เทรนด์ ไมโคร เตือนไวรัสมือถือจะเพิ่มจำนวนขึ้นในอนาคต พร้อมใจดีเปิดให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยตัวใหม่ไปใช้ฟรี

ข่าวทั่วไป Thursday December 16, 2004 10:58 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--16 ธ.ค.--คอร์ แอนด์ พีค
มัลแวร์ ที่โจมตีโทรศัพท์มือถือมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้น นับตั้งแต่ตรวจจับเวิร์มคาร์บีร์ได้เมื่อเดือนมิถุนายน 2547 ดังนั้น เทรนด์ ไมโคร จึงเปิดให้ดาวน์โหลดซอฟต์แวร์โมบาย ซีเคียวริตี้ ฟรีไปจนถึงเดือนมิถุนายน 2548 เพื่อปกป้องโทรศัพท์มือถือ และเครื่องพีดีเอ
บริษัทเทรนด์ ไมโคร อิงค์ ผู้นำซอฟต์แวร์และการบริการด้านการป้องกันไวรัสบนเครือข่าย และการรักษาความปลอดภัยข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ประกาศเตือนให้ผู้ใช้ตื่นตัวเกี่ยวกับการรุกรานเครือข่ายไร้สายที่เพิ่มขึ้น หลังจากโปรแกรมมัลแวร์ (ซอฟต์แวร์ประสงค์ร้าย) 3 ตัว ซึ่งมีเป้าหมายโจมตีโทรศัพท์มือถือ ถูกตรวจพบช่วงเดือนพฤศจิกายน และต้นเดือนธันวาคม นอกจากนี้ เทรนด์ ไมโคร ยังแนะนำซอฟต์แวร์ “เทรนด์ ไมโคร โมบาย ซีเคียวริตี้ เวอร์ชั่น 1.0” (Trend Micro Mobile Security) ซึ่งเปิดให้ทดลองใช้ฟรีแล้วในขณะนี้นั้น เพื่อป้องกันอุปกรณ์เคลื่อนที่ อย่าง โทรศัพท์มือถือ และเครื่องพีดีเอ จากไวรัส และสแปมเอสเอ็มเอส
นักวิเคราะห์ในอุตสาหกรรม ทำนายว่า เนื่องจากโทรศัพท์มือถือ และพีดีเอ ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น อุปกรณ์เหล่านี้ จึงจะตกเป็นเป้าหมายที่เย้ายวนใจของนักเขียนโปรแกรมไวรัส เทรนด์แล็บส์ ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยเครือข่ายต่อต้านไวรัสระดับโลกของเทรนด์ไมโคร ตรวจพบไวรัสโทรศัพท์มือถือหลายสายพันธุ์ อาทิ SYMBOS_SKULLS.A และ SYMBOS_CABIR.A ในปีนี้ และมีแนวโน้มว่า การโจมตีอุปกรณ์เหล่านี้ จะเกิดขึ้นอีกมากในอนาคต
ส่วน SYMBOS_SKULL.B ไวรัสม้าโทรจันที่ค้นพบเมื่อเร็วๆนี้ และพุ่งเป้าโจมตีอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการซิมเบียนนั้น ถูกตรวจพบเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ไม่นานหลังพบสายพันธุ์แรกเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน SYMBOS_SKULL.B อยู่ในรูปโปรแกรมติดตั้ง ที่มาพร้อมกับไฟล์ชื่อ ICONS.SIS ซึ่งสามารถดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ตได้ เมื่อปฏิบัติการ ไวรัสม้าโทรจันตัวนี้ จะทำให้แอพพลิเคชั่นของโทรศัพท์มือถือที่ติดเชื้อใช้การไม่ได้ เปลี่ยนไอคอนของแต่ละแอพพลิเคชั่นเป็นภาพพิเศษ นอกจากนี้ ยังคัดลอกไฟล์ .APP และ .AIF อีกหลายไฟล์ พร้อมทิ้ง SYMBOS_CABIR.A ไว้บนไดร์ฟซีของมือถือ เพื่อทำให้แอพพลิเคชั่นมือถือส่วนใหญ่ทำงานไม่เป็นปกติ
ไฟล์ .APP เหล่านี้ เป็นไฟล์แอพพลิเคชั่น ประกอบด้วยชื่อไฟล์ของแอพพลิเคชันมือถือจริง ซึ่งปกติอยู่ในไดร์ฟรอม (ROM) สำหรับแอพพลิเคชัน ที่ถูกทิ้งไว้โดย SYMBOS_SKULLS.B ทั้งหมดจะมีไอคอนดังต่อไปนี้
ขณะที่ SYMBOS_SKULL.A ซึ่งตรวจพบครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน โจมตีอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่รันบนระบบปฏิบัติการซิมเบียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มือถือโนเกีย รุ่น 7610 และปลอมตัวเป็นแอพพลิเคชันจัดการธีม (a theme manager application) ที่ดาวน์โหลดได้จากอินเทอร์เน็ต เมื่อถูกเปิดออกจะเป็นต้นเหตุให้แอพพลิเคชันมือถือที่ติดเชื้อทำงานไม่ได้ และเปลี่ยนไอคอนของแต่ละแอพพลิเคชั่นเป็นภาพหัวกะโหลก
โดยปกติ SYMBOS_SKULL.A จะอยู่ในรูปโปรแกรมติดตั้ง ที่มาพร้อมกับชื่อ EXTENDED THEME.SIS นอกจากนี้ ยังทิ้งไฟล์ไว้ในโทรศัพท์ที่ติดเชื้อ ซึ่งเป็นข้อความต่อไปนี้
What is T-VIRUS?
