กรุงเทพฯ--22 ก.พ.--คอร์แอนด์พีค
บทความโดย นายวัชรสิทธิ์ สันติสุขนิรันดร์
ผู้จัดการประจำประเทศไทย ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ พีทีอี ลิมิเต็ด
ความท้าทายด้านข้อมูลสำหรับองค์กรขนาดกลาง
การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของข้อมูลทั้งในด้านปริมาณ ความเร็ว มูลค่า และความหลากหลายของข้อมูลกำลังส่งผลให้เกิดความท้าทายด้านระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับองค์กรในทุกขนาดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสำหรับองค์กรขนาดกลาง (ที่มีศูนย์ข้อมูลหนึ่งหรือสองแห่ง และมีความต้องการใช้พื้นที่ความจุไม่ถึง100 เทราไบต์) เช่น ธนาคารในประเทศ ผู้ให้บริการด้านสุขภาพระดับภูมิภาค มหาวิทยาลัย และหน่วยงานภาครัฐ โดยองค์กรเหล่านี้ต้องเผชิญกับความท้าทายด้านข้อมูลไม่แตกต่างจากที่องค์กรขนาดใหญ่กำลังเผชิญอยู่ เพียงแต่ต่างกันตรงที่มีงบประมาณด้านไอทีที่จำกัดมากกว่า และไม่สามารถแก้ไขเวิร์กโหลดและการจัดการข้อมูลที่มีความซับซ้อนมากกว่าเดิมด้วยโซลูชั่นระบบจัดเก็บข้อมูลขนาดกลางได้ ทำให้องค์กรขนาดกลางจำนวนมากจำใจยอมรับกับคุณภาพ และประสิทธิภาพที่เป็นอยู่ ซึ่งในท้ายที่สุดย่อมส่งผลให้เกิดความซับซ้อนเพิ่มขึ้น วัตถุประสงค์ของระดับการให้บริการ (SLO) ผิดเพี้ยนไป และมีประสิทธิภาพโดยรวมลดต่ำลง
อย่างไรก็ตาม การขยายตัวอย่างมหาศาลของข้อมูลในปัจจุบันไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่องบประมาณและบุคลากรทางด้านไอทีเท่านั้น แต่ยังทำให้การปฏิบัติงานในแต่ละวันมีความยุ่งยากมากขึ้นเนื่องจากความต้องการอย่างต่อเนื่องด้านเทคโนโลยีและแอพพลิเคชั่นที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมและฟังก์ชั่นการทำงานที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น สิ่งนี้สร้างความสับสนให้กับมุมมองด้านข้อมูลและทำให้องค์กรขนาดกลางเต็มไปด้วยแหล่งข้อมูล แอพพลิเคชั่น และอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ตัวอย่างเช่น เซิร์ฟเวอร์เดิมที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันเป็นสถาปัตยกรรมการประมวลผลแบบมัลติคอร์ที่สนับสนุนการทำงานแบบมัลติเธรดดิ้ง ระบบปฏิบัติการที่ทันสมัยกำลังถูกจำลองให้เป็นระบบเสมือนจริงและรวมเข้ากับวีเอ็มแวร์และไฮเปอร์ไวเซอร์ ขณะที่แบนด์วิดท์ของเซิร์ฟเวอร์กำลังเพิ่มเป็น 8 กิกะบิตต่อวินาทีสำหรับไฟเบอร์ ชาแนล (Fibre Channel — FC) และ 10 กิกะบิตต่อวินาทีสำหรับอีเธอร์เน็ต (Ethernet) ยิ่งกว่านั้น เวิร์กโหลดที่มีปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ กำลังถูกผลักดันเข้าไปยังระบบจัดเก็บข้อมูล เช่น การย้ายข้อมูล การคัดลอก การทำสำเนาข้อมูล การทำ wide striping การใช้เทคโนโลยี thin provision และการสร้างระบบเสมือนจริงสำหรับระบบที่ต่างชนิดกัน เพื่อรับมือกับความต้องการใหม่ๆ เหล่านี้ ระบบจัดเก็บข้อมูลจะต้องสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างอิสระเพื่อตอบสนองความต้องการได้ทั้งหมด จะเห็นได้ว่าในขณะนี้ แพลตฟอร์มระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ได้รับการออกแบบมาให้มีฟังก์ชันการทำงาน สมรรถนะ และประสิทธิภาพที่สามารถจัดการกับความท้าทายด้านข้อมูลเหล่านี้ได้ทั้งหมด แต่ดูเหมือนว่าองค์กรขนาดกลางโดยทั่วไปจะไม่สามารถทุ่มการลงทุนเพื่อแลกกับระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ได้
