การบริหารหนี้สาธารณะ: สิ่งที่รัฐบาลและประชาชนควรเข้าใจ

ข่าวทั่วไป Thursday March 14, 2013 10:02 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--14 มี.ค.--สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หนี้สาธารณะคือหนี้ซึ่งเกิดจากการกู้ยืมเงินของรัฐบาลเมื่อรัฐบาลมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆตามเกณฑ์ในการจำแนกประเภทเช่นการแบ่งตามแหล่งที่มาของเงินกู้การแบ่งตามระยะเวลาของการกู้การแบ่งตามลักษณะหนี้การแบ่งตามวิธีการก่อหนี้เป็นต้น ในการนำเสนอของทีดีอาร์ไอในหัวข้อ “ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2556และแนวโน้มหนี้สาธารณะ 2556-2560”โดย ดร. สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง ชี้ให้เห็นว่าการมีหนี้สาธารณะเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับประเทศที่ยังมีฐานภาษีต่ำและต้องการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ด้วยการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และการลงทุนในระบบความคุ้มครองทางสังคม ระบบสวัสดิการ แต่สิ่งที่รัฐบาลต้องคำนึงถึงมากคือการบริหารหนี้สาธารณะให้มี ‘พื้นที่การคลัง’ (fiscal space) มากพอเพื่อที่จะรองรับความจำเป็นในอนาคตหากมีการขาดดุลเมื่อจำเป็น โดย ดร. สมชัย จิตสุชนได้เสนอแนวทางการบริหารหนี้สาธารณะไว้ ดังนี้ เพิ่มรายได้รัฐ (อย่างเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำ) เช่น การจัดระบบภาษีให้มีลักษณะอัตราก้าวหน้า (progressive) และตรงตามหลักความเสมอภาคทางภาษี และมีการเพิ่มภาษีใหม่ ๆ โดยเฉพาะจากฐานทรัพย์สิน วางแผนการใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง —ใช้จ่ายเพื่อสร้างฐานทางสังคมและเศรษฐกิจ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำอย่างแท้จริงในสังคม บริหารหนี้สาธารณะอย่างโปร่งใส — มีการวางแผนระยะปานกลางถึงยาว (5 ปีเป็นอย่างน้อย)บริหารภาระทางการคลังอย่างเหมาะสม การประมาณการแนวโน้มหนี้สาธารณะ งานนำเสนอได้ประมาณการแนวโน้มหนี้สาธาณะ โดยการคำนวณแนวโน้มหนี้สาธารณะดังกล่าว ภายใต้สมมติฐานหลายประการ เช่นอัตราการเพิ่มของรายจ่ายประจำ อัตราดอกเบี้ย การลงทุนปกติ เป็นต้น นอกจากนี้ได้รวมผลกระทบต่อภาระหนี้สาธารณะที่เกิดจากโครงการพิเศษทั้งด้านรายได้และด้านรายจ่าย ในช่วงปี 2556 — 2560มีรายละเอียด ดังนี้ 2555 2556 2557 2558 2559 2560 ขาดทุนโครงการจำนำข้าว 170,000 200,000 200,000 200,000 200,000 200,000 โครงสร้างพื้นฐานรองรับAEC - 26,899 148,819 263,038 286,331 383,154 การลงทุนป้องกันน้ำท่วม 4,639 20,000 100,000 100,000 75,361 ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล - 75,000 115,714 124,971 134,969 145,766 รวมโครงการพิเศษ 1 174,639 321,899 564,533 688,009 696,661 728,920 เพื่มนโยบายอื่น - 20,000 100,000 100,000 100,000 100,000 รวมโครงการพิเศษ 2 174,639 341,899 664,533 788,009 796,661 828,920

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