กรุงเทพฯ--7 พ.ค.--เอ๊ซ
คณบดี ม. หอการค้าไทย กระตุ้นรัฐเร่งยกระดับบุคลากร พัฒนาระบบการศึกษาไทย รองรับการพัฒนาระบบโครงการสร้างพื้นฐาน รถไฟความเร็วสูง 2 ล้านล้านบาท ติงรัฐบาล-ฝ่ายค้านมั่วแต่สร้างวาทะกรรมทางการเมือง ไม่ให้ความสำคัญด้านพัฒนาบุคลากรรัฐต้องเร่งเตรียมความพร้อม พัฒนาโครงสร้างหลักสูตรใหม่ รองรับการแข่งขันด้านบุคคลกรให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงในขั้นระดับโลก ต้องมองก้าวล้ำอีก 10 ปีข้างหน้าการศึกษาไทยสู่ยุคโลกไร้พรมแดน
รศ.สุธรรม อยู่ในธรรม คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและผู้อำนวยการสถาบันวิชาการนโยบายสาธารณะกับธุรกิจและการกำกับดูแล (APaR) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงเรื่องผลกระทบของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ต่อการพัฒนาบุคลากรและระบบการศึกษาไทยว่า เมื่อประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้างพื้นฐานประเทศ โดยการลงทุนยกระดับพัฒนาโครงสร้างอินฟาสตรัคเจอร์ของประเทศเป็นรถไฟความเร็วสูง จะส่งผลกระทบเชื่อมโยงทุกอย่างทั้งระบบ รวมทั้งบุคลากรที่เกี่ยวข้องเกิดการเปลี่ยนแปลงตามไปทั้งหมด เพราะโครงสร้างพื้นฐานเป็นสิ่งเกี่ยวโยงให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่ต้องมาอยู่บนแพลทฟอร์มพื้นฐานเดียวกัน จึงมีความจำเป็นที่รัฐบาลไทยและทุกภาคส่วนของประเทศ จะต้องยกระดับการพัฒนาด้านบุคลากรและระบบการศึกษาไทย ให้สอดคล้องและเปลี่ยนแปลงเป็นไปในทิศทางเดียวกันด้วย เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศและไม่เกิดการสูญเปล่า
“ในการพัฒนาโครงสร้างอินฟาสตรัคเจอร์ด้วยรถไฟความเร็วสูงนี้ ถือเป็นเรื่องใหม่ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ เมื่อลงทุนแล้วก็ต้องก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยรัฐบาลต้องใส่ใจและให้ความสำคัญที่สุด กับการลงทุนด้าน Software Side ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและการบริหารจัดการด้านบุคลากร และต้องเร่งทำการพัฒนาขึ้นมารองรับเมื่อระบบการบริหารจัดการบนพื้นฐานระบบอินฟาสตรัคเจอร์ใหม่และระบบคมนาคมที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นการใช้ซอฟต์แวร์บนพื้นฐานระบบ 3จีและระบบ4จี ที่ให้เชื่อมโยงเข้ากับระบบทรานสปอร์ตใหม่ที่กำลังจะลงทุน แต่ทุกวันนี้กลับเป็นว่า รัฐบาลยังไม่ได้มีการกล่าวพูดถึงเรื่องดังกล่าว ทุกคนทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้าน พูดถึงและห่วงใยกันแต่ประเด็นที่ว่า 2 ล้านล้านบาทนี้แพงไปไหม! โกงกันไหม! ยังถกเถียงทางการเมืองและไม่มีจุดยืนที่ชัดเจน ว่าจะทำอย่างไรให้บุคลากรตามทันฮาร์ดแวร์ที่จะลงทุนซื้อมา ทั้งนี้เป็นเพราะด้วยเห็นว่าการยกระดับโครงสร้างอินฟาสตรัคเจอร์ก็เท่ากับเป็นการยกระดับใหม่ในทุกๆส่วนที่รองรับและทุกอย่างของประเทศด้วยซึ่งครั้งนี้ถือเป็นขบวนการยกระดับประเทศเพียงแค่เริ่มแรกเท่านั้น ” รศ. สุธรรม กล่าวย้ำ
รศ. สุธรรม กล่าวด้วยว่า เมื่อโครงการ 2 ล้านล้านบาทเกิดขึ้นสำเร็จแล้ว ได้คำนึงถึงหรือยังว่าใครจะเป็นผู้มาดูแลบริหารจัดการ และรัฐบาลได้มีการเตรียมการลงทุนสร้างคนและบุคลากรขึ้นมารองรับแล้วหรือยังและอย่างไร เพื่อให้ทันกับเทคโนโลยี่อินฟาสตรัคเจอร์ใหม่ ในอีก 5-7 ปีข้างหน้า ถ้าหากรัฐบาลสร้างบุคลากรไม่ทันในวันข้างหน้า จะทำให้เกิดปัญหาตามมาและทำให้คนไทยเสียประโยชน์ ดังนั้น ประเทศไทยและรัฐบาลไทยควรคำนึงถึงเรื่องการพัฒนาซอฟท์แวร์ด้านบุคคลากร เพื่อเร่งพัฒนาและสร้างบุคคลากรให้ทันรองรับโครงสร้างพื้นฐานอินฟาสตรัคเจอร์ โดยแนะให้ทำไปตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการและทำควบคู่ไปพร้อมๆกันกับการลงทุนสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานใหม่ ก็คือ สร้าง Investment Stacture ก็ต้องสร้าง Investment Human Structure และมีSkill ด้วยซึ่งเรื่องบุคลากรนี้เป็นเรื่องใหญ่สำคัญมากที่ต้องเร่งลงทุนสร้างคนให้ทันเสียตั้งแต่ตอนนี้ และมีความสำคัญก้าวล้ำหน้ายิ่งไปกว่าการเปิดประชมคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในอีก 2 ปีข้างหน้า ยังรวมถึงการเปิดเสรีด้านการค้าและการบริการอื่นๆที่จะตามมาอีกหลายๆเรื่อง
