รางวัลจากการประกวดภาพถ่ายเชิงข่าว ครั้งที่ 6

ข่าวทั่วไป Thursday April 4, 2013 09:17 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--4 เม.ย.--โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ ช่างภาพแห่งปี ประเภทภาพชุดเล่าเรื่อง โดย วลาด โซคิน ชาวดานีคนสุดท้าย ประชากรชาวดานีที่อาศัยอยู่ในหุบเขาบาเลียม ซึ่งตั้งในจังหวัดเวสต์ปาปัว ประเทศอินโดนีเซีย ในอดีตพวกเขาใช้ชีวิตตามแบบยุคหินและกินเนื้อพวกเดียวกันเพื่อดำรงชีวิต แต่ในปี พ.ศ. 2522 เมื่อจังหวัดเวสต์ปาปัวร่วมกับประเทศอินโดนีเซีย นโยบายการตั้งถิ่นฐานภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อบังคับให้ผู้อาศัยละทิ้งขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของพวกเขา ส่งผลให้สินค้าราคาถูกจากประเทศอินโดนีเซียและจีนอพร่หลายทั่วภูมิภาค ประชากรที่นับถือขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมเริ่มลงน้อยลงเรื่อยๆ มีเพียงประชาชนในหมู่บ้านแถบใกล้วาเมนา เมืองหลวงของบาเลียม วาลเลย์เท่านั้นที่ยังใช้วิถีชีวิตแบบดานีดั้งเดิมอยู่ นักท่องเที่ยวต่างชาติยินดีจ่ายเงินให้พวกเขาสำหรับการถ่ายภาพและซื้อสินค้าหัตถกรรม ซึ่งหัวหน้าแต่ละหมู่บ้านยังคงใช้ฝักปกปิดอวัยวะเพศอยู่ แต่พวกเขาจะเก็บเงินออมที่หามาได้ไว้ในธนาคารและรักษาวิถีชีวิตในรูปแบบดั้งเดิมนี้เอาไว้เพียงเพื่อหารายได้เท่านั้น ในภาพ อาซิค ฮาลู อายุ 67 ปี โพสต์ท่าอยู่ใกล้กับเครื่องเอทีเอ็ม ของธนาคารบีอาร์ไอ ในเมืองวาเมนา อาซิคทำ รายได้จากนักท่องเที่ยวโดยเขาอนุญาตให้พวกเขาถ่ายภาพ แลกกับค่าตอบแทนราคา 50 เซ็นต์ ถึง 1 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อการถ่ายภาพหนึ่งครั้ง นอกจากนี้เขายังทำหน้าที่เป็นมัคคุเทศน์ท้องถิ่นอีกด้วย ทำให้เขามีรายได้มากถึง 10 ดอลลาร์สหรัฐ ถึง60 ดอลลาร์สหรัฐต่อวันและเขายังคงเก็บเงินที่หามาได้ไว้ในธนาคารต่อไป ผู้ชนะการประกวด ประเภทภาพในเหตุการณ์ข่าว โดย มูเนียร์ อัซ ซามาน จากสำนักข่าวเอเอฟพี ชาวมุสลิมโรฮิงญา ขณะกำลังพยายามจะข้ามแม่น้ำนาฟไปยังประเทศบังคลาเทศ เพื่อหนีจากความรุนแรงในประเทศพม่า ขณะมองออกไปนอกเรือ ในเมืองเท็คน๊าฟ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555 โดยชาวมุสลิมโรฮิงญาอย่างน้อย 50 คน เสียชีวิตในรัฐยะไข่ ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านฝั่งตะวันตกของประเทศพม่า จากเหตุการณ์ความรุนแรงเกี่ยวกับการแบ่งแยก และการโจมตีแก้แค้นระหว่างชาวพุทธ และชาวมุสลิมโรฮิงญาที่ยืดเยื้อยาวนานกว่าหนึ่งสัปดาห์ รางวัลชมเชย ประเภทภาพในเหตุการณ์ข่าว โดย คริสโตเฟอร์ อาชชงบรูตจากสำนักข่าวเอเอฟพี นางอองซานซูจี (กลาง) ผู้นำพรรคฝ่ายค้านพม่า กำลังโบกมือขณะที่รถเคลื่อนฝ่าฝูงชนผู้สนับสนุน พร้อมกับที่เธอมาถึงการชุมนุมทางการเมืองในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555 