ก.ล.ต.แจ้งแผนการดำเนินงานประจำปี 2548

ข่าวทั่วไป Thursday December 23, 2004 14:39 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--23 ธ.ค.--ก.ล.ต.
แผนกลยุทธ์ 3 ปี 2547-2550 (สิงหาคม 2547)
เน้น 4 ด้านหลัก
1.ผู้ระดมทุนเข้าถึงตลาดทุนได้สะดวก สินค้ามีคุณภาพ และน่าเชื่อถือ
2.ระบบและกลไกในตลาดทุนมีความน่าเชื่อถือ
3.มีโครงสร้างตลาดทุนที่สมบูรณ์ และสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล
4.เป็นองค์กรที่มีคุณภาพ
โจทย์ที่ท้าทายต่อการพัฒนาตลาดทุน
1.P/E ratio ไทยต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับ P/E ratio ของประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มเอเชีย ในขณะที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มเติบโตในระดับสูงกว่าประเทศอื่น นอกจากนี้ ระบบการเงินของประเทศ
ต่าง ๆ ทั่วโลกเชื่อมโยงกันมากขึ้น สามารถเคลื่อนย้ายเงินทุนได้อย่างรวดเร็ว ไปสู่แหล่งที่ให้ผลตอบแทนที่สูงและมั่นคง ทำอย่างไรตลาดทุนไทยจึงจะได้รับความสนใจ และมีเงินลงทุนระยะยาวจากต่างประเทศ
2.ผู้ลงทุนยินดีที่จะจ่าย premium เพื่อลงทุนในบริษัทที่มีบรรษัทภิบาลที่ดี ทำอย่างไรที่จะให้บริษัทจดทะเบียนตระหนักถึงความสำคัญและร่วมกันยกระดับมาตรฐานบรรษัทภิบาลที่ดี
3.จากวิกฤติเศรษฐกิจในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่งผลให้องค์กรกลางระหว่างประเทศกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ขึ้นมา เพื่อเป็นเครื่องมือในการประเมินมาตรฐานของแต่ละประเทศเปรียบเทียบกับมาตรฐานสากล ทำให้หลาย ๆ ประเทศต้องใช้มาตรฐานสากลเหล่านี้ในการประเมินตนเอง จึงสร้างแรงกดดันให้ประเทศไทยต้องเข้าสู่การประเมิน เพื่อมิให้ตกจากเวทีโลก ทำอย่างไร ประเทศไทยจึงจะมีความพร้อมที่จะเข้ารับการประเมินและได้คะแนนระดับดี
แผนงาน ปี 2548
ดำเนินงานต่อเนื่องตามแผนกลยุทธ์ 3 ปี โดยเน้น 3 ด้านหลัก
ยกระดับบรรษัทภิบาลที่ดีของบริษัทจดทะเบียน
เตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่มาตรฐานสากล
กระบวนการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย
ยกระดับบรรษัทภิบาลที่ดีของบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย
แบ่งเป็น 5 เรื่อง ดังนี้
1.พัฒนาการมีบรรษัทภิบาลที่ดีของบริษัทจดทะเบียนให้สอดคล้องกับหลักสากล
1.1 เร่งรัดบริษัทจดทะเบียนทุกบริษัทปฏิบัติตามหลัก CG 15 ข้อของตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้ได้ โดยให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับบริษัทจดทะเบียนใน SET 50
1.2 เสริมสร้างภาพพจน์ที่ดีเรื่องบรรษัทภิบาลในสายตาผู้ลงทุนต่างประเทศ โดย
ดำเนินการต่อเนื่องในโครงการ CG ROSCs เพื่อให้องค์กรระหว่างประเทศประเมินบรรษัท ภิบาลที่ดีของประเทศไทย ภายหลังจากเข้าร่วมโครงการตั้งแต่ปี 2547
ศึกษาแนวทางการจัดทำวิจัยและวัดผล CG ขององค์กรต่างประเทศ เช่น CLSA, CalPERS, S&P เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางการพัฒนาบรรษัทภิบาลของไทยให้เห็นผลอย่างจริงจัง
1.3 สร้างความรู้ความเข้าใจกับผู้ปฏิบัติ โดย
เผยแพร่และประชาสัมพันธ์คู่มือกรรมการ เพื่อให้กรรมการของบริษัทจดทะเบียนมีแนวทางการปฏิบัติหน้าที่อย่างชัดเจน
ส่งเสริมให้กรรมการบริษัทจดทะเบียนเป็นผู้มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง โดยต้องผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่ของกรรมการบริษัทจดทะเบียนโดยตรง เช่น หลักสูตรต่าง ๆ ของ IOD เป็นต้น
1.4 นำระบบทะเบียนกรรมการมาใช้เป็นเครื่องมือเชิงบริหาร เพื่อป้องกันมิให้ผู้ที่มีประวัติการกระทำความผิด หรือมีพฤติกรรมที่ไม่น่าไว้วางใจ มาเป็นผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนที่อาจสร้างความเสียหายให้แก่บริษัทจดทะเบียนและผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ จะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2548
2. เพิ่มคุณภาพของบริษัท IPO และบริษัทจดทะเบียน
2.1 เพิ่มความเข้มงวดเรื่องคุณภาพของระบบการควบคุมภายในและระบบบัญชี ในการพิจารณาอนุญาตให้บริษัทเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทขนาดเล็ก
2.2 ป้องกันและแทรกแซงการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทจดทะเบียนที่มีลักษณะเอารัดเอา
เปรียบผู้ถือหุ้นรายย่อย
2.3 ตรวจสอบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม หรือ การไม่ปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียน และดำเนินการลงโทษตามขั้นตอน
3. มาตรฐานการบัญชีและผู้สอบบัญชี
3.1 ร่วมกับสภาวิชาชีพบัญชี ผลักดันให้มาตรฐานการบัญชีไทยสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
4. สนับสนุน whistle blower
4.1 สนับสนุนให้ผู้ที่รู้ข้อมูลหรือเบาะแสเกี่ยวกับการทุจริต / ยักยอก ในบริษัทจดทะเบียน เช่น กรรมการตรวจสอบ ที่ปรึกษาทางการเงิน ผู้สอบบัญชี หรือพนักงานบริษัท มีช่องทางที่สะดวกในการแจ้งต่อ ก.ล.ต.
4.2 ติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ จากรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบที่เปิดเผยในรายงานประจำปี
5. เพิ่มบทบาทของผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
5.1 กำหนดให้กองทุนรวม และ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไปใช้สิทธิออกเสียง (proxy voting) และ
เปิดเผยแนวทางการใช้สิทธิออกเสียง รวมถึงนโยบายเลือกลงทุนในบริษัทที่มีบรรษัทภิบาลที่ดี
เตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่มาตรฐานสากล
.... ในอนาคตอันใกล้ หากประเทศไทยมีการกำกับดูแลที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ก็จะส่งผลให้ ไม่ได้รับความน่าเชื่อถือในระดับภูมิภาค / โลก....
การประเมินทางด้านการเงินของประเทศ (Financial Sector Assessment Programme : FSAP)
ธปท. เป็นผู้ประสานงานหลัก ที่จะนำประเทศไทยเข้าร่วมโครงการในปี 2549
ในส่วนของการประเมินระบบการกำกับดูแลตลาดทุน International Monetary Fund (IMF) และ World Bank ได้นำ IOSCO Objectives and Principles มาใช้ประเมินตามโครงการ FSAP
(Financial Sector Assessment Programme : FSAP คือ การประเมินระบบการเงิน ที่ International Monetary Fund (IMF) และ World Bank ผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ นำมาใช้ โดยการประเมินจะ อ้างอิงกับมาตรฐานต่าง ๆ เช่น การกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ (banking supervision) ใช้ Basel Committee's Core Principles for Effective Banking Supervision การกำกับดูแลตลาดทุน ใช้ International Organization of Securities Commissions' (IOSCO) Objectives and Principles for Securities Regulation การกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย ใช้ International Association of Insurance Supervisors' (IAIS) Insurance Supervisory Principles เป็นต้น)
การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าโครงการ FSAP ในส่วนของตลาดทุน (IOSCO Objectives and Principles)
1. IOSCO มี pilot program ให้สมาชิกประเมินตนเอง (self assessment) ว่า มีการปฏิบัติตาม IOSCO Objectives and Principles โดยส่งผู้แทนจาก ก.ล.ต. ของประเทศในภูมิภาคเดียวกัน มาให้ความ ช่วยเหลือในการประเมิน
2. ก.ล.ต. ได้เข้าร่วม program นี้ และเป็นประเทศแรกที่ประเมินเสร็จ โดยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึง พฤษภาคม 2547 ได้มีผู้แทนจาก ASIC และ SFC Hong Kong มาให้ความช่วยเหลือในการประเมินระบบการกำกับดูแลตลาดทุนไทย เพื่อประโยชน์ในการหาข้อบกพร่องและเร่งแก้ไขจุดอ่อน
3. จากผลการประเมิน ทำให้ ก.ล.ต. ได้รับคำแนะนำ และได้มีการเตรียมแก้ไขปัญหาและอุปสรรคอย่างเร่งด่วนในเรื่อง
3.1 การเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย : ปรับปรุงกระบวนการดำเนินคดีอาญา / หาแนวทางให้ ก.ล.ต. มีอำนาจดำเนินคดีทางแพ่ง
3.2 การมีระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างองค์กรกำกับดูแล เช่น ธปท. เพื่อให้ ก.ล.ต. สามารถเข้าถึงข้อมูลของสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกระบบชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์
3.3 การเสนอแก้ไขกฎหมายให้ ก.ล.ต. มีอำนาจกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ฯ ในลักษณะเดียวกับ ก.ล.ต. ประเทศอื่น เช่น อำนาจการให้ความเห็นชอบข้อบังคับสำคัญ ๆ ทุกเรื่อง
3.4 การแก้ไขกฎหมายเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินของลูกค้าและระบบชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ ในกรณีที่โบรกเกอร์ล้มละลาย
4. เสนอแก้ไขกฎหมายเพื่อแก้ไขข้อจำกัดของ ก.ล.ต. ในเรื่องอำนาจในการตรวจสอบตามกฎหมาย ว่าด้วยหลักทรัพย์ เพื่อให้ ก.ล.ต. สามารถให้ความช่วยเหลือในการตรวจสอบข้อมูลแก่องค์กร ต่างประเทศได้ ตามที่กำหนดในมาตรฐานสากลซึ่งปรากฏใน MMOU ด้วย นอกจากนี้
