กรุงเทพฯ--11 มี.ค.--บีโอไอ
คณะอนุกรรมการฯ ฟื้นฟูการลงทุนจากวิกฤติอุทกภัยประชุมอนุมัติมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ประสบวิกฤติอุทกภัยเพิ่มเติม อีก 36 โครงการ เงินลงทุนรวม 9,809 ล้านบาท แบ่งเป็นการฟื้นฟูการลงทุน 25 โครงการซึ่งส่วนใหญ่ยังคงลงทุนพื้นที่เดิม และให้ส่งเสริมอีก 11 โครงการ ที่เป็นโครงการลงทุนใหม่และรายเดิมขยายการผลิตเพิ่มเติมในนิคมฯ ที่ จ.อยุธยา และปทุมธานี
นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อฟื้นฟูการลงทุนจากวิกฤตอุทกภัย ครั้งที่ 8 ว่า ที่ประชุมได้อนุมัติการขอรับส่งเสริมการลงทุนตามมาตรการเพื่อฟื้นฟูการลงทุนจากวิกฤตอุทกภัย ครั้งนี้รวม 36 โครงการ เงินลงทุน 9,809 ล้านบาท แบ่งเป็นการอนุมัติภายใต้มาตรการด้านภาษีอากรเพื่อฟื้นฟูการลงทุนจากวิกฤตอุทกภัย จำนวน 25 โครงการ เงินลงทุน 8,081 ล้านบาท และการอนุมัติภายใต้มาตรการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนใหม่หรือขยายการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดปทุมธานี จำนวน 11 โครงการ เงินลงทุน 1,728 ล้านบาท
โดยโครงการที่ได้รับอนุมัติภายใต้มาตรการด้านภาษีอากรเพื่อฟื้นฟูการลงทุนจากวิกฤตอุทกภัย เกือบทั้งหมดลงทุนในพื้นที่เดิม มีเพียง 1 โครงการ ที่ย้ายไปลงทุนพื้นที่ใหม่ และ 1 โครงการที่ขอเพิ่มพื้นที่ดำเนินโครงการที่อื่น ประกอบด้วย
1.บริษัท บีดีซี สเปเชียลตี้ ฟู้ด จำกัด ผลิตอาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง เช่น ซาลาเปา และติ่มซำ เป็นต้น กำลังการผลิตปีละประมาณ 2,920 ตัน เงินลงทุนทั้งสิ้น 2 ล้านบาท ตั้งโครงการอยู่ในพื้นที่เดิม คือ อ.ลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
2.บริษัทซันเด้น (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตอุปกรณ์ปรับอุณหภูมิสำหรับยานพาหนะ (HVAC) กำลังการผลิตปีละประมาณ 56,000 ชุด เงินลงทุนทั้งสิ้น 21 ล้านบาท ตั้งโครงการอยู่ที่ เดิม คือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
3.บริษัท ซันเด้น (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตคอมเพรสเซอร์สำหรับยานพาหนะ กำลังการผลิตปีละประมาณ 750,000 ชิ้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 750 ล้านบาท ตั้งโครงการอยู่ที่เดิม คือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
4.บริษัทเท็กซ์โฟกัส จำกัด ผลิตชิ้นส่วนโลหะปั๊มขึ้นรูป กำลังการผลิตปีละประมาณ 58 ตัน เงินลงทุนทั้งสิ้น 5.75 ล้านบาท ตั้งโครงการอยู่ที่เดิม คือ จังหวัดปทุมธานี
5.บริษัท ไทย มารูจูน จำกัด ผลิตชิ้นส่วนโลหะปั๊มขึ้นรูป (STAMPING PART) กำลังการผลิตปีละประมาณ 26,380 ตัน เงินลงทุนทั้งสิ้น 580.7 ล้านบาท ตั้งโครงการอยู่ที่เดิม คือ นิคมอุตสาหกรรม สหรัตนนคร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
6.บริษัท ไดอะเรซบอน (ไทยแลนด์)จำกัด ผลิตแผ่นเจียร แผ่นตัด กำลังการผลิตปีละประมาณ 77,100,000 ชิ้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 202.9 ล้านบาท ตั้งโครงการอยู่ที่เดิม คือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
7.บริษัท ดีดีเค (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตชิ้นส่วนสำหรับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น CONNECTOR กำลังการผลิตปีละประมาณ 485,548,800 ชิ้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,120 ล้านบาท ตั้งโครงการอยู่ที่เดิม คือ เขตอุตสาหกรรม นวนคร จังหวัดปทุมธานี
8.บริษัท ไทย ซังโค จำกัด ผลิตชิ้นส่วนโลหะที่ใช้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น FRAME, HINGE, FRAME ACTUATOR เป็นต้น กำลังการผลิตปีละประมาณ 66,550,000 ชิ้น และชิ้นส่วนพลาสติกที่ใช้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น HOLDER และRELAY BOX เป็นต้น กำลังการผลิตปีละประมาณ 450,000 ชิ้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 200.5 ล้านบาท ตั้งโครงการอยู่ที่เดิม คือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
