โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (อีดี) ในชายไทยพบประมาณร้อยละ 37.5

ข่าวทั่วไป Wednesday November 10, 1999 11:56 —ThaiPR.net

กรุงเทพ--10 พ.ย.--ศูนย์ข้อมูลสุขภาพเพศชาย
การศึกษาระบาดวิทยาของโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (อีดี) ในชายไทย ทั่ว ประเทศ 1,250 คน เป็นครั้งแรกของประเทศไทย พบว่า ประมาณร้อยละ 37.5 ของผู้ ที่ตอบแบบสอบถามป่วยเป็นโรคอีดี คาดว่าชายไทยอายุระหว่าง 40-70 ปีทั่ว ประเทศประมาณกว่า 3 ล้านคน เป็นโรคอีดี หรือโดยในจำนวนนี้เป็นผู้ชายที่ อาศัยอยู่ในเขตเมือง 527, 120 คน ทั้งๆ ที่มีผู้ป่วยโรคอีดีจำนวนมาก ปรากฏ ว่า ผู้ป่วย 2 ใน 5 คน ไม่ยอมปรึกษาเรื่องนี้กับใคร ซึ่งแสดงให้เห็นว่าชาย ไทยยังกระอักกระอ่วนใจที่จะหาวิธีการรักษาโรคอีดี ซึ่งที่จริงแล้วเป็นโรค ที่รักษาได้
การศึกษาระบาดวิทยาของโรคอีดีในชายครั้งแรกนี้ สำรวจโดยเกิดขึ้นจาก ความร่วมมือระหว่างภาควิชาสาขาประชากรและการพัฒนา คณะสถิติประยุกต์ สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหย่อนสมรรถภาพทาง เพศ (EDACTT - Erectile Dysfunction Advisory Council & Trainning Thailand) และบริษัท ไฟเซอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ระหว่างเดือน พฤศจิกายน - ธันวาคม 2541 โดยทำการศึกษาในชายไทยอายุ 40-70 ปี หรือมีอายุ เฉลี่ย 51 ปี ในเขตกรุงเทพฯและ เขตเมืองใน 8 จังหวัด จาก 4 ภาค (ภาคละ 250 คน) ผลการศึกษาพบว่า ชายไทยอายุ 40-71 ปีขึ้นไป มีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ในระดับต่ำร้อยละ 19.1 ระดับปานกลาง ร้อยละ 13.7 และระดับรุนแรง ร้อยละ 4.7 โรคอีดี ในที่นี้ จะหมายถึงการที่อวัยวะเพศชายไม่สามารถแข็งตัวได้ หรือ แข็งตัวได้ไม่นานพอที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้อย่างเป็นที่พึงพอใจอยู่เป็นประจำ หรืออย่างต่อเนื่อง
มิส เบฮาน ดี ซาอิม ผู้จัดการทั่วไป ประจำประเทศไทย/สหภาพพม่า บริษัท ไฟเซอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด กล่าวว่า "ไฟเซอร์ เปรียบเสมือน เป็นผู้นำในด้านการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโรคอีดีแก่แพทย์และประชาชนทั่วไป จะเห็นได้จากการเป็นผู้สนับสนุนการศึกษาและสำรวจครั้งนี้ ซึ่งพบว่าผู้ชาย ไทย ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคอีดี และผู้ป่วยยังคงลังเล ที่จะไปรับการรักษา ไฟเซอร์ จึงเป็นผู้บุกเบิกในกิจกรรมที่จะสร้างความ ตระหนักและให้การศึกษาในกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องให้กว้างขวางขึ้น" "ตัวอย่างเช่น ไฟเซอร์ฯ ร่วมกับสมาคมแพทย์ไทยและคณะกรรมการอาหารและยา จะจัด โครงการ ฝึกอบรมเกี่ยวกับการวินิจฉัยและการรักษาโรคอีดีให้แก่แพทย์ทั่ว ประเทศตั้งแต่เดือนมิถุนายน เป็นต้นไป โดยได้รับความร่วมมือจากแพทย์กลุ่ม EDACTT ด้วย"
จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรคอีดี รวมถึง การ รับประทานยาเพื่อรักษา โรคประจำตัว การเจ็บป่วยทางจิต (โรคซึมเศร้า) การผ่า ตัด และผู้ที่เคยได้รับอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บบริเวณไขสันหลังและอุ้งเชิง กราน และพฤติกรรมเสี่ยง ซึ่งได้แก่ การสูบบุหรี่และดื่มเหล้าจัด ข้อมูล สำคัญที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้คือ ชายไทยยังขาดความรู้และความเข้าใจที่ถูก ต้องเกี่ยวกับโรคอีดีและวิธีการรักษาโรค ตัวอย่างเช่น ประมาณครึ่งหนึ่งของ ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าวิธีการรักษาโรคอีดีอันดับแรกคือ การออกกำลังกาย ยิ่งกว่านั้น ยังพบว่าในกลุ่มชายไทยร้อยละ 40 ที่ป่วยเป็นโรคอีดี มีเพียง ร้อยละ 2 เท่านั้น (10 คน) ที่เคยหาวิธีการรักษา และจากลุ่มตัวอย่างทั้งหมด พบว่าเกือบร้อยละ 41 คิดว่าจะไม่ปรึกษาหรือพูดคุยว่ากับใครเลยป่วยเป็นโรค นี้มีเพียงร้อยละ 22 ที่คิดว่าจะปรึกษาแพทย์ทั่วไป