T-VIRUS is not a type of virus, instead it is a system file, specially designed & created for you.
T-VIRUS crashes the main system of your phone, i guess it is the right time for you to go to your service center, or buy a new phone.
Newer & higher version of T-VIRUS, coming soon.
If you have Cabir, feel free to send it to me, i'll appreciate it very much.
ส่วน TROJ_DELF.HA ซึ่งตรวจพบเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ใช้เครื่องที่ติดเชื้อส่งข้อความสแปมไปยังมือถือเครื่องอื่นทางเอสเอ็มเอส โดยขั้นแรกจะเช็คการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และจึงเข้าถึงลิสต์เว็บไซต์เครือข่ายโทรศัพท์มือถือในรัสเซีย หลังจากนั้นจะพยายามใช้เว็บไซต์เหล่านี้ส่งข้อความไปยังเบอร์โทรศัพท์ที่ได้จากการสุ่ม ซึ่งเริ่มต้นด้วย 007 หรือ +7 นอกจากนี้ ยังทิ้ง ก็อปปี้ข้อความเอสเอ็มเอสไว้ในเครื่องที่ติดเชื้ออีกด้วย
การมาถึงของคาร์บีร์ในเดือนมิถุนายนผ่านมา ซึ่งเป็นไวรัสตัวแรกที่แพร่ระบาดทางอุปกรณ์บลูทูธ และใช้ระบบปฏิบัติการซิมเบียน ซีรีส์ 60 นั้น บ่งชี้ว่า อันตรายของเทคโนโลยีมัลแวร์ได้รุกคืบเข้าไปในโทรศัพท์เคลื่อนที่แล้ว
ข้อมูลของเว็บไซต์เซลลูล่าร์ออนไลน์ (www.cellular.co.za) ระบุว่า ปัจจุบันมีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั่วโลกทั้งสิ้นกว่า 1,520 ล้านคน และ 98 % ใช้โทรศัพท์ดิจิตอล ขณะที่สำนักงานพัฒนาอินโฟคอมม์ของสิงคโปร์ ชี้ชัดว่า ผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือในสิงคโปร์ทุกวันนี้ อยู่ที่ 3.7 ล้านคน แต่โชคไม่ดีเมื่อจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นก็ได้ฉุดให้ตลาดแอพพลิเคชั่นที่ 3 (อย่าง เกม และแอพพลิเคชันสำหรับโทรศัพท์มือถืออื่นๆ) โตไปด้วย ซึ่งเปิดโอกาสให้ซอฟต์แวร์มุ่งร้ายด้วย
นายอัง อา ซิน ผู้จัดการฝ่ายการตลาดประจำภูมิภาคเอเชีย ใต้ ของเทรนด์ ไมโคร กล่าวว่า "นับตั้งแต่ครึ่งหลังของปีนี้เป็นต้นมา การโจมตีอุปกรณ์ไร้สายเริ่มชัดเจนมากขึ้นเมื่อสมาร์ทโฟนถูกนำออกวางตลาดมากขึ้น ขณะที่บริการโทรศัพท์มือถือ 3จี ก็กำลังจะเปิดให้บริการในสิงคโปร์ อย่างไรก็ดี แม้มัลแวร์ของอุปกรณ์ไร้สายในปัจจุบัน จะยังไม่พัฒนาเท่ากับมัลแวร์ของพีซี แต่เมื่อสมาร์ทโฟนได้รับความนิยมแทนที่โทรศัพท์มือถือมากขึ้น นักเขียนโปรแกรมไวรัส ก็ฉวยโอกาสที่ว่านี้ ดังนั้น ทางเรา จึงแนะนำให้ผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั้งหมดเริ่มทำความเข้าใจ และป้องกัน สมาร์ทโฟนของตัวเองจากการคุกคามเหล่านี้”
สำหรับช่วงเทศกาลวันหยุดที่กำลังจะมาถึง ประชาชนจำนวนมาก จะหาซื้อหรือได้รับอุปกรณ์พกพา (handheld) รุ่นใหม่ๆ เป็นของขวัญ ดังนั้น เทรนด์ ไมโคร จึงเปิดโอกาสให้เจ้าของเครื่องสมาร์ทโฟนได้ใช้ซอฟต์แวร์เทรนด์ ไมโคร โมบาย ซีเคียวริตี้ เอดิชั่นแรกฟรี
