กรุงเทพฯ--7 ก.พ.--ทีวีบูรพา
เมื่อพูดถึง “กลิ่น” คนส่วนใหญ่มักจะวาดภาพไปเป็นเรื่องของสิ่งที่เป็นนามธรรม ไร้รูปสัมผัส และจับต้องไม่ได้ แต่ “กลิ่น” ที่หลายคนมองข้ามกลับลอยนำเราไปพบกับความรู้ใหม่ๆที่เกินจะคาดคิด
จากหลักฐานที่ค้นพบ สันนิษฐานว่า กลิ่นเข้ามาอยู่ในอารยธรรมของมนุษย์มาตั้งแต่เมื่อประมาณ 4,000 ปีที่แล้ว ในโบราณกลิ่นถูกใช้ในลักษณะของการสื่อสารต่อเทพเจ้า และเมื่อมาถึงยุคปัจจุบัน แม้การใช้ประโยชน์จากกลิ่นจะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงรากเหง้าอยู่ให้เห็นในศาสนาต่างๆ คือ การใช้กลิ่นเป็นตัวแทนและสื่อกลางต่อองค์เทพ อย่างการจุดธุปในศาสนาพุทธ หรือการใช้กลิ่นกำยานในศาสนาคริสต์ ไม่เพียงเท่านั้นกลิ่นยังถูกพัฒนากลายมาเป็นความบันเทิงรูปแบบใหม่ที่ทำให้ประสบการณ์ในการชมภาพยนตร์ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ภาพและเสียงเท่านั้น เพราะวงการโรงภาพยนตร์หยิบกลิ่นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของเอ็ฟเฟ็กต์ในระหว่างการชมภาพยนตร์ ซึ่งเราก็บุกไปล้วงความลับของกลไกของการสร้างกลิ่นนี้ถึงในห้องฉายภาพยนตร์กันเลยทีเดียว
แต่เราเคยลองนึกสงสัยกันหรือไม่ว่า กลิ่นที่เราดมในขนมขบเคี้ยว สบู่ ยาสระผม สเปรย์ปรับอากาศ แม้กระทั่งกระดาษทิชชูนั้นทำมาจากอะไร ด้วยเหตุนี้จึงเดินทางไปถึงแหล่งต้นตอของกลิ่นจากสถานที่ที่ถือว่าให้กำเนิดกลิ่นมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย
ไม่เพียงเท่านั้น กลิ่นยังถูกนำมาสรรค์สร้างให้กลายเป็นที่รู้จักในรูปแบบของความหอมที่ยั่วยวนใจผู้คนมาทุกยุคทุกสมัย นั่นก็คือ น้ำหอม แต่ทว่า น้อยคนนักจะมีโอกาสได้รู้จักผู้อยู่เบื้องหลัง ซึ่งรับหน้าที่ปรุงน้ำหอมโดยเฉพาะ หรือชื่อเรียกขานในวงการว่า “The nose” เชื่อหรือไม่ว่า จมูกของคนเหล่านี้มีมูลค่านับล้านบาท และเป็นจมูกพิเศษที่ต้องผ่านการดมกลิ่นต่างๆที่เป็นวัตถุดิบของน้ำหอมมาไม่ต่ำกว่าร้อยชนิด ซึ่งไม่ใช่ว่าใครจะสามารถทำอย่างนี้ได้
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะกลิ่นอะไร หอมเหม็นสักแค่ไหนก็ล้วนสามารถหยิบนำมาสร้างประโยชน์ให้กับมนุษย์ เราได้ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น มาร่วมกันปล่อยตัว
ติดตามรายการกบนอกกะลา วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 14.00-15.00 น. ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี