กรุงเทพฯ--23 ธ.ค.-- ก.ล.ต.
1. ตลาดตราสารทุน
1.1 ดูแลการซื้อขายหุ้นให้เป็นระเบียบ
จัดทำ turnover list
จัดทำ code of conduct ของเจ้าหน้าที่การตลาด นักวิเคราะห์ และบริษัทหลักทรัพย์
สร้างระบบสอบยันข่าวลือ
ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อประสานงานสอบยันข่าว
ขอให้บริษัทหลักทรัพย์ทุกแห่งแจ้งข่าวลือที่เกิดขึ้นในห้องค้าโดยเร็วที่สุด ห้ามเผยแพร่ข่าวลือที่ยังไม่มีการชี้แจงออกไป รวมถึงกำหนดให้บริษัทจดทะเบียนต้องทำการชี้แจงข้อมูลอย่างชัดเจนที่สุดโดยรวดเร็ว
ขอความร่วมมือจากสื่อมวลชน (ทีวี วิทยุ) ในการเชิญนักวิเคราะห์ เฉพาะจากรายชื่อ
นักวิเคราะห์ที่เป็นผู้แทนของบริษัทหลักทรัพย์
ขอความร่วมมือจากเจ้าของเว็บไซต์ในการกรองข้อความที่เกี่ยวข้องกับการปั่นหุ้น ข่าวลือ
จัดให้มีหน่วยงานใน ก.ล.ต. เพื่อติดตามการปฏิบัติของบุคคลต่าง ๆ ตามที่กำหนดข้างต้น
ตรวจสอบและกำหนดมาตรการป้องกันการใช้เงินกู้นอกระบบ
1.2 ยกระดับบรรษัทภิบาลที่ดีของบริษัทจดทะเบียน
จัดทำระบบทะเบียนกรรมการและผู้บริหารโดยจะนำมาใช้ต้นปี 2548
แต่งตั้ง “คณะทำงานเพื่อติดตามการปฏิบัติด้านบัญชีและบรรษัทภิบาล” (Accounting and Governance Steering Group) และ “คณะทำงานวินัยกรรมการ” (Director Responsibility Steering Group) เพื่อติดตามการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนอย่างใกล้ชิด
กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนต้องมีกรรมการอิสระอย่างน้อย 3 คน และคณะกรรมการตรวจสอบ ต้องเป็นกรรมการอิสระทั้งหมด โดยมีการแบ่งแยกบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน
กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนต้องให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลในรายงานประจำปี โดยระบุลักษณะของความเป็นกรรมการอิสระของบริษัทซึ่งอาจเข้มงวดกว่าเกณฑ์ทั่วไป จำนวนครั้งหรือความถี่ของการประชุม ผลตอบแทนกรรมการ ค่า audit fee และ non-audit fee
รวมทั้ง แผนงานและนโยบายการจ่ายเงินปันผล
ติดตามการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันในลักษณะที่ไม่เหมาะสม โดยสามารถหยุดรายการที่
เกี่ยวโยง 6 รายการ มูลค่ารายการรวมประมาณ 3 พันล้านบาท และสั่งให้บริษัทแก้ไขรายการ
ที่เกี่ยวโยงกัน 3 รายการ มูลค่ารายการรวมประมาณ 1.5 พันล้านบาท
1.3 ยกระดับการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนให้เป็นไปตามมาตรฐาน
ตรวจสอบงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนทุกบริษัททุกงวด และติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของ ผู้สอบบัญชี โดยปี 2547 ได้สั่งให้บริษัทจดทะเบียนแก้ไขงบการเงินจำนวน 10 บริษัท
ดูแลให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีอย่างเข้มงวดมากขึ้น โดยร่วมมือกับสมาคมนักบัญชีฯ ออกหนังสือเวียนเพื่อกำหนดแนวปฏิบัติทางบัญชีไปแล้ว 6 ฉบับ
1.4 ดูแลระบบการจัดสรรหุ้น IPO ให้มีความโปร่งใสมากขึ้น
กำหนดให้มีการเปิดเผยวิธีการจัดสรรโดยระบุกลุ่มผู้มีสิทธิได้รับการจัดสรรพร้อมเหตุผลให้ชัดเจนในหนังสือชี้ชวน รวมทั้งเปิดเผยผลการจัดสรรหุ้นสูงสุด 20 อันดับแรก
1.5 ความร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ข้อตกลงว่าตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเป็นด่านแรกในการติดตามการซื้อขายหลักทรัพย์อย่างใกล้ชิด โดยรับผิดชอบการติดตามสภาพการซื้อขายหลักทรัพย์ และดำเนินการป้องปรามก่อนที่การสร้างราคาจะลุกลาม รวมทั้งกำหนดเกณฑ์และขั้นตอนที่จะใช้ในการติดตามและพิจารณาดำเนินการ
ในปี 2547 ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ส่งเรื่องความผิดเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ให้ ก.ล.ต. พิจารณาดำเนินการต่อไปรวม 11 เรื่อง ซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับการสร้างราคา 3 เรื่อง การใช้ข้อมูลภายใน 6 เรื่อง การทุจริตของผู้บริหาร 1 เรื่อง และการรายงานการได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ 1 เรื่อง โดย ก.ล.ต. ได้ยุติ 5 เรื่อง และอยู่ระหว่างดำเนินการ 6 เรื่อง
2. ตลาดตราสารหนี้
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จะช่วยรองรับการทำงานของผู้ค้า และสร้างสภาพคล่องให้กับตลาดตราสารหนี้ โดยสนับสนุนให้มีการนำระบบซื้อขายแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Trading Platform : ETP) ใช้ในการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรอง
3. กองทุนรวม
3.1 ปรับปรุงการสื่อสารกับผู้ลงทุน
ปรับปรุงกฎเกณฑ์ในการจัดการลงทุน ให้มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างชัดเจนมากขึ้น ในเรื่องนโยบายการลงทุน ประเภทหลักทรัพย์และทรัพย์สินที่สามารถลงทุนได้ และการดำรงอัตราส่วนการลงทุน
ปรับปรุงหนังสือชี้ชวน และรายงานผลการดำเนินงาน ของกองทุนรวมให้เข้าใจง่าย
3.2 พัฒนางานการบริหารความเสี่ยงในการจัดการลงทุน โดยเน้นพิจารณาคุณภาพและสภาพคล่องของหลักทรัพย์ที่ลงทุน
3.3 เพิ่มสัดส่วนผู้ลงทุนสถาบันและสนับสนุนให้ผู้ลงทุนรายย่อยลงทุนระยะยาว โดยส่งเสริมการ ลงทุนผ่านกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund : LTF) ปัจจุบัน (ข้อมูลถึง 30 พ.ย. 2547) มีการจัดตั้ง LTF ทั้งสิ้น 22 กองทุน มูลค่าโครงการ 7.45 หมื่นล้านบาท โดยมี NAV 2.93 พันล้านบาท
4. ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผลักดันให้เกิดศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสามารถเปิดให้ซื้อขายได้ภายในปี 2548 โดยได้เตรียมการรองรับ ดังนี้
กำหนดเกณฑ์การขอรับใบอนุญาตและหลักเกณฑ์การประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญา ซื้อขายล่วงหน้า และสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
สนับสนุนให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นแกนนำในการจัดตั้งศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
กำหนดเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ใบอนุญาตตัวแทนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เกณฑ์การให้ความ เห็นชอบผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประสานงานกับกรมสรรพากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความชัดเจนและแก้ไขอุปสรรคทางภาษีที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
5. ธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (Securities Borrowing and Lending: SBL)
ผลักดันให้ TSD เป็นผู้พัฒนาระบบงานกลาง เพื่อรองรับธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์
จัดทำสัญญามาตรฐาน
รวบรวมประเด็นปัญหาภาษีที่ยังเป็นอุปสรรคอยู่ เพื่อเสนอกรมสรรพากรพิจารณาหาแนวทาง
แก้ไขต่อไป
6. งานต่างประเทศ
ทำการประเมินโครงสร้างตลาดทุนไทยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศเพื่อให้เป็นไปตาม มาตรฐานสากล IOSCO Objectives and Principles
ให้ธนาคารโลกเริ่มขบวนการประเมินมาตรฐานบรรษัทภิบาลของประเทศไทย (CG ROSCs)
ผลักดันความร่วมมือภายในภูมิภาค ASEAN โดยเป็นเจ้าภาพในการประชุม ASEAN Capital Markets Forum (ACMF) ครั้งแรกในวันที่ 19 มิถุนายน 2547
ร่วมลงนามในหนังสือแสดงเจตนา (letter of intent : LOI) กับองค์กรกำกับดูแลตลาดทุนของประเทศฮ่องกง (Securities and Futures Commission) ที่จะยอมรับมาตรฐานและกฎเกณฑ์ของทั้งสองประเทศ (mutual recognition) โดยมีเป้าหมายให้กองทุนรวมของทั้งสองประเทศสามารถเสนอขายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนของกันและกันได้อย่างสะดวก
7. การบังคับใช้กฎหมาย
7.1 การดำเนินการทางบริหาร
กลุ่มผู้ถูกดำเนินการ รายละเอียดการดำเนินการ (จำนวนราย)
กำชับ ภาคทัณฑ์ สั่งพักการปฏิบัติงาน เพิกถอน
1. เจ้าหน้าที่การตลาด 16 28 15 2
2. ผู้สอบบัญชี - - 1 -
7.2 การดำเนินคดีอาญา
สถานะ / รายละเอียด จำนวน
1.กล่าวโทษ 4 กรณี
- การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์โดยไม่ได้รับอนุญาต 9 ราย
- การเผยแพร่ข้อมูลที่อาจทำให้บุคคลอื่นเข้าใจผิดว่าหุ้นจะมีราคาสูงขึ้น 3 ราย
- การแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้บริหาร 2 ราย
- การกระทำผิดหน้าที่ของกรรมการและผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน 5 ราย
2.เปรียบเทียบปรับ 40 ราย
รวมเป็นเงินค่าปรับจำนวน 5,275,387.50 บาท
หมายเหตุ ข้อมูล ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2547-
รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
ฝ่ายงานเลขาธิการ - Press Office
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
โทร. 0-2695-9503-5
email: [email protected]จบ--