เมดเดย์ แนะนำโซลูชั่นล่าสุดสำหรับระบบการเตือนภัยคลื่นสึนามิ

ข่าวทั่วไป Tuesday January 25, 2005 10:28 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 ม.ค.--ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน
เมดเดย์ บริษัทผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขจากสวีเดนเผยโฉมนวัตกรรมระบบเตือนภัยเพื่อตรวจหาและแจ้งเตือนผู้คนในกรณีที่เกิดภัยพิบัติอย่างเช่นคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 หลายปีที่ผ่านมา บริษัท เมดเดย์ ได้ดำเนินการพัฒนาบริการโทรศัพท์มือถือเพื่อใช้ตรวจหาและควบคุมโรคระบาดต่างๆ เช่น โรคซาร์สและไข้หวัดนก โดยที่ระบบดังกล่าวนี้สามารถนำมาปรับใช้ในการส่งข้อความเตือนภัยได้ทั่วโลกในกรณีที่อาจเกิดภัยพิบัติขึ้น
เมดเดย์ มีแอพพลิเคชั่นที่เรียกว่า RegPoint สำหรับจัดการด้านการดูแลรักษาโรคเรื้อรังและตรวจหารวมทั้งตรวจพิสูจน์โรคติดต่อหรือโรคระบาด แอพพลิเคชั่นดังกล่าวพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถส่งข้อมูลสุขภาพล่าสุดผ่านโทรศัพท์มือถือไปให้แพทย์ของตนได้หลายครั้งต่อวัน ดังนั้นเพื่อให้การใช้งานแอพพลิเคชั่นดังกล่าวได้ประโยชน์ที่ครอบคลุมกว่าเดิม เมดเดย์จะร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีพิบัติภัยจากมหาวิทยาลัยอัพซาลา ในการนำแอพพลิเคชั่นลักษณะเดียวกันนี้มาใช้ในระบบเตือนภัยคลื่นสึนามิและแผ่นดินไหว
แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 26 ธันวาคมเกิดขึ้นเมื่อเวลา 6.58 นาฬิกาตามเวลาท้องถิ่น หลังจากนั้นประมาณหนึ่งชั่วโมงครึ่งคลื่นระลอกแรกได้พัดถึงประเทศไทย ส่วนประเทศศรีลังกาได้ถูกคลื่นซัดในอีกหนึ่งชั่วโมงหลังจากนั้น จำนวนเหยื่อของคลื่นสึนามิในครั้งนี้เพิ่มขึ้นสูงมากเนื่องจากไม่มีระบบการเตือนภัยที่เหมาะสมในบริเวณโดยรอบ แม้ว่าระบบตรวจวัดการเกิดแผ่นดินไหวหลายแห่งได้มีการตรวจพบการเกิดแผ่นดินไหวดังกล่าวแต่ไม่สามารถส่งข้อมูลเตือนได้ทันท่วงที
เรเนียร์ บ็อดวาร์สซอน ผู้นำเครือข่ายด้านธรณีพิบัติภัยแห่งชาติสวีเดนประจำมหาวิทยาลัยอัพซาลา กล่าวว่า “ระบบของเราตรวจพบการเกิดแผ่นดินไหวภายในเวลา 11 นาทีหลังเกิดแผ่นดินไหว หรือเกือบหนึ่งชั่วโมงก่อนที่คำเตือนครั้งแรกจะไปถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในบริเวณที่ได้รับผลกระทบ”หากมีการนำ RegPoint? มาเชื่อมต่อกับระบบที่มหาวิทยาลัยอัพซาลา ผู้คนนับเป็นพันๆ คนจะได้รับคำเตือนผ่านโทรศัพท์มือถือภายในเวลาอันรวดเร็วเมื่อมีการตรวจพบการเกิดแผ่นดินไหว
ในขณะนี้ เมดเดย์กำลังจะร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีพิบัติภัยประจำมหาวิทยาลัยอัพซาลาพัฒนาระบบเตือนภัยทางโทรศัพท์มือถือ ระบบที่สมบูรณ์จำเป็นต้องมีการลงทะเบียนด้วย แต่เมื่อดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว หากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงอีก ก็จะมีการส่งข้อความเตือนจากมหาวิทยาลัยอัพซาลาผ่านเครือข่ายระบบจีพีอาร์เอส ซีดีเอ็มเอ หรือ ทรีจี โดยตรงไปยังผู้ใช้ RegPoint? ที่อยู่ในบริเวณที่ได้รับผลกระทบ เมดเดย์ใช้มาตรฐาน DMS (Daily Medical Support) สำหรับการส่งข้อความ อย่างเช่น โมโตโรล่า ก็มีส่วนร่วมในการพัฒนามาตรฐานนี้เช่นกัน
ปัจจุบัน ทั่วโลกต่างตระหนักถึงการปรับปรุงระบบเตือนภัยคลื่นสึนามิและธรณีพิบัติภัยให้ทันสมัยขึ้น
