กรุงเทพฯ--31 ม.ค.--อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์
เอชพีเผยผลการวิจัยซึ่งระบุว่า ผู้บริหารองค์กรมีความต้องการเปลี่ยนแปลงวิธีการวัดประสิทธิผลของระบบสารสนเทศหรือไอทีเพิ่มมากขึ้น โดยกลุ่มตัวอย่างจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นที่เข้าร่วม การสำรวจครั้งนี้ ต้องการให้ระบบวัดประสิทธิผลของไอทีมีการทำงานแบบอัตโนมัติ และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์กรของตนมากยิ่งขึ้น
จากผลการวิจัยของโคล์แมน ปาร์คส์ รีเสิร์ช ที่จัดทำขึ้นในนามของเอชพี (1) เผยว่า9 ใน 10 ของผู้บริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศยอมรับว่า การวัดประสิทธิผลของระบบไอทีเป็นเครื่องมือที่สำคัญชนิดหนึ่ง ขณะที่มีกลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 50 เท่านั้นที่กล่าวว่า ได้นำข้อมูลการวัดประสิทธิผลของระบบไอทีมาใช้ประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ
สิ่งสำคัญสำหรับหน่วยงานภาครัฐและองค์กรธุรกิจ คือ การเข้าดูและควบคุมการทำงานของระบบไอทีได้แบบเรียลไทม์ เพื่อสนับสนุนนวัตกรรมต่างๆ ให้แก่ลูกค้าและบุคคลทั่วไป อาทิ ระบบการชำระเงินแบบออนไลน์ โซลูชั่นแบบโมบายล์และบริการผ่านสื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างเปี่ยมประสิทธิภาพ องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องบริหารจัดการการให้บริการต่างๆ และมีความเข้าใจภาพรวมของระบบทั้งหมดอย่างถูกต้อง เพื่อจัดสรรทรัพยากรสำหรับนำไปใช้ในการลงทุนพัฒนาไอทีได้อย่างเหมาะสมและสมดุล
ผู้บริหารมากกว่าร้อยละ 70 เชื่อว่า การวัดประสิทธิผลของระบบไอทีควรเป็นการศึกษาเชิงเปรียบเทียบกับการวัดผลการดำเนินงานขององค์กร ทั้งนี้ผลการสำรวจดังกล่าวระบุว่า ระบบการวัดประสิทธิผลของไอทีที่ใช้กันมากที่สุด คือ ระบบการประเมินผลระบบไอทีแบบเก่า เช่น “การวัดคุณภาพการให้บริการ”(ร้อยละ 71) และ “ความเร็วในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของลูกค้า” (ร้อยละ 66) ขณะเดียวกัน มาตรการวัดผลสัมฤทธิ์เชิงธุรกิจ เช่น “ต้นทุน” และ “ความพึงพอใจของลูกค้า” ถูกนำไปใช้ในการวัดผลเพียงร้อยละ 56 และร้อยละ 41 ตามลำดับเท่านั้นองค์กรต่างๆ ต้องการใช้ระบบไอทีเพื่อการสื่อสารและให้บริการแก่ลูกค้าและบุคคลทั่วไป ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่การวัดประสิทธิผลของไอทีควรเป็นการศึกษา ในเชิงเปรียบเทียบกับการวัดประสิทธิผลทางธุรกิจเพื่อให้เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์กรนั้นๆ
นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังเสนอแนะว่า ปัญหาไซโลข้อมูล (information silos) กำลังเป็นอุปสรรคต่อการทำงานขององค์กรและไอทีให้สอดประสานและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ขณะที่ผู้บริหารร้อยละ 44 กล่าวว่า ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิผลของระบบไอทีอย่างกว้างขวางทั่งทั้งองค์กร ซึ่งตอกย้ำว่า การสื่อสารเชื่อมโยงระหว่างระบบไอทีและระบบธุรกิจมีอยู่น้อยมาก
นอกจากนี้ ผลการศึกษาดังกล่าวยังบ่งชี้ถึงความต้องการให้ระบบไอทีมีการทำงานแบบอัตโนมัติมากขึ้น โดยผู้บริหารมากกว่าร้อยละ 70 กล่าวว่า กระบวนการทำงานแบบแมนวลเป็นส่วนหนึ่งของวิธีการประเมินประสิทธิผลของระบบไอที
โดยร้อยละ 71 ของผู้บริหารกลุ่มนี้ กล่าวว่า กระบวนการทำงานแบบแมนวลทำให้ต้องใช้เวลาเพิ่มมากขึ้นและเกิดความล่าช้าในการส่งข้อมูลสำคัญและผลตอบรับให้แก่องค์กร ความล่าช้าดังกล่าวผนวกกับการวัดประสิทธิผลของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ไร้ประสิทธิภาพ ยิ่งส่งผลทำให้ความคล่องตัวขององค์กรลดลงมากยิ่งขึ้น
มร. ลี บุนลี รองประธาน หน่วยธุรกิจซอฟต์แวร์ เอชพี เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น กล่าวว่า “ไอทีเป็นสิ่งที่ได้รับการคาดหวังว่าจะทำงานในทิศทางที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทางธุรกิจขององค์กรต่างๆ และตอบสนองการเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ ได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น ผู้บริหารไอทีจึงต้องการระบบการติดตามผลและรายงานที่มีรายละเอียดชัดเจน มีความเกี่ยวพันกับธุรกิจนั้นๆ และทันกาล ซึ่งระบบไอทีจะทำให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว โดยทำให้กระบวนการทำงานแบบแมนวลปรับเปลี่ยนเป็นระบบการทำงานแบบอัตโนมัติ และสนับสนุนการนำระบบสารสนเทศหรือไอทีไปใช้ในการวัดผลเชิงยุทธศาสตร์มากขึ้น เช่น การวัดความพึงพอใจของลูกค้า การวิเคราะห์ต้นทุน และการศึกษาการเติบโตของรายได้ เป็นต้น”
ระเบียบวิธีวิจัย
การวิจัยดังกล่าวจัดทำโดยโคล์แมน ปาร์คส์ รีเสิร์ช ในนามของเอชพี โดยทำการสัมภาษณ์ผู้บริหารธุรกิจและผู้บริหารไอทีระดับอาวุโสจำนวน 600 คนในประเทศออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี และสิงคโปร์ ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างดังกล่าว เป็นพนักงานขององค์กรขนาดใหญ่ (มีจำนวนพนักงานมากกว่า 2,000 คน) และองค์กรขนาดกลาง (มีจำนวนพนักงาน 500 — 2,000 คน) ในกลุ่มธุรกิจบริการ ทางการเงิน การผลิตและจัดจำหน่าย ภาครัฐ และการสื่อสารโทรคมนาคม สำหรับการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างดังกล่าวเป็นการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยใช้ภาษาท้องถิ่น โดยมีขึ้นเมื่อเดือนกันยายน — ตุลาคม 2555
ข้อมูลเกี่ยวกับเอชพี
เอชพีสร้างสรรค์เทคโนโลยีใหม่ๆ ให้เป็นจริง ซึ่งเกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภค ธุรกิจ ภาครัฐ และสังคมได้เป็นอย่างมาก เอชพีเป็นบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ที่สุดของโลกที่นำเสนอพอร์ทโฟลิโอผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้แก่ เครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ บริการต่างๆ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอที เพื่อขจัดปัญหาของลูกค้าได้อย่างตรงจุด สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เอชพี (NYSE: HPQ) สามารถเข้าชมได้ที่ http://www.hp.com
(1) ”HP Research: IT Performance Study,” Coleman Parkes Research, Ltd., November 2012.