คำฮิตติดปากของทุกคนตอนนี้ก็คือ “ไวแม็กซ์” ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาภาคอุตสาหกรรมต่างพยายามอย่างมากที่จะทำความเข้าใจกับศักยภาพของเทคโนโลยีไวแม็กซ์ อินเทลได้เปิดเผยวิสัยทัศน์ของบริษัทในการเร่งการพัฒนาเครือข่ายบรอดแบนด์ผ่านเทคโนโลยีไร้สายที่จะช่วยเสริมประสิทธิภาพการใช้อินเทอร์เน็ตไร้สายทางไกลความเร็วสูงจากที่บ้านและที่ทำงาน ไวแม็กซ์ช่วยให้เราสามารถสร้างเครือข่ายบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงที่เป็นมาตรฐานได้ โดยทั่วไปแล้วเทคโนโลยีที่อิงกับมาตรฐานต่างๆ ที่มีการใช้เป็นที่แพร่หลายกันอยู่แล้วจะช่วยลดต้นทุนและส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันซึ่งจะส่งผลให้เทคโนโลยีนั้นเป็นที่นิยมนำมาใช้กันมากขึ้น ในปีหน้า อินเทลวางแผนที่จะวางจำหน่ายโปรเซสเซอร์บรอดแบนด์ไร้สายรุ่นใหม่ที่มีชื่อรหัสว่า Rosedale และคาดว่าจะเป็นโปรเซสเซอร์ตัวแรกในรูปแบบ “system-on-a-chip” สำหรับ customer premise equipmentที่คุ้มราคาซึ่งสนับสนุนมาตรฐาน IEE 802.16-2004
อินเทลมุ่งมั่นในการก้าวไปข้างหน้าโดยที่ยังคงกลยุทธ์ไว้อย่างเดิม นั่นคือเน้นการลงทุนในเทคโนโลยีระดับชั้นนำ พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ และแสวงหาโอกาสในการเติบโตในภูมิภาคเอเชียและทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง
ล้อมกรอบ 1
อินเทลกำลังสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่น่าตื่นเต้นมากมายสำหรับปี 2548 ที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการผสมผสานในการทำงานระหว่างการประมวลผลและการสื่อสาร
แพลตฟอร์มเซนทริโน โมบายล์ เทคโนโลยี ชื่อรหัสว่า Sonoma ของอินเทลจะมาพร้อมกับโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ล่าสุดในตระกูล เพนเทียม เอ็ม ที่มีฟรอนท์ ไซด์ บัส ขนาด 533 เมกะเฮิร์ตซ ซึ่งจะทำงานได้เร็วขึ้นและยังรวมเอาความสามารถของระบบแลนไร้สายแบบ 802.11 a/b/g ไว้ด้วย ชิปเซ็ตชุดใหม่ รหัส Alviso จะสนับสนุนกราฟิกยุคที่สาม คุณสมบัติอย่างอื่นของ Alviso ยังรวมถึง Intel High Definition Audio ซึ่งจะช่วยให้มีประสิทธิภาพด้านระบบเสียงดีขึ้น และ Intel Display Power Saving Technology 2.0 ที่สามารถลด display backlight power ได้ แพลตฟอร์มโมบายล์ตัวใหม่นี้จะเป็นศูนย์กลางความบันเทิงเคลื่อนที่สำหรับดิจิตอลโฮมและโซลูชั่นประสิทธิผลสูงสำหรับสำนักงานดิจิตอล
องค์ประกอบไร้สายใหม่ล่าสุด ที่มีใหม่ชื่อรหัส Rosedale จะมีวางจำหน่ายในปีหน้าในฐานะของอุปกรณ์ซิลิคอนครบวงจรคุณภาพสูงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการออกแบบและลดต้นทุนของ customer premise gear ผู้ออกแบบระบบจะสามารถพัฒนา customer premise gear ได้อย่างรวดเร็วในราคาต่ำ สำหรับเครือข่ายไวแม็กซ์นั้น คุณสมบัติที่ครบวงจรจะช่วยลดขนาดของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เนื่องจากใช้ชิพน้อยลง และการประเมินค่าตลอดจนทดสอบอุปกรณ์ก็ทำได้เร็วขึ้น ทำให้ผู้ออกแบบระบบสามารถพัฒนา customer premise gear ได้เร็วขึ้นและง่ายขึ้นกว่าเดิม
