กรุงเทพฯ--13 ธ.ค.--Carl Byoir & Associates
ปี 2547 นับได้ว่าเป็นปีแห่งการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีภายในบ้าน ในสำนักงาน หรือสถานที่อื่นๆ ด้วยแนวคิดที่ไม่หยุดนิ่งของอินเทลทำให้เกิดวิวัฒนาการครั้งสำคัญของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไปสู่รูปแบบของดิจิตอลโฮมที่ทำทำให้เรามีทางเลือกในการเพลิดเพลินกับดนตรี ภาพ วีดีโอ และเกมในรูปแบบดิจิตอลด้วยอุปกรณ์หลากหลายประเภทที่มีอยู่ในห้องต่างๆ ภายในบ้านได้มากขึ้น สำหรับภาคธุรกิจและผู้บริโภคทั่วไปก็มีแนวโน้มของไลฟ์สไตล์เปลี่ยนไปเช่นกันโดยมุ่งไปสู่สภาพของการทำงานหรือการใช้ชีวิตในรูปแบบที่มีความอิสระจากเทคโนโลยีไร้สายอย่างแท้จริง การที่องค์กรธุรกิจต่างๆ สามารถทำงานด้วยโน้ตบุ๊กที่รองรับเทคโนโลยีไร้สายได้อย่างคล่องตัว ทุกที่ ทุกเวลา ทำให้ธุรกิจเหล่านั้นใช้เวลาทุกนาทีได้อย่าง “คุ้มค่า” มากขึ้น นอกจากนี้โซลูชั่นเซิร์ฟเวอร์ใหม่ๆ ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนอีกด้วย สิ่งที่เกิดขึ้นในปีนี้นั้น ไม่ได้เป็นเพียงแต่การที่มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ของอินเทลมาใช้อย่างแพร่หลายเท่านั้น แต่เรายังเห็นการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของผู้คนที่เกิดจากอิทธิพลของกระแสของเทคโนโลยีใหม่ๆ ทั้งที่บ้านและที่ทำงานด้วย
ดิจิตอลโฮมกำลังมาแรง
คงไม่มีใครปฏิเสธว่าเวลาที่เราอยู่บ้านนั้นเป็นเวลาส่วนตัวที่เราได้พักผ่อนคลายเครียดจากภาระหน้าที่ รวมทั้งเป็นเวลาที่เราจะได้สนุกสนานไปกับสิ่งบันเทิงต่างๆ ที่เราชื่นชอบ แต่วิธีที่เราสร้างสรรค์ความบันเทิงภายในบ้านนั้นกำลังมีรูปแบบที่เปลี่ยนไป หนังสือพิมพ์เดอะ วอลสตรีท เจอร์นัล ระบุว่าสิ่งที่คนนิยมทำมากที่สุดสามประการเวลาอยู่บ้าน คือ ดูโทรทัศน์ ฟังเพลง และใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล การเติบโตอย่างมหาศาลของสื่อดิจิตอล ตลอดจนการที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สามารถเชื่อมต่อและสื่อสารระหว่างกันได้มากขึ้นก่อให้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับดิจิตอลโฮมซึ่งเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาอย่างรวดเร็ว
การสัมภาษณ์ผู้บริโภคกลุ่มหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้บ่งชี้ว่าผู้บริโภคในปัจจุบันต้องการที่จะเพลิดเพลินกับดิจิตอลคอนเทนต์จากโทรทัศน์และเครื่องเสียงที่บ้าน ตัวอย่างเช่น ผู้บริโภคกลุ่มนี้บอกว่าพวกเขาชอบแนวคิดที่จะทำให้สามารถนำรูปถ่ายดิจิตอลมาดูร่วมกันกับเพื่อนๆ และสมาชิกในครอบครัวได้อย่างสนุกสนานบนโทรทัศน์จอยักษ์ในห้องนั่งเล่น หรือสามารถฟังเพลงจากรายชื่อเพลงที่เลือกไว้ตามต้องการได้ด้วยระบบลำโพงที่ให้คุณภาพเสียงชั้นเยี่ยมได้ทั่วบ้านเป็นต้น นอกจากนี้เทคโนโลยีบรอดแบนด์และเครือข่ายไร้สายที่ได้รับความนิยมแพร่หลายมากขึ้นยังมีส่วนทำให้รูปแบบการใช้ชีวิตในบ้านแบบดิจิตอลโฮมซึ่ง “ทุกสิ่งทุกอย่างเชื่อมต่อถึงกัน รวมทั้งคอนเทนต์ต่างๆ ก็สามารถดูร่วมกันได้” กำลังก้าวเข้ามาเป็นไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ในปัจจุบัน
มีการคาดการณ์ว่าในปี 2547 ยอดขายกล้องดิจิตอลทั่วโลกจะสูงถึงประมาณ 70 ล้านตัว จะมีการโหลดภาพดิจิตอลเข้าสู่พีซีนับหลายพันล้านภาพ การขยายตัวของดีวีดี (มียอดขายทั่วโลกกว่า 1 พันล้านแผ่นในปี 2546 ) เสริมด้วยการที่มีผู้ผลิตวิดีโอคอนเทนต์ความคมชัดสูงออกมาอย่างมากมาย ส่งผลให้เกิดความต้องการระบบเสียงที่มีความล้ำหน้ามากยิ่งขึ้น ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว รวมทั้งการที่มีการแปลงเสียง ภาพและความบันเทิงทั้งหลายให้อยู่ในรูปของข้อมูลดิจิตอลทำให้พีซีกลายเป็นอุปกรณ์ให้ความบันเทิงแบบ “ครบวงจร” และเป็นศูนย์กลางความบันเทิงภายในบ้าน
นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมปีนี้อินเทลถึงได้พลิกโฉมหน้าแพลตฟอร์มของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลครั้งใหญ่ที่สุดอีกครั้งหนึ่งในรอบสิบปี และนี่ก็คือพื้นฐานของแนวความคิดเรื่องดิจิตอลโฮม พีซีที่มี อินเทล? เพนเทียม? 4 โปรเซสเซอร์ซึ่งสนับสนุนเทคโนโลยีไฮเปอร์-เธรดดิ้ง (เอชที) และชุดชิปเซ็ตอินเทล?915 G/P และ 925X Express คือพื้นฐานของแพลตฟอร์มสำหรับดิจิตอลโฮมแบบใหม่ เทคโนโลยีเหล่านี้ก่อให้เกิดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลประเภทใหม่ที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นอุปกรณ์ไฮไฟแบบครบวงจรที่รวบรวมไว้ทั้งวิดีโอความคมชัดสูง ระบบเสียงที่คมชัดและความสามารถในการเชื่อมต่อแบบไร้สาย คุณสมบัติเหล่านี้ส่งผลให้ผู้ใช้พีซีได้สัมผัสกับประสบการณ์ที่ตื่นตาตื่นใจในการชมภาพยนตร์หรือฟังเพลงจากพีซีของตนอย่างไม่เคยมีมาก่อน
นอกจากนี้อินเทลยังตระหนักดีว่าการที่จะผลักดันให้แนวคิดดิจิตอลโฮมกลายเป็นไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคทั่วไปได้จริงๆ ในลักษณะที่เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวันทั่วไปทุกชิ้นต้องสามารถใช้ข้อมูลและทำงานเชื่อมโยงกับพีซีได้ในบ้านนั้น จะอาศัยแต่ความมุ่งมั่นของอินเทลในการวิจัยและพัฒนาด้านไมโครโปรเซสเซอร์เพียงลำพังไม่ได้ สิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งก็คือการที่ผู้ผลิตจากอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องมากำหนดมาตรฐาน แนวทางและข้อกำหนดจำเพาะของผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลายร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อที่จะทำให้อุปกรณ์ทั้งหมดเหล่านี้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังหมายถึงว่าผู้ผลิตในอุตสาหกรรมเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์สำหรับชีวิตประจำวันทั้งหลายจำเป็นต้องมีแพลตฟอร์มที่สามารถปรับขยายได้ด้วยจึงจะช่วยให้ผู้บริโภคใช้งานและเข้าถึงสื่อดิจิตอลได้ง่ายและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น อินเทลได้ทำงานร่วมกับบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและคอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านกลุ่มพันธมิตรที่มีชื่อว่า Digital Living Network Alliance (DLNA) เพื่อพัฒนาแนวทางและข้อกำหนดจำเพาะสำหรับความสามารถในการทำงานร่วมกันของอุปกรณ์ประเภทต่างๆ กลุ่มพันธมิตรนี้ได้ตั้งเป้าหมายที่จะทำให้อุปกรณ์คอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์ในเครือข่าย อุปกรณ์พกพาและคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลสามารถใช้ดิจิตอลคอนเทนต์ร่วมกันได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม
อินเทลเชื่อว่าเมื่อใดก็ตามที่อุปกรณ์ต่างๆ สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อนั้นวิสัยทัศน์เรื่องดิจิตอลโฮมก็จะเป็นความจริงได้ในที่สุด และเมื่อเวลานั้นมาถึงสิ่งที่เราจะได้เห็นในชีวิตประจำวันของเราก็คือผลิตภัณฑ์คอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ประมวลผลชนิดต่างๆ สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างกลมกลืน และพร้อมรองรับคอนเทนต์ที่หลากหลายตามความต้องการของผู้บริโภคแต่ละคน โดยเราจะสามารถส่งคอนเทนต์เหล่านั้นไปมาระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ได้ไม่ว่าที่ไหนหรือเวลาใดก็ตาม
ปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นไลฟ์สไตล์ไลฟ์สไตล์แบบไร้สายยังคงดำเนินต่อไป
ไลฟ์สไตล์แบบไร้สายได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่ผู้บริโภคและธุรกิจต่างๆ อย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่มีการเปิดตัวอินเทล? เซนทริโน? โมบายล์ เทคโนโลยี ในปี 2546 บริการและคอนเทนต์ใหม่ๆ ในปัจจุบันช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเพลิดเพลินกับสื่อดิจิตอลในรูปแบบที่หลากหลายอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ความสามารถในการเชื่อมต่อไร้สายช่วยทำให้พนักงานฝ่ายขายและผู้บริหารมีอิสระที่จะอัพโหลดหรือดาวน์โหลดข้อมูลได้ทันทีในระหว่างเดินทาง หรือจากห้องประชุมแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง
การที่โน้ตบุ๊กรุ่นล่าสุดที่มีอินเทล เซนทริโน โมบายล์ เทคโนโลยี ทำให้ผู้ใช้มีอิสระและความคล่องตัวในการประมวลผลและการสื่อสารมากขึ้นเช่นนี้ ช่วยทำให้ไลฟ์สไตล์ที่เราเคยวาดฝันไว้กลายเป็นความจริงได้แล้ว ณ วันนี้ ไม่ว่าจะเป็นการส่งภาพวิดีโอดิจิตอลจากพีซีไปยังห้องต่างๆ ภายในบ้านทำให้สมาชิกทุกคนในครอบครัวสามารถร่วมชมวิดีโอนั้นได้พร้อมกันอย่างสนุกสนานหรือเด็กๆ เองก็สามารถเล่นเกมเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงได้ที่บ้าน แม้แต่นักเรียนนักศึกษาก็สามารถทำการบ้านได้สะดวกสบายมากขึ้นไม่ว่าจะอยู่ที่สถานศึกษาหรืออยู่ที่สถานที่อื่นๆ ที่มีฮอตสปอต
ปัจจุบันมีผู้ผลิตแล็ปท้อปที่ใช้อินเทล เซนทริโน โมบายล์ เทคโนโลยี ซึ่งเป็นเทคโนโลยีตัวเอกของอินเทลที่กวาดรางวัลมาแล้วมากมายออกสู่ตลาดแล้วมากกว่า 130 แบบ นอกจากนี้จุดฮอตสปอตสำหรับการสื่อสารไร้สายซึ่งอยู่ในโครงการ Wireless Verification Program ของอินเทลซึ่งหมายถึงว่าอินเทลจะเข้าไปทดสอบและรับรองว่าผู้ใช้โน้ตบุ๊กที่มีอินเทล เซนทริโน โมบายล์ เทคโนโลยีจะสามารถเชื่อมต่อเข้ากับผู้ให้บริการไร้สายต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและไม่ติดขัดเมื่อเข้ามาอยู่ในบริเวณฮอตสปอตก็มีอยู่ถึงกว่า 40,000 จุดใน 70 ประเทศทั่วโลก2
การวิจัยของไอดีซี ระบุว่า อุปกรณ์ไร้สายอย่างเช่น คอมพิวเตอร์แล็ปท้อป อุปกรณ์พกพาขนาดเล็กและอุปกรณ์ประมวลผลประเภทต่างๆ (เช่น สมาร์ทโฟน) ส่งผลอย่างใหญ่หลวงต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินงานในแต่ละวันขององค์กร การที่เทคโนโลยีบลูทูธ, ไว-ไฟ และเทคโนโลยี 2.5 และ 3จี มีประสิทธิภาพและความสามารถในการเชื่อมต่อแบบไร้สายมากขึ้นช่วยทำให้องค์กรในปัจจุบันสามารถนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เหล่านี้มาใช้ประโยชน์เพื่อขยายโอกาสในการเติบโตของธุรกิจได้มากขึ้นด้วย
บริษัทวิจัยปิรามิด รีเสิร์ช ระบุว่าจำนวนผู้ใช้เครือข่ายไว-ไฟอาจเพิ่มขึ้นสูงถึง 700 ล้านรายในปี 2551 การประมวลผลแบบไร้สายสะท้อนเหมาะกับสภาพการทำงานของผู้ใช้ในภาคธุรกิจอย่างชัดเจน ทำให้อินเทล เซนทริโน โมบายล์ เทคโนโลยีกลายเป็นเทคโนโลยีตัวหลักสำหรับองค์กรที่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเครือข่ายไร้สายแบบ ไว-ไฟจะได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ตาม แต่ก็ยังมีปัญหาในด้านการยอมรับถึงประโยชน์และข้อได้เปรียบของการประมวลผลแบบไร้สายนี้อยู่เช่นกัน โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับความวิตกกังวลเรื่องความปลอดภัยและความยุ่งยากซับซ้อนในการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์คอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ อินเทลให้ความสำคัญกับข้อกังวลเหล่านี้จึงได้พัฒนาเทคโนโลยีแบบใหม่คืออินเทล เซนทริโน โมบายล์ เทคโนโลยีสำหรับใช้กับโน้ตบุ๊ก รวมถึงซอฟท์แวร์ก็ใช้งานได้ง่ายขึ้น รวมทั้งมีคุณสมบัติด้านการรักษาความปลอดภัยแบบใหม่ที่ก้าวหน้า และการสนับสนุนมาตรฐานไว-ไฟทั้งสามระบบ