รศ. น.พ. อภิชาติ กงกะนันทน์ ประธานกลุ่ม EDACTT และผู้เชี่ยวชาญโรค ระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวถึงผลการศึกษาว่า "จำนวนตัว เลขชายไทยที่ป่วยเป็นโรคอีดีที่สูงมากที่ได้จากการศึกษาไม่ได้ทำให้แปลกใจ แต่อย่างใด แต่ข้อมูลตัวเลขที่พบว่า 4 คนใน 10 คนของชายไทยอายุ 40-70 ปี ใน เขตเมืองเป็นโรคอีดี แสดงให้เห็นว่าโรคอีดีเป็นโรคที่สำคัญ และพบได้ทั่วไป ในชายไทย ที่น่ากังวลใจอย่างยิ่งก็คือ ผู้ป่วยมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับ โรคนี้น้อยมาก และไม่ต้องการที่จะรักษาให้หาย ผู้ป่วยหลายคนยังคงทนทุกข์ ทรมานอยู่เงียบๆ คนเดียว ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมาก เพราะโรคนี้จะมี ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตคู่ของผู้ป่วย ทั้งๆที่โรคอีดีสามารถรักษาให้หายได้"
มิส เบฮาน ดี ซาอิม ผู้จัดการทั่วไป ประจำประเทศไทย/สหภาพพม่า บริษัท ไฟเซอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด กล่าวว่า "ไฟเซอร์ เปรียบเสมือน เป็นผู้นำในด้านการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโรคอีดีแก่แพทย์และประชาชนทั่วไป จะเห็นได้จากการเป็นผู้สนับสนุนการศึกษาและสำรวจครั้งนี้ ซึ่งพบว่าผู้ชาย ไทย ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคอีดี และผู้ป่วยยังคงลังเล ที่จะไปรับการรักษา ไฟเซอร์ จึงเป็นผู้บุกเบิกในกิจกรรมที่จะสร้างความ ตระหนักและให้การศึกษาในกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องให้กว้างขวางขึ้น" "ตัวอย่างเช่น ไฟเซอร์ฯ ร่วมกับสมาคมแพทย์ไทยและคณะกรรมการอาหารและยา จะจัด โครงการ ฝึกอบรมเกี่ยวกับการวินิจฉัยและการรักษาโรคอีดีให้แก่แพทย์ทั่ว ประเทศตั้งแต่เดือนมิถุนายน เป็นต้นไป โดยได้รับความร่วมมือจากแพทย์กลุ่ม EDACTT ด้วย"
"โครงการเผยแพร่ความรู้ ยังมีอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ได้ก่อตั้ง ศูนย์ข้อมูลสุขภาพเพศชายขึ้น เพื่อทำ หน้าที่เผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องและให้ ความรู้เรื่องโรคที่เกิดกับผู้ชาย ซึ่ง รวมถึง โรคอีดี ให้แก่ประชาชนทั่วไป ไฟเซอร์ฯ เชื่อว่า ภารกิจนี้จะดำเนินต่อไปเพื่อให้โรคอีดีเป็นที่รู้จัก อย่างแพร่หลายและที่สำคัญ ที่สุดเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดี ขึ้น" มิส เบฮาน กล่าว การศึกษาระบาดวิทยาของโรคอีดีในชายไทยครั้งนี้ สอด คล้องกับนโยบายและแผนงานของกระทรวงสาธารณสุขที่ให้ความสำคัญกับโรคที่เกิด ขึ้นในเพศชาย ผลการศึกษาที่ได้รับครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ใน ระยะยาวต่อวงการ สาธารณสุขของไทยในการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับโรคอีดีและใช้ข้อมูลที่ได้ใน การ อ้างอิงและประเมินผลความสำเร็จของการให้การศึกษาเกี่ยวกับโรคนี้
EDACTT - Erectile Dysfunction Advisory Council and Training of Thailand เป็นองค์กรที่ จัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรค หย่อนสมรรถภาพทางเพศ (โรคอีดี) เพื่อพัฒนาโครงการให้ความรู้และความเข้าใจ เรื่องโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศในประเทศไทย โดยจะ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางใน การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศแก่ปรับปรุง คุณภาพชีวิต ของผู้ป่วย กลุ่ม EDACTT ได้รับการก่อตั้งขึ้น โดยยึดนโยบายแนวทางเดียวกับ กลุ่ม Erectile Dysfunction Advisory Council (EDAC) ซึ่งเป็นกลุ่มแพทย์ผู้ เชี่ยวชาญในการรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพ ทางเพศจากประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรปและ อเมริกา ที่มาร่วมมือกับตัวแทนจากภาคพื้นเอเชีย กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง และกลุ่มประเทศอาหรับ เพื่อให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคหย่อนสมรรถภาพ ทางเพศแก่แพทย์ ผู้ป่วยและประชาชนทั่วไป
ไฟเซอร์ ฯ ประกอบธุรกิจด้านการดูแลรักษาสุขภาพทั่วโลก เมื่อปี 2541 บริษัทฯ มีรายได้ประมาณ 13,500 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2542 จะใช้เงิน ลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาประมาณ 2,800 ล้านเหรียญสหรัฐ
ผู้ที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับโรคหย่อนสมรรถภาพ ทางเพศ กรุณาติดต่อสมัครเป็นสมาชิกที่ ศูนย์ข้อมูลสุขภาพเพศชาย ตู้ ป.ณ. 2513 กรุงเทพฯ 10501 โทรสาร 656-8455 หรือเปิดเว็บไซต์ http://menhealth.pfizer.co.th เพื่อรับเอกสารฟรี--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