ซึ่งนี่เป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญรณรงค์การเลือกตั้งของเธอ ณ สนามกีฬา ในเมืองปะเต็นซึ่งอยู่ห่างจากเมืองย่างกุ้งขึ้นไปทางด้านตะวันตกเป็นระยะทางประมาณ 200 กิโลเมตร รางวัลชมเชย ประเภทภาพในเหตุการณ์ข่าว โดยไกเซอร์ ไฮเดอร์ อาช่าโมนี (อายุ 1 ปีครึ่ง) ได้เสียชีวิตพร้อมกับครอบครัวในเหตุการณ์ดินถล่มครั้งล่าสุดในเมืองจิตตะกอง ประเทศบังกลาเทศ โดยจะมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดินถล่มทุกปี ผู้ชนะการประกวด ประเภทภาพที่ไม่เกี่ยวข้องกับข่าว โดย อเล็กซ์ โฮฟฟอร์ดจากองค์กรกรีนพีช โจเอล กอนซากา นักประดาน้ำ จากเรือประมงฟิลิปปินส์ที่มีชื่อว่า “Vergene” เขามีอาชีพทำงานประมงปลาทูน่า โดยใช้เพียงแค่ท่ออากาศพลาสติกเชื่อมต่อกับคอมเพรสเซอร์ขึ้นสนิมบนเรือประมงในการทำงานเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2555 บางทีวิธีดังกล่าวอาจเป็นการจับปลาที่อันตรายที่สุด โดยการใช้ท่อพลาสติกเชื่อมต่อกับคอมเพรสเซอร์เป็นที่รู้จักในประเทศฟิลิปปินส์ ภายใต้ชื่อเรียกว่า “ปาลิง (Pa-aling)” ซึ่งกอนซากาให้ข้อมูลว่า เขาใช้เวลาอยู่บนเรือหลายเดือนในแต่ละครั้งทำให้เห็นการบาดเจ็บร้ายแรงและเสียชีวิตบ่อยครั้ง ซึ่งสาเหตุการเสียชีวิตที่พบมากที่สุด คือ การเสียชีวิตจากการดำน้ำด้วยวิธี “ปาลิง (Pa-aling)” เนื่องจากอาการป่วยจากความดันที่ลดลงหรือ “the bends” วิธีการจับปลาที่เป็นอันตราย เช่น วิธีการ “Pa-aling” ถือว่าเป็นเหตุหลักที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตการจับปลาปริมาณมากเกินไปในแถบในประเทศฟิลิปินส์และรอบนอก รางวัลชมเชย ประเภทภาพที่ไม่เกี่ยวข้องกับข่าว โดยอัคลาส อุดดิน ผู้ใช้แรงงานดื่มน้ำจากขวดพลาสติก ขณะที่ทำงานอยู่ในโรงงานรีไซเคิลพลาสติกขนาดเล็กที่ ตั้งอยู่ในเมืองซิลเฮต เพื่อดำรงชีวิต งานของเธอ คือการแยกขวดสีที่แตกต่างกันก่อนนำขวดไปล้างทำความสะอาดแล้วทำให้แห้งเพื่อแลกกับค่าจ้างวันละประมาณ 100 ถึง 120 ทากา (1.25 ดอลลาร์สหรัฐถึง 1.50 ดอลลาร์สหรัฐ) เธอยังเก็บเศษน้ำมันปรุงอาหารที่หลงเหลือในขวดกลับไปบ้านเพื่อปรุงอาหารให้กับครอบครัวของเธออีกด้วย โดยเกือบร้อยละ 60 ของประชากรทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในประเทศบังคลาเทศมีคุณภาพชีวิตต่ำกว่าระดับความยากจน และมีชาวบ้านอีกเป็นจำนวนมากเข้ามาในเมืองเพื่อหางานทำ ผู้ชนะการประกวด ภาพเกี่ยวกับประเด็นการอพยพ - จากพม่าสู่เมืองบัฟฟาโล ภาพชุดเล่าเรื่องโดย เจมส์ โรเบิร์ต ฟูลเลอร์ จากพม่าสู่เมืองบัฟฟาโล : ตั้งถิ่นฐานใหม่ยังประเทศสหรัฐอเมริกา - บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการระยะยาวเกี่ยวกับครอบครัวชาวกะเหรี่ยงที่อพยพไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาและวิธีที่พวกเขาเรียนรู้ที่จะปรับตัวใช้ชีวิตที่นั่นจากสถิติของประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าจากปี พ.