กรุงเทพฯ--11 มี.ค.--Health Action International
แถลงการณ์ร่วมโดย เฮลธ์ แอคชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล, อ๊อกซ์แฟม และ แอคชั่น อเก้นส์ เอดส์ เยอรมนีการเจรจาเอฟทีเอระหว่างสหภาพยุโรปและไทย: ชะตากรรมสำหรับการเข้าถึงยาจะเป็นเช่นไร
สัปดาห์นี้ ระหว่างวันที่ 4-6 มีนาคม นายกรัฐมนตรีและคณะเจรจาการค้าของไทยอยู่ระหว่างการเยือนกรุงบรัสเซลส์เพื่อหารือกับเจ้าหน้าที่ของสหภาพยุโรปเพื่อเริ่มต้นการเจรจาเอฟทีเอระหว่างไทยกับอียูอย่างเป็นทางการ จากประสบการณ์ของพวกเราจากการเจรจาของสหภายุโรปที่มีก่อนหน้า พวกเรามีความห่วงใยอย่างยิ่งต่อผลกระทบที่จะเกิดความตกลงด้านการค้าเสรีนี้ต่อการเข้าถึงยาในประเทศไทยและภูมิภาค
“จุดยืนของสหภาพยุโรปด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่มีมาในเอฟทีเอก่อนหน้า รวมทั้งการเจรจาที่ล้มเหลวอย่างการเจรจาระหว่างอียูกับอาเซียนชี้ให้เห็นว่า อียูจะผลักดันให้ไทยต้องยอมรับมาตรฐานการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เกินไปกว่าความตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญา หรือความตกลงทริปส์ในองค์การการค้าโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงยา” นางสาวเทสเซล เมลลีมา เจ้าหน้าที่ฝ่ายนโยบายด้านนวัตกรรมและการเข้าถึงยาของ เฮลธ์ แอคชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าว
การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และการบังคับใช้กฎหมายอย่างเกินเลย รวมถึงการถ่วงเวลาการเข้าสู่ตลาดของยาชื่อสามัญ เพื่อรักษาสิทธิการผูกขาดตลาด คงราคายาให้สูงมากต่อไป ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมีนัยยะสำคัญต่อการเข้าถึงการรักษา ข้อเรียกร้องด้านทรัพย์สินทางปัญญาแบบทริปส์พลัสที่เกิดขึ้นในเอฟทีเอของสหภาพยุโรปและสหรัฐฯทำให้ยาชื่อสามัญเข้าสู่ตลาดน้อยลง ซึ่งนำไปสู่การขึ้นราคายา [i] ข้อเรียกร้องของสหภาพยุโรปที่มีต่ออินเดียในการเจรจาเอฟทีเอ ทำให้เกิดแรงต่อต้านจากองค์กรระหว่างประเทศ รัฐบาลประเทศกำลังพัฒนา และภาคประชาสังคม จนทำให้ สภายุโรปตัดสินใจคว่ำความตกลงด้านการต่อต้านสินค้าปลอมแปลง (ACTA) ที่มีการบังคับใช้กฎหมายด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่มากเกินซึ่งจะไปทำลายการแข่งขันของยาชื่อสามัญ
ยิ่งไปกว่านั้น องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสาธารณสุขในยุโรป, สภายุโรป, ยูเอ็นเอดส์, ยูเอ็นดีพี, คณะกรรมาธิการด้านนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาและการพัฒนา ของสหราชอาณาจักร, คณะกรรมาธิการด้านเอชไอวี/เอดส์และกฎหมาย ของสหประชาชาติ, นักวิชาการด้านทรัพย์สอนทางปัญญาระดับโลก และองค์การอนามัยโลก ต่างยอมรับว่า การเชื่อมโยงกันระหว่าง เนื้อหาด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เกินไปกว่าทริปส์ (ทริปส์พลัส) จะให้ประโยชน์แก่ผู้ทรงสิทธิมากจนเกินไป ขณะที่เกิดผลลบต่อการเข้าถึงยา[ii]
