บทความพิเศษ AEC ในทัศนะ ดร.วิโรจน์ (วิลเลี่ยม วู) กูรูตลาด นีช (ภาค 4)

ข่าวทั่วไป Friday May 3, 2013 10:00 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--3 พ.ค.--กุศมัย กรุ๊ป บทความพิเศษ กูรูตลาด นีช ตัวจริง ! (ภาค 4) AEC ในทัศนะ ดร.วิโรจน์ (วิลเลี่ยม วู) กูรูตลาด นีช ขณะนี้ ผมกำลังเดินทางอยู่ประเทศจีน และ ไต้หวัน พอมีเวลาจึงเขียนบทความมาแลกเปลี่ยนแนวคิดธุรกิจ SME กูรูตลาดนีช เพื่อ AEC กับท่านผู้อ่านกัน ซุนวู พูดไว้ไม่มีผิด “ก่อนจะทำสงคราม ต้องรู้เขา รู้เรา” การทำธุรกิจก็เปรียบเหมือนการทำสงคราม หากจะทำธุรกิจได้อย่างมั่นคงในยุคปัจจุบัน และอนาคตแล้ว ต้องรู้เขาก่อน หมายความว่า ต้องรู้จักแนวทาง กลยุทธ์ และ แนวคิดของคู่แข่งขัน ในโลกการค้าเสรี และ การค้าไร้พรมแดน ( ภาษีนำเข้าปี 2558 จะเท่ากับ O ) แล้วเราต้องรู้ว่า นักธุรกิจตะวันตก และตะวันออก เขาคิด เขาทำการค้ากันอย่างไรก่อน ! โลกของธุรกิจในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 ซีกโลก คือ ซีกโลกตะวันตก และซีกโลกตะวันออก...ซีกโลกตะวันตก จะเน้น กลยุทธ์การเป็นผู้นำของโลก โดยใช้รูปแบบของการสร้างธุรกิจข้ามชาติ หรือ บริษัทข้ามชาติ ที่ฝรั่งเรียกว่า MNC หรือ Multi National Company เป็นหัวหอก หรือ แม่ทัพในการบุกยึดตลาดในต่างประเทศ Oversea Market หรือ Global Market บริษัทข้ามชาติเหล่านี้ มักระดมเงินทุนผ่าน การทุนการเงินต่างๆ พันธบัตร เงินสนับสนุนจากรัฐบาล และ ตลาดหุ้น ซึ่งจะมีเงินทุนมหาศาลในการควบคุมธุรกิจต่างๆ เช่น สถาบันการเงิน ห้างสรรพสินค้า การสร้างแบรนด์สินค้าระดับโลก เช่น รองเท้าไนกี้ แฮมเบอร์เกอร์ แมคโดนัลด์ เป็นต้น รวมทั้งการย้ายฐานการผลิตสินค้าที่ใช้แรง งาน อย่างเช่น เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ คอมพิวเตอร์ ในประเทศที่มีแรงงานฝีมือราคาถูก โดยกำหนดราคาค่าแรงผลิตไว้ล่วงหน้า โรงงานหรือประเทศที่รับผลิตเหล่านี้ก็จะได้ผลต่างเป็นค่าแรงงานเท่านั้น หรือที่เรียกว่า OEM : Operating Engineering Management แล้วอาศัยการทำการตลาดในประเทศนั้นๆ ด้วย หากมีตลาดใหญ่เพียงพอ อย่างเช่น ประเทศจีน และอินเดีย เป็นต้น คือ จ้างผลิตในราคาถูก แต่ขายในราคาแพง โดยอาศัยการควบคุมกลไกตลาด และ เป็นเจ้าของแบรนด์ดังๆ โดยพึ่งพาการใช้คนดังระดับโลก มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ผ่านการโฆษณา ที่สามารถล้างสมองผู้บริโภคได้ จนสามารถสิงอยู่ในจิตใจของผู้บริโภคได้เป็นอันดับต้นๆ องค์การการค้าเสรีของโลก WTO : World Trade Organization หรือ IMP เป็นองค์กรที่มีหน้าที่ไขกุญแจให้ ธุรกิจของซีกโลกตะวันตก บุกไปทั่วโลก เมื่อกุญแจไขแล้ว ประตูแห่งการค้าเสรีก็เปิดออก ให้แม่ทัพอย่างสถาบันการเงิน ห้างสรรพสินค้าหรือแบรนด์ดังๆ เข้ามาโกยเงินกับผู้บริโภคในประเทศต่างๆ โดยอาศัยการตลาดระดับโลก กองทุนที่หนากว่า บริษัทที่ใหญ่กว่า ระบบการบริหารที่ดีกว่าทันสมัยกว่า เข้ามาเอาเปรียบนักธุรกิจท้องถิ่น ในประเทศ ต่างๆ เช่น ด้านการเงิน ด้านการลงทุน ในตลาดหุ้น บีบ ซัพพลายเออร์ท้องถิ่นให้จ่ายค่าต๋ง หรือค่าเช่าเยอะๆ จะไม่มีกำไรหรือกำไรน้อย จากเงื่อนไขต่างๆ ที่บริษัทข้ามชาติกำหนดให้ตนได้เปรียบ ขายสินค้าชนิดเดียวกันในราคาแพงลิ่ว ในห้างดังๆ เพราะมีโฆษณาระดับโลก และแบรนด์ระดับโลก หรือคิด ค่าแฟรนไชส์แพงหูฉี่ แม้กระทั่งในเกมกีฬา ก็กำหนดให้ตน ได้เปรียบ เช่น การแข่งขัน บาสเกตบอล หรือกอล์ฟ คนตัวสูงใหญ่อย่างซีกโลกตะวันตกย่อมได้เปรียบ ถ้าเป็น ตะกร้อ ปิงปอง คนตัวเล็กอย่างคนไทย คนอาเซียน หรือ คนจีนย่อมได้เปรียบ จึงไม่ได้รับการสนับสนุนจากซีกโลก ตะวันตก เรียกได้ว่า การเป็นผู้นำธุรกิจหรือการกีฬาหรือ การเมือง ซีกโลกธุรกิจมักเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ให้เขาได้ เปรียบ Ruler หรือ Regulator ฉะนั้น Player หรือ ผู้เล่นตามเกม จึงมักจะเสียเปรียบ และยิ่งเล่นนานยิ่งขาดทุนมากและพ่ายแพ้ในที่สุด เพราะเริ่มต้นก็เสียเปรียบ ต้นทุนสูงอยู่แล้ว แพ้ตั้งแต่ยังไม่เริ่มหรือแพ้ตั้งแต่อยู่ในมุ้ง ฉะนั้น เมื่อเราเป็น SME ตัวเล็กๆ ไม่ร่ำเรียน MBA จากเมืองนอกเมืองนามา เปรียบเสมือน เขาตัดเสื้อตัวใหญ่ ให้นายแบบใส่ ดูสวยดี เพราะนายแบบหุ่นดี รูปร่างใหญ่ แต่เมื่อเรานำมาใส่ ก็ไม่สวย เพราะเราตัวเล็ก ฉะนั้นเราต้องตัดเสื้อผ้า สำหรับคนตัวเล็ก ใส่แล้วดูดี ยิ่งกว่าเขา นั่นคือ วิธีการและกลยุทธ์ที่จะบอกคุณว่า คุณจะเป็นปลาตัวเล็กที่อยู่ในมหาสมุทรธุรกิจ ได้อย่างไร โดยไม่ให้ปลาตัวใหญ่ กินเรา ... โปรดติดตามในฉบับหน้า ... เจ้าของกิจการท่านใดสนใจต้องการปรึกษาธุรกิจ สามารถติดต่อ ดร.วิโรจน์ กุศลโนมัย ได้ โดยตรงที่ โทรศัพท์ 085-48885-427 หรือ E-mail: info@kusamai.com http://www.kusamai.com สอบถามข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท กุศมัย กรุ๊ป จำกัด โทรศัพท์ 02 416 5700

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