โซเฟีย ซาเลเนียส ประธานและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของเมดเดย์ กล่าวว่า “ระบบเตือนภัยแบบอเมริกันซึ่งใช้กันอยู่ทุกวันนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2491 หรือก่อนการเกิดโทรศัพท์มือถือนานมาก ระบบเตือนภัยแบบอเมริกันนี้มีความเชื่อถือสูง แต่ก็ต้องใช้เวลาในการเตือนผู้คนที่ไม่ได้อยู่ในเครือข่ายของการเตือนภัยหรือวิทยุท้องถิ่น มหันตภัยที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แสดงให้เห็นว่า ปัจจุบันควรมีการกระจายข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็วฉับไว เพราะความล่าช้าจะก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตของผู้คนจำนวนมาก”
ทุกวันนี้ มีศูนย์เตือนภัยคลื่นสึนามิหลายแห่งโดยเฉพาะตามแถบชายฝั่งประเทศญี่ปุ่นและอเมริกา โดยเป็นระบบที่ผสมผสานกันระหว่างเครื่องวัดความสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวและทุ่นที่ใช้ในการวัดค่า ขั้นตอนการทำงานของระบบดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นเมื่อเครื่องวัดความสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวตรวจจับสัญญาณแผ่นดินไหวรุนแรงใต้ท้องทะเลได้ เจ้าหน้าที่ก็จะส่งข้อความไปยังผู้ที่รับผิดชอบด้านทุ่นวัดค่าในทะเล หากทุ่นสามารถวัดการเคลื่อนไหวที่ตีค่าได้ว่าจะเกิดคลื่นสึนามิแล้ว ก็จะมีการส่งคำเตือนไปยังหน่วยงานกู้ภัยตามชายฝั่งทะเลที่จะได้รับผลกระทบดังกล่าว สุดท้าย คำเตือนก็จะถูกส่งต่อไปยังประชาชน (ตัวอย่างระบบเตือนภัยในลักษณะดังกล่าว ได้แก่ ระบบเตือนภัยคลื่นสึนามิฝั่งแปซิฟิก และ PTWS)
ระบบเตือนภัยแบบอเมริกันเป็นระบบที่มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงมาก และใช้เวลาติดตั้งอย่างน้อย 2 ปี นอกจากนี้สร้างหน่วยงานอยู่ในบริเวณที่เสี่ยงภัยเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการตอบสนองและการรับมือ แม้ระบบอเมริกันจะมีการใช้งานมานานหลายปีแล้วแต่จากการประมวลข้อเท็จจริงพบว่า ความเสี่ยงที่เกิดจากการเตือนภัยผิดพลาดเกิดขึ้นน้อยมาก อย่างไรก็ตามหากข้อมูลเดินทางไปถึงบริเวณที่ได้รับผลกระทบช้าเกินไป ระบบดังกล่าวก็จะกลายเป็นระบบที่ไร้ประโยชน์ทันที
ส่วนระบบแบบใหม่ของสวีเดนนั้นเป็นระบบที่มีค่าใช้จ่ายไม่แพงนัก ใช้เวลาในการติดตั้งเพียงสี่ถึงห้าสัปดาห์ นอกจากนี้ยังเตือนภัยได้รวดเร็วและต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยอัพซาลาจะสามารถส่งข้อมูลเตือนภัย
ได้ภายในเวลาสิบเอ็ดนาทีหลังเกิดแผ่นดินไหวในวันที่ 26 ธันวาคม ไปยังศูนย์ที่ติดตั้งโซลูชั่น RegPoint? และมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจตราดูแลอยู่ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง เมื่อได้รับการแจ้งเตือนภัยแล้ว
เจ้าหน้าที่สามารถแจ้งเตือนผู้คนที่อยู่ในบริเวณดังกล่าวผ่านโทรศัพท์มือถือได้ภายในเวลาเพียงหนึ่งนาที อย่างไรก็ตาม ความผิดพลาดในการเตือนภัยอาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากไม่มีการใช้ทุ่นวัด แต่หากอยู่ในเขตที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว ก็จะช่วยให้ผู้คนไม่ตื่นกลัวต่อเหตุการณ์มากจนเกินไป
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
อรวรรณ ชื่นวิรัชสกุล ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน ประเทศไทย
โทรศัพท์: 0-2627 3501 ต่อ 212
อีเมล: ochuenwiratsakul@th.hillandknowlton.com.hk
Sophia Salenius, Managing Director, MedDay
Cell phone: +46 7680 78710
Reynir B dvarsson, Project Leader of Swedish national seismological network, Department of Earth Sciences at the University of Uppsala Phone: +46 1847 12378--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