กรุงเทพฯ--7 ธ.ค.--สยาม พีอาร์ คอนซัลแทนท์
สมาคมแบด จัดงานประกาศผลรางวัลแบดอวอร์ดแบบย้อนสู่ยุคแรกเริ่ม ตอกย้ำจุดยืนเวทีแบดอวอร์ดที่เน้นความคิดสร้างสรรค์เป็นหัวใจหลัก “นิกรม” นายกสมาคมฯเผยการดำเนินงานกิจกรรมแบดตลอดปี’47เป็นไปอย่างดีเยี่ยม เชื่อมั่นวงการโฆษณาเห็นความแตกต่างของเวทีแบดอวอร์ดชัดเจน ส่วนการประกวดแบดอวอร์ดคึกคักเอเจนซี่โปรดักชั่นเฮ้าส์ส่งผลงานร่วมประกวดถึง 1,171 ชิ้น
นายนิกรม กูลโฆษะ นายกสมาคมผู้กำกับศิลป์บางกอกและประธานคณะกรรมการ ดำเนินงานแบด ครั้งที่ 20 ประจำปี 2547 กล่าวว่า คณะกรรมการดำเนินงานได้จัดงานแบด ครั้งที่ 20 ประจำปี 2547 โดยนอกจากมุ่งให้นักโฆษณาและฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนครีเอทีฟรุ่นใหม่ ได้เรียนรู้ พัฒนาศักยภาพผลงานโฆษณาแล้ว ยังมุ่งให้คนโฆษณา ทุกฝ่ายในวงการเข้าใจถึงจุดยืนของงานแบดว่า มีแก่นแท้ วัตถุประสงค์ และความแตกต่างอย่างไร โดยในปีนี้งานแบดดำเนินงานภายใต้แนวคิด “ขอให้เหมือนเดิม” ดังนั้นในการจัดงานประกาศผลรางวัลแบด อวอร์ด ครั้งที่ 20 นี้ จึงสร้างสรรค์รูปแบบ บรรยากาศของงานเสมือนงานแบดในอดีตอันเป็นงานที่ยกย่องคนทำงานสร้างสรรค์อย่างแท้จริง หรือเพียวครีเอทีฟ จริง ๆ สำหรับการประกวดในปีนี้ทางคณะกรรมการได้เห็นชอบให้ปรับการตัดสินหมวด ภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ จากที่แบ่งต่างประเภทสินค้า ให้แบ่งการประกวดโดยใช้เวลาในการออกอากาศ นั่นคือ 15 , 30 และมากกว่า 30 วินาที เป็นเกณฑ์ในการแบ่งประเภท ซึ่งการปรับการตัดสิน ดังกล่าวทำให้มีการแข่งขันสูงขึ้น นอกจากนี้ยังเพิ่มประเภทการประกวดอีกประเภทคือ สื่อโฆษณาทาง Interactive และ Digital Media
นายนิกรม กล่าวต่อว่า หลักการดำเนินงานสำคัญอันได้แก่ การปรับการตัดสินที่ยึดความคิด สร้างสรรค์เป็นหลัก การดำเนินงานภายใต้แนวคิด “ขอให้เหมือนเดิม” ที่สื่อสารผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ของงานแบด ทำให้งานแบดมีภาพลักษณ์ที่ชัดเจนในการเป็นเวทีประกวดผลงานโฆษณาในแบบ “เพียวครีเอทีฟ”(Pure Creative) อย่างแท้จริง ในส่วนของกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้งานแบด ครั้งที่ 20 ปี 2547 นี้ ได้ดำเนินงานดังนี้
โครงการ B.A.D. Student Workshop 2004 จัดขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาโดยได้รับความ สนใจจากนักศึกษาร่วม 500 คนที่ส่งผลงานเข้ามาคัดเลือก และครั้งนี้ได้คัดเลือกผู้ผ่านเข้าร่วมจำนวน 24 คน เข้าทำการฝึกปฏิบัติการด้านโฆษณาในเอเจนซี่ต่าง ๆ ได้แก่ เจ.