WWF ร่างภาพบาปเจ็ดประการของการสร้างเขื่อน

ข่าวทั่วไป Monday March 25, 2013 11:58 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 มี.ค.--WWF เนื่องในวันน้ำโลก WWF ออกมาแสดงความเห็นเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างเขื่อนทั่วโลกที่ยังคง เดินหน้าละเมิดหลักเกณฑ์พื้นฐานของความยั่งยืน ในรายงาน “บาปเจ็ดประการของการสร้างเขื่อน” ของ WWF ระบุถึงโครงการเขื่อนหลายโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง หรือวางแผนที่จะก่อสร้างที่สอบตกในการตรวจสอบขององค์กรด้านการอนุรักษ์ นอกเหนือจากเขื่อนเบโล มอนเต (บราซิล) และเขื่อนไซยะบุรี (ลาว) ที่เป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ในระดับนานาประเทศแล้ว โครงการเขื่อนของยุโรป เช่น ในออสเตรีย และตุรกี ต่างก็รวมอยู่ในรายชื่อดังกล่าวด้วยเช่นกัน “บาปเจ็ดประการ” ที่แสดงให้เห็นในรายงานนี้ มีทั้งประเด็นเกี่ยวกับสถานที่ในการก่อสร้าง, การละเลยเรื่องความหลากหลาย ทางชีวภาพ, การไหลเวียนทางสิ่งแวดล้อม, ปัจจัยด้านสังคมและเศรษฐกิจ, และการวิเคราะห์ความเสี่ยง นอกจากนี้ WWF ยังตั้งข้อสังเกตว่า การตัดสินใจสร้างเขื่อนนั้น มักเป็นการตัดสินใจอย่างมืดบอดบนฐานของ “อคติที่จะก่อสร้าง” โดยไม่พิจารณา ถึงทางเลือกอื่นที่ดีกว่า, ถูกกว่าและสร้างความเสียหายน้อยกว่า “เขื่อนที่เกิดหลังการวางแผน ก่อสร้าง และดำเนินการอย่างเหมาะสม สามารถสร้างความมั่นคงทางอาหารและพลังงานได้ แต่น่าเสียดายที่ความสนใจในระยะสั้น มักมุ่งเน้นแต่ผู้มีอำนาจตัดสินใจ” ดร. เจียน ฮัว เม็ง ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง ทางน้ำของ WWF กล่าว “เพื่อที่จะสร้างหลักประกันในระดับที่เป็นที่ยอมรับของทั้งสังคมและความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม การจัดสร้างเขื่อนและ การดำเนินการ ควรจะต้องตรวจสอบอย่างเข้มงวด ตามเกณฑ์ความยั่งยืนที่กำหนดขึ้นโดยคณะกรรมาธิการเขื่อนโลก หรือระเบียบสำหรับการประเมินความยั่งยืนของไฟฟ้าพลังน้ำ หากจำเป็น โครงการเขื่อนที่มีไม่มีสมรรถภาพเพียงพอ ก็ควรจะต้องปรับปรุงหรือยกเลิกไปเสีย” ดร.เม็ง กล่าวเสริม เราจะไม่มีทางได้ผลลัพธ์ที่ยั่งยืนเลย หากผู้ที่เสนอโครงการเขื่อนจะอาศัยเพียงความแข็งแกร่งทางการเงินที่เหนือกว่า และเส้นสายทางการเมือง แทนการพูดคุย, ความโปร่งใส และเหตุผล WWF กล่าว นอกจากนี้ รัฐบาลบางประเทศยังไร้ซึ่งศักยภาพหรือมีอิสรภาพในการปกป้องประโชยน์ของสาธารณะรายงานชี้ให้เห็นว่า ความสำเร็จและประโยชน์ในระยะยาวของโครงการเขื่อนต่างๆ นั้น ต้องมีสิ่งอื่นที่มากกว่าการรับรอง ทางกฏหมายโดยผู้ควบคุมเท่านั้น “สำหรับโครงการขนาดใหญ่แล้ว ผู้ดำเนินการจะต้องได้รับ “ใบอนุญาตจากสังคมเพื่อดำเนินการ” การยอมรับโครงการโดย ประชาชน เป็นพื้นฐานในการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน” เม็ง ผู้เชี่ยวชาญของ WWF กล่าว “ผลด้านลบ เช่น การย้ายถิ่นอาศัย, การทำลายสถานที่ทางวัฒนธรรม หรือการล่มสลายของการประมงท้องถิ่น มักถูกปัดให้เป็น ‘ปัญหาของคนอื่น’,” ดร.เม็ง กล่าวเสริม รายงานยังระบุว่า หลักฐานทางวิทยาศาสตร์และการประเมินความเสี่ยงมักพ่ายแพ้ต่อประเด็นการเมืองหรือเศรษฐกิจ แต่ฝ่ายเดียว แต่กระนั้นก็ยังคงมีการวางแผนและสร้างเขื่อนในพื้นที่ที่มีคุณค่าสูงทางนิเวศน์วิทยา และบ่อยครั้งก็ไม่มีการกล่าวถึง ความหลากหลายทางชีวภาพที่สูญเสียไป รวมทั้งยังคงไม่มีการพิจารณาถึงผลกระทบรุนแรง ที่เกิดจากการเปลี่ยนทิศทางไหล ตามธรรมชาติของน้ำ หรือการหายไปของพื้นที่ชุ่มน้ำ นอกจากนี้ขนาดของเขื่อนก็ไม่ได้เป็นปัจจัยหลักในการตัดสิน แม้จะมีชื่อของโครงการเขื่อนขนาดใหญ่ในกรณีศึกษาของรายงาน แต่ผลกระทบสะสมของโครงการเขื่อนขนาดเล็กหลายๆโครงการ ยกตัวอย่างเช่นในประเทศโรมาเนีย ก็ไม่อาจมองข้ามได้เช่นกัน ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้จำกัดเพียงในประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศเศรษฐกิจใหม่เท่านั้น เนื่องจากบริษัทและวิศวกรในกลุ่มประเทศ G7 ไม่เพียงแต่จะผลักดันโครงการก่อสร้างที่ไม่เป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานโลกใน ประเทศเศรษฐกิจใหม่เท่านั้น แต่ WWF ตำหนิว่าโครงการเหล่านี้ยังเกิดขึ้นที่ใจกลางของสหภาพยุโรปและอเมริกาเหนืออีกด้วย ในรายงานได้ยกตัวอย่างพื้นที่สามพื้นที่แถบหุบเขาอัลไพน์ ในเอิทส์ทาล แอลป์ ประเทศออสเตรีย ที่ระบบนิเวศน์กำลังจะเผชิญ กับความเสื่อมโทรมขั้นร้ายแรง หากว่ามีการดำเนินโครงการขยายโรงไฟฟ้าพลังน้ำเคาเนอร์ทาลตามแผนปัจจุบัน “WWF ทำการตรวจสอบเขื่อนเก้าแห่ง และเราพบว่ามีโครงการเขื่อนหลายโครงการที่ทำบาปในการสร้างเขื่อน ไม่ใช่แค่ข้อเดียว แต่หลายข้อ อย่างไรก็ตาม ความผิดพลาดเหล่านี้ยังสามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ และไม่สามารถหยิบยกเรื่องการขาดสมรรถนะ /พื้นที่กักเก็บ?? (lack of capacity) , ความกดดันทางเศรษฐกิจ หรือสถานการณ์เฉพาะในภูมิภาค มาเป็นข้ออ้างได้อีกต่อไป” ดร. เม็งระบุ
แท็ก เขื่อน  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