ศ. 2549 ถึงปลายปี พ.ศ.2554 มีผู้ลี้ภัยจำนวน 83,902 คน จากประเทศพม่าอพยพมาตั้งถิ่นฐานยังประเทศสหรัฐอเมริกาโดยคิดเป็นกว่าร้อยละ 27 ของผู้ลี้ภัยที่เดินทางมายังประเทศ สหรัฐอเมริกา เอกสารของโครงการดังกล่าวแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ภายในครอบครัว และกระตุ้นพัฒนาการที่แตกต่างกันของสิ่งพวกเขาเรียกว่า “บ้าน” และเมื่อถึงเลาที่พวกเขามีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการเป็นพลเมืองสหรัฐฯและได้รับคำเชิญจากนางอองซานซูจี ที่เรียกร้องให้ชาวพม่าพลัดถิ่นกลับคืนสู่บ้านเกิด พวกเขาได้รับการนำเสนอทางเลือกว่าจะดำเนินชีวิตที่ไหนอย่างไรในอนาคต ในภาพ เชอร์ เนย์ตู (อายุ 19 ปี) พูดคุยกับเด็กๆ ในพื้นที่ซึ่งอยากรู้เกี่ยวกับรถจักรยานยนต์ขนาดเล็กของเขาในเมืองบัฟฟาโล รัฐนิวยอร์ก ผู้ชนะการประกวด ภาพชุดเล่าเรื่อง — ความงานอันลุ่มลึก โดยคาซูฮิโกะ มัตสึมูระ นี่คือเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตของ ไมโกะ และไกโกะ ในเมืองเกียวโต ที่ประกอบด้วยชุมชนทั้งสิ้น 5 ชุมชน ผู้หญิงหลายคนปรารถนาที่จะเป็นไมโกะ ก็จะมาที่ชุมชนเหล่านี้ แต่ส่วนใหญ่พวกเธอก็จะจากไปอยากรวดเร็วเพราะความเข้มงวดในการใช้ชีวิตของไม่โกะ และไกโกะมีความเข้มงวด พวกเขาต้องต้อนรับแขก โดยเฉพาะผู้ชายที่มีฐานะร่ำรวยในงานปาร์ตี้สุดหรูสไตล์ญี่ปุ่น ดังนั้นพวกเธอจึงต้องสง่างาม สุขภาพนุ่มนวล สวยงาม และสนุกสนาน พวกเธออาศัยอยู่ในบ้านกับมาดาม โดยได้รับการฝึกฝนวิธีการปฏิบัติตนให้เป็นไมโกะกับมาดามซึ่งมันเป็นงานที่หนักมาก หลังจากที่ได้เป็นไมโกะหลายปี เมื่อพวกเธอมีอายุเกิน 20 ปี พวกเธอจะกลายเป็นไกโกะ ในภาพ อุเมยาเอะ อายุ 21 ปี และอุเมชิเอะ อายุ 16 ปี กำลังทำความสะอาดห้องพักโดยในทุกๆ เช้า พวกเขาต้องซักรีดเสื้อผ้า และต้องทำความสะอาดห้องต่างๆ รวมถึงโรงน้ำชาที่พวกเขาใช้สร้างความบันเทิงให้กับแขก ก่อนที่จะไปฝึกการแสดงเพื่อความบันเทิงสไตล์ญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม ผู้ชนะการประกวด ภาพชุดเล่าเรื่อง — ความงานอันลุ่มลึก โดยคาซูฮิโกะ มัตสึมูระ นี่คือเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตของ ไมโกะ และไกโกะ ในเมืองเกียวโต ที่ประกอบด้วยชุมชนทั้งสิ้น 5 ชุมชน ผู้หญิงหลายคนปรารถนาที่จะเป็นไมโกะ ก็จะมาที่ชุมชนเหล่านี้ แต่ส่วนใหญ่พวกเธอก็จะจากไปอยากรวดเร็วเพราะความเข้มงวดในการใช้ชีวิตของไม่โกะ และไกโกะมีความเข้มงวด พวกเขาต้องต้อนรับแขก โดยเฉพาะผู้ชายที่มีฐานะร่ำรวยในงานปาร์ตี้สุดหรูสไตล์ญี่ปุ่น ดังนั้นพวกเธอจึงต้องสง่างาม สุขภาพนุ่มนวล สวยงาม และสนุกสนาน พวกเธออาศัยอยู่ในบ้านกับมาดาม