“ครั้งนี้เป็นเพียงแค่บันไดขั้นแรกเท่านั้น เพราะต่อไปพรมแดนประเทศจะเริ่มหายไป กลายเป็นพรมแดนในเชิงเศรษฐกิจที่มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันโดยไม่ต้องมีพรมแดน มากกว่าแค่การเป็นพรมแดนในทางภูมิศาสตร์ เราจึงต้องเร่งพัฒนายกระดับบุคลากรทั้งประเทศขึ้นไปให้แข่งขันกับโลกและเก่งมากกว่าโลก หรืออย่างน้อยก็ต้องเก่งในระดับภูมิภาค ด้วยการเร่งปฏิบัติ เทรนนิ่ง และรีเทนนิ่ง และปรับปรุงโครงสร้างพร้อมยกระบบการศึกษาของประเทศใหม่ ให้ทันสมัยมากขึ้น ต้องวางระบบการศึกษาไทยและบุคลากรให้คำนึงและเตรียมพร้อมถึงอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้าให้มาก ปรับตัวให้เร็ว คำนึงถึงการแข่งขันในระดับระหว่างประเทศมากขึ้น ซึ่งระบบการศึกษาไทยในขณะนี้เรียกว่า มันตกร่องไปแล้ว โครงสร้างหลักสูตรยังต้องเดินตามรัฐและเป็นหลักสูตรเดิม ถึงเวลาต้องพัฒนาโครงสร้างหลักสูตรใหม่แล้ว” รศ. สุธรรม กล่าว
ทาง สถาบัน APaRมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคคลกรทั้งในระดับฝีมือและระดับมืออาชีพ เพื่อรองรับการพัฒนาระบบโครงสร้างอินฟาสตรัคเจอร์ 2 ล้านล้านบาทของประเทศไทยอย่างมาก จึงร่วมกับสถาบันนโยบายสังคมและเศรษฐกิจ (ISEP) และ บริษัท เอ๊ซ จำกัดจัดสัมมนาภายใต้โครงการ “วาระดิจิทัล รู้ทันโลก ร่วมเปิดไทย ครั้งที่ 8” ในหัวข้อเรื่อง “Logistics and Transportation in time of Expansion” หรือ “การเตรียมความพร้อมสำหรับประเทศไทย...เพื่อการขยายตัวด้านการขนส่งและ
โลจิสติกส์ ”ขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม 2556 เวลา 12.30 — 17.15 ณ ห้องโลตัส ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ซึ่งผู้สนใจสามารถสำรองที่นั่งสัมมนาได้ที่ โทร 02-254-8282 — 3หรือ info.acethailand@gmail.com ทั้งนี้เพื่อที่จะให้ทราบถึงแผนการขยายตัวทางด้านโครงสร้างพื้นฐานหลักของประเทศดังกล่าวข้างต้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งในเรื่องของเส้นทาง Trade Zone เรื่องเส้นทางสายส่งพลังงาน และด้านความต้องการจัดจ้างบุคลากรทั้งระดับผีมือและมืออาชีพเพื่อจะได้นำไปวางแผนการจัดการและบริหารธุรกิจได้อย่างถูกต้องก่อนที่จะมีการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อย่างเต็มตัวในอนาคตอันใกล้นี้
“อีกทั้งยังเป็นการถ่ายทอดแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการขนส่ง คมนาคม เศรษฐกิจ พลังงานและเทคโนโลยีทางด้านข้อมูลและการสื่อสารของรัฐบาลไทยไปยังกลุ่มเป้าหมายให้เข้าใจอย่างถูกต้อง เป็นเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์จากภาครัฐและภาคเอกชน ถึงปัจจัยสู่ความสำเร็จและโอกาสของธุรกิจที่เกี่ยวข้อง กับทางด้านการขนส่งหรือมีค่าขนส่งและค่าใช้จ่ายทางด้านพลังงานเป็นต้นทุนหลักให้เกิดความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับคุณสมบัติของบุคลากรที่ควรมีการจัดเตรียมหรือพัฒนาไว้รองรับการขยายตัวดังกล่าวอย่างจริงจัง เพราะบุคลากรถือว่าเป็นทรัพย์สิน (Knowledge and Skill Asset) ประเภทหนึ่งขององค์กรเลยทีเดียว” รศ. สุธรรม กล่าวเพิ่มเติม
ผู้สนใจสามารถสำรองที่นั่งสัมมนาได้ที่ เอ๊ซ โทร 02-254-8282 — 3 หรือ info.acethailand@gmail.com