วอลเตอร์ ธอมสัน ทีบีดับบลิวเอ\ ไทยแลนด์ และยูโร อาร์เอสซีจี แฟลกชิพ เป็นต้น ใช้ระยะเวลาฝึกปฏิบัติการร่วม 10 สัปดาห์ เป็นที่เรียบร้อย โครงการ B.A.D. Young Creative Workshop 2004 จัดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ในปีนี้ได้รับความสนใจจากเอเจนซี่โฆษณาชั้นนำของประเทศจำนวน 15 บริษัท ที่ได้ส่งครีเอทีฟเข้าร่วมฝึกปฏิบัติการร่วมทั้งสิ้น 44 คน หรือ 22 ทีม ซึ่ง 1 ใน 22 ทีมจะได้เป็นตัวแทนของประเทศเข้าร่วมแข่งขันในงานคานส์ เฟสติวัล ปี 2548 และผลการคัดเลือกทีมครีเอทีฟที่ได้เป็นตัวแทนของประเทศคือ ทีมครีเอทีฟ ตัวแทนจากเอสซี แมชบอกซ์
โครงการ B.A.D. Special Workshop 2004 จัดขึ้นในวันที่ 25 — 26 พ.ย. 2547 ที่ผ่านมา ในหัวข้อ Role Reversal “change your role for your excellent works” งานดังกล่าวมีผู้บริหารจากหลายเอเจนซี่และบริษัทลูกค้าเข้าร่วมฝึกปฏิบัติการร่วมกัน ผู้ร่วมฝึกปฏิบัติการในหัวข้อที่ว่า “ทำอย่างไรให้ได้งานที่ดี” และ“เวิร์คชอปทดลองงานด้วยตนเอง” ซึ่งก่อให้เกิดความเข้าใจในบทบาท หน้าที่ของฝ่ายต่าง ๆ ที่ทำงานร่วมกัน
นายวิศิษฏ์ ล้ำศิริเจริญโชค ประธานดำเนินงานตัดสินรางวัลแบด อวอร์ด 2004 กล่าวถึงการประกวดรางวัลแบด อวอร์ด ครั้งที่ 20 ปี 2547 ว่า ผลงานที่ส่งเข้าประกวด มีจำนวนทั้งสิ้น 1,171 ชิ้น จากบริษัทตัวแทนโฆษณา โปรดักชั่นเฮ้าส์ และอื่น ๆ รวมทั้งสิ้น 80 บริษัท ถือว่าเกินเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ 10 % โดยเบื้องต้นคาดว่าผลงานที่จะส่งเข้าร่วมประกวดแบด อวอร์ด ปีนี้มีจำนวน 1,000 ชิ้น และในจำนวนดังกล่าวมีผลงานที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายทั้งสิ้น 175 ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 15 ของผลงานทั้งหมด จำนวนผลงานที่ส่งเข้าประกวดในปีนี้ 1,171 ชิ้น แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้แก่ ภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ 264 ชิ้น สื่อสิ่งพิมพ์โฆษณา 393 ชิ้น โปสเตอร์ 208 ชิ้น สื่อกลางแจ้ง 40 ชิ้น สื่อโฆษณาแฝง 37 ชิ้น กราฟฟิคและดีไซน์ 67 ชิ้น สื่อวิทยุ 1643ชิ้น และสื่อโฆษณาทาง Interactive&Digital Media 19 ชิ้น บริษัทที่มีการส่งผลงานเข้าประกวดแอดแมน อวอร์ด สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1. บริษัท ครีเอทีฟจูซ\จีวัน จำกัด 146 ชิ้น 2. บริษัท เจ. วอลเตอร์ ธอมสัน จำกัด 109 ชิ้น 3.บริษัท โอกิลวี่ แอนด์ เมเธอร์ จำกัด 104 ชิ้น 4. บริษัท โลว์ จำกัด 89 ชิ้น และ 5. บริษัท ทีบีดับบลิวเอ\ไทยแลนด์ จำกัด 86 ชิ้น
