปวดคอที่พบบ่อย
- อิริยาบท หรือ ท่าทางของคอที่ผิดสุขลักษณะ, นอนผิดท่า, ท่าทางการทำงานที่ต้องก้มเงยบ่อยๆหรือใช้ กล้ามเนื้อคอมาก,ขับรถนาน เป็นต้น
- เกิดการบาดเจ็บบริเวณคอ จากอุบัติเหตุ หรือการหันคอผิดจังหวะ
- ภาวะเสื่อมของกระดูกคอ, ข้ออักเสบ, หมอนรองกระดูกคอกดทับเส้นประสาท, กระดูกงอก เป็นต้น
- ภาวะเครียดทางจิตใจ
การักษา
- สำหรับผู้ที่มีอาการปวดคอเฉียบพลัน เกิดจากการบาดเจ็บบริเวณคอ, เอี้ยวคอผิดท่า หรือ ปวดคอหลังตื่นนอน ให้หยุดการใช้กล้ามเนื้อที่บาดเจ็บ อย่าพยายามเคลื่อนไหวคอเพราะอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บซ้ำ ให้ประคบด้วยแผ่นเย็น นานประมาณ 20 นาที, ทานยาแก้ปวด
- สำหรับผู้ที่มีอาการปวดคอเรื้อรัง อาการปวดมักไม่รุนแรง, เคลื่อนไหวคอได้ไม่เต็มที่, ปวดจากการนั่งทำงานทั้งวันเป็นระยะเวลานาน ให้ประคบด้วยน้ำอุ่น หรือกระเป๋าน้ำร้อนห่อด้วยผ้าขนหนู ประคบนานประมาณ 30 นาที(ระวัง!อย่าให้ร้อนจัด), ทานยาแก้ปวด ยืดกล้ามเนื้ออย่างถูกวิธี
- หากอาการปวดทุเลาลง ให้หมั่นยืดคลายกล้ามเนื้อคอบ่อยๆ และออกกำลังบริหารกล้ามเนื้อคอ
- หากอาการปวดไม่ทุเลาลง หรือมีอาการปวดเป็นๆ หายๆ ต่อเนื่อง ให้ไปพบแพทย์ แพทย์อาจส่งตัวคุณมาทำกายภาพบำบัด เพื่อลดอาการปวด,อักเสบ , เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวคอ และรับคำแนะนำในการปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง
การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการปวดคอ
- ระวังอิริยาบทขณะทำงานอย่าก้มหรือเงยมากเกินไป หรือหมุนคออย่างรวดเร็ว
- ไม่อยู่ในอิริยาบทเดียวกันนานๆ หากต้องนั่งทำงานนานๆ อาจลุกขึ้นเดินเพื่อเปลี่ยนอิริยาบทบ้าง หรือยืดกล้ามเนื้อคอเพื่อผ่อนคลายความเมื่อยล้า
- เลือกเก้าอี้ที่มีพนักพิงแข็งแรง หากมีที่หนุนคอควรอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่ดันคอจนก้มหรือหนุนแล้วเงยจนเกินไป,ตำแหน่งโต๊ะทำงานหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ควรอยู่ในระดับที่เหมาะสม
- ไม่หนุนหมอนสูงหรือต่ำจนเกินไป หมอนที่ดีควรกว้างและรองรับส่วนโค้งของคอได้พอดี ไม่แข็งหรือนิ่มจนเกินไป
- พักผ่อนให้เพียงพอเพื่อไม่ให้เกิดความเครียด
www.ram-hosp.cp.th