กรุงเทพฯ--22 ก.พ.--เอ๊ซ
ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน กล่าวถึงอนาคตพลังงานไทยในยามวิกฤตว่า ปัจจุบันประเทศไทยต้องอาศัยการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศข้ามาใช้เป็นส่วนมาก ดังนั้น การบริการจัดการด้านการใช้พลังงาน ให้สอดคล้องที่เหมาะสมกับต้นทุนทรัพยากร ภายใต้การบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ จะเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการช่วยป้องกันปัญหาวิกฤติด้านพลังงานได้ ยามใดที่เกิดวิกฤตด้านพลังงานขึ้น ก็สามารถเชื่อมโยงวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ อาทิ การหาแหล่งพลังงานจากประเทศเพื่อนบ้าน จาก ลาว พม่า การหาพลังงานทดแทนใหม่ๆเข้ามาใช้แทนพลังงานในรูปแบบเดิมๆ หรือที่มาจากฟอสซิลต่างๆ เป็นต้น
ด้านการส่งเสริมให้ใช้พลังงานทดแทนของไทยในปัจจุบันอยู่ในสัดส่วนที่น่าพอใจ โดยเป็นพลังงานทดแทนในสัดส่วนประมาณ 10 % ที่มาจากพลังงานธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ ลม แสงอาทิตย์ และกรมฯ กำหนดเป้าหมายของแผนการใช้พลังงานทดแทนในอีก 10 ปีข้างหน้า เพิ่มสัดส่วนเป็น 25 % ซึ่งในอนาคตจะมีอัตราการเติบโตการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น เพราะประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ที่สามารถขับเคลื่อนแปรรูปเศษวัสดุเหลือใช้ทางธรรมชาติทางการเกษตร รวมถึงมูลสัตว์ต่างๆ มาพัฒนาแปรรูปเป็นพลังงานใช้ในประเทศได้ พลังงานทดแทนจึงเป็นอนาคตพลังงานไทยในระยะยาว
ดร.ทวารัฐ กล่าวถึงอนาคตการอนุรักษ์พลังงานไทยด้วยว่า จากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี่ของประเทศไทยมาถึงจุดเปลื่ยนจากระบบแอนาล็อคมาเป็นระบบดิจิตอล ส่งผลมาถึงเทคโนโลยีด้านพลังงานไฟฟ้าไทยสู่จุดเปลี่ยนเช่นเดียวกัน ที่ผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าของไทยจะต้องลงทุนในด้านอุปกรณ์เทคโนโลยี่ขั้นสูงเกี่ยวกับการประหยัดไฟฟ้า เพื่อสร้างระบบการใช้พลังงานไฟฟ้าให้เกิดการประหยัดพลังงานที่มีระบบ System Tecnology รองรับ เป็นระบบเชื่อมโยงแบบสมดุลเป็นเรียลไทม์ จากผู้ใช้ในครัวเรือนจนถึงผู้ผลิต เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรด้านพลังงาไฟฟ้าอย่างคุ้มค่า เกิดความสมดุลของผู้ใช้และผู้ผลิต บริหารต้นทุนการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งให้ความก้าวล้ำสมัยสู่อนาคตที่มากกว่าวิธีการประหยัดพลังงานด้วยวิธีการเปิดปิดไฟฟ้าจากที่ผ่านมา เนื่องจาก อุปกรณ์เครื่องใช้สิ่งอำนวยความสะดวกของทุกครัวเรือนในยุคนี้ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ระบบไฟฟ้าเกือบทั้งหมด และเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ตามไลฟ์สไตล์ของคนในสังคม รวมเรียกว่า "สมาร์ทเทคโนโลยี่ หรือ โครงข่ายระบบไฟฟ้าอัจริยะ Smart Grid"
ขณะนี้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ได้จัดตั้งเป็นคณะกรรมการ Smart Grid แห่งชาติขึ้นแล้ว เพื่อมาศึกษาเรื่องการใช้ระบบ Smart Grid ในระยะ2-3 ข้างหน้านี้ โดยมีประเทศที่ใช้ระบบ Smart Grid นี้กันแล้ว ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น เกาหลี และมีหลายประเทศกำลังนำเสนอความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี่ดังกล่าวให้กับไทยอยู่ โดยระบบสมาร์ทเทคโนโลยี่ จะช่วยให้การบริหารจัดการด้านการใช้พลังงานอย่างเหมาะสม ด้วยการสื่อสารผ่านระบบจากปลายทางผู้ใช้ เชื่อมโยงเป็นเรียลไทม์ถึงผู้ผลิตไฟฟ้าโดยตรง สอดคล้องกับความต้องการใช้ปลายทางของผู้ใช้ และปริมาณกำลังการผลิตไฟฟ้าที่เหมาะสมของต้นทางด้านผู้ผลิต เท่ากับเป็นการบริหารต้นทุนด้านการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งผู้ใช้และผู้ผลิต ป้องกันไม่เกิดปัญหาใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศเกินกำลัง ซึ่งไทยเคยประสบปัญหานี้มาแล้ว
ทิศทางอนาคตการใช้ไฟ้าในระบบครัวเรือน จะมีระบบควบคุมการใช้ไฟฟ้า สมาร์ททริค เข้ามาช่วยจัดการเพิ่มขึ้น สามารถรู้ผลลัพท์ของปริมาณจำนวนการใช้ไฟและต้นทุนการใช้ไฟฟ้าในขณะนั้นๆ ผู้ผลิตสามารถบริหารจัดการการจ่ายไฟฟ้าในอัตราที่เหมาะสมและรู้ถึง substation ของผู้ใช้ไฟ้า อุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้านต่างจะพัฒนาเทคโนโลยี่ไปสู่ระบบ Smart Grid เพิ่มขึ้น แล้วยังสามารถพัฒนาไปสู่การผลิตพลังงานไฟฟ้าใช้ เองภายในบ้านต่อไป อาทิ การใช้แผงโซลาเซลล์ผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ และเกิด "ระบบ Smart Grid Community" การผลิตไฟฟ้าใช้เองในระดับหมู่บ้านและชุมชน ทั้งพลังงานจากน้ำและแสงอาทิตย์ เพื่อมาทดแทนพลังงานไฟฟ้าในอนาคต
การเตรียมความพร้อมด้านไฟฟ้าด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี่ " Smart Grid " ดังกล่าวนี้ ถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวอภิปรายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ศกนี้ ซึงเป็นส่วนหนึ่งของงานสัมมนาภายใต้โครงการวาระดิจิตัล รู้ทันโลก ร่วมเปิดไทย ครั้งที่ 6 หัวข้อเรื่อง “Energy and Communication Preparedness in Time of Crisis: (การเตรียมความพร้อมด้านพลังงานและการสื่อสารในยามวิกฤติ) เวลา 12.0015.30 น. โดย ดร. ทวารัฐ สูตะบุตร ให้เกียรติมาร่วมบรรยาย ซึ่งจัดขึ้นเวลา 12.00-15.30 น. ที่โรงแรมอโนมา ผู้สนใจติดต่อได้ที่ เอ๊ซ โทร 02 254 8282-3