อินเทลเผยแผนสำหรับโปรเซสเซอร์ อินเทล ซีออน เอ็มพีที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 90 นาโนเมตร รหัส Cranford และPotomac สำหรับระบบเซิร์ฟเวอร์ขั้นสูง โดยจะมีวางจำหน่ายในครึ่งแรกของปี 2548 ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวยังรวมถึง Intel Extended Memory 64 Technology (Intel EM64T) และ Demand Based Switching ด้วย Intel Enhanced SpeedStep? Technology แพล็ตฟอร์มใหม่นี้สามารถช่วยให้ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศจัดการกับสินทรัพย์คอมพิวเตอร์และความปลอดภัยที่หลากหลายได้ และมีการนำโครงสร้างพื้นฐานมาสนับสนุนการทำงานของพนักงานในองค์กรที่ทำงานนอกสถานที่ หรือมีการเดินทางไปที่ต่างๆ ทั่วโลก
จะมีการนำเทคโนโลยีแบบมัลติคอร์มาใช้ในระบบเพื่อรองรับตลาดระดับสูงโดยจะมีโปรเซสเซอร์สองตัวในกลุ่มนี้ ได้แก่โปรเซสเซอร์ อินเทล ซีออน เอ็มพี แบบดูอัลคอร์ที่มีชื่อรหัสว่า “Tulsa” และไอเทเนียม 2 โปรเซสเซอร์ ชื่อรหัส Montecito โปรเซสเซอร์แบบดูอัลคอร์ อินเทล ไอเทเนียม 2 ชื่อรหัส Montvale จะเป็นโปรเซสเซอร์ไอเทเนียมตัวแรกที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 65 นาโนเมตรและมีแผนจะออกตามหลัง Montecito
แผนการในอนาคต คือ โปรเซสเซอร์ อินเทล ซีออน เอ็มพี แบบมัลติคอร์ ที่มีชื่อรหัสว่า Whitefield และโปรเซสเซอร์ ไอเทเนียม 2 แบบมัลติคอร์ ซึ่งมีชื่อรหัสว่า Tukwila โดย Whitefield จะใช้สถาปัตยกรรมแพลตฟอร์มเดียวกันกับของ Tukwila
สำหรับเซิร์ฟเวอร์และเวิร์คสเตชั่นแบบทูเวย์นั้น อินเทลขอเสนอ โปรเซสเซอร์ที่มีชื่อรหัสว่า Irwindale ซึ่งเป็นตัวถัดมาของ โปรเซสเซอร์ อินเทล ซีออน ขนาด 3.6 กิกะเฮิร์ตซ์ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อไม่นานมานี้ ทั้งนี้คาดว่าจะช่วยให้ลูกค้ามีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกันกับโปรเซสเซอร์อินเทล ซีออน รุ่นก่อนหน้านี้ เนื่องจากมีความเร็วสัญญาณนาฬิกาเพิ่มขึ้นและมีแคชขนาดสองเมกะไบต์ที่ใหญ่กว่าเดิม
ล้อมกรอบ 2
สิ่งที่อินเทลทำควบคู่ไปกับการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ก็คือการลงทุนอย่างต่อเนื่องด้านการวิจัยและการพัฒนา เทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมและล้ำหน้าที่อินเทลกำลังจะคิดค้นพัฒนาขึ้นในปี 2548 ก็คือ
ท กระบวนการผลิตขนาด 65 นาโนเมตร อินเทลพร้อมที่จะวางตลาดผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเทคโนโลยีการผลิตขนาด 65 นาโนเมตรที่ล้ำหน้าที่สุดในโลกในปี 2548 กระบวนการผลิตดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงก้าวที่สำคัญของการพัฒนาไมโครโปรเซสเซอร์อย่างต่อเนื่องตามกฎของมัวร์และคาดว่าผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากเทคโนโลยีการผลิตใหม่ล่าสุดนี้จะมีความสามารถและสมรรถนะเพิ่มขึ้นกว่าเดิมอย่างมาก ทรานซิสเตอร์ที่ผลิตขึ้นด้วยเทคโนโลยีการผลิตขนาด 65 นาโนเมตรของอินเทลจะมีความสามารถต่างๆ ที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมในขณะที่คุณสมบัติในการใช้พลังงานก็จะได้รับการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นเช่นกัน ผลที่ได้ก็คือประสิทธิภาพการทำงานของทรานซิสเตอร์ที่ดีขึ้นโดยไม่สิ้นเปลืองพลังงานไปมากกว่าเดิม เทคโนโลยีขนาด 65 นาโนเมตรของอินเทลมีคุณสมบัติต่างๆ ที่ส่งเสริมให้เกิดการประหยัดพลังงานแบบใหม่หรือเพิ่มความสามารถในการประหยัดพลังงานได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้คุณสมบัติใหม่ๆ ยังรวมถึงซิลิคอนรุ่นที่สองที่รองรับการทำงานหนักได้และทรานซิสเตอร์ที่ไม่ได้ทำงาน ซึ่งอาจจะช่วยลดการใช้พลังงานของชิพในอนาคตได้
เทคโนโลยี Vanderpool (VT) เทคโนโลยี Vanderpool คือ ชุดฮาร์ดแวร์เสริมสำหรับโปรเซสเซอร์และชุดชิปเซ็ตที่ช่วยปรับปรุงความสามารถในการกลับสู่สภาพเดิมและความน่าเชื่อถือของแพลตฟอร์ม ทำให้การประมวลผลสำนักงานมีคุณสมบัติในการจัดการได้มากขึ้น เมื่อนำเทคโนโลยี Vanderpool นี้มารวมเข้ากับซอฟท์แวร์ที่เหมาะสม เทคโนโลยีนี้ก็จะทำให้เราสามารถใช้ซอฟท์แวร์หลายๆ ตัวได้อย่างอิสระภายในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเครื่องเดียว (เรียกว่าส่วนที่กันไว้สำหรับระบบปฏิบัติการ) ซึ่งคล้ายคลึงกันกับการทำงานของระบบเมนเฟรม เทคโนโลยี Vanderpool มีเป้าหมายที่จะช่วยยกระดับประสบการณ์ผู้ใช้ด้วยการเพิ่มความน่าเชื่อถือ ความยืดหยุ่น การโต้ตอบ รวมถึงเร่งความสามารถในการแก้ไขคอมพิวเตอร์ที่ล้มเหลวให้กลับสู่สภาพเดิม
เทคโนโลยีแบบมัลติคอร์ เทคโนโลยีแบบมัลติคอร์จะช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพอย่างเช่น ปรับปรุงอินเตอร์เฟซผู้ใช้ การป้องกันไวรัสและระบบป้องกันความปลอดภัย และปรับปรุงประสิทธิภาพและการทำงานโดยรวมทั้งหมด เทคโนโลยีแบบมัลติคอร์ยังช่วยให้นักพัฒนาสามารถนำทรัพยากรและอุปกรณ์ที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ทั้งนี้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรมออกมาสู่ผู้ใช้
สำนักงานดิจิตอล อินเทลและบริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรมกำลังร่วมมือกันเพื่อพัฒนาโซลูชั่นแพลตฟอร์มของทั้งองค์กรด้วยคุณสมบัติ อุปกรณ์ซอฟท์แวร์ที่ทดสอบมาแล้วเป็นอย่างดี ระบบปฏิบัติการและแอพพลิเคชั่นเพื่อตอบสนองกับปริมาณงานและความต้องการของผู้ใช้ที่เปลี่ยนไป
Intel Active Management Technology เทคโนโลยี Intel Active Management Technology มุ่งเน้นในเรื่องการจัดการข้อมูลในแพลตฟอร์มแบบต่างๆ นับตั้งแต่อุปกรณ์สื่อสารแบบพกพาขนาดเล็กไปจนกระทั่งถึงเซิร์ฟเวอร์ เทคโนโลยีนี้ช่วยให้ผู้ดูแลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรสามารถปรับปรุงการจัดการสินทรัพย์คอมพิวเตอร์ให้ดีขึ้น โดยไม่ต้องประสบกับปัญหาปัจจุบันที่งบประมาณด้านเทคโนโลยีสารสนเทศราวร้อยละ 80 ต้องใช้ไปสำหรับการจัดการสินทรัพย์มากกว่าที่จะนำไปพัฒนาและติดตั้งโซลูชั่นที่เป็นนวัตกรรมซึ่งจะช่วยปรับปรุงประสิทธิผลและประสิทธิภาพของพนักงาน--จบ--