โมดูลแบบใหม่นี้สนับสนุนมาตรฐานการรักษาความปลอดภัย IEEE 802.11i ซึ่งเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยในระดับสูงสุดเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้อินเทลยังได้เปิดตัวซอฟท์แวร์ Intel PROSet/Wireless เวอร์ชั่น 9.0 และโมดูลไร้สายแบบสามโหมด (สนับสนุนมาตรฐาน IEEE 802.11a, b และ g) ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตั้งค่าและเชื่อมต่อแบบไร้สายได้เร็วและง่ายขึ้นไม่ว่าจะใช้เครือข่ายไว-ไฟใดๆ ก็ตามด้วยอัตราการส่งข้อมูลขนาดมากที่สุดเท่าที่ระบบจะอำนวยให้ได้
ในขณะที่การพัฒนาแพลตฟอร์มใหม่ๆ ให้มีประสิทธิภาพการทำงานสูงยิ่งขึ้นยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการเปิดตัวซอฟท์แวร์และบริการใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา อินเทลก็จะยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนา อินเทล เซนทริโน โมบายล์ เทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อรองรับไลฟ์สไตล์แบบ “ไร้สาย” ที่จะขยายตัวจากแวดวงของภาคธุรกิจไปสู่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ตามบ้านและผู้ที่ต้องใช้งานคอมพิวเตอร์ในระหว่างที่เดินทาง
นวัตกรรมและการเติบโตอย่างต่อเนื่องของแพลตฟอร์มองค์กร
สภาวะเศรษฐกิจที่กระเตื้องขึ้นส่งผลให้องค์กรธุรกิจมีสถานะการเงินที่แข็งแกร่งขึ้นและมีความต้องการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น ความท้าทายต่างๆ ที่องค์กรธุรกิจต้องเผชิญอยู่เช่น การพยายามเข้าถึงข้อมูลให้ได้รวดเร็วขึ้น หรือการที่พนักงานต้องทำงานให้ได้ทุกที่ ทุกเวลาแม้อยู่นอกสำนักงาน มีผลช่วยกระตุ้นให้ภาคอุตสาหกรรมไอทีต้องคิดค้นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พยายามหาหนทางช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานและเพิ่มความคล่องตัวด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้มากขึ้น อินเทลจับมือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น OEM นักพัฒนาซอฟท์แวร์อิสระ ผู้ดูแลระบบ และลูกค้าและร่วมกันทำงานอย่างใกล้ชิดเพื่อพัฒนาโซลูชั่นและแพลตฟอร์มที่จะสามารถรองรับสภาพการทำงานขององค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความแตกต่างกันไปในแต่ละวงการและแต่ละส่วนของการตลาดได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ปัจจุบันนี้มีเซิร์ฟเวอร์จำนวนมากกว่าร้อยละ 85 ที่ใช้สถาปัตยกรรมของอินเทล นอกจากนี้ร้อยละ 90 ของเซิร์ฟเวอร์แบบดูอัลโปรเซสเซอร์ซึ่งเป็นตลาดเซิร์ฟเวอร์ที่ใหญ่ที่สุดและโตเร็วที่สุดก็เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้เทคโนโลยีของอินเทลเช่นกัน
หากพิจารณาจากมุมมองส่วนตลาดเซิร์ฟเวอร์โดยรวมจะเห็นว่าในปี 2547 นี้องค์กรธุรกิจต่างๆ ยังคงเพิ่มงบประมาณด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง บริษัทวิจัยไอดีซีระบุว่า รายได้ของโรงงานในส่วนตลาดเซิร์ฟเวอร์ทั่วโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาจนมีมูลค่าสูงถึง 11,500 ล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาสที่สองของปี 2547 ซึ่งนับได้ว่าภาคการผลิตนี้มีการเติบโตของยอดรายได้โดยรวมติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ห้าแล้ว ส่วนรายได้ของโรงงานส่วนตลาดเซิร์ฟเวอร์แบบ x86 ทั่วโลกในช่วงเวลาเดียวกันก็เติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่งถึงร้อยละ 13 หรือเท่ากับเกือบ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งสูงกว่ารายได้ของเซิร์ฟเวอร์แบบ RISC ติดต่อกันเป็นไตรมาสที่สอง
