กรุงเทพฯ--5 เม.ย.--สำนักงาน กสทช.
ศาลปกครองกลางชี้อีกคดี กรณี กสทช. สั่งปรับผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้า (pre-paid) วันละ 100,000 บาท โดยศาลมีคำสั่งยกคำขอของ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (AIS) ไม่ทุเลาการบังคับคำสั่งทางปกครองดังกล่าวของ กสทช. เช่นเดียวกับที่เคยตัดสินในคดีที่บริษัททรูมูฟเป็นผู้ฟ้อง “หลอลี่” ชี้ถึงเวลาที่สำนักงาน กสทช. ต้องเร่งบังคับผู้ให้บริการมือถือทุกค่ายจ่ายเงินค่าปรับได้แล้ว เพราะออกคำสั่งปรับมาเกือบ 1 ปี ได้แต่ปรับลม ยังไม่มีรายใดยอมจ่ายจริงสักบาท
นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน เปิดเผยถึงกรณีที่สำนักงาน กสทช. ได้มีคำสั่งปรับผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนข้อกำหนดการห้ามผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้า (แบบ pre-paid) กำหนดการใช้บริการในลักษณะบังคับให้เร่งใช้บริการ ในอัตราวันละ 100,000 บาท ซึ่งปรากฏว่ามีผู้ให้บริการอย่างน้อย 2 ราย คือ บจ. ทรูมูฟ และ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ AIS ฟ้องคดีต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว รวมทั้งขอทุเลาการบังคับตามคำสั่ง โดยล่าสุดศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งออกมาแล้วในคดีที่ AIS เป็นผู้ฟ้อง โดยศาลสั่งยกคำขอของ AIS และชี้ว่า มาตรการกำหนดค่าปรับทางปกครองของสำนักงาน กสทช. นั้นเป็นเครื่องมือในการบริหารบริการสาธารณะด้านโทรคมนาคม
“คำสั่งนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกับคำสั่งในคดีที่ทรูมูฟฟ้องร้อง ซึ่งศาลปกครองกลางได้ตัดสินตั้งแต่เมื่อช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 2555 ว่า คำสั่งปรับของ เลขาธิการ กสทช.ได้กระทำโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายโดยชอบแล้ว ดังนั้น ณ บัดนี้ผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือจึงไม่มีข้ออ้างใดๆ อีกแล้วที่จะยื้อเวลาการจ่ายค่าปรับออกไป ขณะเดียวกันสำนักงาน กสทช. ก็ควรต้องเร่งบังคับอย่างจริงจังให้ได้ค่าปรับที่เป็นตัวเงินจริงๆ มาเสียที ไม่ใช่แค่ปรับลม เพราะนับจากที่ได้แจ้งปรับไป เวลาก็ล่วงเลยมากว่า 10 เดือนแล้ว โดยยังไม่เคยมีการจ่ายค่าปรับกันจริงๆ แม้แต่บาทเดียว เมื่อศาลสั่งชัดเช่นนี้ ทุกฝ่ายจึงมีหน้าที่ต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย” นายประวิทย์กล่าว
สำหรับกรณีการออกคำสั่งปรับค่ายมือถือวันละ 100,000 บาทนี้ เกี่ยวเนื่องกับปัญหาเรื่องการกำหนดอายุของเงินเติมในระบบบริการโทรศัพท์แบบจ่ายเงินล่วงหน้า หรือพรีเพด ที่ยืดเยื้อมานาน โดยผู้บริโภคได้เรียกร้องมาตลอดระยะเวลาหลายปีให้ กสทช. บังคับผู้ให้บริการทำตามข้อ 11 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 จนในที่สุดสำนักงาน กสทช. ต้องออกมาตรการสั่งปรับดังกล่าวนับตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2555 แต่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. ได้มีมติอนุญาตการกำหนดระยะเวลา 30 วันสำหรับการเติมเงินทุกมูลค่าให้แก่บริษัททรูมูฟ AIS และ DTAC ตามลำดับ ส่งผลให้มาตรการปรับดังกล่าวสิ้นผลลง อย่างไรก็ดี ในช่วงเวลานับแต่สำนักงาน กสทช มีคำสั่งปรับจนถึงเวลาที่ กทค. มีมติ บริษัทมือถือที่ละเมิดประกาศของ กทช. ย่อมต้องจ่ายค่าปรับในอัตราวันละ 100,000 บาท ซึ่งคิดอย่างคร่าวๆ แต่ละบริษัทจะต้องจ่ายไม่น้อยกว่า 25 ล้านบาท โดยอัตรานี้ในมุมมองของนักคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคยังเห็นว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับผลประโยชน์ที่บริษัทได้รับจากการกำหนดระยะเวลาเร่งให้มีการใช้บริการโดยที่มีการริบเงินของผู้บริโภคไปด้วย หากไม่ได้เติมเงินในกำหนดเวลา อย่างไรก็ตาม จนถึงทุกวันนี้ทุกรายยังคงพร้อมใจกันดื้อแพ่งและไม่ยอมควักกระเป๋าจ่ายให้ กสทช. เรื่องนี้จึงเป็นอีกเรื่องที่ต้องรอดูน้ำยาเลขาธิการสำนักงาน กสทช. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ ในฐานะผู้มีอำนาจในการบังคับคดี และตั้งท่าเงื้อดาบผ่านสื่อมาโดยตลอด
อนึ่ง ในวันที่ ๕ เมษายนนี้ ศาลยุติธรรมได้นัดสืบพยานในคดีที่ผู้ใช้บริการฟ้องบริษัท AIS เนื่องจากบริษัทกำหนดระยะเวลาใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบเติมเงิน ยกเลิกหมายเลขโทรศัพท์ รวมทั้งยึดเงินในระบบทั้งหมดของผู้ใช้บริการ โดยอ้างว่าผู้ใช้บริการไม่ได้เติมเงินภายในระยะเวลาที่กำหนด อันเป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค และขัดต่อประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 โดยมีคำขอให้บริษัทคืนหมายเลขโทรศัพท์ที่ถูกยกเลิกบริการ เปิดสัญญาณโทรศัพท์ให้สามารถใช้ได้ตามปกติ และคืนเงินคงเหลือในระบบทั้งหมด รวมถึงขอให้ชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการยกเลิกสัญญาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเร่งสำนักงาน กสทช. บังคับค่ายมือถือละเมิดพรีเพดคายเงินค่าปรับ หลังศาลชี้ AIS ต้องจ่าย
ศาลปกครองกลางชี้อีกคดี กรณี กสทช. สั่งปรับผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้า (pre-paid) วันละ 100,000 บาท โดยศาลมีคำสั่งยกคำขอของ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (AIS) ไม่ทุเลาการบังคับคำสั่งทางปกครองดังกล่าวของ กสทช. เช่นเดียวกับที่เคยตัดสินในคดีที่บริษัททรูมูฟเป็นผู้ฟ้อง “หลอลี่” ชี้ถึงเวลาที่สำนักงาน กสทช. ต้องเร่งบังคับผู้ให้บริการมือถือทุกค่ายจ่ายเงินค่าปรับได้แล้ว เพราะออกคำสั่งปรับมาเกือบ 1 ปี ได้แต่ปรับลม ยังไม่มีรายใดยอมจ่ายจริงสักบาท
นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน เปิดเผยถึงกรณีที่สำนักงาน กสทช. ได้มีคำสั่งปรับผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนข้อกำหนดการห้ามผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้า (แบบ pre-paid) กำหนดการใช้บริการในลักษณะบังคับให้เร่งใช้บริการ ในอัตราวันละ 100,000 บาท ซึ่งปรากฏว่ามีผู้ให้บริการอย่างน้อย 2 ราย คือ บจ. ทรูมูฟ และ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ AIS ฟ้องคดีต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว รวมทั้งขอทุเลาการบังคับตามคำสั่ง โดยล่าสุดศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งออกมาแล้วในคดีที่ AIS เป็นผู้ฟ้อง โดยศาลสั่งยกคำขอของ AIS และชี้ว่า มาตรการกำหนดค่าปรับทางปกครองของสำนักงาน กสทช. นั้นเป็นเครื่องมือในการบริหารบริการสาธารณะด้านโทรคมนาคม
