สถาบันเอไอทีได้รับทุนสนับสนุนจำนวน 3.4 ล้านยูโร จากสหภาพยุโรป

ข่าวทั่วไป Thursday April 11, 2013 10:56 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 เม.ย.--เอไอที สถาบันเอไอทีได้รับทุนสนับสนุนจำนวน 3.4 ล้านยูโร (4.37 ล้านเหรียญสหรัฐ) จากสหภาพยุโรป เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับการพัฒนาเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนใน ไทย ลาว กัมพูชาและเวียดนาม ศูนย์นวัตกรรมเพื่อความเข้มข้นของเกษตรกรรมที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย (Asian Centre of Innovation for Sustainable Agriculture Intensification — ACISAI) เชื่อในวิธีการที่ว่า “น้อยคือมาก” จะรับประกันถึง “เส้นทางอันชาญฉลาด” สำหรับการปลูกข้าวในเอเชีย เพื่อบรรเทาความยากจนและยกระดับความมั่นคงด้านอาหาร สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) 10 เมษายน พ.ศ. 2556 นักวิทยาศาสตร์ที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) มุ่งมั่นแนะนำ “เส้นทางอันชาญฉลาด” เพื่อการปลูกข้าวในประเทศไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ผ่านการพัฒนาเกษตรกรรมที่ยั่งยืนและระบบ การปลูกข้าวต้นเดี่ยวแบบอินทรีย์หรือ System of Rice Intensification (SRI) จากความพยายามที่จะหาทางแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนสำหรับการจัดการระบบการเกษตรในลุ่มน้ำโขงตอนใต้ นักวิจัยของสถาบันเอไอทีได้เริ่มโครงการระยะเวลา 5 ปี เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการทำ เกษตรกรรมแบบยั่งยืนโดยเผยแพร่ระบบ SRI ให้เป็นจุดแรกเข้าสำหรับนวัตกรรมต่างๆที่สามารถ เป็นประโยชน์ให้แก่เกษตรกรรายย่อยที่ยากจนจำนวนนับล้านๆคน ภายในพ.ศ. 2593 จำนวนประชากรของโลกจะมีประมาณ 9000 ล้านคน องค์การสหประชาชาติ ได้กล่าวว่าการเลี้ยงอาหารสำหรับประชากรจำนวนมาก พร้อมๆไปกับการจัดการกับปัญหาการ เปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศ และรักษาผืนดินที่อุดมสมบูรณ์และทรัพยากรน้ำที่มีพอเพียง จะต้องมีการ ปรับปรุงอย่างมากมายเพื่อที่จะจัดการกับระบบเกษตรของโลก สถาบันเอไอทีได้รับทุนสนับสนุนจำนวน 3.4 ล้านยูโร (4.37 ล้านเหรียญสหรัฐ) จากสหภาพ ยุโรปสำหรับโครงการ“การสร้างความยั่งยืนและการยกระดับแรงผลักดันสำหรับนวัตกรรมและการเรียนรู้ระบบการปลูกข้าวต้นเดี่ยวแบบอินทรีย์ ในลุ่มน้ำโขงตอนใต้” ทุนสนับสนุนนี้ได้ทำให้เกิดการเปิดศูนย์ นวัตกรรมเพื่อความเข้มข้นของเกษตรกรรมที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย (Asian Centre of Innovation for Sustainable Agriculture Intensification — ACISAI ที่สถาบันเอไอที ซึ่งตั้งอยู่ทางเหนือของกรุงเทพฯ โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะสนับสนุนการสร้างความเข้มข้นให้กับเกษตรกรรมขนาดเล็กให้เป็นรูปแบบที่ใช้ปฏิบัติงานซึ่งสามารถสร้างงานให้กับเกษตรกรที่ไม่มีที่ดินของตนเองนับล้านๆคนและเพิ่มความมั่นคงทางด้านอาหาร ด้วยการช่วยบรรเทาความยากจน โครงการนี้ถูกออกแบบเพื่อสร้างความก้าวหน้าให้ กับการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ ข้อที่ 1 คือการขจัดความยากจนและความหิวโหยอย่าง รุนแรงภายใน พ.