อินเทลยังคงนำเสนอโปรเซสเซอร์ที่มีสมรรถนะมากขึ้น ดังนั้นองค์กรธุรกิจจึงสามารถปรับขยายความสามารถในการทำงานได้ต่อไปอีก โดยในเดือนมิถุนายน 2547 อินเทลได้เปิดตัวโปรเซสเซอร์อินเทล? ซีออน? ตัวแรกที่มีเทคโนโลยี Intel? Extended Memory ขนาด 64 บิต (Intel? EM64T) สำหรับการใช้งานที่ต้องการเข้าถึงหน่วยความจำที่มีขนาดใหญ่ เทคโนโลยี EM64T เป็นเพียงหนึ่งในบรรดานวัตกรรมด้านแพลตฟอร์มที่อินเทลพัฒนาออกมาเพื่อเสริมกับเทคโนโลยีประสิทธิภาพสูงที่มีอยู่แล้ว ทั้งแพลตฟอร์มที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบ IA-32, เทคโนโลยีไฮเปอร์-เธรดดิ้งและเทคโนโลยีด้านการประหยัดพลังงาน
สำหรับกลุ่มระบบการประมวลผลประสิทธิภาพสูง (high performance computing หรือ HPC) นั้น หากพิจารณาดูรายชื่อของสุดยอดซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลก 500 อันดับ เราจะเห็นว่าเป็นระบบที่ใช้เทคโนโลยีของอินเทลอยู่ถึง 287 ตัว (หรือร้อยละ 57) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมที่เคยติดกลุ่มอยู่ประมาณ 187 ตัว (ร้อยละ 37) เมื่อประมาณหกเดือนก่อน (พฤศจิกายน 2546) โดยเฉพาะระบบที่ใช้อินเทล? ไอเทเนียม? 2 โปรเซสเซอร์ นั้นพบว่าได้รับความนิยมมากเป็นพิเศษในปีนี้ โดยมีการใช้เพิ่มขึ้นมากกว่าสามเท่า จากเดิมที่ติดกลุ่มอยู่ประมาณ 19 ตัวในการสำรวจเมื่อเดือนมิถุนายน 2546 เพิ่มขึ้นเป็น 61 ตัวในปัจจุบัน
ปัจจุบันนี้ ระบบคลัสเตอร์เชิงพาณิชย์ที่ใช้เทคโนโลยีของอินเทลก็มีวางจำหน่ายไว้ให้พร้อมซื้อไปใช้งานได้เลยจากบริษัทผู้ผลิตชั้นนำและผู้ให้บริการโซลูชั่นพิเศษหลายราย นอกจากนี้ยังมีการเปิดตัวซอฟท์แวร์เชิงพาณิชย์และชุดสนับสนุนผลิตภัณฑ์แบบครบวงจรอีกด้วย ระบบการประมวลผลประสิทธิภาพสูงหรือ HPC นี้ได้รับความนิยมอย่างมากจากภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมการผลิต การเงิน ด้านการพลังงาน วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต และการผลิตสื่อดิจิตอล รวมทั้งการใช้งานภายในห้องปฏิบัติการวิจัยระดับชาติด้วย
คุณสมบัติที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นของอุปกรณ์พกพาขนาดเล็กและโทรศัพท์มือถือ
การผสมผสานของรูปแบบการสื่อสารคือแนวโน้มที่กำลังมาแรงที่สุดในส่วนตลาดอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก และแนวโน้มดังกล่าวก็กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ ตลาดโทรศัพท์มือถือทั่วโลกเติบโตขึ้นในช่วงไตรมาสที่สองของปี 2547 เนื่องจากผู้บริโภคต่างก็หันมาสนใจกับโทรศัพท์มือถือระดับกลางที่มีหน้าจอสีและกล้องถ่ายภาพ ยอดขายโทรศัพท์มือถือทั่วโลกในไตรมาสที่สองของปี 2547 มีจำนวน 163.7 ล้านเครื่อง ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกและเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.7 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
ความก้าวหน้าของการส่งข้อมูลความเร็วสูงหรือบรอดแบนด์แบบไร้สายช่วยผลักดันให้เกิดความต้องการอุปกรณ์ไร้สายรูปแบบใหม่ ขณะนี้มีเทคโนโลยีต่างๆ มากมายที่นำการส่งข้อมูลผ่านบรอดแบนด์ไร้สายมาใช้ เช่น เทคโนโลยี 3 จี, เครือข่ายไว-ไฟ หรือไวแม็กซ์ อุปกรณ์ที่มีความสามารถในการทำงานแบบไร้สายได้นี้จำเป็นต้องมีสมรรถนะการทำงานสูงในขณะที่ต้องกินไฟต่ำจึงจะรองรับกับปริมาณข้อมูลต่าง ๆ ที่จะมาจากอินเทอร์เน็ตได้