โซลูชั่นจัดเก็บข้อมูลรูปแบบใหม่ — ระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับ “องค์กรขนาดใหญ่ระดับเริ่มต้น”
องค์กรขนาดกลางต้องพบกับวิกฤติที่สำคัญ นั่นคือระบบจัดเก็บข้อมูลขนาดกลางไม่สามารถตอบสนองความต้องการด้านการจัดเก็บข้อมูลของตนได้ ในขณะที่ระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ก็มีราคาแพงเกินไป และเพื่ออุดช่องว่างของระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับองค์กรขนาดกลางและองค์กรขนาดใหญ่ เทคโนโลยีระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับ “องค์กรขนาดใหญ่ระดับเริ่มต้น” (Entry-level enterprise) รูปแบบใหม่ จึงเริ่มเข้ามามีบทบาทในตลาดนี้ โซลูชั่นระบบจัดเก็บข้อมูลแบบใหม่นี้ ด้วยจุดเด่นด้านราคาที่น่าสนใจ มีการจัดการความจุที่ยอมรับได้ และมีคุณสมบัติที่ครอบคลุม สามารถตอบสนองความต้องการเฉพาะสำหรับองค์กรขนาดกลางที่กำลังขยายตัวในปัจจุบันได้
ข้อควรพิจารณาในการเลือกใช้ระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ระดับเริ่มต้น
ตลาดในปัจจุบันนำเสนอระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ระดับเริ่มต้นเป็นจำนวนมาก โดยมาพร้อมกับความจุในระดับที่ต่ำกว่า 100 เทราไบต์ และจากคุณสมบัติจำนวนมากที่มีให้พร้อมใช้งาน บริษัท ไอดีซี 1 เชื่อว่าระบบจัดเก็บข้อมูลมาตรฐานใหม่นี้ จะเป็นสถาปัตยกรรมแบบครบวงจรและใช้ประโยชน์จากระบบเสมือนจริงเพื่อสร้างคุณประโยชน์ที่ดีที่สุดบางอย่างสำหรับองค์กรขนาดกลางได้ บริษัท ไอดีซี อธิบายว่า จริงๆ แล้วระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ระดับเริ่มต้นที่มีสถาปัตยกรรมแบบครบวงจรนั้น ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่เป็นระบบพื้นฐานที่แข็งแกร่งที่ผู้ใช้สามารถเพิ่มขีดความสามารถและฟังก์ชันการทำงานเพิ่มเติมได้ตามต้องการตามงบประมาณที่กำหนดไว้เท่านั้น แต่ยังให้บริการระบบจัดเก็บข้อมูลในระดับสูง เช่น การใช้งานข้ามระบบ การทำสำเนาข้อมูลที่ต่างชนิดกัน การโยกย้ายข้อมูล และการปกป้องข้อมูล ดังนั้น เมื่อมีการนำระบบเสมือนจริงเข้ามาใช้งานร่วมกันแล้ว โซลูชั่นระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ระดับเริ่มต้นก็จะสามารถจัดการกับการขยายตัวของข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ยังสามารถลดค่าใช้จ่าย ด้านการจัดเก็บข้อมูลได้อย่างมากผ่านการรวมระบบเข้าด้วยกันและการปรับระบบให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น ระบบเสมือนจริง จึงช่วยให้ระบบเหล่านี้สามารถสร้างคุณประโยชน์ได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวจากการใช้สินทรัพย์ไอทีต่างๆ การเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง และการใช้ประโยชน์สินทรัพย์ระบบจัดเก็บข้อมูลโดยไม่กระทบต่อแอพพลิเคชั่นและกระบวนการทางธุรกิจต่างๆ ยิ่งไปกว่านั้น ระบบแบบครบวงจร ยังมีเฟรมเวิร์กเดียวที่ถูกผสานรวมเข้าด้วยกันทั้งหมด ให้สามารถจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลได้ในระดับที่สูงขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างง่ายดาย