คณะกรรมการ ก.ล.ต. ในการประชุมเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2547 ได้มีมติให้ความเห็นชอบในการสมัครเข้าร่วมลงนามใน MMOU รวมทั้งขอเข้าร่วมโครงการให้มีผู้เชี่ยวชาญมาให้ความช่วยเหลือ
ในการลงนามดังกล่าวด้วย
(MMOU : IOSCO Multilateral Memorandum of Understanding Concerning Consultation and Cooperation and the Exchange of Information เป็นมาตรฐานสากลที่ IOSCO ผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสมาชิกในระดับพหุภาคี โดยคาดว่า MMOU จะเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการจัดการและป้องกันปัญหาการทำธุรกรรมผิดกฎหมายในตลาดหลักทรัพย์และตลาดอนุพันธ์ระหว่างประเทศ (International Financial Fraud) ปัจจุบันมี 52 ประเทศ จาก 104 ประเทศที่เป็นสมาชิก IOSCO ที่เป็นกลุ่มซึ่งมีความเต็มใจและมีความสามารถที่จะเข้าร่วม MMOU (signatory) สำหรับในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิค มีเพียง 5 ประเทศเท่านั้น ที่เป็น signatory แล้ว ได้แก่ ออสเตรเลีย ฮ่องกง อินเดีย นิวซีแลนด์ และศรีลังกา)
กระบวนการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย
... การที่จะบรรลุเป้าหมายในการยกระดับบรรษัทภิบาลที่ดีของบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย และ
เตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่มาตรฐานสากล จำเป็นที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ และพัฒนากฎหมายใหม่....
การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายแบ่งเป็น 4 กระบวนหลัก
1. รองรับบรรษัทภิบาลที่ดี
1.1 เสนอแก้ไข พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ เพื่อเพิ่มความคุ้มครองผู้ถือหุ้น โดยกำหนดบทบาทหน้าที่ของกรรมการและผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนให้ชัดเจนขึ้น (ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา)
1.2 เสนอร่าง พ.ร.บ. ทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน (trust law) เพื่อเป็นเครื่องมือในการอำนวยความสะดวกแก่การทำธุรกรรมต่าง ๆ ในตลาดทุน (ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงาน
คณะกรรมการกฤษฎีกา)
1.3 เสนอร่าง พ.ร.บ. การดำเนินคดีแบบกลุ่ม (class action) เพื่อช่วยให้ผู้ลงทุนรายย่อยได้รับการเยียวยาสิทธิโดยไม่ต้องฟ้องร้องคดีเอง (ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงาน
คณะกรรมการกฤษฎีกา)
2. รองรับ clearing and settlement
2.1 เสนอแก้ไข พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ เพื่อให้ ก.ล.ต. สามารถกำกับดูแลการเป็นสำนักหักบัญชี
ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือนายทะเบียนหลักทรัพย์ ที่ดำเนินการโดยตลาดหลักทรัพย์ฯ
เช่นเดียวกับผู้ประกอบการอื่น (รอเสนอคณะรัฐมนตรี)
3. รองรับ MMOU
3.1 เตรียมเสนอแก้ไข พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ เพื่อแก้ไขข้อจำกัดในเรื่องอำนาจในการตรวจสอบ
ให้ ก.ล.ต. สามารถให้ความช่วยเหลือในการตรวจสอบข้อมูลแก่องค์กรต่างประเทศได้
ตามที่กำหนดในมาตรฐานสากล เพื่อให้ไทยได้รับประโยชน์ในทำนองเดียวกัน ซึ่งจะทำให้สามารถคุ้มครองผู้ลงทุนได้ดียิ่งขึ้น
4. รองรับ FSAP
4.1 ศึกษาแนวทางการแก้ไขกฎหมาย เพื่อปรับปรุงกระบวนการดำเนินคดี การแลกเปลี่ยนข้อมูลกับ
ธปท. อำนาจการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ฯ และการคุ้มครองทรัพย์สินของลูกค้ากรณีโบรกเกอร์ ล้มละลาย เป็นต้น
รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
ฝ่ายงานเลขาธิการ - Press Office
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
โทร. 0-2695-9503-5
email: press@sec.or.th--จบ--

แท็ก ตลาดทุน   ก.ล.ต.  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