กรุงเทพฯ--25 มี.ค.--เนคเทค
เปิดตัวล่าสุด S-Sense: เครื่องมือสำรวจตลาดผ่านสื่อออนไลน์ รู้ทันความรู้สึก ติดตามทัศนคติ เข้าถึงความต้องการผู้บริโภคอย่างแท้จริง เพิ่มประสิทธิภาพการตอบสนองได้ทันที
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) ขอเชิญท่านร่วมชมและรับฟังการนำเสนอผลงาน"เอสเซนส์" (S-Sense: Social Sensing) เครื่องมือสำหรับรวมรวม ติดตาม วิเคราะห์ ประมวลผลข้อความบนเว็บไซต์เครือข่ายเชิงสังคมและเว็บบอร์ด เช่น Facebook, Twitter, YouTube, Pantip.com เป็นต้น พร้อมรับทราบการเปิดเผยข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของคนไทยในช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา โดย S-Sense
ในวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๖
เวลา ๑๐.๐๐ — ๑๒.๐๐ น.
ณ ชั้น ๓ ห้องอโนมา ๑ โรงแรมอโนมา
ถนนราชดำริ ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
ที่มา
เนื่องจากข้อความส่วนใหญ่บนอินเทอร์เน็ตนิยมใช้ภาษาที่ไม่เป็นทางการหรือภาษาพูด รวมทั้งมีโครงสร้างประโยคที่ไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ภาษาไทย จึงทำให้ยากต่อการวิเคราะห์ ดังนั้นเทคโนโลยีของ S-Sense จึงถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นมาด้วยเทคนิคการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing) และการทำเหมืองข้อความ (Text Mining) เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ข้อความที่ใช้ภาษาพูดและไม่เป็นทางการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ระบบ S-Sense สามารถ นำมาช่วยให้ธุรกิจหรือองค์กรรับรู้กิจกรรมความเคลื่อนไหวต่างๆที่เกี่ยวข้อง กับองค์กรของตนและตรวจสอบความพึงพอใจและติดตามทัศนคติของสาธารณะที่มีต่อ ยี่ห้อ ผลิตภัณฑ์ หรือบริการต่างๆของตนได้ เพื่อให้เข้าใจถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
ทิศทางและโอกาสของเทคโนโลยีทางด้านนี้
เนื่องจากในปัจจุบันจำนวนปริมาณการโพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มี ต่อยี่ห้อ ผลิตภัณฑ์หรือบริการต่างๆบนสื่อสังคมออนไลน์ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง เสียงของผู้บริโภคเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นการกล่าวชื่นชม หรือตำหนิติเตียน ล้วนส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของผู้ที่ถูกวิจารณ์ทั้งสิ้น ดังนั้นความต้องการใช้งานเครื่องมือที่สามารถรวบรวม ติดตาม และวิเคราะห์เสียงของผู้บริโภคเหล่านี้เพื่อรับรู้ถึงความต้องการที่เกิดขึ้นบนสื่อสังคมออนไลน์เพื่อนำมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ และช่วงชิงความได้เปรียบเชิงการแข่งขันจากคู่แข่งในตลาด จึงมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน ดังจะเห็นได้จากในต่างประเทศได้มีบริษัทที่ให้บริการติดตาม และวิเคราะห์ข้อมูลบนสื่อสังคมออนไลน์เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากเช่น บริษัท Radian6 Sysomos และ Lithium เป็นต้น
หมาย เหตุ : หากท่านสนใจเข้าร่วมรับฟังผลงานดังกล่าว ขอความกรุณาตอบกลับและยืนยันการเข้าร่วม ทางโทรศัพท์หรือ e-Mail ฉบับนี้ เพื่อที่คณะทำงานจะได้จองที่นั่งที่ คุณนัทธ์หทัย ทองนะ (เน) 085 326 1854 หรือ คุณสายพิณ ธนะศิริวัฒนา (กุ้ง) 081 899 1380