เพื่อช่วยให้องค์กรขนาดกลางกำหนดโซลูชั่นได้อย่างเหมาะสม บริษัท ไอดีซี ระบุว่าโซลูชั่นระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ระดับเริ่มต้นควรช่วยให้องค์กรขนาดกลางสามารถเอาชนะกับความท้าทายที่มีอยู่เป็นจำนวนมากด้วยการตอบสนองวัตถุประสงค์หลักด้านระบบจัดเก็บข้อมูล ดังนี้
- ปรับการใช้ประโยชน์ในสินทรัพย์ระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีอยู่เดิมให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้สามารถควบคุมการขยายตัวของระบบด้วยการปรับใช้ความจุใหม่ของดิสก์ และลดความต้องการฮาร์ดแวร์ระบบจัดเก็บข้อมูลใหม่
- การกำหนดค่าระบบจัดเก็บข้อมูลใหม่ให้สั้นลงและจัดการง่ายขึ้นจำเป็นต่อการโยกย้ายเซิร์ฟเวอร์และการรวมระบบเข้าด้วยกัน เพื่อนำไปสู่การโยกย้ายข้อมูลภายใต้การสนับสนุนจากเทคโนโลยีระบบจัดเก็บข้อมูลแบบอัตโนมัติมากขึ้นและสามารถรีเฟรชข้อมูลได้เร็วขึ้นกว่าเดิม
- การผสานรวมไฮเปอร์ไวเซอร์เข้ากับระบบย่อยของระบบจัดเก็บข้อมูล เพื่อให้ได้ภาพรวมแบบสองมุมมองจากชั้นระบบจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดไปจนถึงแอพพลิเคชั่นที่อยู่ในเครื่องเสมือน และให้ฟังก์ชันการจัดการที่ครอบคลุม
- ความสามารถด้านการปรับขยายความจุและการกำหนดค่าได้โดยไม่กระทบต่อการทำงานของระบบหลัก ที่รองรับคุณสมบัติความคงทนต่อความเสียหาย การมีระบบสำรอง และมีเสถียรภาพ
- สนับสนุนแพลตฟอร์มระบบจัดเก็บข้อมูลต่างชนิดกัน และสามารถทำงานร่วมกับบริการระบบจัดเก็บข้อมูลปัจจุบันได้ (เช่น การทำสำเนา) นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันในการทำงานรูปแบบต่างๆ ซึ่งสามารถช่วยลดการลงทุนเพิ่มได้
- เพิ่มประสิทธิภาพฟังก์ชันการจัดการพื้นฐานสำหรับเครื่องมือการจัดการที่มีไฮเปอร์ไวเซอร์เป็นศูนย์กลาง
ทั้งนี้ บริษัท ไอดีซี เชื่อว่าแนวคิดของระบบแบบครบวงจรเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และไม่สามารถปฏิเสธได้ โดยขั้นต่อไปของระบบเสมือนจริงนั้นจะมุ่งเน้นไปที่การจัดการพอร์ตโฟลิโอของแอพพลิเคชั่น การกำหนดพูลทรัพยากร ความยืดหยุ่น และคุณลักษณะแบบโมดูล ซึ่งทั้งหมดนี้พร้อมให้บริการในระบบแบบครบวงจร
Hitachi Unified Storage VM — ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบยูนิไฟล์ระบบแรกที่มีระบบเสมือนจริงระดับองค์กรสำหรับข้อมูลทุกประเภทในกลุ่มโซลูชั่นระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ระดับเริ่มต้นที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า Hitachi Unified Storage VM (HUS VM) เป็นระบบจัดเก็บข้อมูลแบบยูนิไฟด์ระบบแรกที่มีระบบจัดเก็บข้อมูลเสมือนจริงระดับองค์กรขนาดใหญ่ที่สามารถรวมข้อมูลในรูปแบบไฟล์ บล็อก และออบเจ็กต์ไว้ร่วมกันที่ส่วนกลางได้ (โดยใช้ Hitachi Content Platform) อีกทั้งยังมาพร้อมกับความสามารถในการปรับขยาย ประสิทธิภาพ และฟังก์ชันการทำงานต่างๆ ที่เหมือนกับโซลูชั่นระดับองค์กรขนาดใหญ่แต่มีระดับราคาที่องค์กรขนาดกลางสามารถซื้อหามาใช้ได้ นอกจากนี้ยังให้คุณสมบัติที่สอดคล้องตามข้อเสนอแนะของบริษัท ไอดีซี เกี่ยวกับสิ่งที่โซลูชั่นระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับองค์กรระดับเริ่มต้นควรจะมี เพื่อช่วยองค์กรขนาดกลางสามารถจัดการกับความท้าทายด้านข้อมูลในปัจจุบันได้ นั่นคือ:
ปรับใช้สินทรัพย์ระบบจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อ CAPEX ที่น้อยลง
การออกแบบ HUS VM ยึดตามสถาปัตยกรรมแบบยูนิไฟด์ โดยใช้เทคโนโลยีระบบจัดเก็บข้อมูลเสมือนจริงชั้นนำในตลาดของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ โดย HUS VM ไม่เพียงแต่สามารถจัดการข้อมูลได้ทุกประเภท แต่ยังสามารถจัดการข้อมูลทั้งหมดได้จากทั้งภายในและภายนอกระบบจัดเก็บข้อมูล ซึ่งรวมถึงระบบจัดเก็บข้อมูลจากต่างเวนเดอร์เพื่อสร้างเป็นแพลตฟอร์มเสมือนเพียงแพลตฟอร์มเดียวขึ้นมา และเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในระดับเดียวกันแล้ว HUS VM ให้ความจุเสมือนที่เชื่อมต่อจากภายนอกได้ในระดับสูงสุด นั่นคือสูงถึง 64 เพตาไบต์ และสามารถรวมระบบจัดเก็บข้อมูลจากผู้ผลิตต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันได้ การรวมระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีอยู่ให้เป็นพูลที่สามารถจัดการได้จากส่วนกลางและสามารถใช้ความจุร่วมกันได้โดยใช้ HUS VM ทำให้องค์กรขนาดกลางสามารถเรียกคืนความจุที่ไม่ได้ใช้งานกลับคืนมาได้ถึง 65% ซึ่งถือเป็นการขยายความจุเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังช่วยชะลอเวลาในการลงทุนระบบจัดเก็บข้อมูลใหม่อีกด้วย โดยองค์กรที่ใช้ระบบจัดเก็บข้อมูลเสมือนจริงของฮิตาชิได้รายงานว่า พวกเขาสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านการลงทุน (CAPEX) ได้ประมาณ 20 - 50% หลังจากที่เรียกคืนความจุกลับมาและสามารถใช้ประโยชน์ความจุโดยรวมได้เพิ่มมากขึ้นด้วย นอกจากนี้ องค์กรดังกล่าวยังรายงานอีกว่าต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของของตน (TCO) อยู่ที่ระดับ 30% ซึ่งต่ำกว่าระบบที่ไม่ใช่ระบบเสมือนจริง
การจัดการจากส่วนกลางเพื่อ OPEX ที่ลดลง
HUS VM สามารถจัดการจากส่วนกลางที่ครอบคลุมระบบจัดเก็บข้อมูลแบบเสมือนทั้งภายในและภายนอกผ่านทาง Hitachi Command Suite ซึ่งช่วยให้การจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลเป็นเรื่องง่าย อีกทั้งยังช่วยลดเวลาที่จำเป็นต้องใช้ในการบริหารจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับแอพพลิเคชั่นจำนวนมากและลดระยะเวลาในกระบวนการกำหนดค่าระบบจัดเก็บข้อมูลใหม่ที่จำเป็นสำหรับการโยกย้ายเซิร์ฟเวอร์และการรวมระบบเข้าด้วยกันให้สั้นลงด้วย เมื่อเทียบกับระบบที่ไม่ใช่ระบบเสมือนจริง ซึ่ง HUS VM ช่วยให้การโยกย้ายข้อมูลสามารถทำได้เร็วขึ้นถึง 90% ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ นำเสนอโซลูชั่นที่ต่างจากโซลูชั่นอื่นๆ จำนวนมากในตลาดปัจจุบัน ด้วยการใช้แพลตฟอร์มซอฟต์แวร์เดียวในการรวมและจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลทุกประเภท โดยเมื่อใช้แพลตฟอร์มการจัดการร่วมกันนี้ ลูกค้าของ ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ จะสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินงาน (OPEX) ได้ถึง 20-40%