“คำสั่งนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกับคำสั่งในคดีที่ทรูมูฟฟ้องร้อง ซึ่งศาลปกครองกลางได้ตัดสินตั้งแต่เมื่อช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 2555 ว่า คำสั่งปรับของ เลขาธิการ กสทช.ได้กระทำโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายโดยชอบแล้ว ดังนั้น ณ บัดนี้ผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือจึงไม่มีข้ออ้างใดๆ อีกแล้วที่จะยื้อเวลาการจ่ายค่าปรับออกไป ขณะเดียวกันสำนักงาน กสทช. ก็ควรต้องเร่งบังคับอย่างจริงจังให้ได้ค่าปรับที่เป็นตัวเงินจริงๆ มาเสียที ไม่ใช่แค่ปรับลม เพราะนับจากที่ได้แจ้งปรับไป เวลาก็ล่วงเลยมากว่า 10 เดือนแล้ว โดยยังไม่เคยมีการจ่ายค่าปรับกันจริงๆ แม้แต่บาทเดียว เมื่อศาลสั่งชัดเช่นนี้ ทุกฝ่ายจึงมีหน้าที่ต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย” นายประวิทย์กล่าว
สำหรับกรณีการออกคำสั่งปรับค่ายมือถือวันละ 100,000 บาทนี้ เกี่ยวเนื่องกับปัญหาเรื่องการกำหนดอายุของเงินเติมในระบบบริการโทรศัพท์แบบจ่ายเงินล่วงหน้า หรือพรีเพด ที่ยืดเยื้อมานาน โดยผู้บริโภคได้เรียกร้องมาตลอดระยะเวลาหลายปีให้ กสทช. บังคับผู้ให้บริการทำตามข้อ 11 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 จนในที่สุดสำนักงาน กสทช. ต้องออกมาตรการสั่งปรับดังกล่าวนับตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2555 แต่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. ได้มีมติอนุญาตการกำหนดระยะเวลา 30 วันสำหรับการเติมเงินทุกมูลค่าให้แก่บริษัททรูมูฟ AIS และ DTAC ตามลำดับ ส่งผลให้มาตรการปรับดังกล่าวสิ้นผลลง อย่างไรก็ดี ในช่วงเวลานับแต่สำนักงาน กสทช มีคำสั่งปรับจนถึงเวลาที่ กทค. มีมติ บริษัทมือถือที่ละเมิดประกาศของ กทช. ย่อมต้องจ่ายค่าปรับในอัตราวันละ 100,000 บาท ซึ่งคิดอย่างคร่าวๆ แต่ละบริษัทจะต้องจ่ายไม่น้อยกว่า 25 ล้านบาท โดยอัตรานี้ในมุมมองของนักคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคยังเห็นว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับผลประโยชน์ที่บริษัทได้รับจากการกำหนดระยะเวลาเร่งให้มีการใช้บริการโดยที่มีการริบเงินของผู้บริโภคไปด้วย หากไม่ได้เติมเงินในกำหนดเวลา อย่างไรก็ตาม จนถึงทุกวันนี้ทุกรายยังคงพร้อมใจกันดื้อแพ่งและไม่ยอมควักกระเป๋าจ่ายให้ กสทช. เรื่องนี้จึงเป็นอีกเรื่องที่ต้องรอดูน้ำยาเลขาธิการสำนักงาน กสทช. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ ในฐานะผู้มีอำนาจในการบังคับคดี และตั้งท่าเงื้อดาบผ่านสื่อมาโดยตลอด
อนึ่ง ในวันที่ ๕ เมษายนนี้ ศาลยุติธรรมได้นัดสืบพยานในคดีที่ผู้ใช้บริการฟ้องบริษัท AIS เนื่องจากบริษัทกำหนดระยะเวลาใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบเติมเงิน ยกเลิกหมายเลขโทรศัพท์ รวมทั้งยึดเงินในระบบทั้งหมดของผู้ใช้บริการ โดยอ้างว่าผู้ใช้บริการไม่ได้เติมเงินภายในระยะเวลาที่กำหนด อันเป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค และขัดต่อประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 โดยมีคำขอให้บริษัทคืนหมายเลขโทรศัพท์ที่ถูกยกเลิกบริการ เปิดสัญญาณโทรศัพท์ให้สามารถใช้ได้ตามปกติ และคืนเงินคงเหลือในระบบทั้งหมด รวมถึงขอให้ชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการยกเลิกสัญญาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย