ฮอนด้ามอบทุนหนุนเด็กไทยสร้างสิ่งประดิษฐ์แห่งอนาคต ในโครงการฮอนด้า ซูเปอร์ ไอเดีย คอนเทสต์ ปีที่ 8

ข่าวยานยนต์ Tuesday January 29, 2013 11:52 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--29 ม.ค.--อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์ บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด เดินหน้าเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความฝันในโครงการ "ฮอนด้า ซูเปอร์ ไอเดีย คอนเทสต์" ภายใต้แนวคิด “ทะยานสู่ฝัน ขับเคลื่อนพลังคิด(ส์)” เวทีประชันจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์สำหรับเยาวชนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 — 6 ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 8 โดยในวันนี้ได้ประกาศรายชื่อ 40 ผลงานความคิดสร้างสรรค์ที่ผ่านเข้าสู่รอบ “My Dreams Come True” หรือ “ฝันที่เป็นจริงของฉัน” พร้อมมอบทุนพัฒนาแบบจำลอง เพื่อสร้างสรรค์ชิ้นงานสำหรับนำเสนอในรอบตัดสิน โดยผู้ชนะเลิศจะได้รับโล่พระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีและรางวัลเข้าร่วมแคมป์เยาวชน “ฮอนด้า ซูเปอร์ ไอเดีย คิดส์" เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์ระหว่างเยาวชนไทยและญี่ปุ่น ที่บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น ฮอนด้าเชื่อว่าเด็กทุกคนต่างมีความฝันและจินตนาการ ขอเพียงแค่มีโอกาส และความรู้ในการพัฒนาความฝัน และจินตนาการให้เติบโตขึ้นเป็นความคิดสร้างสรรค์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคต ฮอนด้าจึงได้ริเริ่มโครงการ “ฮอนด้า ซูเปอร์ ไอเดีย คอนเทสต์” และสานต่อภารกิจสร้างฝันมาอย่างต่อเนื่อง ตลอด 8 ปีที่ผ่านมามีเด็กๆ จากทั่วประเทศส่งผลงานเข้าร่วมประกวดรวมทั้งสิ้นกว่า 265,000 ผลงาน เราได้เห็นถึงพัฒนาการทางความคิดของเด็กๆ ในแง่ของกระบวนการคิดที่เป็นระบบมากยิ่งขึ้น ไอเดียที่มีความแปลกใหม่ และหลายแนวคิดยังสะท้อนถึงการเชื่อมโยงปัญหาและสิ่งแวดล้อมที่เด็กๆ พบในแต่ละวัน เพื่อค้นหาวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างน่าสนใจ ฮอนด้าขอชื่นชมในทุกๆ ผลงานที่ส่งเข้ามาประกวด และขอให้เด็กๆ ทุกคนเชื่อในพลังแห่งความฝัน และไล่ตามความฝันของตัวเองอย่างไม่ย่อท้อ จากภาพ (ซ้ายไปขวา): คุณภัทรีดา ประสานทอง รศ. ดร. ชิต เหล่าวัฒนา คุณอรนุช พฤกษ์วัฒนานนท์ คุณเรวดี รักปทุม และคุณศุ บุญเลี้ยง ร่วมมอบทุนพัฒนาแบบจำลองให้กับน้องๆ ทั้ง 40 คนที่ผ่านเข้าสู่รอบ My Dreams Come True สำหรับการคัดสรรไอเดียสิ่งประดิษฐ์ในปีนี้ ฮอนด้าได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ ร่วมเป็นคณะกรรมการ อาทิ รศ. ดร. ชิต เหล่าวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (FIBO) คุณศุ-บุญเลี้ยง ศิลปิน นักคิด นักเขียนอิสระ คุณวรพล พุฒจ้อย ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตรายการ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และคุณภัทรีดา ประสานทอง นักวาดภาพประกอบชื่อดัง ร่วมคัดเลือกผลงานของน้องๆ กว่า 35,000 ผลงานให้เหลือเพียง 40 ผลงาน เข้าสู่รอบ “My Dreams Come True” หรือ “ฝันที่เป็นจริงของฉัน” โดยแบ่งเป็นระดับประถมศึกษาตอนต้น คือ ป.1 — ป.3 และระดับประถมศึกษาตอนปลาย คือ ป.4 — ป.6 ระดับชั้นละ 20 ผลงาน เพื่อรับทุนในการประดิษฐ์ผลงานแบบจำลอง ผลงานละ 1,000 บาท เพื่อนำเสนอแก่คณะกรรมการในรอบชิงชนะเลิศต่อไป ตัวอย่างไอเดียของน้องๆ ที่ผ่านเข้ารอบ น้องอั่งเปา ด.ช.สิทธิเดช เดชคำรุณ ชั้นป. 6/2 โรงเรียนรุ่งอรุณ กับผลงาน "Zeus Engry" เล่าถึงผลงานของตัวเองให้ฟังว่า "เป็นเครื่องเก็บพลังงานไฟฟ้าจากฟ้าผ่าครับ เนื่องจากเห็นว่าพลังงานไฟฟ้าจากฟ้าผ่ามีปริมาณมหาศาลและไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร ผมจึงคิดค้นผลงานชิ้นนี้ขึ้นชื่อว่า Zeus Engry จะประกอบด้วยสายล่อฟ้าที่ทำจากทองแดง เมื่อฟ้าผ่ามาที่เครื่องนี้พลังงานไฟฟ้าก็จะถูกเก็บอยู่ในแบตเตอรี่ขนาดยักษ์ซึ่งจะนำไปใช้ประโยชน์แจกจ่ายตามอาคารบ้านเรือนต่อไปครับ" น้องพุดดิ้ง ด.ญ.กลนิษฐ์ ริวดิลก ชั้น ป.3/2 โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ นำเสนอผลงาน "พัดลมเดินได้" ของตัวเองให้ฟังว่า "เมืองไทยเป็นเมืองที่มีอากาศร้อน จนวันนึงอากาศร้อนมาก หนูเลยคิดอยากจะให้มีพัดลมที่รู้ว่าคนไหนร้อนก็เดินมาเป่าให้ทันที จึงคิดเป็น "พัดลมเดินได้" ขึ้นมาค่ะ โดยจะมีกลไกที่มีเซ็นเซอร์จับสัญญาณความร้อน คนไหนที่เริ่มมีเหงื่อซึม พัดลมก็จะเดินไปเป่าให้คลายร้อนค่ะ" น้องลูกแก้ว ด.ญ.ทัตชา วัชโรบล ชั้น ป.3/3 โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ เล่าผลงาน "ที่จับคนทำผิดกฎหมาย" ของตัวเองให้ฟังว่า "เป็นสัญญาณไฟจราจรที่มีเซ็นเซอร์จับสัญญาณเวลาคนทำผิดกฎหมายก็จะมีตะขอเกี่ยวคนที่ทำผิดกฎหมายมาลงโทษ เช่น ฝ่าไฟแดง ขับรถเร็ว คุยโทรศัพท์ระหว่างขับรถเป็นต้นค่ะ" รายชื่อ 40 ผลงานที่ผ่านการคัดเลือก ระดับประถมศึกษาตอนต้น (ป.1- ป.3) 1. ด.ช.ณภัทร ณ สงขลา เทคโน - แฮมเม็ท 2. ด.ช.วีริศ อมรจรัส เครื่องดูดใบไม้ 3. ด.ญ.ภิญญาพัชญ์ โพธิ์พลเงิน กระเป๋ากันลืมอัจฉริยะ 4. ด.ญ.ณิชนันทน์ สังข์ทอง เต่าดับเพลิง 5. ด.ญ.พัชรดา นิลทองสกุล ดอกไม้อัจฉริยะ 6. ด.ญ.กลนิษฐ์ ริวดิลก พัดลมเดินได้ 7. ด.ญ.เปมิกา คล้ายจันทอง กระต่ายน้อยตรวจจับยาเสพติด 8. ด.