ดังนั้นเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น อินเทลจึงได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์โปรเซสเซอร์ในตระกูล Intel? PXA27x ซึ่งมีการเพิ่มเติมเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าไปเพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือและพีดีเอ โปรเซสเซอร์ในตระกูลใหม่ที่ใช้เทคโนโลยี Intel XScale? นี้สามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาขนาดเล็กได้มากมายหลายประเภทที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลที่ส่งมาทางอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงหรือบรอดแบนด์แบบไร้สาย เช่นโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถในการประชุมทางไกลแบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนส์ หรือพีดีเอที่สามารถเล่นดีวีดีได้ในระดับคุณภาพ
นอกจากนี้ยังเป็นครั้งแรกที่อินเทลผสมผสานคุณสมบัติในการรักษาความปลอดภัยที่สำคัญเข้าไปในผลิตภัณฑ์ของตนผ่าน Intel Wireless Trusted Platform ทำให้การทำงานต่างๆ มีความปลอดภัยขึ้นเช่น การบู้ตเครื่อง การระวังป้องกันการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลและกุญแจการเข้ารหัสข้อมูล และการสนับสนุนโปรโตคอลการรักษาความปลอดภัยโดยทั่วไป ด้วยคุณสมบัติที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้รวมทั้งสมรรถนะในการประมวลผลที่ดีขึ้นทำให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือและพีดีเอสามารถใช้งานอุปกรณ์เหล่านั้นได้ทั้งเพื่อการทำงานและความบันเทิง
แรงผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านโมดูล
แพลตฟอร์มการสื่อสารแบบโมดูลทำให้ผู้พัฒนาอุปกรณ์พกพาขนาดเล็กสามารถนำรูปแบบบริการใหม่ๆ มาใช้ได้อย่างรวดเร็วขึ้นในขณะที่ยังสามารถลดต้นทุนในการดำเนินงานได้ด้วย วิธีการหนึ่งก็คือการนำเอาส่วนประกอบโครงสร้างพื้นฐานหรือโมดูลที่ใช้กันเป็นมาตรฐานทั่วไปเช่นที่เป็นเทคโนโลยีของอินเทลมาใช้ในการออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์เครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานการสื่อสาร ความสนใจด้านโมดูลนี้กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น อินเทลคาดว่าจะมีการนำรูปแบบโมดูลนี้มาใช้กันมากขึ้นและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมทั้งหลายต่างก็หันมาสนับสนุนแนวทางนี้เช่นกัน
ตัวอย่างเช่น บริษัทหัวเหว่ยและโคเรีย เทเลคอม ต่างก็นำรูปแบบดังกล่าวมาใช้และให้บริการการสื่อสารแบบโมดูลที่ใช้เทคโนโลยีของอินเทล รวมถึง AdvancedTCA* และ platform and carrier grade Linux บริษัทยูทีสตาร์คอมและฟูจิตสึต่างก็ประกาศสนับสนุนแพลตฟอร์มการสื่อสารแบบโมดูลที่ใช้เทคโนโลยีของอินเทล ยูทีสตาร์คอมยังได้แถลงถึงแผนดำเนินการของบริษัทว่าจะพัฒนาโซลูชั่นที่ใช้ AdvancedTCA ที่มี อินเทล? เพนเทียม? เอ็ม โปรเซสเซอร์เป็นแพลตฟอร์มสำหรับโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย
นอกจากนี้แล้วยังพบว่ามีแนวโน้มที่บรรดาผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคม (ทีอีเอ็ม) ผู้จัดหาอุปกรณ์เครือข่าย (เอ็นอีพี) และผู้ให้บริการจะเปลี่ยนจากการใช้ระบบเฉพาะที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทหนึ่งซึ่งมักจะทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงไปสู่การใช้แพลตฟอร์มที่เป็นมาตรฐานที่ยอมรับกันทั่วไปมากขึ้น ส่งผลให้บริษัทเหล่านี้สามารถพัฒนารูปแบบบริการใหม่ๆ ออกมาได้เร็วขึ้นและสร้างรายได้ให้แก่บริษัทได้เร็วขึ้นเช่นกัน
