กสอ. โชว์ผลงานโครงการห่วงโซ่สีเขียวอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป ลดต้นทุนผู้ประกอบการรวมกว่า 20 ล้านบาทต่อปี

ข่าวทั่วไป Thursday February 7, 2013 11:18 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--7 ก.พ.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดตัวความสำเร็จโครงการห่วงโซ่สีเขียวอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป (Green Agro Processing Industry Project: GAPI) การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อก่อให้เกิดกำไรช่วยผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 พร้อมโชว์ผลงานโครงการฯ ที่สามารถลดต้นทุนผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการในปี 2555 กว่า 20 ล้านบาท โดยใช้กลยุทธ์กลยุทธ์ การจัดการการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อก่อให้เกิดกำไร( Profitability Resource and Environment Management — PREMA ) ซึ่งเป็นการจัดการทั้งกระบวนการผลิตตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำให้สอดคล้องและส่งต่อกันเป็นโซ่อุปทานสีเขียว (Green Supply Chain Management : GSCM) ที่ให้ภาคอุตสาหกรรมหันมาใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตลอดจนการนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งจะเน้นให้เกิดประสิทธิผล และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทุกขั้นตอนของกระบวนการ โดยปีนี้ตั้งเป้าผู้ประการเข้าร่วมโครงการกว่า 20 ราย และสามารถลดต้นทุนรวมกว่า 20 ล้านบาทอีกทั้ง กสอ. ตั้งเป้าดันให้อุตสาหกรรมไทยภายในประเทศเป็นอุตสาหกรรมห่วงโซ่สีเขียวเพื่อนำไปสู่การเป็นผู้นำการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวของอาเซียนได้ภายใน 5 ปี สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการห่วงโซ่สีเขียวอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป (GAPI) สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หมายเลขโทรศัพท์ 02-202-4537หรือเข้าไปที่ www.dip.go.th นางศิริรัตน์ จิตต์เสรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า สินค้าและบริการที่มีกระบวนการผลิต บนแนวคิดที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและสังคม กำลังอยู่ในกระแสของตลาดโลก ซึ่งเป็นที่น่าจับตามองต่อภาคอุตสาหกรรม ที่มีกระบวนการผลิตบนพื้นฐานของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ทำให้ภาคการผลิตของหลายอุตสาหกรรมต้องมีการตื่นตัว และปรับเปลี่ยนกลไกการผลิตให้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทางกระทรวงอุตสาหกรรม(อก.) จึงมีนโยบายผลักดันให้อุตสาหกรรมภายในประเทศเป็นอุตสาหกรรมห่วงโซ่สีเขียวเพื่อนำไปสู่การเป็นผู้นำการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวของอาเซียนได้ภายใน 5 ปี โดยได้มอบหมายให้กรมส่งสริมอุตสาหกรรรม(กสอ.) ดำเนินโครงการตามนโยบายดังกล่าว ทาง กสอ. จึงได้ริเริ่มโครงการห่วงโซ่สีเขียวอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป (Green Agro Processing Industry Project: GAPI) ที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2โดยใช้แนวคิด การจัดการโซ่อุปทานสีเขียว (Green Supply Chain Management : GSCM) นางศิริรัตน์ฯ กล่าวต่อว่า โครงการห่วงโซ่สีเขียวอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป (GAPI) เป็นโครงการที่จะช่วยผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป ประหยัดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ลดของเสีย รวมถึงช่วยยกระดับการค้าเป็นธุรกิจให้เข้าสู่มาตรฐานสากล สามารถเชื่อมโยงการยกระดับนี้กับธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวเนื่องในอุตสาหกรรมได้ พร้อมกันนี้ก็จะเกิดความเข้าใจในเรื่องของการร่วมกันค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดต้นทุนการจัดการสิ่งที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ หรือNon Product Output—NPO ซึ่งถือเป็นต้นทุนที่แฝงอยู่ในทุกๆขั้นตอนการผลิตและมักจะถูกส่งต่อๆกันไปตลอดห่วงโซ่ธุรกิจนอกจากนี้ยังเป็นต้นทุนในส่วนของการทำลายสิ่งแวดล้อมอีกด้วย หากไม่ได้รับการจัดการที่เหมาะสม