ญ.ธีรนาฎ เรย์ ขวดน้ำแว่นตาแปรงฟันให้ 9. ด.ช.อัฐพล เหร่าประชา เครื่องปลูกต้นไม้ 10.ด.ญ.สิริรัตน์ กิตติพงศ์ยิ่งยง ชั้นเก็บหนังสืออัจฉริยะ 11. ด.ญ.ศิโรรัชช์ ด้านชอบ เครื่องกำจัดมด 12.ด.ญ.ฟาติมะ คำโสภา กรอบรูปวิเศษ 13 ด.ญ.สุชาดา วิริยะพรศรี ที่ส่งจดหมายก้อน 14. ด.ญ.กัลยาณี รัศมี ปลาช่วยเก็บขยะใต้ทะเล 15. ด.ญ.ศศิกัญชณา คงรักษา ตะเกียงกู้ภัย 16. ด.ญ.พรรณพฤกษา เพชรพุ่ม นกบังคับกฎจราจร 17. ด.ญ.ทัตชา วัชโรบล ที่จับคนทำผิดกฎหมาย 18. ด.ญ.กันตา กิตติทวีสิน กระโปรงมหัศจรรย์ 19. ด.ญ.กันต์กนิษฐ์ หุ่นยนต์กู้ภัยตึกถล่ม 20. ด.ญ.เพชรดา โลกนิยม เครื่องทำอาหารมหัศจรรย์ ระดับประถมศึกษาตอนปลาย (ป.4- ป.6) 1. ด.ญ.วราลี แสงอุทัย เครื่องปลูกพืชโดยไม่ง้อดิน 2. ด.ช.ธีรภัทร์ ศึกไศล ชุดกู้ระเบิดHonda ปี 8 3. ด.ญ.พรรณพัชร คีรีเดช บ้านล้มลุก 4. ด.ญ.กุลวดี ชื่นใจ ต้นไม้เตือนภัย 5. ด.ญ.อังศุรางค์ มะโนจิตต์ นาฬิกาฟื้นฟูความจำ 6. ด.ญ.ปิยวดี โพธิ์จิตต์ LadyBird of Thailand 7. ด.ญ.ลักษิกา โคตรฮุย หมวกกันน็อคHitect Safety 8. ด.ญ.พิชชากร เก่งระดมกิจ ถุงมือโทรศัพท์แห่งอนาคต 9. ด.ญ.ภาษิตา พงษ์อมรพรหม ฮูกน้อยจับคนตัดไม้ 10. ด.ญ.ปิยวรรณ ราชเสนา ดินสอแปลภาษา 11. ด.ช.อธิป คำคง เครื่องผลิตออกซิเจน3 แบบ 12. ด.ญ.บงกช เหลือล้น รถเมล์มหัศจรรย์ 13. ด.ญ.ณภัทรชญา อมรมานัส แว่นตื่นตัว 14. ด.ญ.นันธกานต์ วาระประเสริฐ กล้องถ่ายรูปช่วยคุณตาคุณยาย 15. ด.ญ.ณัฐธิดา โปร่งปรีชา กล่องข้าวเตือนความจำ 16. ด.ญ.นิศารัตน์ อินตาวิน ไม้ถูพื้นอัดน้ำแสนวิเศษ 17. ด.ช.ภูมินทร์ วิเศษพานิชกิจ บ้านลูกบอลจุดศูนย์ถ่วง 18. ด.ญ.ภัคนันท์ อำชัยภูมิ กำแพงป้องกันการแหกคุก 19. ด.ช.สิทธิเดช เดชคำรุณ Zeus Engry 20. ด.ช.วริท วิจิตรวรศาสตร์ ตู้รีดผ้าอัตโนมัติ เกี่ยวกับโครงการ ฮอนด้า ซูเปอร์ไอเดีย คอนเทสต์ โครงการ “ฮอนด้า ซูเปอร์ไอเดีย คอนเทสต์” จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี 2548 มีต้นกำเนิดจากโครงการ ฮอนด้า คิดส์ ไอเดีย คอนเทสต์ ของบริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนรู้จักใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ รักความท้าทาย กล้าที่จะทำความฝันให้เป็นจริง โดยเปิดรับไอเดียสิ่งประดิษฐ์แห่งอนาคตที่สนุก สร้างสรรค์ และมีประโยชน์ต่อสังคมของเยาวชนระดับประถมศึกษาจากทั่วประเทศ ชิงโล่พระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี และรางวัลทัศนศึกษาประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันได้จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 8

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