กรุงเทพฯ--5 ก.พ.--
ด้วยกองส่งเสริมการระงับข้อพิพาท กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ จะจัดการรับฟังความคิดเห็นร่างพ.ร.บใ จดทะเบียนคู่ชีวิตของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งถือว่า เป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่ภาครัฐได้หันมาสนใจเรื่องนี้ โดยจะมีเวทีเปิดรับฟังความคิดเห็น สี่ครั้ง ครั้งแรก เริ่ม ศุกร์ที่ 8 นี้
งาน “รับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อร่างพ.ร.บ. จดทะเบียนคู่ชีวิตของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
รับฟังความคิดเห็นของประชาชน 4 ภูมิภาค 4 ครั้ง
8 กพ, ราชภัฎจันทรเกษม (คณะมนุษย์ศาสตร์),
15 กพ, ม. เชียงใหม่ (คณะนิติศาสตร์),
22 กพ, ม. ขอนแก่น (คณะนิติศาสตร์),
1 มีค, ม สงขลา (หาดใหญ่) (คณะนิติศาสตร์)
ทุกแห่งเริ่ม 1300-1600
ไม่เสียค่าใข้จ่าย รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ
082-8997896 (สื่อมวลชน), 083-0952499 (บุคคลทั่วไป)
หลักการและเหตุผล
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หมวด 3 ส่วนที่ 2 มาตรา 30 ระบุว่าบุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจะกระทำมิได้
ประกอบกับหลักการของยอร์กยาการตาร์ว่าด้วยกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ต้องการให้มีกฎหมายรองรับสถานภาพชีวิตคู่ของกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ มีลักษณะคล้ายกับกฎหมายการสมรส หรือการแต่งงานที่รองรับสภาพทางสังคมและความมั่นคงของชีวิต
โดยผลของกฎหมายดังกล่าว "ไม่ได้" มีสิทธิเหนือกว่ากฎหมายครอบครัวที่มีอยู่ เพียงแต่ชายรักชาย หรือหญิงรักหญิงจะได้รับคือ การรับรองการจดทะเบียนที่ถูกกฎหมาย มีสถานะทางสังคม สิทธิด้านความมั่นคง เช่น รับมรดก เลี้ยงดูบุตร ประกันชีวิต รักษาพยาบาล เป็นต้น ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคนที่รัฐต้องให้ความคุ้มครองคนเหล่านี้ โดยไม่เลือกปฏิบัติเช่นเดียวกับหลายประเทศที่มีกฎหมายดังกล่าวที่บังคับใช้แล้ว
วัตถุประสงค์:
1. เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนที่มีต่อร่างพ.ร.บ.จดทะเบียนคู่ชีวิตของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
2. เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 และขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างทางเพศ
กลุ่มเป้าหมาย:
1. ประชาชนทั่วไปที่เข้าใช้บริการในสังคมออนไลน์ไม่น้อยกว่า 100,000 คน
2. ประชาชนทั่วไป กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ นิสิต นักศึกษา จาก 4 ภูมิภาคๆ ละ 1 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น และจังหวัดสงขลา เจ้าหน้าที่จากส่วนกลาง และคณะทำงานพิจารณาศึกษาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ จำนวน 800 คน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้พระราชบัญญัติคู่ชีวิต 1 ฉบับ
2. บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศสามารถเข้าถึงสิทธิได้ตามกฎหมายและสามารถกระทำนิติกรรมได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายที่รับรองไว้ เหมือนบุคคลทั่วไป
ผู้รับผิดชอบโครงการ
กองส่งเสริมการระงับข้อพิพาท
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
กระทรวงยุติธรรม
(สำหรับสือมวลชนสามารถติดตาม และขอสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ ดังมีรายชื่อ ดังต่อไปนี้
1. นายวิรุฬห์ พื้นแสน ประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมายการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน (083-0952499)
2. นายวิรัตน์ วิริยะพงษ์ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สอง (083-0952499)
3. พันตำรวจเอก ณรัชต์ เศวตนันท์, อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ, กระทรวงยุติธรรม (02-141-2731)
4. นายแพทย์แท้จริง ศิริพาณิชย์ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (0818054803)
5. กลุ่มอัญจารี (คุณอัญชนา สุวรรณานนท์) 082-3395252
6. Pink Mango (คุณวิทยา แสงอรุณ) 082-8997896)