UAC เตรียมเดินเครื่อง โครงการPPP พ.ค.นี้ มั่นใจดันรายได้เข้ากระเป๋าปี56 กว่า120 ล้านบาท

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 8, 2013 10:14 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 พ.ค.--มีเดีย แพลนเนอร์ คอนซัลแทนท์ บมจ.ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ แอนด์ เคมิคัลส์ (UAC) เตรียมเดินเครื่องจักรในโครงการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (PPP)ในเดือนพฤษภาคมนี้ พร้อมส่งมอบให้ บมจ.ปตท (PPT) ต่อไป ชี้งโครงการดังกล่าวมีกำลังการผลิต รวมประมาณ 20,000 ตันต่อปี ด้านประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ “ กิตติ ชีวะเกตุ ” ระบุ ครึ่งปีหลังรับรู้รายได้เข้ามากว่า 120 ล้านบาท และคาดจะรับรู้เต็มกำลังการผลิตภายในปี2557 ส่งผลให้รายได้เข้าเฉลี่ยประมาณ 300 — 350 ล้านบาทต่อปี นายกิตติ ชีวะเกตุ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ แอนด์ เคมิคัลส์ จำกัด(มหาชน) หรือ UAC ผู้ประกอบธุรกิจนำเข้าและจำหน่ายสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมัน โรงกลั่น และปิโตรเคมี เปิดเผยว่า โครงการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม(Petroleum Production Project หรือ PPP จ.สุโขทัย ในการผลิตก๊าซธรรมชาติอัด (Compressed natural gas : CNG) จะสามารถเริ่มผลิตในเดือนนี้ และทยอยส่งมอบให้กับลูกค้า บมจ.ปตท(PTT) ในเชิงพาณิชย์ และคาดว่าจะเริ่มรับรู้รายได้ในช่วงไตรมาส3/2556 เป็นต้นไป โดยในปีนี้บริษัทฯจะเริ่มทยอยรับรู้รายได้จากโครงการดังกล่าว ประมาณ 120 -150 ล้านบาท หรือเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 60 ล้านบาทต่อไตรมาส และคาดว่าจะทยอยรับรู้รายได้เข้ามาเต็มที่ในปี 2557 เฉลี่ยประมาณ 300 — 350 ล้านบาทต่อปี โดยโครงการดังกล่าว มีกำลังการผลิต รวมประมาณ 20,000 ตันต่อปี แบ่งเป็น CNG 65%, LPG 30% และ NGL 5% ทั้งนี้ จากโครงการ PPP ที่จะเริ่มทยอยรับรู้รายได้เข้ามาในปีนี้ ส่งผลให้บริษัทฯ ประมาณการอัตราการเติบโตของรายได้ ในปีนี้ เพิ่มขึ้น 20 - 30% เมื่อเทียบกับปี 2555 โดยจะแบ่งเป็นสัดส่วนรายได้ จากธุรกิจเทรดดิ้ง (ธุรกิจหลัก) ประมาณ 75% ขณะที่รายได้จากธุรกิจพลังงาน จะอยู่ที่ 25% ซึ่งมาจาก การรับรู้รายได้จากโครงการ PPP ที่จ.สุโขทัย ประมาณ 120 - 150 ล้านบาท และรายได้จากโรงงานผลิตก๊าซชีวภาพอัดความดันสูง( Compressed Bio- Methane Gas หรือ CBG ) ประมาณ 60 ล้านบาท นอกจากนี้ นายกิตติยังได้กล่าวถึงแนวโน้มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนว่า ยังคงมีอัตราการขยายตัวได้ต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งภาครัฐบาลให้การสนับสนุนในเรื่องของพลังงานทดแทน หลังจากที่เล็งเห็นว่าความต้องการใช้ด้านพลังงานทดแทนมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเพราะต้นทุนการผลิตที่ต่ำ เมื่อเทียบกับราคาพลังงานจากปิโตรเลียม ในปัจจุบัน และจากปัจจัยดังกล่าวทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วหันมาให้พลังงานทดแทนมากขึ้น จึงส่งผลให้ผู้ประกอบการเล็งเห็นการขยายตลาดในอุตสาหกรรมดังกล่าว และจากแผนการขยายไปยังธุรกิจพลังงาน อาทิ โครงการ CBG , โครงการ PPP หรือแม้แต่โครงร่วมทุน บางจากไบโอฟูเอล จำกัด (BBF) และ UAC Hydrotek ก็เพื่อเป้าหมายการขยายธุรกิจไปยังอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน และกิจการสาธารณูปโภค ตามนโยบายการส่งเสริมของภาครัฐในการเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน
แท็ก (UAC)   (PPP)   ปตท  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