โดยแนวคิดนี้จะเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับคู่ค้ามากมายในวงจรโซ่ธุรกิจ เช่น ผู้ขายวัตถุดิบ ผู้ผลิต ผู้จำกัดเศษเหลือใช้ เป็นต้น ซึ่งเป็นแนวคิดที่ กสอ. โดยส่วนส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเกษตรแปรรูป สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป ใช้ดำเนินการมากว่า 1 ปี ในการผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมหันมาใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และส่งไปยังผู้บริโภค ตลอดจนการนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งจะเน้นให้เกิดประสิทธิผลและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการ สำหรับโครงการห่วงโซ่สีเขียวอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป (GAPI)นี้ ในปีที่ผ่านมา ทาง กสอ. ได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนผู้เข้าร่วมโครงการให้เป็นสถานประกอบการสีเขียวเพื่อสร้างสังคมสีเขียว โดยได้นำร่องพัฒนาห่วงโซ่ธุรกิจต้นแบบ อาทิ มันสำปะหลังผัก-ผลไม้บรรจุกระป๋อง การแปรรูปเนื้อสุกร จำนวนกว่า 15 ราย ซึ่งทั้งหมดนี้ได้รับการพัฒนาไปในทิศทางสีเขียวส่งผลให้ผลผลิตมีคุณภาพสูงและปลอดภัยต่อผู้บริโภค อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย นางวันเพ็ญ รัตนกังวาล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป กล่าวถึงรายละเอียดการนำร่องพัฒนาห่วงโซ่ธุรกิจต้นแบบว่า กสอ. ได้เห็นถึงปัญหาต่างๆของภาคการผลิตในทุกอุตสาหกรรม จึงได้เริ่มทำการศึกษาตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งการนำโครงการห่วงโซ่สีเขียวอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป (GAPI)มาใช้ในการดำเนินงานด้านอุตสาหกรรมจะสามารถสร้างประโยชน์ในระยะยาวให้กับทุกฝ่าย เริ่มตั้งแต่ผู้ผลิตเองไปจนถึงผู้บริโภค ทำให้ผู้ประกอบการเรียนรู้การใช้เครื่องมือการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อก่อให้เกิดกำไร (ProfitableResourceandEnvironmentManagement:PREMA) เพื่อประสิทธิภาพการจัดการทรัพยากรที่ดีขึ้น สามารถวัดผลได้ไม่น้อยกว่า 4% ผู้ประกอบการเกิดประสิทธิภาพทางการเงิน สามารถจัดการองค์กรตนเองได้ และมีการดำเนินอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การที่อุตสาหกรรมปรับตัวเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว จะได้ประโยชน์ตั้งแต่เริ่มทำคือ การประหยัดต้นทุน และเพิ่มผลผลิต ลดปริมาณของเสีย มลพิษทางน้ำ อากาศ และสามารถปรับปรุงความสามารถในการทำงานได้ ซึ่งเครื่องมือ PREMA นี้เป็นองค์ความรู้ที่องค์การความร่วมมือไทย-เยอรมัน หรือ GIZ ได้มาถ่ายทอดให้กับบุคลากรของ กสอ.รวมทั้งสร้างกลุ่มผู้เชี่ยวชาญไทย เรียกว่า Thai PREMA Net ที่มีทักษะและความสามารถใช้เครื่องมือการจัดการนี้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งในปัจจุบันThai PREMA Net ได้มีการแลกเปลี่ยนทักษะและประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญ ในอีกหลายประเทศอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจัดได้ว่า PREMA เป็นเครื่องมือการจัดการที่มีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับ ในระดับ สากลเครื่องมือหนึ่งนอกจากการใช้เครื่องมือการจัดการPREMA กับการเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจอุตสาหกรรมแล้ว เรายังสามารถใช้ PREMAในเชิงการรักษาสิ่งแวดล้อมและการจัดการทรัพยากรหรือวัตถุดิบภาคการเกษตรรวมทั้งการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการอยู่ร่วมกันระหว่างอุตสาหกรรมกับชุมชนได้อีกด้วยสำหรับในปี 2555 ที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมโครงการ GAPI เป็นจำนวน 15 กิจการ ซึ่งธุรกิจต้นแบบอย่าง การแปรรูปเนื้อสุกร เป็นกรณีตัวอย่างที่แสดงผลของการใช้เครื่องมือการจัดการ PREMA ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นตัวอย่างของการเพิ่มประสิทธิภาพร่วมกันในสายโซ่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกันระหว่าง ฟาร์มเลี้ยงสุกร และ โรงงานแปรรูปเนื้อสุกร ที่ ก่อให้เกิดประโยชน์ในระยะยาวกับอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อมได้นางวันเพ็ญ กล่าวเสริม ด้าน นายวรพจน์ สัจจาวัฒนา เจ้าของฟาร์มสุกรบัวขาว จังหวัดนครราชสีมา หนึ่งในผู้เข้าร่วมโครงการห่วงโซ่สีเขียวอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป(GAPI) กล่าวว่า ตนเองได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว เนื่องจากเล็งเห็นว่าโครงการที่ กสอ.