นอกจากนี้ พวกเรากังวลว่า ในการเจรจาเอฟทีเอ สหภาพยุโรปมีแนวโน้มจะเรียกร้องให้ไทยต้องยอมรับกลไกระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน ภายใต้เนื้อหาเช่นนี้ บรรษัทยาสามารถอ้างว่า กฎระเบียบด้านสุขภาพของรัฐบาลส่งผลลบต่อการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา ทำให้บรรษัทยาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐบาลไทย โดยอ้างว่ามาตรการส่งเสริมการเข้าถึงยาของรัฐบาล เช่น การใช้สิทธิตามสิทธิบัตร ส่งผลลบต่อการลงทุนทรัพย์สินทางปัญญา ประเด็นนี้อาจเป็นการข่มขู่ที่น่ากลัวและเป็นไปได้ที่รัฐบาลไทยอาจไม่กล้าออกมาตรการในการลดราคายา: ธนาคารโลกประมาณการว่าถ้ารัฐบาลไทยใช้สิทธิตามสิทธิบัตร จะลดราคายาต้านไวรัสเอ็ดส์สูตรสองได้ร้อยละ 90 รัฐบาลสามารถประหยัดงบประมาณที่ต้องใช้ได้ถึง 3.2 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในปี 2568.[iii]
สัปดาห์ที่ผ่านมา องค์กรภาคประชาสังคมและประชากรไทยได้เดินขบวนและส่งเสียงความห่วงใยต่อรัฐบาลในการเจรจากับสหภาพยุโรปที่ส่งผลกระทบต่อราคายา เมล็ดพันธุ์ และผลิตผลการเกษตรในประเทศไทย ได้ร้องเรียนว่าการรับฟังความคิดเห็นของประชาสังคม ในกรอบการเจรจาเอฟทีเอ ที่จัดโดยรัฐสภาไทยเป็นการหลอกลวง สัปดาห์ที่แล้วพลเมืองและนักกิจกรรมไทยกว่า 1,500 คนชุมนุมกันด้านนอกทำเนียบรัฐบาลเพื่อบอกกล่าวความกังวลของพวกเขา (ชมภาพได้ที่[iv])
สหภาพยุโรปควรละเว้นข้อเรียกร้องด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เกินไปกว่าความตกลงทริปส์, ข้อบทว่าด้วยการลงทุน และเลิกใช้เอฟทีเอเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนผลประโยชน์ทางการค้าของอุตสาหกรรมยาอย่างผิดๆ โดยไปทำลายโอกาสทางนวัตกรรมและการเข้าถึงยาในประเทศไทย
“สหภาพยุโรปควรรับรองว่า นโยบายการค้าของสหภาพยุโรปจะต้องตั้งอยู่บนวัตถุประสงค์ด้านการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สร้างการเข้าถึงยา สหภาพยุโรปต้องพิจารณาบริบทของพรมแดนและผลกระทบที่เกิดจากข้อเรียกร้องด้านทรัพย์สินทางปัญญาของตน การตั้งกำแพงการผูกขาดมีแต่จะทำให้ความไม่เป็นธรรมด้านสุขภาพและการพัฒนาดำรงอยู่ในหมู่ประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ และประเทสกำลังพัฒนา” นางสาวเลย์ลา โบดอกซ์ แห่ง อ็อกซ์แฟม อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าว
ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
เฮลธ์ แอคชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล (Health Action International (HAI) Europe) Tessel Mellema, tessel@haieurope.org
อ๊อกซ์แฟม อินเตอร์เนชั่นแนล (Oxfam International) Leila Bodeux, leb@oxfamsol.be
แอคชั่น อเก้นส์ เอดส์ เยอรมนี (Action against AIDS Germany / Aktionsb?ndnis gegen AIDS) Marco Alves, alves@aids-kampagne.de
Link to this press release online: http://haieurope.org/wp-content/uploads/2013/03/Press-release-EU-Thailand-FTA-5-March-final.pdf
Tessel Mellema
Policy Advisor- Trade, Innovation & Access to Medicines
Health Action International (HAI) Europe
Overtoom 60 II, 1054 HK Amsterdam
t. +31 20 683 3684
f. +31 20 685 5002
e. Tessel@haieurope.org
w. www.haieurope.org