9.บริษัท คุมิ (ไทยแลนด์) จำกัด ผลิตชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น กำลังการผลิตปีละประมาณ 6,672 ตัน เงินลงทุนทั้งสิ้น 426.5 ล้านบาท โดยโครงการจะแยกที่ตั้งเป็น 2 พื้นที่เพื่อกระจายความเสี่ยง คือ ตั้งอยู่พื้นที่เดิม คือ นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีกำลังการผลิตร้อยละ 96.5 ของกำลังผลิตทั้งสิ้นของโครงการ และ ไปตั้งโครงการในพี้นที่ใหม่ คือ นิคมอุตสาหกรรมหนองแค จ.สระบุรี กำลังผลิตคิดเป็น ร้อยละ 3.5 ของกำลังการผลิตทั้งสิ้นของโครงการ
10.บริษัท นิจิเอ (ประเทศไทย)จำกัด ผลิตแผ่นพลาสติกเคลือบกาว กำลังการผลิตปีละประมาณ 7,700 ตัน เงินลงทุนทั้งสิ้น 253.8 ล้านบาท ตั้งโครงการอยู่พื้นที่เดิม คือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
11.บริษัท ฟิชเซอร์ เทค (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ เป็นต้น กำลังการผลิตปีละประมาณ 830 ตัน เงินลงทุนทั้งสิ้น 189.6 ล้านบาท ย้ายที่ตั้งโครงการจาก สวนอุตสาหรกรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไปพื้นที่ใหม่ คือ จังหวัดปทุมธานี
12.บริษัทเพชรแพค จำกัด ผลิตขวดพลาสติกกึ่งสำเร็จรูป กำลังผลิตปีละ ประมาณ 15,250 ตัน และ ขวดพลาสติก PET กำลังผลิตปีละประมาณ 16,410 ตัน เงินลงทุนทั้งสิ้น 288.2 ล้านบาท ตั้งโครงการอยู่พื้นที่เดิม คือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
13.บริษัท โรวิเทค เอเชีย จำกัด ผลิตผลิตภัณฑ์เคลือบด้วยพอลิเมอร์ กำลังผลิตปีละประมาณ 900,000 เมตร เงินลงทุนทั้งสิ้น 4.4 ล้านบาท ตั้งโครงการอยู่พื้นที่เดิม คือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
14.บริษัท โรจนะเพาเวอร์ จำกัด ผลิตพลังงานไฟฟ้า ขนาด 46 เมกะวัตต์ ไอน้ำ จำนวน 65 ตัน/ชั่วโมง และน้ำเพื่ออุตสาหกรรม ได้แก่ น้ำปราศจากแร่ธาตุ 40 ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง เงินลงทุนทั้งสิ้น 639 ล้านบาท ตั้งโครงการอยู่ที่เดิม คือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
15.บริษัท โรจนะ เพาเวอร์ จำกัด ผลิตพลังงานไฟฟ้าขนาด 77 เมกะวัตต์ และไอน้ำ 2 ตัน/ชั่วโมง เงินลงทุนทั้งสิ้น 650 ล้านบาท ตั้งโครงการอยู่พื้นที่เดิม คือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
16 .บริษัท อิงเกรส ออโตเวนเจอร์ ได้รับการส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิตขอบประตูรถยนต์ ( DOOR SASH ) และชิ้นส่วน เช่น CHANNEL ,LOWER DOOR และ CENTER SASH เงินลงทุน 350 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 4,357,600 ชิ้น ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิม คือ นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
17. บริษัท ไทย เทค มัตสึดะ จำกัด ได้รับการส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิตชิ้นส่วนโลหะปั๊มขึ้นรูปที่เป็นชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก เงินลงทุน 35.4 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 5,000,000 ชิ้น ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิม คือ นิคมอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดปทุมธานี
18.บริษัท มิโยชิ ไฮ-เทค จำกัด ได้รับการส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิตชิ้นส่วนโลหะปั๊มขึ้นรูปสำหรับ HARD DISK DRIVE และ COVER ASSEMBLY FOR HARD DISK DRIVE เงินลงทุน 6.6 ล้านบาท กำลังการผลิตชิ้นส่วนโลหะปั๊มขึ้นรูปสำหรับ HARD DISK DRIVE ปีละประมาณ 27,072,000 ชิ้น และกำลังการผลิต COVER ASSEMBLY FOR HARD DISK DRIVE ปีละประมาณ 16,819,200 ชิ้น ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิม คือ นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