ได้จัดทำขึ้นนั้นสามารถสร้างประโยชน์อย่างแท้จริงให้กับอุตสาหกรรมของตนได้ ซึ่งที่ผ่านมา ต้นทุนในการดำเนินการเลี้ยงสุกรก่อนนำออกสู่ตลาดหรือถึงมือพ่อค้าคนกลางนั้นค่อนข้างสูง แต่หลังจากที่ได้เข้าร่วมโครงการฯ ได้เกิดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการต้นทุนได้มากขึ้น อย่างน้ำเสียที่เคยสูญเปล่า ปัจจุบันได้มีการผ่านกระบวนการบำบัด และนำน้ำที่ผ่านการบำบัดนั้นไปรดน้ำต้นไม้ ทำความสะอาดโรงเรือนสุกรบางส่วน ส่งผลให้ค่าน้ำลดลงกว่า 40 % นอกจากนี้ของเสียจากสุกรได้ถูกผันแปรไปทำบ่อแก๊สเพื่อนำแก๊สมาผลิตเป็นไฟฟ้าทดแทนและใช้ในฟาร์มสุกร 100 %ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าลดลงเกือบ 50%ส่วนของเศษอาหารที่เหลือจากการเลี้ยงสุกรก็นำไปเลี้ยงเป็ดและไก่ได้อีกต่อหนึ่ง พร้อมกันนี้ยังได้ปรับปรุงกระบวนการใหม่เกือบทั้งหมดที่ไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจน นายชูชาติ เหลืองจารุ เจ้าของโรงงานกุนเชียงเจ๊แหม่ม จังหวัดนครราชสีมา ผู้เข้าร่วมโครงการห่วงโซ่สีเขียวอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป (GAPI) กล่าวว่า อุตสาหกรรมการแปรรูปเนื้อสุกรให้เป็นผลิตภัณฑ์กุนเชียงและหมูยอของตนเองนั้นได้เข้าร่วมโครงการฯ ในการเรียนรู้กลไกการบริหารจัดการอุตสาหกรรมได้ ซึ่งในกระบวนการผลิตหมูยอนั้นจะมีน้ำร้อนที่เหลือจากการต้มเป็นจำนวนมาก โดยปกติจะเททิ้งและเสียน้ำเหล่านั้นไปโดยเปล่าประโยชน์ซึ่งหลังจากที่ได้เข้าร่วมโครงการฯ ตนเองได้เรียนรู้วิธีการจัดการใช้ทรัพยากรในกระบวนการผลิตได้มากขึ้น จึงนำน้ำร้อนเหล่านั้นมาใส่หม้อเพื่อนำไปต้มหมูยออีกชุดหนึ่ง ทำให้น้ำร้อนเร็วขึ้น สามารถประหยัดเวลาไปได้กว่า 20-30 นาทีต่อการต้มน้ำครั้งหนึ่งอีกทั้งค่าแก๊สก็ลดลงปีละกว่า 20,000 บาท โดยโครงการนี้ถือเป็นโครงการที่สามารถสร้างประโยชน์ในระยะยาวให้แก่อุตสาหกรรมได้ ส่งผลให้เกิดการประหยัดต้นทุน เวลาและเพิ่มผลผลิตมากขึ้น หรืออาจกล่าวได้อีกนัยหนึ่งคือ ต้นทุนที่ลดลงได้นั้นเป็นต้นทุนที่แอบแฝง โดยในปี 2556 กสอ. มีเป้าหมายสร้างความต่อเนื่องและขยายบริการโครงการห่วงโซ่สีเขียวอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป(Green Agro Processing Industry Project — GAPI) ดังกล่าว เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการทั้งหลายเห็นถึงประโยชน์ของการนำเครื่องมือการจัดการทรัพยากรเพื่อก่อให้เกิดกำไร หรือ Profitable Resource and Environment Management - PREMA มาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในห่วงโซ่ธุรกิจอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้นโดย กสอ. ตั้งเป้า 20 กิจการของผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งเกษตรกรผู้ผลิตวัตถุดิบในสายโซ่อุปทานที่มีผู้บริโภคสินค้าอย่างต่อเนื่องกันและมีความเกี่ยวพันกับการจัดการสิ่งแวดล้อม อาทิ ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์อาหารทะเล ผลิตภัณฑ์ข้าวออร์แกนนิค ผลิตภัณฑ์จากนมวัวฯลฯ ให้เข้ารับการอบรมในเชิงปฏิบัติการและเรียนรู้กระบวนการผลิตและพัฒนาแบบพลวัตคือพัฒนาด้วยความร่วมมือกันอย่างต่อเนื่องเพื่อนำธุรกิจอุตสาหกรรมของตนเองไปสู่อุตสาหกรรมสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืนในอนาคต นางศิริรัตน์ฯ กล่าวสรุป สำหรับผู้ประกอบการ เกษตรกร หรือประชาชนทั่วไป ที่สนใจเข้าร่วมโครงการห่วงโซ่สีเขียวอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป (GAPI)สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หมายเลขโทรศัพท์ 02-202-4537 หรือเข้าไปที่ www.dip.go.th สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทร. 02 202 4537 / ข้อมูล กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักบริหารกลาง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทร. 02 202 4414-18 /

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