“หัวใจสำคัญของการประกวดคือการตัดสิน ที่ส่งผลต่อความศรัทธาในผลการตัดสินและงานทั้งหมด การปรับประเภคการประกวดออกเป็น 15 วินาที 30 วินาที และมากกว่า นั้น เป็นวิธีที่สามารถตัดสินผลงานที่ถ่ายทอดไอเดียได้ดีที่สุดในเวลาที่กำหนด เวลาคือขีดจำกัดต่อการถ่ายทอดไอเดีย ดังนั้นการตัดสินจึงยึดหลักของไอเดียที่ถูกถ่ายทอดออกมาในเวลาที่กำหนดเป็นสำคัญ เวทีแบด อวอร์ด จึงเป็นเวทีแห่งความคิดสร้างสรรค์โดยเฉพาะ ผลงานที่ชนะเลิศนั้นจึงต้องเป็นผลงานที่ดีกว่าผลงานทั้งจากสินค้าประเภทเดียวกันและสินค้าอื่น ๆ ทั้งหมดที่เข้าประกวดในเวลาเดียวกัน การแข่งขันจึงสูงขึ้น การตัดสินยากขึ้น แต่เชื่อว่าแบดอวอร์ดปีนี้ได้ผลงานที่เป็นไอเดียยอดเยี่ยมอย่างแท้จริง” วิศิษฏ์ กล่าว
สรุปจำนวนผลงานที่เข้าประกวดรางวัลแบด อวอร์ด ครั้งที่ 20/2547
1. ผลงานที่ส่งเข้าประกวด จำนวนทั้งสิ้น
1,171 ชิ้น
2. บริษัทที่ส่งผลงานเข้าประกวด จำนวนทั้งสิ้น
80 บริษัท
3. ผลงานที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย จำนวนทั้งสิ้น
175 ชิ้น 15 % ของผลงานทั้งหมด
4. บริษัทที่ส่งผลงานเข้าประกวดมากที่สุด 5 อันดับแรก ดังนี้
อันดันที่ 1 Creativejuice\G1 จำนวนผลงาน 146 ชิ้น
อันดับที่ 2 JWT จำนวนผลงาน 109 ชิ้น
อันดับที่ 3 Ogilvy & Mather จำนวนผลงาน 104 ชิ้น
อันดับที่ 4 Lowe Limited จำนวนผลงาน 89 ชิ้น
อันดับที่ 5 TBWA\Thailand จำนวนผลงาน 86 ชิ้น
5. แบรนด์ที่ส่งผลงานเข้าประกวดมากที่สุด 6 แบรนด์ (ไม่เรียงอันดับ) ดังนี้
- Tamiya ผลงานจาก Creativejuice\G1
- Soken DVD ผลงานจาก Flagship
- Wrangler ผลงานจาก Creativejuice\G1
- Indospot ผลงานจาก Saatchi&Saatchi
- Giffarine ผลงานจาก BBDO
- Tesco Lotus ผลงานจาก BBDO
6. จำนวนผลงานที่ส่งเข้าประกวด แยกตามประเภทรางวัล มีดังนี้
6.1 รางวัลประเภทภาพยนตร์โฆษณา 264 ชิ้น
- สื่อภาพยนตร์โฆษณาประเภทผลิตภัณฑ์ (Consumer TVC)
* ประเภทเดี่ยว (Single)
- ความยาว 15 วินาที (TVC 15 sec.) 40 ชิ้น
- ความยาว 30 วินาที (TVC 30 sec.) 39 ชิ้น
- ความยาวมากกว่า 30 วินาที (TVC > 30 sec.) 72 ชิ้น
* ประเภทแคมเปญ (Campaign) 14 ชิ้น
ไม่จำกัดความยาว
* ประเภทงบประมาณการผลิตต่ำกว่า 1 ล้านบาทต่อ 1 เรื่อง
(TVC low budget < 1 MB) 25 ชิ้น
ไม่จำกัดความยาว
- สื่อภาพยนตร์โฆษณาประเภทส่งเสริมสังคม และการกุศล
(Public & Charity TVC)
* ประเภทเดี่ยว (Single) 34 ชิ้น
ไม่จำกัดความยาว
* ประเภทแคมเปญ (Campaign) 6 ชิ้น
ไม่จำกัดความยาว
- สื่อภาพยนตร์โฆษณาประเภทส่งเสริมการขาย (Promotion TVC)
* ประเภทเดี่ยว (Single) 29 ชิ้น
ไม่จำกัดความยาว
* ประเภทแคมเปญ (Campaign) 5 ชิ้น
ไม่จำกัดความยาว
6.2 รางวัลประเภทสื่อสิ่งพิมพ์โฆษณา 393 ชิ้น
- สื่อโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ประเภทผลิตภัณฑ์ (Consumer Press)
* ประเภทเดี่ยว (Single)
- Full Page & Over 49 ชิ้น
- Less than full page 82 ชิ้น
* ประเภทแคมเปญ (Campaign)
- Full Page & Over 11 ชิ้น
- Less than full page 18 ชิ้น
