สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)ขอเชิญสื่อมวลชนร่วมงานแถลงข่าวเรื่อง"ไทยกับการรับมือแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์"

ข่าวทั่วไป Tuesday December 28, 2004 15:15 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--28 ธ.ค.--สกว.
“คลื่นยักษ์จากแผ่นดินไหว” ที่คร่าชีวิตคนไทยและชาวต่างชาติ ไปกว่า 1 พันคน รวมถึงเหตุการณ์แผ่นดินไหวในภูมิภาคนี้ หลาย ๆ ครั้ง ในรอบไม่กี่ปีที่ผ่านมา นอกจากข่าวคราวความเสียหาย ความช่วยเหลือ ซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะหน้าที่ต้องเร่งดำเนินการอย่างเร่งด่วนแล้ว ประชาชนส่วนหนึ่งได้ตั้งคำถามว่า “ประเทศไทยและคนไทยเสี่ยงต่อแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์มากน้อยแค่ไหน” และ “เราจะรับมือกับพิบัติภัยชนิดนี้อย่างไร” ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นหน้าที่ของนักวิชาการ ที่จะต้องหาคำตอบให้กับสังคม
ดังนั้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงได้จัดงานแถลงข่าวเรื่อง ไทยกับการรับมือแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์” ในวันพุธที่ 29 ธันวา ระหว่างเวลา 13.00-15.00 น. ณ ห้องประชุม 1 สกว. ชั้น 14 อาคาร SM Tower (ถ.พหลโยธิน ตรงข้าม ททบ.5) โดยในงานดังกล่าวจะมีการบรรยายพิเศษโดยผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยา วิศวกรรมโยธา และวิศวกรรมโครงสร้าง ที่จะมาให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในประเด็น
-ผลกระทบของคลื่นที่มีต่อแผ่นดินและสิ่งก่อสร้างบนแผ่นดิน
-ความเสี่ยงและระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่จะเกิดในประเทศไทยหรือในภูมิภาคนี้ หลังการชนกันของเปลือกโลกทั้ง 2 แผ่น
-เทคโนโลยีเพื่อรับมือกับแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สำหรับประเทศไทย ฯลฯ (รายละเอียดในกำหนดการ) ในฐานะที่ท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญ ในการเผยแพร่ข่าวสารสู่สาธารณะสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงขอเรียนเชิญท่านร่วมงานตามวันเวลาดังกล่าว
กำหนดการแถลงข่าว
“ไทยกับการรับมือแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์” วันพุธที่ 29 ธันวาคม 2547 ห้องประชุม 1 สกว. ชั้น 14 อาคาร SM Tower ถ.พหลโยธิน (ตรงข้าม ททบ.5)
13.00 น. เปิดงาน และความเป็นมาของงานวิจัย
โดย รศ. สุชาตา ชินะจิตร ผู้อำนวยการฝ่ายสวัสดิภาพสาธารณะ สกว.
13.20 น. รศ.ดร. ปัญญา จารุศิริ (คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
: การชนกันของแผ่นเปลือกโลกทั้ง 2 แผ่น เมื่อ 26 ธ.ค. 47 ส่งผลถึงธรณีสัณฐาน
และแผ่นรอนเลื่อนต่าง ๆ ในประเทศอย่างไร?
: ข้อมูลที่ขาดหายไปที่ต้องเร่งศึกษาคืออะไร ?
13.40 น. รศ.ดร. เป็นหนึ่ง วานิชชัย (สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย)
: การเฝ้าระวังและระบบเตือนภัยคลื่นซูนามิ
: แผนที่พื้นที่เสี่ยงภัย
: มาตรการลดความรุนแรง
: การรับมือพิบัติภัยแผ่นดินไหวในรูปแบบอื่น
14.00 น. ดร. ธวัช วิรัตติพงศ์ (Jet Propulsion Laboratory, California
Institute of Technology, USA.)
: เทคโนโลยีการเตือนภัยแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์
14.15 น. เสวนา “เทคโนโลยีสู่การรับมือแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์”
15.00 น. สรุปและปิดการเสวนา
(ดำเนินรายการโดย ปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร)
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์ สกว.--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