ไนท์แฟรงค์เผยตลาดอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ในสหราชอาณาจักรเป็นที่นิยมมากในกลุ่มนักลงทุนต่างชาติ

ข่าวอสังหา Thursday April 18, 2013 12:23 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 เม.ย.--ไนท์แฟรงค์ ผลวิจัยไนท์แฟรงค์ เผยตลาดอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ในสหราชอาณาจักรเป็นที่นิยมมาก โดยฉพาะหมู่นักลงทุนต่างชาติในปี 2012 รวมเงินลงทุนที่ได้จากตลาดอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์มากถึง 3 หมื่นล้านปอนด์ สะท้อนการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก ในปี 2011 อย่าง ไรก็ตาม มร. เกร็ก คอนดอน ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายที่ปรึกษาด้านประเมินมูลค่าทรัพย์สิน บริษัทไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า สิ่งที่เปลี่ยนแปลงมากที่สุดคือจำนวนของนักลงทุนที่เพิ่มขึ้นในตลาด มีรายงานว่า นักลงทุนต่างชาติร่วมลงทุน รวมแล้วโดยประมาณ มีจำนวนมากถึง 50% ของจำนวนเงินลงทุนรวมในตลาดอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ในสหราชอาณาจักร ในปี 2012 มร. คอนดอน ชี้ให้เห็นว่าตลาดใจกลางลอนดอน เสนอโอกาสการลงทุนในสำนักงานและร้านค้าปลีก ซึ่งเป็นทำเลที่นิยมในกลุ่มนักลงทุนต่างชาติ ลอนดอนเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงทั่วโลกด้านศูนย์กลางทางการเงินและวัฒนธรรม เพิ่มความมั่นคงให้นักลงทุน หากเปรียบเทียบกับความไม่มั่นคงในศูนย์กลางทางเศรษฐกิจหลายแห่งในยุโรป เนื่องด้วยปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในสหภาพยุโรป ส่งผลให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในลอนดอน เป็น "จุดปลอดภัย" สำหรับการลงทุนในต่างประเทศ ที่มีราคาทรัพย์สินในทำเลดีๆที่น่าดึงดูด มีแนวโน้มเติบโตด้านการเช่าและผลตอบแทนที่จะได้รับในอนาคต หากดูจากระดับความต้องการในตลาดใจกลางลอนดอน จากการวิเคราะห์ของไนท์แฟรงค์ เผยว่า มีจำนวนนักลงทุนต่างชาติร่วมลงทุนมากถึง 1 หมื่นล้านปอนด์ จากการซื้อขายสำนักงานในลอนดอนในปี 2012 ซึ่งหมายถึงประมาณ 70% ของเงินลงทุนทั้งหมดในปีที่แล้ว มร. คอนดอน สรุปถึงเหตุผลที่สหราชอาณาจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงลอนดอน เป็นทำเลที่ได้รับความนิยมมากสำหรับการลงทุนจากต่างประเทศ ด้านอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ ดังต่อไปนี้: ค่าสกุลเงินในสหราชอาณาจักร (ปอนด์สเตอร์ลิง) อ่อนค่าลงเป็นอย่างมากในช่วงเวลาที่ผ่านมา เนื่องจากมาตรการจากรัฐบาล กับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำและยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ ทำให้นักลงทุนต่างชาติได้ประโยชน์จากค่าเงินที่อ่อนตัว เมืองลอนดอนเสนอผลกำไรตอบแทนที่น่าสนใจในทำเลที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อพิจารณาเงินทุนที่ต่ำ หากเปรียบเทียบกับราคาพันธบัตรของสหราชอาณาจักรในปัจจุบัน ผลตอบแทนที่ได้จากอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ทำเลกลางเมืองลอนดอน มีความเสี่ยงโดยประมาณ 200 จุดพื้นฐานมากกว่ามาตรฐาน 10 ปี ของพันธบัตร ถึงแม้ว่าเมื่อเร็วๆนี้จะมีการเกิดขึ้นของสำนักงานและร้านค้าปลีกในทำเลดีในเมืองลอนดอน แต่ความต้องการก็ยังคงสูงมาก สถาบันการเงิน, บริษัทกฎหมาย, และบริษัทค้าปลีกภายใน-นอกประเทศ หลายๆแห่ง ยังต้องการพื้นที่ทำเลดีในใจกลางกรุงลอนดอนกลาง นอกจากนี้ นักลงทุนหน้าใหม่ในตลาดในสหราชอาณาจักรยังต้องแข่งขันกับกลุ่มนักลงทุนที่มีอยู่แล้วและกำลังขยายตัวทางธุรกิจ และเพราะในทำเลสำคัญๆเป็นที่ต้องการมากกว่าที่จะรองรับได้ การแข่งขันนี้จะยกระดับให้ค่าเช่าสูงขึ้น เพิ่มผลตอบแทนคืนให้กลับผู้ลงทุน ผลวิจัยไนท์แฟรงค์ คาดการณ์ถึงการเพิ่มราคาค่าเช่าสำนักงานในลอนดอนภายในปลายปี 2013 นี้ เป็นผลมาจากอัตราว่างที่ต่ำ เพียง 7.2% และการเติบโตที่แข็งแกร่งต่อไปในปี 2014/15 เมื่อเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง สหราชอาณาจักรสร้างตลาดที่มีข้อกำหนดควบคุมอย่างเต็มที่ เงื่อนไขทางกฎหมายที่โปร่งใส ค่าใช้จ่ายและอัตราราคาที่ให้ความเป็นธรรมสำหรับทุกฝ่ายของการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ การซื้อขายในตลาดอสังหาริมทรัพย์เกิดขึ้นได้อย่างง่ายดายเพราะมีลูกค้าที่ต้องการจะขายหรือซื้ออยู่ตลอดเวลา เงื่อนใขการให้เช่าเชิงพาณิชย์โดยทั่วไป มีมาตรฐานดี และมีการเช่าเป็นแบบระยะยาว ค่าเช่าเป็นแบบ “Upwards Only " ผู้เช่าเป็นผู้ตรวจสอบและซ่อมแซมบำรุงรักษาสถานที่อย่างข้มงวด เพื่อให้มั่นใจว่าสิ่งที่เจ้าของลงทุนลงไป จะอยู่ในสภาพดีเพื่อปล่อยให้เช่าในครั้งต่อไป ปัจจัยที่กล่าวไปนี้ มีผลดึงดูดความสนใจของผู้ซื้อมากมายสำหรับทำเลในตลาดลอนดอน ผลวิจัยไนท์แฟรงค์เผยให้เห็น การเปรียบเทียบในปี 2000 จำนวนเงินลงทุนของนักลงทุนเอกชนต่างชาติ คิดเป็น 11% ของการซื้อขายในตลาดลอนดอน ขณะที่ในปี 2012 กลุ่มนี้มีส่วนกระจายกำลังซื้อมากถึง 28% ของการซื้อขายทั้งหมด เงินทุนที่ได้มาจากต่างประเทศ เพิ่มขึ้น จากเพียง 4% ในปี 2000 เป็น 27% ในปี 2012 มีเงินทุนที่ไหลเข้ามามากมายจากประเทศสหรัฐอเมริกา เอเชียตะวันออก และตะวันออกกลาง มร. คอนดอนกล่าวเสริมว่า นักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในสหราชอาณาจักรในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ในต้นปี 2000 ส่วนใหญ่มาจากประเทศสหรัฐ, แคนาดา,และฝรั่งเศส แต่ในช่วงกลางปี?? 2000 ได้ขยับตัวรวมไปถึงประเทศรัสเซียและเยอรมนี อย่างไรก็ตาม ปี 2013 ตลาดการค้าอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์สะท้อนให้เห็นถึงแหล่งที่มาของการลงทุนรวม ไปถึงประเทศจีน, เกาหลี, ญี่ปุ่น, มาเลเซียและไทย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