พร้อมใช้งาน
โดยซอฟต์แวร์เทรนด์ ไมโคร โมบาย ซีเคียวริตี้ ที่มีให้ดาวน์โหลดกันแล้วในขณะนี้ เป็นเวอร์ชั่นสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดว์ส โมบาย ของไมโครซอฟท์ (ตัวอย่างเช่น โมโตโรล่า เอ็มพีเอ็กซ์200, เอ็มพีเอ็กซ์220, โอทู เอ็กซ์โฟน, ออเร้นจ์ เอสพีวี ซี500) ส่วนโทรศัพท์มือถือ และพีดีเอ ที่ใช้ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดว์ส โมบาย 2003 อีดิชันพ็อคเก็ต พีซี โฟน (ตัวอย่างเช่น เอชพี ไอแพค, ซัมซุง เอสพีเอช-ไอ700) และไมโครซอฟท์ วินโดว์ส โมบาย 2003 เซคเคินด์ เอดิชั่น (ตัวอย่างเช่น เดลล์ เอซิม, เอชพี ไอแพค, ซีเมนส์ เอสเอ็กซ์66) รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้ซิมเบียน โอเอส วี7.0 กับยูไอคิว วี2.0/2.1 ยูสเซอร์ อินเตอร์เฟซ (ตัวอย่างเช่น โซนี่ อีริคสัน พี800, พี900, พี910, โมโตโรล่า เอ920, เอ925, เอ1000) จะสนับสนุนในเดือนมกราคมปีหน้า
เทรนด์ ไมโคร โมบาย ซีเคียวริตี้ เวอร์ชัน 1.0 จะหมดอายุในเดือนมิถุนายน 2548
สำหรับรายชื่ออุปกรณ์ที่ซอฟต์แวร์ตัวนี้รองรับ, ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และดาวน์โหลดซอฟต์แวร์เทรนด์ ไมโคร โมบาย ซีเคียวริตี้ ได้ที่เว็บไซต์ www.trendmicro.com/mobilesecurity
บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์
บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์ เป็นผู้นำซอฟต์แวร์และการบริการด้านการป้องกันไวรัสบนเครือข่าย และการรักษาความปลอดภัยข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และมีหน่วยธุรกิจอยู่ทั่วโลก สำหรับผลิตภัณฑ์ของเทรนด์ ไมโคร ได้จำหน่ายไปยังองค์กรธุรกิจ ตัวแทนจำหน่ายแบบมูลค่าเพิ่ม และผู้ให้บริการสนใจข้อมูลและ ชุดทดลองใช้งานผลิตภัณฑ์จากเทรนด์ ไมโครได้ที่ เว็บไซต์ www.trendmicro.com
เทรนด์ ไมโคร และโลโก้ที-บอลล์ เป็นเครื่องหมายการค้าของเทรนด์ ไมโคร อิงค์. ขณะที่เทรนด์แลบส์ เป็นสัญลักษณ์บริการของเทรนด์ ไมโคร ส่วนชื่อสินค้า หรือบริษัทอื่นๆ เป็นเครื่องหมายการค้า หรือชื่อจดทะเบียนของบริษัทนั้นๆ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
ศรีสุพัฒ เสียงเย็น อัง อา ซิน
บริษัท คอร์ แอนด์ พีค จำกัด บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์
โทรศัพท์: +66 2439 4600 โทรศัพท์ : +65 6776 9265
โทรศัพท์มือถือ: +66 1694 7807 โทรศัพท์มือถือ: +65 9795 1505
อีเมล์: tony@mccorkell.com.au อีเมล์: ahsin_ang@trendmicro.com--จบ--

แท็ก พีดีเอ   โมบาย  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