นักวิชาการ ม. หอการค้าไทย หนุนพัฒนาโลจิสติกส์-ขนส่งรถไฟความเร็วสูง เพื่อไทยศูนย์กลางเชื่อมโยงจีน —อินเดีย -อินโดจีน

ข่าวทั่วไป Friday May 3, 2013 11:05 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--3 พ.ค.--เอ๊ซ ม.หอการค้าไทย เตรียมถกเนื้อหาในสัมมนาวาระดิจิทัล 8 วันที่ 23 พ.ค.ศกนี้ ระบุข้อดีการพัฒนาขนส่งและโลจิสติกส์ สนับสนุนเศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว สร้างฐานธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศใหม่ไปสู่การผลิตสินค้ามูลค่าเพิ่มสูงส่งออกแทน และขายโนฮาวด์อย่างเต็มตัว เลิกมุ่งเป็นประเทศต้นทุนต่ำแข่งขันเพื่อนบ้าน ชูศักยภาพไทยเป็นศูนย์กลาง โลจิสติกส์ในภูมิภาคอินโดจีน เชื่อมโยง อินเดียและจีน ดร. พงษ์ธนา วณิชย์กอบจินดา ผู้อำนวยการหลักสูตร Global MBA in Logistic management มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวให้ทัศนะมุมมองถึงเรื่องการเตรียมความพร้อมสำหรับประเทศไทยในการขยายตัวด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ภายใต้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไทยด้วยการลงทุนสร้างระบบรถไฟความเร็วสูง 2 ล้านล้านบาทของรัฐบาลที่มหาวิทยาลัยเตรียมจะจัดสัมมนาในวันที่ 23 พฤษภาคมศกนี้ว่า การพัฒนาครั้งนี้มีผลที่ดีต่อประเทศมาก เนื่องจากระบบการขนส่งและโลจิสติกส์เป็นธุรกิจหลักสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนและผลักดันให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ กระจายรายได้และความเจริญไปสู่ภูมิภาค แม้กระทั่งนำความก้าวหน้าทางการศึกษาไปสู่ท้องถิ่นชนบท เกิดการจ้างงาน สร้างธุรกิจต่อเนื่องมากมาย ส่งเสริมเกิดการถ่ายทอดทางเทคโนโลยีเข้าทั่วถึงทุกภูมิภาคและลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานจากท้องถิ่นเข้าสู่ส่วนกลาง หากโครงการดังกล่าวสามารถลงทุนพร้อมกันทั่วประเทศ จะยิ่งเกิดการรวมทุนก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ ต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการถ่ายทอดโนฮาวด์และเทคโนโลยี่ใหม่เข้าสู่ประเทศไทย เกิดการพึ่งพากันระหว่างประเทศร่วมกัน พร้อมกับไทยจะมีการพัฒนาด้านโนฮาวด์ใหม่ๆที่เกี่ยวข้องกับความต้องการใช้ฮาร์ดแวร์ในประเทศ ยิ่งส่งผลให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ประเทศไทยจะสามารถยกระดับประเทศให้สามารถหันมาสร้างสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและขายโนฮาวด์ และไม่ต้องไปแข่งขันสู้กับกลุ่มประเทศอื่นๆที่มีต้นทุนต่ำอีกต่อไป อย่างกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน เพราะผู้ผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำก็จะต้องหนีจากไทยหันไปมองหาประเทศที่มีต้นทุนต่ำ “ประเทศไทยจะกลายเป็นเมืองหลวงของอาเซียน ที่มีศักยภาพและมีความสามารถที่ได้เปรียบในการเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงกับอาเซียน ก่อให้เกิดการดึงดูดผู้เชี่ยวชาญที่มีโนฮาวด์ที่ดีของต่างประเทศเข้าสู่ไทยไทยเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงทางเทคโนโลยีของอินโดจีน และยิ่งเมื่อรวมตัวประเทศเป็น AEC อย่างสมบูรณ์จะสร้างโอกาสให้ไทยมาเป็นอันดับหนึ่ง และเป็นเวทีให้ไทยได้แสดงบทบาทศักยภาพของการเป็นศูนย์กลางของอาเซียนอย่างเต็มตัวและอยากแนะนำในการปรับตัวรับมือต่อไปว่า ไทยจะต้องมีมุมมองการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจ เป็นการแข่งขันของกลุ่ม AEC +6 คือ นอกจากมีประเทศในกลุ่ม AECแล้วยังมี จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย อยู่ในตลาดเดียวกันด้วย อย่างไรก็ตามภาครัฐจะต้องคงเป็นผู้นำการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้ภาคเอกชนสร้างกลไกสร้างระบบการเคลื่อนย้ายสินค้าได้อย่างรวดเร็วและมีต้นทุนที่เหมาะสม ”ดร. พงษ์ธนา วณิชย์กอบจินดา กล่าว ผู้อำนวยการหลักสูตร Global MBA in Logistic management มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวอีกว่าการจัดสัมมนาที่ว่านั้น เป็นการจัดสัมมนาขึ้นภายใต้โครงการ “วาระดิจิทัล รู้ทันโลก ร่วมเปิดไทย ครั้งที่ 8” ในหัวข้อเรื่อง Logistic and Transportation in time of Expansion การเตรียมความพร้อมสำหรับประเทศไทย ....การขยายตัวด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ที่จัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม 2556 เวลา 12.30 — 17.15 ณ ห้องโลตัส ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยความร่วมมือของ สถาบันวิชาการนโยบายสาธารณะกับธุรกิจและการกำกับดูแล (APaR) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สถาบันนโยบายสังคมและเศรษฐกิจ (ISEP) และ บริษัท เอ๊ซ จำกัดซึ่งผู้สนใจสามารถสำรองที่นั่งสัมมนาได้ที่โทร 02-254-8282 — 3 หรือ info.acethailand@gmail.com “การร่วมถกวาระดังกล่าวนี้ ยังเป็นการถ่ายทอดแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการขนส่ง คมนาคม เศรษฐกิจ พลังงานและเทคโนโลยีทางด้านข้อมูลและการสื่อสารของรัฐบาลไทยไปยังกลุ่มเป้าหมายให้เข้าใจอย่างถูกต้อง เป็นเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์จากภาครัฐและภาคเอกชนถึงปัจจัยสู่ความสำเร็จและโอกาสของธุรกิจที่เกี่ยวข้อง กับทางด้านการขนส่งหรือมีค่าขนส่งและค่าใช้จ่ายทางด้านพลังงานเป็นต้นทุนหลักให้เกิดความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับ คุณสมบัติของบุคลากรที่ควรมีการจัดเตรียม หรือพัฒนาไว้รองรับการขยายตัวดังกล่าวอย่างจริงจัง” ดร. พงษ์ธนา กล่าวในที่สุด ติดต่อสอบถามได้ที่โทร 02-254-8282 — 3 หรือ info.acethailand@gmail.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