ปีนี้อินเทลยังได้เปิดตัว Intel? NetStructure? Host Media Processing Software release 1.2 for Linux ซึ่งเป็นซอฟท์แวร์ประมวลผลสื่อเชิงพาณิชย์ความจุสูงตัวแรกที่นำเอาคุณสมบัติของความยืดหยุ่นและจุดเด่นของแพลตฟอร์มในระบบเปิดมาใช้ นอกจากนี้อินเทลยังเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ 1U Carrier Grade Server รุ่นที่สองที่ช่วยให้ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมและผู้ให้บริการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 ในขณะที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่ารูปแบบเดิมร้อยละ 20
นอกจากจะช่วยให้ผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้นกว่าเดิมแล้ว การใช้องค์ประกอบที่เป็นมาตรฐานที่ใช้กันแพร่หลายทั่วไปนี้ยังเป็นประโยชน์ในการช่วยให้ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมและผู้ให้บริการสามารถใช้เวลาที่มีค่าทุ่มเทค้นคว้าในสิ่งที่ตนมีความชำนาญอยู่แล้วได้อย่างเต็มที่เช่น การคิดค้นรูปแบบของบริการใหม่ ๆ การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ตลอดจนการปรับปรุงให้อุปกรณ์ทำงานได้อย่างน่าเชื่อถือ
ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ผู้ใช้ในภาคธุรกิจและตลาดผู้บริโภคทั่วภูมิภาคเอเชียยังคงนิยมใช้ไมโครโปรเซสเซอร์ของอินเทลอย่างต่อเนื่อง โดยภูมิภาคนี้ได้กลายมาเป็นปัจจัยสำคัญของความสำเร็จของบริษัท โดยร้อยละ 21 ของรายได้โดยรวมทั่วโลกของอินเทลในไตรมาสที่สามมาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และนับเป็นไตรมาสที่สิบสองติดต่อกันที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนำหน้าภูมิภาคอื่นๆ ในการสร้างรายได้ให้แก่บริษัท และนี่ก็คือหลักฐานที่เห็นได้ชัดเจนว่าความต้องการผลิตภัณฑ์ของอินเทลยังคงเติบโตอย่างรวดเร็วทั่วทั้งภูมิภาค
อินเทลยังคงดำเนินการตามคำสัญญาเพื่อฟูมฟักนวัตกรรรมในภูมิภาคนี้ด้วยการเปิดศูนย์วิจัยและพัฒนาขึ้นในประเทศเกาหลีในปีนี้ ศูนย์วิจัยและพัฒนาแห่งนี้เน้นไปที่การค้นคว้าเกี่ยวกับเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายที่ก้าวหน้า การเข้ารหัสสื่อคุณภาพสูงและแพลตฟอร์มสำหรับยุคหน้าสำหรับการกระจายและนำคอนเทนต์มาใช้ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอินเทลประจำประเทศเกาหลีทำให้เกิดการร่วมมือร่วมใจของฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกระทรวงข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร บริษัทอีทีอาร์ไอ และอุตสาหกรรมไอทีของเกาหลี ศูนย์วิจัยและพัฒนาแห่งนี้ดำเนินงานก้าวหน้าไปได้อย่างน่าพอใจในการนำมาตรฐานไวแม็กซ์และมาตรฐานไวโบรของประเทศเกาหลีมาผสมผสานเข้าด้วยกัน มาตรฐานไวโบรของเกาหลีนี้คือมาตรฐานของการบริการไร้สายความเร็วสูงหรือบรอดแบนด์ที่กลุ่มบริษัทเกาหลีและสมาคมเทคโนโลยีการสื่อสารได้ร่วมกันพัฒนาขึ้นมา
โครงการลงทุนเชิงกลยุทธ์ของอินเทลหรือที่มีชื่อเรียกว่า อินเทล แคปปิตัล นั้นนับเป็นหนึ่งในโครงการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดของอินเทล โดยอินเทลได้เข้าร่วมลงทุนกับองค์กรต่างๆ ทั่วโลกในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ในปี 2547 นี้ อินเทล แคปปิตัลได้ตกลงเข้าร่วมลงทุนในบริษัทต่างๆ ที่ให้การสนับสนุนวิสัยทัศน์ของการใช้งานคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในลักษณะที่มีการเชื่อมต่อกัน รวมทั้งเน้นการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ในด้านการสื่อสาร สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้น บริษัทต่างๆ ที่อินเทลได้เข้าร่วมลงทุนด้วยยังรวมถึงบริษัทที่เชี่ยวชาญเป็นพิเศษในการทำงานวิจัยและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โซลูชั่นคอนเทนต์ เซิร์ฟเวอร์และการสร้างเครือข่าย