19.บริษัท อินทรี — เพล็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับการส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิตชิ้นส่วนโลหะสำหรับ HARD DISK DRIVE เช่น ARMS, RINGS และ DAMPERS เงินลงทุน 531.6 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 1,445,558,800 ชิ้น ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิม คือ นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
20.บริษัท ฮิตาชิ คอมเพรสเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับการส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิตคอมเพรสเซอร์ สำหรับเครื่องทำความเย็น เงินลงทุน 771 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 919,800 เครื่อง ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิม คือ นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
21.บริษัท ฮักไก พรีซิชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับการส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิตแม่พิมพ์และชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เงินลงทุน 384.6 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 729,054,000 ชิ้น ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิม คือ นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
22.บริษัท สีลมการแพทย์ จำกัด ได้รับการส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิตยาสำหรับรักษาคน เงินลงทุน 137.4 ล้านบาท กำลังการผลิตยาแคปซูลและยาเม็ด ปีละประมาณ 750,000,000 เม็ด กำลังการผลิตยาน้ำ เช่น ยาสูดพ่น ยาหยอดตาและยาหยอดหู ปีละประมาณ 560,000 ลิตร ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิม คือ นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
23.บริษัท ไทเกอร์โพลี่ (ไทยแลนด์) จำกัด ได้รับการส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกและแม่พิมพ์ เงินลงทุน 162.2 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 61,682,500 ชิ้น ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิม คือ นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
24.บริษัท เท็กซ์เคม-แพค (ไทยแลนด์) จำกัด ได้รับการส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิต ผลิตภัณฑ์พลาสติกและแม่พิมพ์ เงินลงทุน 300 ล้านบาท กำลังการผลิตถาดพลาสติก ปีละประมาณ 71,320,000 ชิ้น ชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ปีละประมาณ 68,680,000 ชิ้น แม่พิมพ์และการซ่อมแม่พิมพ์ที่ผลิตเอง ปีละประมาณ 840 ชิ้น และชิ้นส่วนแม่พิมพ์ ปีละประมาณ 2,400 ชิ้น ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิม คือ นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
25.บริษัท ไทย โคโคคุ รับเบอร์ จำกัด ได้รับการส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูการลงทุนในกิจการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกและแม่พิมพ์ เงินลงทุน 67.8 ล้านบาท กำลังการผลิตชิ้นส่วนยางสังเคราะห์ ปีละประมาณ 125,000,000 ชิ้น ตั้งโครงการในที่ตั้งเดิม คือ นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โครงการลงทุนใหม่ — รายเดิมขยายลงทุน รวม 11 โครงการ
สำหรับโครงการที่ได้รับอนุมัติภายใต้มาตรการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนใหม่หรือขยายการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดปทุมธานี ประกอบด้วย
1.บริษัท เคฮิน เทอร์มอล เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตชิ้นส่วนระบบปรับอากาศสำหรับยานพาหนะ ได้แก่ CONDENSER ,HEATER CORE ,CONNECTING PIPE และ EVAPORATOR กำลังการผลิตรวมปีละประมาณ 3,400,000 ชิ้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 277.4 ล้านบาท ตั้งโครงการอยู่พื้นที่เดิม คือ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
2.บริษัท มิโยชิ ไฮ-เทค จำกัด ผลิตแม่พิมพ์ และการซ่อมแซมแม่พิมพ์ที่ผลิตเอง กำลังการผลิตปีละประมาณ 10 ชุด อุปกรณ์จับยึด ปีละประมาณ 5 ชุด และชิ้นส่วนโลหะ เช่น PLATE ,HOLDER AUX และ BRACKET-PND ปีละประมาณ 800,000 ตัน เงินลงทุนทั้งสิ้น 146 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
3.บริษัท นัลโก (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตอุปกรณ์ระบายความร้อนสำหรับเครื่องปรับอากาศ กำลังการผลิตปีละประมาณ 200,000 ชิ้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 150.8 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ เขตอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดปทุมธานี
4.บริษัท ทีดีเค (ประเทศไทย) จำกัด ผลิต PIEZOELECTRIC TONER SENSOR ซึ่งเป็นอุปกรณ์วัดระดับหมึกที่เหลือในตลับสำหรับเครื่องใช้สำนักงาน เช่น เครื่องพิมพ์ และเครื่องถ่ายเอกสาร เป็นต้น กำลังการผลิตปีละประมาณ 3,468,900 ชิ้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 23 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
5.บริษัท ทีดีเค (ประเทศไทย) จำกัด ผลิต MAGNETIC TONER SENSOR ซึ่งเป็นเซ็นเซอร์ที่ใช้ในการเช็คระดับและความเข้มของหมึกสำหรับเครื่องใช้สำนักงาน เช่น เครื่องพิมพ์ และเครื่องถ่ายเอกสาร เป็นต้นกำลังการผลิตปีละประมาณ 10,670,200 ชิ้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 30.8 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
6.บริษัท เมโทร เวลธ์ โพลิเมอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิล กำลังการผลิตปีละประมาณ 5,200 ตัน เงินลงทุนทั้งสิ้น 27.6 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
7.บริษัท กลุ่มสยามบรรจุภัณฑ์ จำกัด ผลิตกล่องกระดาษ กำลังการผลิตปีละประมาณ 18,700 ตัน เงินลงทุนทั้งสิ้น 450.7 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ นิคมอุตสาหกรรมนวนคร จ.ปทุมธานี
8.บริษัทซิติเซ็น วอท์ช แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อขยายกิจการเคลือบผิวชิ้นงานโลหะเพื่อเพิ่มคุณสมบัติของชิ้นงานโลหะที่เป็นชิ้นส่วนนาฬิกาข้อมือให้มีความแข็งเพิ่มขึ้น เงินลงทุน 550 ล้านบาท กำลังการผลิต 23,000,000 ชิ้น ตั้งโครงการในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
9.บริษัท ชินเซอิ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อขยายกิจการเคลือบผิวชิ้นงานโลหะสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เงินลงทุน 45.5 ล้านบาท กำลังการผลิต 360,000,000 ชิ้น ตั้งโครงการในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
10.บริษัท ทีดีเค (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อขยายกิจการผลิตอุปกรณ์วัดระดับความชิ้นในอากาศ ( HUMIDITY SENSOR ) เงินลงทุน 21.24 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 5,405,900 ชิ้น โครงการนี้เป็นการย้ายฐานการผลิตจากบริษัทแม่ประเทศญี่ปุ่น มาผลิตที่ประเทศไทยทั้งหมด ตั้งโครงการในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
11.บริษัท สตาร์ ไมโครนิคส์ พรีซิชั่น จำกัด ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อขยายกิจการผลิตชิ้นส่วนพลาสติก เงินลงทุนทั้งสิ้น 5.07 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 18,720,000 ชิ้น ตั้งโครงการในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายหลังการอนุมัติโครงการในครั้งนี้ ทำให้ล่าสุด มีโครงการที่ได้รับอนุมัติภายใต้มาตรการด้านภาษีอากรเพื่อฟื้นฟูการลงทุนจากวิกฤตอุทกภัยแล้ว จำนวน 163 โครงการ เงินลงทุน 97,324.5 ล้านบาท มีโครงการอยู่ระหว่างการพิจารณา 94 โครงการ เงินลงทุน 80,775 ล้านบาท ขณะที่ภายใต้มาตรการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนใหม่หรือขยายการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดปทุมธานี มีโครงการได้รับอนุมัติแล้ว 38 โครงการ เงินลงทุนรวม 21,540.3 ล้านบาท ยังมีโครงการอยู่ระหว่างพิจารณา 17 โครงการ เงินลงทุน 4,892 ล้านบาท