โดยได้รับการฝึกฝนวิธีการปฏิบัติตนให้เป็นไมโกะกับมาดามซึ่งมันเป็นงานที่หนักมาก หลังจากที่ได้เป็นไมโกะหลายปี เมื่อพวกเธอมีอายุเกิน 20 ปี พวกเธอจะกลายเป็นไกโกะ ในภาพ โทมิทาเอะ อายุ 16 ปี กำลังเล่นเกมโทระ โทระ อยู่กับแขกของเธอ โดยเธอรับบทเป็นเสือและแขกของเธอรับบทเป็นผู้บัญชาการทหาร ในเกมส์นี้แขกของเธอเป็นฝ่ายชนะ เพราะว่าผู้บัญชาการทหารมีอำนาจที่จะชนะเสือ ช่างภาพแห่งประจำปี - ความรุนแรงต่อผู้หญิงในปาปัว ภาพชุดเล่าเรื่องโดย วลาด โซคิน ในปาปัวนิวกินี สองในสามของผู้หญิงได้พบเจอกับความรุนแรงภายในครอบครัว และอีกประมาณร้อยละ 50 ของผู้หญิงได้ตกเป็นเหยื่อของการถูกคุกคามทางเพศ ความโหดร้ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเวทมนตร์พบมากในหลาย จังหวัด ในกรณีของการเสียชีวิตที่ไม่คาดคิดในหมู่บ้าน ประชาชนมักจะกล่าวหาว่าผู้หญิงเป็นสาเหตุการตาย และความทรมานเธอ โดยประชาชนจะบังคับให้ยอมรับว่าตัวเธอเป็นแม่มด ส่งผลให้เหยื่อเสียชีวิตจากการถูกลงโทษ ถึงแม้ผู้หญิงจะรอดชีวิตอ เธอก็มักจะถูกขับไล่ออกจากชุมชนเป็นการถาวร ถึงแม้ความรุนแรงจะกระจายอย่างกว้างขวางแต่รัฐบาลประเทศปาปัวนิวกินี ก็ไม่ได้มีโครงการที่จะช่วยเหลือผู้ที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงอันเกี่ยวข้องกับเวทมนตร์และไม่ได้จัดหาที่พักพิงให้ผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อแต่อย่างใด ในภาพ ราสต้า (อายุประมาณ 60 ปี) ถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มด จากคนในหมู่บ้านของเธอ หลังการตายของชายหนุ่มคนหนึ่งในปี พ.ศ. 2546 ระหว่างงานศพ ฝูงชนได้รุมล้อมราสต้า และเริ่มทุบตีเธออย่างรุนแรง เอาเชือกมารัดคอ ปาขวาน มีดและท่อนไม้ใส่ ราสต้าหลบหนีออกมาได้และวิ่งเข้าไปในบ้านของเธอ เธอถูกจับได้โดยหนึ่งในผู้ที่บุกรุกเข้ามาในบ้านของเธอ พวกเขาพยามยามที่จะตัดหัวของราสต้าด้วยมีด แต่เธอก็พยามยามปกป้องตัวเองด้วยแขนซึ่งเป็นเหตุให้เธอต้องสูญเสียแขนไป ราสต้ารอดมาได้จากเหตุการณ์ในวันนั้น แต่ต้องออกจากหมู่บ้านไปแบบถาวร สามีของเธอได้รับเงินจำนวน 600 คีน่า จากผู้ใหญ่ในหมู่บ้านเพื่อชดเชยที่ได้ทำร้ายภรรยาของเขา แต่ราสต้ากลับไม่เคยได้รับเงินจำนวนนั้นจากสามีของเธอเลย และเธอต้องขอความช่วยเหลือจากญาติของเธอในหมู่บ้านคุดจิพที่ซึ่งเธออาศัยอยู่ในปัจจุบัน ติดต่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ แพทริค บาร์ตา คณะกรรมการสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (เอฟซีซีที) อีเมล์ Patrick.barta@wsj.com หรือ โทรศัพท์หมายเลข 081-309-9109 นอกจากนี้ยังสามารถติดตามการประกาศผลรางวัลได้ที่ http://fcct.onasia.lightrocketmedia.com และสามารถรับชมภาพผลงานที่ได้รับรางวัลในแต่ละประเภทได้ที่ www.fccthai.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