โครงการลงทุนผ่าน Intel Capital ในประเทศต่างๆ ในปี 2547 ได้แก่
สาธารณรัฐประชาชนจีน: บริษัท คอมเลนท์ และบริษัทไฮฮุย
เกาหลี: บริษัท อินทิแกรนท์
ไต้หวัน: บริษัท ซิสเต็ม เจเนอรัล
อินเทลยังได้ดำเนินโครงการต่างๆ ที่มุ่งเน้นช่วยเหลือการพัฒนาชุมชนในประเทศต่างๆ ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างต่อเนื่อง โดยโครงการเด่นๆ ที่ดำเนินการอยู่ได้แก่ Intel? Teach to the Future และ Intel International Science and Engineering Fair นับแต่เริ่มดำเนินโครงการมาจนถึงปัจจุบัน มีครูจำนวนมากกว่า 1.9 ล้านคนทั่วโลกที่ได้ผ่านการฝึกอบรมตามโครงการ Intel Teach to the Future โดยในจำนวนนั้นมีประมาณ 950,000 คนมาจากภูมิภาคเอเชีย โปรแกรม Intel Teach to the Future นี้มุ่งเน้นในการอบรมให้ครูในสาขาวิชาต่างๆ รวมทั้งนักศึกษาวิชาครูได้รู้จักการนำเทคโนโลยีเข้ามาผสมผสานกับการสอนเพื่อพัฒนาให้นักเรียนมีทักษะในการคิดและวิเคราะห์ขั้นสูงและยกระดับการเรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ในปี 2547 ยังมีนักเรียน จำนวน 1,300 คนจาก 41 ประเทศเดินทางมาเข้าร่วมแข่งขันกันในงาน Intel International Science and Engineering Fair ซึ่งเป็นงานประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับเตรียมอุดมศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในโลก ผลการตัดสินในปีนี้ปรากฏว่า หยวนเจิน ฉู นักเรียนจากสาธารณรัฐประชาชนจีนได้รับรางวัลชนะเลิศและได้รับเลือกให้เป็นนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ของอินเทล ถือเป็นครั้งแรกที่นักเรียนจากภูมิภาคเอเชียได้รับเกียรติดังกล่าว
มองไปข้างหน้าสู่นวัตกรรมในปี 2548
ในปี 2548 ที่จะมาถึงนี้ เราจะเห็นประโยชน์ของการผสมผสานเทคโนโลยีต่างๆ เข้าด้วยกันได้อย่างชัดเจนขึ้น บริษัทหลายแห่งได้ทำงานร่วมกับอินเทลในการช่วยกันพัฒนาสิ่งใหม่ๆ โดยเน้นถึงการพัฒนา 3 ด้านเป็นหลัก ได้แก่การพัฒนามาตรฐานใหม่ๆ การลงทุนกับเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรม (ดูล้อมกรอบ 1 และ 2) และการร่วมมือกันพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
การผสมผสานทำให้อุปกรณ์ในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น โทรศัพท์มือถือ พีดีเอ และโน้ตบุ๊ก สามารถสื่อสารระหว่างกันได้อย่างราบรื่นและง่ายดาย การผสมผสานกันของเทคโนโลยีต่างๆ นี้แบ่งได้เป็นสองประเภทคือ การผสมผสานแบบจุลภาค และแบบมหภาค การผสมผสานแบบจุลภาคคือการนำสิ่งต่าง ๆ มารวมเข้าด้วยกันในขนาดที่เล็กลง ตัวอย่างก็คือ อินเทลได้ก้าวจากเทคโนโลยีการประมวลผลซิลิคอนขนาด 90 นาโนเมตรไปเป็น 65 นาโนเมตร ซึ่งทำให้ซิลิคอนชิ้นหนึ่งมีจำนวนทรานซิสเตอร์มากขึ้น ส่วนการผสมผสานระดับมหภาคนั้นช่วยลดต้นทุนด้านอุปกรณ์อย่างรวดเร็ว ทำให้มีราคาต่ำลงและในขณะเดียวกันก็ช่วยเสริมประสิทธิภาพใหม่ๆ อย่างหลากหลาย
การผสมผสานแบบจุลภาคยังนำไปสู่การผสมผสานแบบมหภาคด้วย อินเทลกำลังสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีในแพลตฟอร์มการสื่อสารโมดูลและความสามารถในการเชื่อมต่อไร้สายที่เปลี่ยนโฉมหน้าการสื่อสารโทรคมนาคม อินเทลช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถให้บริการแบบใหม่ๆ ได้เร็วขึ้น สร้างพื้นฐานสำหรับโซลูชั่นที่ปรับขยายขนาดได้และเชื่อถือได้ และลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเพื่อการสร้างผลกำไร
(ยังมีต่อ)