ศ. 2558 ระบบการปลูกข้าวต้นเดี่ยวแบบอินทรีย์หรือ System of Rice Intensification (SRI) เป็นเทคโนโลยีทางเลือกใหม่ซึ่งแทนที่เทคนิคการปลูกข้าวแบบดั้งเดิมที่ค่อยๆประสานมิติทางสังคมให้เข้ากับ การทำเกษตรกรรมเพื่อผลิตพืชผลที่แข็งแรงและมีกำไรโดยใช้น้ำและเมล็ดพันธุ์จำนวนลดลง และผ่านการจัดการพืช ดิน น้ำ และสารอาหารอย่างมีทักษะ ดร.อาพา มิชรา หัวหน้าโครงการกล่าว “มันเป็นวิธีการ น้อยคือมาก จริงๆ” ดร.ปราพัธ คูมาร์ ผู้ประสานงานโครงการระดับภูมิภาคกล่าว “วิธีการดังกล่าวต้องการน้ำ เมล็ดพันธุ์พืช พลังงงาน รอยเท้าคาร์บอนและเงินลงทุนที่น้อยกว่า ในขณะเดียวกันยังรักษาทรัพยากรที่มีค่าและให้ผลผลิตสูงขึ้น” ประชากรโลกมากกว่าครึ่งหนึ่งต่างต้องพึ่งพาข้าวเพื่อการอยู่รอด ยิ่งกว่านั้น มีพื้นที่เพาะปลูก ขนาดเล็กจำนวนกว่า 500 ล้านแห่งทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงอาศัยน้ำฝนและผลิตอาหารถึง 80% ของจำนวนอาหารที่บริโภคโดยคนส่วนใหญ่ของโลกที่กำลังพัฒนา เกษตรกรรมเป็นนายจ้างขนาดใหญ่ ที่สุดของโลกเพียงรายเดียว โดยเลี้ยงชีวิตประชากรของโลกจำนวน 40% มันยังเป็นแหล่งรายได้และ แหล่งงานขนาดใหญ่ที่สุดสำหรับครอบครัวยากจนในชนบท นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยและนักวิเคราะห์ จำนวนมาก ขณะนี้ต่างเชื่อว่าการส่งเสริมเกษตรกรรม อย่างยั่งยืน ซึ่งรวมถึงเกษตรกรรายย่อย ไม่เพียงแต่สามารถเอาชนะความหิวโหย หากยังสามารถ แก้ปัญหาความท้าทายอื่นๆจากการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ พวกเขากล่าวว่าเกษตรกรรมเป็น สิ่งสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงโลกไปสู่เศรษฐกิจสีเขียวคาร์บอนต่ำที่มีการ ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ดร.มิชรา กล่าวว่า “เกษตรกรรมอย่างยั่งยืนมีแนวโน้มที่จะลดผลกระทบจากภายนอกที่เกี่ยวข้อง กับเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม ยกระดับการบริการด้านสิ่งแวดล้อม ลดค่าใช้จ่ายของชาติสำหรับอาหาร สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมใหม่และความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรม ช่วยธุรกิจสีเขียวที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของท้องถิ่น และท้ายสุดยกระดับความกินดีอยู่ดีของประชากร ทั้งในชนบทและในเมืองใหญ่” ดร.มิชรา ถือว่า ธรรมชาติแห่ง “ความร่วมมือกัน” ของ SRI ทำให้มันเป็น “แบบอย่าง” ที่ดีเลิศ ในการริเริ่มงานสหวิทยาการ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ปฏิบัติการหลายฝ่าย ในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลง ด้านสภาพภูมิอากาศ โดยเริ่มต้นจากเกษตรกรปลูกข้าวระดับท้องถิ่นในลุ่มน้ำโขงตอนใต้ และนำไปสู่ ผู้ทำนโยบายระดับโลก จากการเปิดศูนย์นวัตกรรมเพื่อความเข้มข้นของเกษตรกรรมที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย (ACISAI) ในประเทศไทย สถาบันเอไอทีในขณะนี้เป็นสถาบันชั้นนำในการเชื่อมโยงผู้ปฏิบัติลงมือระดับท้องถิ่น กับสถาบันต่างๆ เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายของความมั่นคงด้านอาหารและความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