กรุงเทพฯ--26 ก.พ.--WWF
องค์กรระหว่างประเทศที่จัดระบียบการค้าสัตว์ป่าควรเริ่มกระบวนการเพื่อคว่ำบาตรประเทศต่างๆที่อยู่ในวงจรการค้าข้ามชาติที่ผิดกฏหมายในการลักลอบค้างาช้าง ซึ่งเป็นสาเหตุให้ช้างแอฟริกาตายมากกว่า 30,000 ตัวในแต่ละปี
WWF และ TRAFFIC เรียกร้องให้รัฐบาลทั้ง 177 ประเทศ ที่จะเข้าร่วมการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ (CITES) ที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 3-15 มีนาคมให้เริ่มมาตรการอย่างเป็นทางการที่นำไปสู่การจำกัดการค้าที่เข้มงวดขึ้น เพื่อหยุดยั้งผู้กระทำผิดที่สมควรได้รับโทษมากที่สุดในการลักลอบค้างาช้าง
จากหลักฐานแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทย ไนจีเรีย และสาธารณรัฐคองโก (DRC) ยังไม่ประสบความสำเร็จ ในการแก้ไขปัญหาการค้างาช้างในประเทศ แม้จะมีข้อกำหนดจาก CITES ในการห้ามการค้างาช้างที่ไม่มีการควบคุม ซึ่งภายใต้ข้อตกลงนี้ ประเทศที่เป็นสมาชิกของ CITES สามารถออกข้อแนะนำให้สมาชิกหยุดทำการค้าชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ 35,000 ชนิดพันธุ์ ภายใต้อนุสัญญาฯ ตั้งแต่ไม้ซุง กล้วยไม้ไปจนถึงหนังจระเข้ กับประเทศที่ไม่ปฏิบัติตาม
“ประเทศเหล่านี้ได้รับการระบุในบทวิเคราะห์เกี่ยวกับการค้างาช้างมาโดยตลอดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ในฐานะที่เป็นประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องมากที่สุดกับขบวนการลักลอบค้างาช้าง” สตีเฟ่น บรอด กรรมการบริหาร TRAFFIC กล่าว “เมื่อความต้องการงาช้างเป็นตัวการ ทำให้ปัญหาลักลอบล่าสัตว์รุนแรงมากขึ้น ดังนั้นประเทศสมาชิก CITES จึงยิ่งจำเป็นต้องเรียกร้องให้ปฏิบัติตามกฏหมายระหว่างประเทศ”
เป็นที่เข้าใจว่า ประเทศไทยซึ่งจะเป็นเจ้าภาพการประชุม CITES เป็นหนึ่งในตลาดการค้างาช้างที่ไม่มีการควบคุมแหล่งใหญ่ที่สุดในโลก อาชญากรใช้ประโยชน์จากกฏหมายของไทยที่อนุญาตให้ค้างาช้างบ้านในประเทศได้ และลักลอบนำงาช้างแอฟริกันผิดกฏหมายจำนวนมากเข้ามาฟอกผ่านร้านค้าในประเทศไทย และนักท่องเที่ยวต่างชาติก็เป็นผู้ซื้องาช้างเหล่านี้เป็นส่วนใหญ่
“ประเทศไทยสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างเป็นรูปธรรมและเฉียบพลัน ด้วยการห้ามการค้างาช้างทุกรูปแบบในประเทศ และการทำเช่นนี้จะช่วยกำจัดความต้องการค้าขายงาช้าง” คาร์ลอส ดรูวส์ ผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์ชนิดพันธุ์โลก WWF กล่าว “WWF จึงยื่นข้อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรีไทย ให้สั่งห้ามการค้างาช้างในทุกรูปแบบทันที และตอนนี้มีคนไทย และผู้คนในประเทศต่างๆ ทั่วโลกมากกว่า 400,000 คนแล้ว ที่ร่วมเรียกร้องเพื่ออนาคตของช้างป่า”
“ช้างล้มหายไปจากถิ่นต่างๆในแอฟริกามากขึ้นทุกที เนื่องจากการค้างาช้างที่แพร่หลายเกินการควบคุม ทุกประเทศที่ลงนามในอนุสัญญา CITES ต่างมีความรับผิดชอบในการปกป้องช้าง ด้วยการบอกให้รัฐบาลของประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้าเปื้อนเลือดนี้ แสดงความรับผิดชอบ” ดรูวส์กล่าวเสริม
WWF และ TRAFFIC ยังร่วมกันเรียกร้องต่อประเทศจีนให้แก้ไขประเด็นที่ร้ายแรงนี้ ด้วยการบังคับใช้กฏหมายกับตลาดค้างาช้างถูกกฏหมายในประเทศ ขณะเดียวกัน CITES ก็ควรต้องเรียกร้องต่อประเทศจีนให้มีมาตรการที่ดีขึ้น และหากปีหน้ายังไม่มีความก้าวหน้าที่สำคัญที่เป็นรูปธรรมก็ควรต้องพิจารณาบังคับใช้มาตรการจำกัดทางการค้า
ข้อเท็จจริงจากการติดตามความก้าวหน้าของการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ระบุว่า ยังมีมาตรการบางมาตรการที่ทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทย ได้เริ่มดำเนินการ เพื่อแก้ไขปัญหาการค้างาช้าง และลักลอบล่าช้าง ไม่ว่าจะเป็นการจดทะเบียนผู้ค้างาช้างและที่มาที่ไปของผลิตภัณฑ์ จัดตั้งกลไกติดตามจำนวนงาช้างในโกดังทั่วโลก การบังคับลงทะเบียนหลังตรวจยึดงาช้างจำนวนมาก และการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์เป็นประจำ รวมทั้งติดตามการสืบสวนสอบสวนร่วมกันของเจ้าหน้าที่ระหว่างประเทศ
“ขณะนี้ข้อมูลสำคัญจากการตรวจยึดงาช้างครั้งใหญ่กำลังสูญหายไป หรือไม่มีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ไม่มีการติดตาม หรือค้นหาความจริงเบื้องหลัง ไม่ว่าจะเป็นการสืบสวนหาผู้อยู่เบื้องหลังการลักลอบขนส่ง การสืบหาว่างาช้างส่งขึ้นพาหนะในการขนส่งได้อย่างไร และใครจะได้รับประโยชน์จากงาช้างที่ส่งมาถึง จึงไม่น่าแปลกใจที่การลักลอบค้างาช้างจะแพร่หลายยิ่งขึ้น” บรอดกล่าว
สภาพการณ์อันเลวร้ายของแรดแอฟริกาก็เป็นประเด็นที่น่าห่วงใยอีกประการสำหรับ WWF และ TRAFFIC จากข้อมูลพบว่า เมื่อปีที่แล้วมีแรดแอฟริกาถูกฆ่าเพื่อเอานอมากถึง 668 ตัว ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ โดยมีการระบุว่า เวียดนาม เป็นประเทศผู้บริโภคนอแรดประเทศหลัก และแทบจะไม่ลงมือแก้ปัญหาเพื่อหยุดยั้งการลักลอบค้า
ที่ประชุม CITES ควรจะต้องกดดันทั้งเวียดนามและโมซัมบิกซึ่งเป็นศูนย์กลางลักลอบนำเข้าและส่งออกนอแรด ให้แสดงผลการปฏิบัติงานในการหยุดยั้งการค้านอแรดในระยะอันใกล้ หรือไม่ก็ต้องเผชิญกับมาตรการจัดการต่อไป
การประชุมทางไกลกับสื่อมวลชน
ผู้เชี่ยวชาญของ WWF และ TRAFFIC จะจัดการบรรยายสรุปผ่านโทรศัพท์ใน วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ 2556 ในเวลา 15.00 น. และ 22.00 น. เพื่อพูดคุยในประเด็นการค้างาช้างและสัตว์สายพันธุ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการประชุม CITES ที่จะมีขึ้น ข้อมูลาในการโทรศัพท์ ดังนี้
0800 GMT (15.00 น. เวลาในประเทศไทย) ทั่วโลก โทร: +41 58 262 07 22
1500 GMT (22.00 น. เวลาในประเทศไทย) โทร : +1 678-302-3550 (ไม่มี PIN)
ดาวน์โหลดภาพถ่ายได้ที่ : https://photos.panda.org/gpn/external?albumId=4334
TRAFFIC: Richard Thomas, richard.thomas@traffic.org, +44 752 6646 216
ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชนเกี่ยวกับ CITES ดูได้ที่ www.panda.org/citesmedia.
ข้อมูลอัพเดทจากการประชุม ติดตามเราได้ที่
Twitter @WWF_media, @WWFThailand
Facebook/wwfthailand