เพิ่มความคล่องตัวในการเคลื่อนย้ายข้อมูลเพื่อลดต้นทุนและมีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม
HUS VM มีซอฟต์แวร์ Hitachi Dynamic Tiering ที่ช่วยให้การบริหารจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลสามารถทำได้โดยง่ายด้วยการวางข้อมูลในตำแหน่งที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม โดยใช้กระบวนการตรวจสอบข้อมูลที่มีการใช้งานบ่อยที่สุด และจากการที่ HUS VM ได้ขยายระบบจัดเก็บข้อมูลแบบแบ่งระดับชั้นให้สามารถเชื่อมต่อกับระบบจัดเก็บข้อมูลภายนอก ซึ่งรวมถึงระบบจัดเก็บข้อมูลจากหลายเวนเดอร์ด้วยนั้น ทำให้ Hitachi Dynamic Tiering สามารถกำหนดตำแหน่งจัดวางข้อมูลได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งครอบคลุมโครงสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลทั้งหมด โดยสามารถวางข้อมูลที่ ใช้งานบ่อยที่สุดไว้ในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่มีราคาแพงและมีประสิทธิภาพสูงกว่า ขณะที่ข้อมูลที่ไม่ได้ใช้งานจะถูกจัดเก็บไว้ในอุปกรณ์ที่มีราคาถูก และเนื่องจากคอนโทรลเลอร์ของระบบจัดเก็บข้อมูลจะดำเนินการย้ายข้อมูลภายใต้เบื้องหลังการทำงาน องค์กรจึงสามารถวางใจได้ว่าจะไม่กระทบต่อการทำงานของแอพพลิเคชั่นสำคัญทางธุรกิจ
บรรลุวัตถุประสงค์ของระดับการให้บริการและพร้อมใช้งานในระดับที่สูงขึ้น
HUS VM พัฒนาขึ้นบนความน่าเชื่อถือที่มีมาอย่างยาวนานของ ฮิตาชิ โดยสามารถรับประกันความพร้อมใช้งานของข้อมูลได้ 100% ซึ่งช่วยให้แน่ใจได้ว่าจะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา และเพื่อเสริมความพร้อมใช้งานให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น Hitachi Dynamic Provisioning จึงได้จัดเตรียมพูลเสมือนจริงแบบแบ่งระดับชั้นความจุสำหรับระบบจัดเก็บข้อมูลที่สนับสนุนบริการต่างๆ ทั้งจากระบบจัดเก็บข้อมูลภายในและภายนอก รวมทั้งยังช่วยให้มั่นใจ ได้ว่าวัตถุประสงค์ของระดับการให้บริการจะสามารถบรรลุผลที่ถูกกำหนดไว้ได้
HUS VM ช่วยให้องค์กรขนาดกลางสามารถปรับใช้ระบบจัดเก็บข้อมูล ทั้งการจัดการข้อมูลทุกประเภทได้อย่างง่ายดาย สามารถตอบสนองความต้องการในการปรับขยายฟังก์ชันการทำงาน และความพร้อมใช้งาน รวมทั้งความสามารถในการให้บริการ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่องค์กรขนาดใหญ่สามารถจ่ายได้ในระดับราคาเริ่มต้นพร้อมด้วย CAPEX และ OPEX ที่ต่ำ ทั้งนี้ ในตลาดธุรกิจที่กำลังเกิดความท้าทายเช่นในปัจจุบัน HUS VM จะช่วยให้องค์กรขนาดกลางมีระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีความจุ ความยืดหยุ่น และประสิทธิภาพตรงความต้องการ ช่วยให้เกิดความคุ้มค่าและ ข้อได้เปรียบด้านการดำเนินงานใหม่ๆ รวมทั้งเอื้อต่อการเติบโตระยะยาวในอนาคตอีกด้วย