* Small space (less than quarter page) 15 ชิ้น
- สื่อโฆษณาทางนิตยสารประเภทผลิตภัณฑ์ (Consumer Magazine)
* ประเภทเดี่ยว (Single)
- Full Page & Over 150 ชิ้น
- Less than full page 4 ชิ้น
* ประเภทแคมเปญ (Campaign)
- Full Page & Over 33 ชิ้น
- Less than full page 3 ชิ้น
- สื่อโฆษณาทางหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารประเภทส่งเสริมสังคม และการกุศล
(Public & Charity Press / Magazine)
* ประเภทเดี่ยว (Single) 24 ชิ้น
* ประเภทแคมเปญ (Campaign) 4 ชิ้น
6.3 รางวัลประเภทโปสเตอร์ (Poster) 208 ชิ้น
- สื่อโฆษณาโปสเตอร์ประเภทผลิตภัณฑ์ (Consumer Poster)
* ประเภทเดี่ยว (Single) 127 ชิ้น
* ประเภทแคมเปญ (Campaign) 33 ชิ้น
- สื่อโฆษณาโปสเตอร์ประเภทส่งเสริมสังคม และการกุศล (Public & Charity Poster)
* ประเภทเดี่ยว (Single) 40 ชิ้น
* ประเภทแคมเปญ (Campaign) 8 ชิ้น
6.4 รางวัลประเภทสื่อกลางแจ้ง (Outdoor) 40 ชิ้น
* ประเภทเดี่ยว (Single) 31 ชิ้น
* ประเภทแคมเปญ (Campaign) 9 ชิ้น
หมายเหตุ: สื่อกลางแจ้งรวมถึง Billboard, Bus Shelter, BTS & Underground Materials, Taxi, Tuk Tuk Ad, POP, Transportation)
6.5 รางวัลประเภทสื่อโฆษณาแฝง (Ambience Media & New Media)37 ชิ้น
6.6 รางวัลประเภทกราฟฟิค ดีไซน์ (Graphic Design) 67 ชิ้น
* การออกแบบโลโก้และคอร์ปเปอเรตไอเดนติตี้ 12 ชิ้น
(Logo Design & corporate Identity)
* การออกแบบหีบห่อบรรจุภัณฑ์ (Packaging) 12 ชิ้น
* การออกแบบหนังสือรายงานประจำปี (Annual Report) 5 ชิ้น
* การออกแบบไดเร็คเมลล์ (Direct Mail) 15 ชิ้น
* การออกแบบปฏิทิน (Calendar) 4 ชิ้น
* การออกแบบประเภทอื่น ๆ 19 ชิ้น
(Stamp, Greeting Card, Invitation, Shopping Bag, Leaflet)
6.7 รางวัลประเภทสื่อวิทยุ 143 ชิ้น
- สื่อโฆษณาทางวิทยุประเภทผลิตภัณฑ์ (Consumer Radio Spot)
* ประเภทเดี่ยว (Single) 82 ชิ้น
- สื่อโฆษณาทางวิทยุประเภทส่งเสริมสังคม และการกุศล
(Public & Charity Radio Spot)
* ประเภทเดี่ยว (Single) 21 ชิ้น
- สื่อโฆษณาทางวิทยุประเภทส่งเสริมการขาย (Promotion Radio Spot)
* ประเภทเดี่ยว (Single) 29 ชิ้น
- สื่อโฆษณาทางวิทยุประเภทแคมเปญ 11 ชิ้น
(Consumer, Public & Charity, Promotion Radio Spot)
6.8 รางวัลสื่อโฆษณาทาง Interactive & Digital Media 19 ชิ้น
* Advertising (Banner, Pop-up) 8 ชิ้น
* Web-site Design 8 ชิ้น
* อื่น ๆ (CD-Rom, Attachment—Viral Ad.) 3 ชิ้น
ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
ประกาศิต นันป้อ, จิดาภา ประมวลทรัพย์
บริษัท สยาม พีอาร์ คอนซัลแทนท์ จำกัด
โทร. 0-2693-7835 ต่อ 37,32 โทรสาร. 0-2693-6919-20
Website : www.siampr.co.th--จบ--